หมวดความรู้พื้นฐาน

"หมวดความรู้พื้นฐาน" รวบรวมบทความเนื้อหารัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ ที่ผู้แต่งเรียบเรียงขึ้นมาด้วยตนเอง มาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่เหมือนตำรา (หรือใกล้เคียง)
            บทความกระจายหลายเว็บไซต์ แต่รวมชื่อทุกบทความในหน้านี้
            ติดต่อพูดคุยสอบถามได้ที่ไลน์  ห้องไลน์ สถานการณ์โลก

https://line.me/ti/g2/6rXIwiNZgKq21mhYLjKfBA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

-----------------------------------
ชุดนี้มีทั้งหมด 7 ตอน เป็นบทนำของลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ ตอนแรกกล่าวถึงการเมืองคืออะไร
อธิบาย 3 คำต่อไปนี้ ได้แก่ อำนาจ อิทธิพล สิทธิอำนาจ
อธิบายคำว่าหน่วยการเมือง (political unit) ซึ่งอาจเป็นปัจเจกบุคคล (Individual) กลุ่มบุคคล กลุ่มผลประโยชน์ สถาบันการเมือง รัฐ/ชาติ องค์กรระหว่างประเทศ ที่แสดงพฤติกรรมการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง และ/หรือรับผลแห่งพฤติกรรมการเมืองจากตนเองหรือหน่วยการเมืองอื่น
อธิบายความสำคัญของการเมือง การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว
รัฐศาสตร์ คืออะไร และวิธีการศึกษารัฐศาสตร์
ขอบเขต สาขาของวิชารัฐศาสตร์ และธรรมชาติของวิชารัฐศาสตร์
ที่มาของหลักวิชารัฐศาสตร์ที่เรียนในประเทศไทย และเป้าหมายของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์
การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว
บางคนจะแสดงความเบื่อหน่ายทันทีเมื่อเอ่ยเรื่องการเมืองการปกครอง บางคนบอกว่าคิดมากแล้วปวดหัว ไม่ว่าจะน่าสนใจหรือไม่ การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว มีผลต่อชีวิตส่วนตัว ครอบครัว สังคมมากว่าที่บางคนเข้าใจ
รัฐ (1)
บทความว่าด้วยรัฐแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนแรกกล่าวถึงนิยามคำว่ารัฐ แนวคิด ทฤษฎีกำเนิดแห่งรัฐ (Origin of State)
พัฒนาการและรูปแบบรัฐ องค์ประกอบของรัฐสมัยใหม่
อำนาจอธิปไตย แนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ลักษณะของอำนาจอธิปไตย การสั่นคลอนอำนาจอธิปไตย รัฐในอนาคต บทบาทหน้าที่แห่งรัฐ
กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก
สนธิสัญญาเวสฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี 1648 เป็นจุดเริ่มต้นของ “รัฐสมัยใหม่” (modern state) ผู้ครองรัฐต่างๆ สามารถกำหนดนิกายศาสนาด้วยตนเอง ไม่จำต้องขึ้นกับศาสนจักรอีกต่อไป เป็นการยุติอำนาจฝ่ายโลกของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง ผู้ปกครองแต่ละคนมีอำนาจสูงสุดเหนือดินแดน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างในดินแดนนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นประชากร ทรัพยากรต่างๆ รัฐจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้น สามารถพัฒนาปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

บทความมีทั้งหมด 5 ตอน ตอนแรกนี้กล่าวถึงนิยามอุดมการณ์ทางการเมือง ความสำคัญบทบาทของ อุดมการณ์ทางการเมือง องค์ประกอบของอุดมการณ์ทางการเมือง วิพากษ์ อุดมการณ์ทางการเมือง และอุดมการณ์อรัฐนิยม
อธิบายตั้งแต่นิยามอุดมการณ์เสรีนิยม ลักษณะพื้นฐานของเสรีนิยม เสรีนิยมคลาสสิคกับเสรีนิยมสมัยใหม่
ประกอบด้วยหัวข้อ นิยาม ลักษณะพื้นฐานของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม อนุรักษ์นิยมประเภทต่างๆ ได้แก่ อนุรักษ์นิยมดั้งเดิม (Classical conservatism หรือ institutional conservatism) อนุรักษ์นิยมสมัยใหม่ (Modern conservatism หรือ right conservatism) อนุรักษ์นิยมใหม่ (Neoconservatism) 
บทความนี้อธิบายเรื่องอุดมการณ์สังคมนิยม ตั้งแต่แนวคิดคาร์ล มาร์กซ์กับเฮเกล ทฤษฎีวิภาษวิธี (dialectic) พัฒนาการของสังคมนิยม สังคมนิยมในปัจจุบัน
อธิบายเรื่องชาตินิยม ชาตินิยมประเภทต่างๆ ได้แก่ ชาตินิยมแนวเสรี (Liberal Nationalism) ชาตินิยมแนวอนุรักษ์ (Conservative Nationalism) ชาตินิยมขยายอำนาจ (Expansionist Nationalism) ชาตินิยมต่อต้านการล่าอาณานิคม (Anticolonial Nationalism)

ความเป็นกรีนเห็นได้จากการใช้ชีวิตของพวกเขา เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนอุดมการณ์ตลอดเวลาไม่สิ้นสุด เป็นวิถีชีวิตรูปแบบหนึ่ง

บทความรูปแบบการปกครองแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกกล่าวถึงรูปแบบการปกครองที่ใช้เกณฑ์จำนวนผู้ปกครองและเป้าหมายของการปกครอง รูปแบบการปกครองแบบกรีก (Greek Typology of Governments)
กล่าวถึงเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม (Totalitarianism) เผด็จการอำนาจนิยม (Authoritarianism)

ประวัติศาสตร์ของชนชาติโรมันไม่ต่างจากหลายชนชาติที่เริ่มต้นด้วยคนกลุ่มเล็กๆ ที่สามารถเอาตัวรอดจากเผ่าอื่นๆ รอบข้าง จนกลายเป็นเมือง นครรัฐ และพัฒนาเป็นสาธารณรัฐโรมัน อันหมายถึงการปกครองโดยชนชั้นอำนาจที่สังคมโรมันสมัยนั้นหมายถึงเจ้าของที่ดินรายใหญ่ รากฐานความมั่งคั่งในยุคนั้น ชนชั้นอำนาจพยายามรักษาผลประโยชน์ด้วยการยึดอำนาจปกครองไว้กับพวกตัว วางกฎสังคมห้ามแต่งงานข้ามชนชั้น เป็นสาเหตุเกื้อหนุนให้ชนชั้นปกครองนี้สามารถรักษาอำนาจยาวนานกว่า 400 ปี

จากชุมชนสู่นครรัฐและกลายเป็นสาธารณรัฐโรมัน ชนชั้นปกครองซึ่งคืออดีตขุนนางและเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถกุมอำนาจปกครองอย่างเหนียวแน่น ทั้งด้านบริหาร การยุติธรรม เศรษฐกิจ การทหาร การทำสงครามขยายอาณาเขตหมายถึงการได้ทรัพย์สิน ที่ดินและทาส ผลประโยชน์เหล่านี้ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของชนชั้นปกครองไม่กี่ตระกูล แต่ด้วยการขยายอาณาจักรอย่างไม่สิ้นสุดส่งผลให้กองทัพใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ และควบคุมยากขึ้น ท้ายที่สุดกลายเป็นผู้ล้มล้างระบบสาธารณรัฐโรมัน

ทุนนิยมผูกขาดสร้างคณาธิปไตย ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่รัฐสวัสดิการเข้มข้นอาจเป็นการโยกอำนาจจากคณาธิปไตยทุนนิยมไปสู่เผด็จการอีกรูปแบบหนึ่ง

หากไม่ทำเพื่อประชาชนสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะกุมอำนาจคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม นั่นคือเผด็จการ หากทำเพื่อความสุขของประชาชนจริง จะกลายเป็นราชาธิปไตยหรือการปกครองโดยคณะบุคคลที่น่าส่งเสริม

อุดมการณ์ประชาธิปไตยคือประชาชนปกครองกันเอง นิยามการปกครองประชาธิปไตยคือการปกครองโดยประชาชน แต่คำว่า “ประชาชน” ในแต่ละยุคสมัยแตกต่างกัน ในอดีตสังคมที่มีทาส พลเมืองเท่านั้นที่มีประชาธิปไตย ในอดีตผู้หญิงถูกกีดกันออกจากการเมือง นิยามประชาธิปไตยจึงเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ และมีรูปแบบย่อยๆ แตกต่างออกไป

ไม่ว่าระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ดีหรือไม่ มันคือความจริง ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศสามารถทำให้ดีขึ้นด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักการเมืองเท่านั้น

ทุกวันนี้ประชากรโลก 70% อยู่ในระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยกำลังถดถอย มีเพียง 9% เท่านั้นที่อยู่ในประเทศประชาธิปไตยเข้มแข็ง โควิด-19 ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง

นักวิเคราะห์ตะวันตกบางคนยอมรับมากขึ้นแล้วว่าระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตยตะวันตก (Western liberal democracy) ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสมควร ลัทธิอำนาจนิยมกำลังเบ่งบาน

ปัญหาใหญ่คือนับวันคนไม่ศรัทธาหลักประชาธิปไตย ไม่เชื่อถือระบอบการปกครองประชาธิปไตย แน่นอนว่าไม่เชื่อถือพรรคการเมือง นักการเมือง สถาบันต่างๆ ภายใต้ระบอบนี้

เลอเปนเป็นพวกที่ถอยห่างจากหลักเสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนฝรั่งเศส จนสามารถเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในวันอาทิตย์นี้

ครั้งหนึ่งคนฝรั่งเศสจำนวนมากเห็นว่าคนอย่างเลอเปนน่ารังเกียจ แต่บัดนี้พิสูจน์แล้วว่าพวกขวาจัดนี่แหละที่สังคมยอมรับมากขึ้นและอาจได้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส

ประชาธิปไตยแท้ต้องอยู่ในวิถีชีวิตไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงาน ต้องถือว่าล้มเหลวถ้าสังคมเป็นประชาธิปไตยแต่รัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ ประเทศไม่พัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ย่ำแย่

เพราะการสร้างประชาธิปไตยไม่ได้ “สวยงาม” อย่างที่บางคนขายฝันให้ เต็มด้วย “ความไม่แน่นอน” มากมาย ซีเรียคือหนึ่งในตัวอย่างนั้น

ด้วยความที่ระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ไม่ตอบโจทย์ ประชาชนระแวงนักการเมืองผู้ปกครอง จึงเกิดแนวคิดปรับปรุงระบอบประชาธิปไตย หนึ่งในนั้นคือ Radical Democracy ที่ทุกความเห็นมีความหมาย

ธนกิจการเมืองไม่เป็นเพียงพฤติกรรมแต่ฝังรากในสังคม ครอบระบบการเมืองการปกครอง เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ต้องแก้ด้วยการสร้างสังคมที่คนยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตย เป็นคนยึดเหตุผลฟังความรอบข้าง

ธนกิจการเมืองทำให้เข้าใจว่าบางคนมีอิทธิพลต่อการควบคุมประเทศมากกว่าประชาชนทั่วไป นโยบายรัฐหลายอย่างที่ถูกตัดสินชี้นำบนพื้นฐานว่าฝ่ายใดมีเงินมากกว่า

คนอเมริกันครึ่งหนึ่งคิดว่าเลือกตั้งไม่โปร่งใสโกงเป็นระบบ เรื่องนี้ไม่เพียงสะท้อนความไม่เชื่อมั่นต่อระบบเลือกตั้ง ยังเกี่ยวข้องกับวิธีคิดการใช้เหตุผลด้วย

โลกนี้ไม่มีประเทศใดเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากบ้างน้อยบ้าง สหรัฐดีกว่าหลายประเทศแต่ยากจะเชื่อว่าเป็นผู้นำโลกด้านนี้และกำลังเสื่อมถอย

หากประชาชนไม่กำกับตรวจสอบฝ่ายการเมืองและมีส่วนร่วมในการปฏิรูป (ไม่ปล่อยให้ฝ่ายการเมืองทำเพียงลำพัง) เช่นนั้นย่อมโทษใครไม่ได้ และไม่อาจเรียกว่าตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย

หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) ตามระบอบประชาธิปไตย
หลักเสียงข้างมากตั้งอยู่บนหลักเหตุผล ไม่ละเมิดสิทธิผลประโยชน์ของเสียงข้างน้อย เป็นสังคมเอื้ออาทร หากอ้างหลักเสียงข้างมากเพื่อกระทำตามอำเภอใจเท่ากับเป็นเผด็จการเสียงข้างมาก อาจนำสู่รัฐบาลเผด็จการ (แม้มีการเลือกตั้ง) สังคมแตกแยกจนถึงขั้นคนบางส่วนอาจคิดขอแยกประเทศ เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศประเทศ
ประชาธิปไตยที่ทำลายตัวเองย่อมไม่อาจเรียกว่าประชาธิปไตยแท้ เพราะระบอบการปกครองดังกล่าวมีเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขยั่งยืน

เลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้งเป็นเพียงวิธีการ เป้าหมายคือสังคมอยู่เย็นเป็นสุข เริ่มต้นด้วยการได้ผู้ปกครองที่รับใช้ประชาชน

อังกฤษชาติต้นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พรรค Labour Party ที่ยึดแนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตยอยู่คู่การปกครองประเทศนี้มากว่าศตวรรษแล้ว พร้อมกับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา

ซาอุฯ จะปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ตามแนวทางอิสลามต่อไป คงอยู่คู่อิสลาม ยึดมั่นหลักศาสนาอย่างถูกต้องไม่บิดเบือน พัฒนาประเทศสู่ความทันสมัยที่ไม่ขัดหลักศาสนา

คำสอนของบางความเชื่อศาสนาสัมพันธ์กับการเมืองการปกครองโดยตรงไม่ต่างจากลัทธิเสรีนิยม สังคมนิยม ทุนนิยม ฯลฯ และผสมผสานอยู่ในระบอบการเมืองสังคมต่างๆ ไม่มากก็น้อย

ตามระบอบประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียง และต้องใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตนอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มผลประโยชน์อยู่ภายใต้แนวคิดดังกล่าว

อย่างไรดีกว่า โค่นเผด็จการหรือให้เป็นรัฐล้มเหลว
อิรักกับซีเรียเป็น 2 ตัวอย่างว่านโยบายกำจัดเผด็จการเป็นต้นเหตุของสงครามกลางเมือง ความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุด กลายเป็นรัฐล้มเหลว การปล่อยให้เผด็จการดำรงอยู่ต่อไปเป็นโทษน้อยกว่า การกำจัดเผด็จการไม่เป็นเหตุให้ประเทศกลายเป็นประชาธิปไตยเสมอไป ถ้ามองว่าเผด็จการหมายถึงประชาชนถูกกดขี่ เมื่อเป็นรัฐล้มเหลวประชาชนถูกกดขี่ข่มเหงยิ่งกว่า ชีวิตอยู่ในอันตรายมากกว่า แต่รัฐบาลโอบามายังยืนหยัดนโยบายโค่นเผด็จการไม่ต่างจากรัฐบุชและอีกหลายชุด

แม้รัฐบาลมาครงออกมาตรการช่วยเหลือคนจนหลายข้อ พวกเสื้อกั๊กเหลืองบางส่วนเห็นว่าต้องชุมนุมต่อ เพราะเป้าหมายคือสร้างการเมืองใหม่ที่ส่งเสริมการกระจายรายได้ ต่อต้านความเหลื่อมล้ำ

ทุกวันนี้มีข้อสรุปที่ยอมรับแล้วว่าอิรักไม่มี WMD ซัดดัมไม่ได้สนับสนุนผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะห์ตามที่รัฐบาลแบลร์กับบุชกล่าวอ้าง การทำสงครามล้มระบอบซัดดัมไม่ช่วยเรื่องต่อต้านก่อการร้าย ซ้ำยังกระตุ้นให้เกิดผู้ก่อการร้ายสารพัดกลุ่ม เช่น IS ทิ้งให้อิรักกลายเป็นรัฐล้มเหลว ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นคือคำถามที่ว่าระบอบประชาธิปไตยอังกฤษกับสหรัฐช่วยให้ 2 ประเทศนี้ก่อสงครามที่สมควรทำหรือไม่

ประชาธิปไตยไม่อาจยับยั้งแบลร์กับบุชก่อสงครามมิชอบ(2)
ทุกวันนี้พิสูจน์แล้วว่าเมื่อปี 2002 อิรัก อิหร่านและเกาหลีเหนือไม่เป็นภัยคุกคามจวนตัวอย่างที่รัฐบาลบุชกล่าวอ้าง เอกสารรายงานต่างๆ ที่ออกมาจากรัฐบาลสหรัฐกับอังกฤษมีข้อสรุปที่เป็นเท็จ พูดเกินจริง สร้างภาพให้เห็นภัยคุกคามใหญ่เกินตัว ระบอบประชาธิปไตยอังกฤษกับสหรัฐไม่อำนวยการตัดสินใจที่ถูกต้องแก่ผู้นำประเทศ ไม่สามารถยับยั้งการตัดสินใจอย่างไม่สมเหตุสมผลทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด

ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเผด็จการฟาสซิสต์หรือสายใดๆ คนอิตาเลียนคาดหวังเหมือนกันคือขอให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น อยู่ดีมีสุข การที่ทุกพรรคทุกสายล้วนเคยเป็นรัฐบาลเป็นหลักฐานในตัวเอง

Oxford Advanced Learner's Dictionary ให้ความหมาย Fanaticism คือความเชื่อหรือพฤติกรรมสุดโต่ง มักเกี่ยวข้องกับศาสนา การเมือง มีความหมายคล้าย Extremism

ไม่มีคนจนในประเทศอีกแล้ว เพราะรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับประชาชน 1,400 ล้านคนต่างทำหน้าที่ของตน เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือทุกคนมีกินมีใช้ไม่ขัดสน

มนุษย์แตกต่างหลากหลาย หลายเรื่องแก้ยากหรือไม่ได้ ควรมุ่ง จัดการให้ทุกคนอยู่ได้ เป็นประโยชน์สุขต่อทุกคน เริ่มต้นด้วยการวาง หลักยึดเป็นข้อเสนอให้ทุกคนยืดถือร่วมกัน 

เนื้อหาหัวข้อ “ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” แบ่งเป็น 6 ตอน ตอนแรกกล่าวถึง ความสำคัญของวิชา ขอบเขตวิชา เป้าหมายทางวิชาการ ของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ผลประโยชน์แห่งชาติ นิยามผลประโยชน์แห่งชาติ

อธิบายเรื่องตัวแสดงต่างๆ รัฐกับตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (Non State Actor) ตัวแสดงมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

อธิบายทฤษฎีสัจนิยม Balance-of-Power อุดมคตินิยม

ตัวอย่างประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3 เรื่อง ได้แก่ สงครามเย็น โลกาภิวัตน์ และภาวะโลกร้อน

กรณีศึกษาของตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

สภาพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งอนาคตเกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นสำคัญ ความสำคัญของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือเพื่อแสวงหา การบรรลุถึงเป้าหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ทั้งในระดับองค์กรจนถึงระดับปัจเจกบุคคล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลเป็นอย่างไรสะท้อนประชาชนเจ้าของประเทศ หากจะให้รัฐมีสัมพันธ์ต่อกันที่ดีกว่านี้ ต้องแก้ไขที่ตัวประชาชนก่อน

สัจนิยมมีข้อดีหลายอย่างแต่เปิดช่องให้รัฐบาลบางประเทศตีความว่าสามารถรุกรานประเทศอื่นๆ เป็นเรื่องปกติของโลก บางประเทศพยายามทำให้ดูดีอ้างว่าเป็นการป้องกันตนเอง

เงื่อนไขสงบศึกของปูติน การใช้ทรัพย์รัสเซียที่ยึดได้เป็นหลักฐานชี้ว่าต่างฝ่ายต่างยืนยันรบต่อบ่งชี้ระเบียบโลกที่บิดเบี้ยว ต้องสู้กันต่อไป

ระเบียบโลกใหม่ในมุมมองของปูติน
ต้นเหตุเงินเฟ้อหลักมาจากการที่สหรัฐพิมพ์เงินออกมาใช้มหาศาล ระเบียบโลกใหม่ควรยึดหลักว่าประเทศใดสร้างผลผลิตได้มากแค่ไหนก็ควรจะพิมพ์เงินใช้มากแค่นั้น

รัฐบาลสหรัฐควรทำให้ตัวเองเป็นแบบอย่างประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จ จะเป็นตลกร้ายถ้าช่วยให้ประเทศอื่นเป็นประชาธิปไตยแต่ตัวเองหันเข้าสู่อำนาจนิยมมากขึ้น

RCEP เป็นการริเริ่มของหลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาเร็วช้าต่างกัน บางประเทศเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยซ้ำ

แบน TikTok เพื่อชาติหรือปู่ทรัมป์โดนปั่นหัว
การแบน TikTok อาจตีความว่าคือการปิดล้อมจีน เป็นเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ แต่ในอีกมุมอาจเป็นเพียงแค่เด็กเล่นสนุก รวมหัวปั่นประธานาธิบดีทรัมป์ตามประสาที่พวกเขาทำได้และคิดว่าสนุกดี
คือการทำให้ศัตรูอ่อนแอด้วยการยุยงปลุกปั่น ให้คนในสังคมขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ไม่อาจหาทางออกด้วยสันติวิธี เพื่อเจ้าของยุทธศาสตร์จะเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ เช่น เข้าไปมีอิทธิพลครอบงำปกครอง

แบ่งแยกแล้วปกครอง กรณีเคิร์ดซีเรีย
หลักแบ่งแยกแล้วปกครองไม่ใช่ของใหม่ เคิร์ดซีเรียถูกแยกจากซีเรียให้มาเป็นพวกสหรัฐเป็นอีกกรณีศึกษา ในประเทศนี้ที่ถูกปลุกปั่นว่าคนซีเรียหลากหลายกลุ่มอยู่ร่วมโลกด้วยกันไม่ได้อีกต่อไป

พอจะสรุปได้ว่า “ประชานิยม” คือ การเคลื่อนไหวทางการเมือง พยายามดึงประชาชนเข้ามาเป็นแนวร่วม เพื่อต่อต้านระบอบเก่า อาจเป็นระบอบการเมือง สังคม เศรษฐกิจ บางเรื่องบางที่เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนบางกลุ่มไม่พอใจอย่างยิ่ง แนวทางนี้กำลังท้าทายระบอบการเมืองเศรษฐกิจสังคมปัจจุบัน และจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 นี้

การรณรงค์ประชานิยมแต่ละครั้งมีข้อดี-ข้อเสียขึ้นกับแง่มุมมอง บางครั้งมีข้อดีหลายข้อ บางครั้งมีข้อเสียมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับการรณรงค์แต่ละครั้ง โดยรวมแล้วข้อดีคือเป็นอีกช่องทางของประชาชน ช่วยให้ประชาธิปไตยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนข้อเสียคือเป็นการทำลายประชาธิปไตย ไม่ต่างจากระบอบเดิมที่ไม่ได้ทำเพื่อประชาชนจริงๆ

ทรัมป์ใช้ประชานิยมเป็นแนวทางหนึ่งในการหาเสียง พยายามชี้ว่าตนแตกต่างจากนักการเมืองเก่าๆ พวกชนชั้นอำนาจเดิม วาดฝันให้ชาวอเมริกันมีงานทำนับล้านตำแหน่ง มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่นโยบายทำไม่ได้จริง ประชานิยมแบบทรัมป์จึงเป็นแนวทางที่สร้างความเสียหาย ทั้งๆ ที่ตัวประชานิยมไม่จำต้องเป็นเรื่องเสียหายเสมอไป ขึ้นกับผู้ใช้มีความตั้งใจทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงหรือไม่

บทความมีทั้งหมด 3 ตอน ตอนแรกอธิบายประวัติศาสตร์ หลักการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ, Electors

อธิบาย Electors, ระบบ ‘winner-take-all’

อธิบาย Electors, electoral votes, กรณีตัวอย่าง

เป้าหมายของการหาเสียงคือชนะการเลือกตั้ง ผู้สมัครเลือกตั้งไม่ได้หาเสียงด้วยการแสดงความดีงามของตน นโยบายที่ดีกว่าเท่านั้น บางคนใช้วิธีรณรงค์เลือกตั้งทางลบ สร้างความเสื่อมเสียฝ่ายตรงข้าม หลายเรื่องที่หยิบขึ้นมาพูดไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ทำให้ประชาชนคิดว่าผู้สมัครฝ่ายตรงข้างแย่ ไม่น่าเลือก เมื่อต่างฝ่ายต่างใช้จึงเกิดการสาดโคลนกันไปมา ประชาชนบางส่วนเอือมระอาการเมืองแบบนี้ ในขณะที่อีกหลายคนเห็นว่ามีประโยชน์เช่นกัน

ในการเลือกตั้งบางครั้ง ไม่มีผู้สมัครคนใดที่ดีพอ คู่ควรกับตำแหน่ง แต่ด้วยระบอบกับระบบพยายามให้ประชาชนออกไปเลือกตั้ง หลายคนจึงใช้วิธีเลือกคนที่แย่น้อยกว่า เพื่อสกัดไม่ให้คนที่แย่ที่สุดได้ถืออำนาจบริหารประเทศ แต่แนวคิดเช่นนี้ไม่ช่วยให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองยั่งยืน เป็นเพียงการซื้อเวลา จึงต้องคิดหาระบบเลือกตั้ง/สรรหาให้ได้คนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยไม่ยึดกรอบว่าต้องเป็นการเลือก/สรรหาช่วงเวลาหาเสียงเท่านั้น

พรรคเดโมแครทในอุ้งมือของชนชั้นอำนาจ
อีเมลที่รั่วออกจากพรรคเป็นหลักฐานชี้ว่าเจ้าหน้าที่พรรคแทนไม่ได้วางตัวเป็นกลาง ช่วยฮิลลารีอย่างเป็นระบบ ผู้ใหญ่ในพรรคตั้งใจให้ฮิลลารีเป็นตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ต้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอีกหลักฐานชี้ว่าพรรคอยู่ใต้อำนาจของผู้ใหญ่ นายทุนไม่กี่กลุ่ม ไม่ใช่พรรคของปวงชนอย่างแท้จริง นับวันการเมืองสหรัฐจะมีสภาพเป็นคณาธิปไตยในคราบประชาธิปไตย

ฮิลลารี คลินตันถูกครหาว่าเข้าควบคุมพรรคก่อนได้เป็นตัวแทนพรรค สะท้อนคณาธิปไตยในพรรค แต่เป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ สำคัญว่ายึดถืออุดมการณ์หรือไม่

รีพับลิกันพรรคของพวกขวาสุดโต่งใช่หรือไม่
ประธานาธิบดีทรัมป์เป็นตัวอย่างความไม่เป็นประชาธิปไตย ส่อละเมิดสิทธิมนุษยชนบ่อยครั้งตามแนวทางขวาจัด หากรีพับลิกันเอียงไปทางขวามากขึ้นๆ เรื่องนี้กระทบต่อโลกแน่นอน

กว่า 240 ปีที่สหรัฐประกาศเอกราช หลักเสรีภาพ ความเสมอภาคและประชาธิปไตยยังเป็นเพียงเป้าหมายเชิงอุดมคติเท่านั้น เพราะ White Supremacy ฝังรากลึกในสังคมตั้งแต่ก่อนกำเนิดประเทศ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ทำให้การเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพสูงยิ่ง เมื่อผนวกกับระบบคอมพิวเตอร์อันทรงพลัง ปัญญาประดิษฐ์ ผลคือการรวมพลังของประชาชนที่อาจสนับสนุนหรือต่อต้านรัฐ

สหประชาชาติก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์ของชาติมหาอำนาจภายใต้บริบทเมื่อ 70 ปีก่อน 7 ทศวรรษที่ผ่านสหประชาชาติได้สร้างประโยชน์แก่โลกมากมาย แต่ก็สะท้อนปัญหาของตัวเองมากมายเช่นกัน หลายฝ่ายเห็นว่าจำต้องปรับปรุงเพราะบริบทโลกเปลี่ยนไป แต่แนวคิดการปรับปรุงนั้นหลากหลายแตกต่างกันมาก อีกทั้งประเทศที่ได้ประโยชน์ต่างพยายามรักษาประโยชน์ของตนอย่างเต็มที่  การถกเถียงเพื่อปรับปรุงจึงดำเนินต่อไป

ข้อวิพากษ์ทั้งหมดนำสู่คำถามว่ายุทธศาสตร์นาโตขยายตัวมีไว้เพื่อสันติภาพ เคารพอธิปไตยของกันและกันหรือเป็นเครื่องมือที่บางประเทศใช้ขยายอำนาจอิทธิพล

ถ้าอธิบายความง่ายๆ พันธมิตรด้านความมั่นคงทางทหารคือการสัญญาว่าจะร่วมหัวจมท้ายรักษาอธิปไตยของกันและกัน แต่ในโลกแห่งความจริงการเป็นพันธมิตรอาจเป็นส่วนหนึ่งของระบอบมหาอำนาจ

Realpolitik คือชื่อเดิมของสัจนิยม (Realism) บางคนให้นิยามสั้นๆ ว่าคือ “power politics” หรือการเมืองแห่งอำนาจ อำนาจคือที่มาของทุกสิ่ง เช่น ความปลอดภัย ความมั่งคั่ง ชีวิตที่อยู่ดีกินดี มีชื่อเสียงเกียรติภูมิ 

ทั้งเกาหลีเหนือกับรัสเซียต่างสามารถอาศัยกันและกัน ใช้ไพ่ของอีกประเทศเป็นเครื่องมือต่อรองฝ่ายตรงข้าม ความสัมพันธ์นี้อาจดังไกลไปถึงสมรภูมิยูเครน อียู

Group of Twenty (G20) คือการประชุมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้า (G7) กับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เพื่อหารือแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างสมดุล ยั่งยืน ควบคุมระบบการเงินเพื่อลดความเสี่ยง ป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต พัฒนาโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศ สะท้อนบทบาทหลายประเทศที่กำลังก้าวขึ้นมา เช่น จีน อินเดีย บราซิลและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศที่มีอิทธิพลมากขึ้น

G-77 เป็นกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในสหประชาชาติ เป็นเวทีแสดงและผลักดันจุดยืนของประเทศกำลังพัฒนาที่หวังปรับเปลี่ยนโครงสร้างระเบียบเศรษฐกิจโลกที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขามากขึ้น แต่ผลงานมีน้อยกว่าที่คาด ส่วนหนึ่งเกิดจากความเป็นเอกภาพของสมาชิก ความซับซ้อนของเศรษฐกิจโลกที่ประเทศต่างๆ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การมองภาพใหญ่เช่นนี้ต้องไม่ลืมว่าชาติกำลังพัฒนาหลายประเทศมีปัญหาภายในเช่นกัน

การเป็นสมาชิก BRICS มีประโยชน์ชัดเจน เสริมเกราะป้องกัน เพิ่มช่องทาง เพิ่มโอกาสแก่ตนเอง ส่วนจะร่วมมือลึกซึ้งเพียงใดเป็นเรื่องของภาคปฏิบัติมากกว่า

BRICS ที่ขยายตัวชี้ว่ามีประเทศที่หันเข้าสู่ฝ่ายตรงข้ามสหรัฐมากขึ้น แต่ทั้งนี้บางประเทศเพียงอยากมีมิตรหลากหลาย ร่วมมือกับประเทศที่ไม่อยู่ขั้วสหรัฐ

 “จีน ญี่ปุ่น และซาอุฯ ประเทศใดมีอาวุธที่ทันสมัยที่สุด”
ระหว่างจีน ญี่ปุ่นและซาอุฯ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอาวุธทันสมัยที่สุด

ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ 2022 (1)
นับจากนี้จะไม่แบ่งนโยบายต่างประเทศกับในประเทศอีกต่อไป หากจะให้สหรัฐมั่งคั่งต้องกำกับระเบียบระหว่างประเทศให้สหรัฐได้ประโยชน์สูงสุด

เขตที่แข่งขันดุเดือดมากที่สุดคืออินโด-แปซิฟิกและกำลังขยายเป็นทั้งโลก แข่งขันวางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ใน 10 ปีนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุดห้วงเวลาชี้อนาคต

ยุทธศาสตร์แม่บทของสหรัฐสร้างศัตรูอยู่เสมอ จะเผชิญหน้าจีนรุนแรงมากน้อยขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐบาลสหรัฐ และขึ้นกับนานาชาติโดยเฉพาะพวกพันธมิตรสหรัฐว่าจะคิดเห็นอย่างไร

ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำคัญที่ควบคุมได้หรือไม่ ทั้งนี้ชนชั้นนำผู้ปกครองประเทศมีส่วนสำคัญยิ่ง แม้กระทั่งในประเทศประชาธิปไตยก็ตาม

กองทัพสหรัฐเหนือกว่าแต่พร้อมที่จะสูญเสียเพื่อไต้หวันหรือไม่ หาก 2 มหาอำนาจรบกันจริงย่อมส่งผลต่อระเบียบโลกใหม่ที่จะตามมา หมากไต้หวันเพียงตัวเดียวอาจเปลี่ยนระบบโลก

ญี่ปุ่นกังวลจีน ความร่วมมือจีน-รัสเซีย อาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ แก้ไขด้วยการสร้างกองทัพให้เข้มแข็งพร้อมรับมือ ยึดพันธมิตรญี่ปุ่น-สหรัฐเป็นแกนหลัก

ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ครอบคลุมทุกด้าน เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งแต่ระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค สะท้อนระเบียบโลกใหม่ที่กำลังเปลี่ยนไป

แถลงการณ์ 5 ชาตินิวเคลียร์ตอกย้ำโอกาสเกิดสงครามนิวเคลียร์ระหว่างมหาอำนาจเป็นไปได้น้อยมาก แต่การเผชิญหน้าช่วงชิงยังคงอยู่ ประเทศใดจะเป็นเหยื่อรายต่อไป

โอกาสเกิดสงครามล้างโลกนิวเคลียร์เป็นไปได้น้อยมาก ที่มีความเป็นไปได้มากขึ้นคือสหรัฐจะเป็นผู้ลงมือใช้ก่อนกับประเทศเล็กๆ

การล้มสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (INF) เปิดโอกาสให้รัฐบาลสหรัฐสามารถยกเครื่องกองกำลังนิวเคลียร์ของตนใหม่ทั้งหมด คงความเป็นเจ้าโลกด้านอาวุธนิวเคลียร์ต่อไปอีกนาน

การใช้อาวุธนิวเคลียร์ส่งผลเสียหายร้ายแรงไม่เฉพาะต่อคนที่โดนแรงระบาดกับกัมมันตรังสีเท่านั้น ต้องมองผลกระทบที่จะตามมาอันเนื่องประชาคมโลกไม่อยากให้ใช้นิวเคลียร์

โลกเสี่ยงสงครามนิวเคลียร์ตั้งแต่ก่อนเกิดศึกยูเครนแล้ว สงครามยูเครนเพิ่มความเสี่ยงให้สูงขึ้นอีก แต่รัสเซียจะ “กดปุ่ม” หรือไม่ยังคงยึดหลักการเดิม

การมีอาวุธนิวเคลียร์ยังเป็นเครื่องมือป้องปรามสงครามใหญ่ได้ดี ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่คิดเช่นนี้ นี่ยังไม่รวมแนวคิดญี่ปุ่นอยากกลับมาเป็นชาติมหาอำนาจอีกครั้ง

นโยบายไบเดนต่ออาเซียนและอินโด-แปซิฟิก
รัฐมนตรีบลิงเคนเยือนอาเซียนตอกย้ำส่งเสริมเสรีประชาธิปไตยต่างแดนแบบลงลึกถึงองค์กร หน่วยงาน สื่อ จนถึงระดับปัจเจก เร่งพัวพันอาเซียนทุกด้านทุกมิติ

ความเข้าใจสำคัญที่ต้องยึดให้มั่นคือสหรัฐเป็นเจ้ามานาน รัฐบาลสหรัฐต้องการเป็นเจ้าโลก ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกคือส่วนหนึ่งในความเป็นเจ้า ยุทธศาสตร์ของแต่ละรัฐบาลคือการปรับเปลี่ยนตามบริบท

แนวยุทธศาสตร์แห่งชาติล่าสุดออสเตรเลียจะร่วมมือกับสหรัฐ ญี่ปุ่นและ AUKUS มากขึ้น ใช้ยุทธศาสตร์ป้องปราม รักษาสมดุลให้ก่อประโชน์ต่อประเทศ

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกคือยุทธศาสตร์ปัจจุบันที่รัฐบาลสหรัฐใช้ขวางเส้นประ 9 เส้นของจีน เป็นการเผชิญหน้าระหว่าง 2 มหาอำนาจโดยตรง และกำลังทวีความรุนแรง

ขณะที่ชาติมหาอำนาจไม่ปะทะกันเอง แต่อาจสู้กันในพื้นที่อื่นๆ เป็นสงครามตัวแทน (proxy war) ดังนั้นประเทศทั้งหลายต้องระวังไม่ตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งดังกล่าว

แผนพัฒนาใดๆ ของจีนสามารถตีความว่ากำลังบั่นทอนผลประโยชน์ของอีกฝ่าย แต่อาจเป็นแนวทางที่ดีกว่า เพิ่มโอกาสเพิ่มทางเลือก สำคัญว่าสุดท้ายประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้นหรือไม่

นโยบายจีนเดียว (one-China policy) ถูกอ้างว่าเป็นหนึ่งในรากฐานความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ที่ย้อนหลังถึงปี 1972 เมื่อ 2 รัฐบาลจับมือกันต้านสหภาพโซเวียต เป็นความสำเร็จทางการทูตครั้งใหญ่ในยุคนั้น ผู้นำโลกเสรีสามารถจับมือกับคอมมิวนิสต์จีน แต่บริบทโลกเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันไม่มีสหภาพโซเวียตอีกแล้ว รัสเซียในปัจจุบันมีสัมพันธ์ใกล้ชิดจีน ส่วนสหรัฐฯ แสดงท่าทีไม่เป็นมิตรต่อจีนมากขึ้น ชัดเจนขึ้น อะไรคือคุณค่าแท้ของนโยบายจีนเดียวในปัจจุบันและอนาคต

การ “ปั่น” คนไต้หวันให้เป็นศัตรูกับจีนนั้นมีจริง เป็นภัยคุกคามที่บั่นทอนความสงบสุขการอยู่ดีกินดีในยามนี้และในอนาคต สุดท้ายจึงอยู่ที่คนไต้หวันจะรู้ทันนักการเมืองหรือไม่

ความฝันหรือความใฝ่ฝันมักสู่เป้าหมายที่สวยงามดีงาม เป็นเรื่องดีที่ควรมี แต่ในขณะเดียวกันจำต้องมองโลกตามสภาพที่เป็นจริง เรียนรู้ที่จะอยู่ในโลกที่เป็นอยู่เพราะคือความฝันที่เป็นจริงอยู่ในขณะนี้

เป้าหมาย 100 ปีข้างหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในเวลา 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีนบรรลุเป้าหมายสร้างสังคมที่ทุกคนมีกินมีใช้ไม่ขัดสน เป้าหมายถัดไปคือประเทศสังคมนิยมอันยิ่งใหญ่ทันสมัยทุกด้าน

BRI จะเป็นแค่การพัฒนาร่วมหรือเป็นยุทธศาสตร์ครองโลกของจีนเป็นที่ถกแถลงเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรนานาชาติเฝ้าติดตาม จริงหรือเท็จกาลเวลาจะให้คำตอบ

จีนที่ก้าวขึ้นมาทำให้สหรัฐกับญี่ปุ่นอยู่เฉยไม่ได้ มองว่าจีนกำลังเปลี่ยนแปลงอินโด-แปซิฟิกเพื่อตนเอง ญี่ปุ่นที่มีพลังอำนาจเป็นรองจำต้องแสวงหาพันธมิตรและเข้าพัวพันเข้มข้นกว่าเดิม

ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือกับใต้เป็นความขัดแย้งกรอบแคบในกรอบใหญ่ เกี่ยวพันประวัติศาสตร์กว่าร้อยปีก่อน ส่งผลสืบเนื่องผ่านยุคสมัยต่างๆ จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ชาวเกาหลีโหยหาสันติภาพ

บัดนี้เกาหลีเหนือสามารถส่งกระสุนอาวุธต่างๆ ช่วยรัสเซียทำศึกยูเครน แม้กระทั่งส่งกองทัพเกาหลีเข้ารบโดยตรง ดังที่ผู้นำเกาหลีเหนือกล่าวว่าปูตินคือเพื่อนแท้ที่ดีที่สุด

ในมุมเกาหลีเหนือการรวมชาติจะเริ่มขึ้นจริงเมื่อประเทศอยู่ในบรรยากาศปลอดภัย ไม่มีใครคิดล้มล้างอำนาจผู้ปกครอง

ด้วยความคิดว่าภายในปี 2030 เกาหลีเหนือน่าจะสะสมนิวเคลียร์ถึง 300 หัวรบ เกาหลีใต้จึงควรมีนิวเคลียร์ร้อยลูกเพื่อรับมือภัยดังกล่าว

ไม่ว่าจะอย่างไรเวียดนามต้องรักษาผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้ พร้อมกับที่ต้องพยายามหาทางอยู่ร่วมกับชาติมหาอำนาจ มีความร่วมมืออยู่คู่ความขัดแย้ง หวังเพียงไม่ขัดแย้งจนควบคุมไม่ได้

หลักสำคัญคือสหรัฐกับจีนต้องประสานงานและร่วมมือกับประเทศอื่นๆ สงครามการค้าไม่สามารถล้มจีน เช่นเดียวกับที่จีนไม่อาจล้มสหรัฐซึ่งจะคงเป็นชาติแข็งแกร่งที่สุดในโลก

การรวมตัวเป็นอาเซียนช่วยให้สมาชิกทั้ง 10 ประเทศไม่ตกเป็นเครื่องมือทำสงครามของมหาอำนาจและไม่ทำสงครามกันเอง เป็นเหตุผลหลักของการก่อตั้งอาเซียนตั้งแต่ต้น

ภายใต้บริบทปัจจุบัน รัสเซียอยู่ในตำแหน่งที่เป็นมิตรและสามารถเป็นมิตรที่ดีของอาเซียน การประชุมสุดยอดผู้นำครั้งล่าสุดตอกย้ำทิศทางดังกล่าว เกิดความร่วมมือในทุกด้าน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้น บทบาทรัสเซียในเอเชียแปซิฟิกจะเป็นประโยชน์ร่วมกับอาเซียน ส่งเสริมสถานภาพของอาเซียนในเวทีโลก

ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจเป็นแนวคิดจากสำนักสัจนิยมที่ใช้กันแพร่หลาย ถ่วงดุลฝ่ายที่เป็นอริ ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายได้เปรียบ หวังเป็นเหตุไม่ให้คิดทำสงครามต่อกัน อาเซียนกำลังใช้ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจถ่วงดุลจีนกับฝ่ายสหรัฐ เพื่อชี้ชวนให้ทุกฝ่ายดำเนินนโยบายกับอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ แต่ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจมีจุดอ่อนเช่นกัน จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง

เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแสดงสุนทรพจน์ที่เกี่ยวข้องนโยบายต่างประเทศมักจะมีการเอ่ยถึงAmerican exceptionalism หรือหลักการที่อยู่ภายในลัทธิหรือแนวคิดดังกล่าว แม้เป็นคำที่มีการพูดถึงแต่ในทางวิชาการเป็นที่ถกเถียงในความหมาย อีกทั้งพบว่าบ่อยครั้งผู้ใช้แต่ละคนจะใช้ในความหมายที่แตกต่างกันด้วยเหตุผลเฉพาะเจาะจง บทความนี้จะอธิบายความหมาย การนำไปใช้ ผลที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกด้านลบ และข้อวิพากษ์
บทความนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน

หลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” ที่ประกาศในสมัยประธานาธิบดีบุชนิยามว่าเป็นส่งกองทัพเข้ารุกรานอย่างเปิดเผย เป็นนิยามที่ไม่ครอบคลุม บิดเบือน จึงต้องกำหนดนิยามใหม่ อีกประเด็นที่ไม่ควรละเลยคือความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมประชาธิปไตย การค้าเสรี คำถามที่สำคัญคือ รัฐบาลโอบามาได้ละทิ้งหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” หรือไม่ หรือเป็นเพียงปรับตัวให้เข้ากับบริบท

รัสเซียบุกยูเครนละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อโต้แย้งคือการบุกเข้าไปเป็นการป้องกันตัวเอง เป็นแนวทางเดียวกับที่รัฐบาลหลายประเทศใช้

คำว่าเดินเรือเสรี ฟังดูผิวเผินเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย แต่คำว่าเดินเรือเสรีของรัฐบาลหมายถึงเฉพาะสหรัฐเท่านั้นที่มีความเสรีเป็นพิเศษเหนือประเทศอื่นๆ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เรือจะต้อง “เสรีภายใต้กรอบระเบียบที่วางไว้” ซึ่งเสรีน้อยกว่าของสหรัฐ อีกทั้งรัฐบาลสหรัฐจะใช้ทุกวิธีเพื่อกดดันบังคับให้นานาประเทศต้องอยู่ภายใต้เสรีตามระเบียบดังกล่าว เป็นตัวอย่างความเป็นจักรวรรดินิยม

อิหร่านต่อกรกับสหรัฐเรื่อยมา ไม่เพียงเพราะการปฏิวัติอิสลาม การมองย้อนหลังไกลกว่า 40 ปีช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันดีขึ้น ชาติมหาอำนาจต้องการครอบงำอิหร่าน เป็นเช่นนี้นับตั้งแต่ค้นพบน้ำมัน

“หลักนิยมทรัมป์” (Trump’s Doctrine) คือการยึดถือผลประโยชน์ของชาติกับอธิปไตยเป็นที่ตั้ง แม้ขัดแย้งประเทศอื่นหรือศีลธรรมคุณธรรม ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสัจนิยม (Realism)

ไม่แปลกที่รัฐบาลทรัมป์ยึดหลักสัจนิยม แต่ต้องศึกษาลงในรายละเอียดว่าอะไรกันแน่ที่รัฐบาลต้องการ สันติสุขหรือความรุนแรง เป็นประโยชน์ต่อชาวอเมริกันหรือน่าจะมีทางเลือกที่ดีกว่า

ชาติมหาอำนาจมั่นคงมั่งคั่งขึ้นบนความสูญเสียของยูเครน เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายประเทศ เป็นอุทาหรณ์แก่ประเทศอื่นๆ ที่เหลือ

อีกหลายปีข้างหน้าเมื่อหวนมองสงครามยูเครนน่าจะได้คำตอบว่าเป็นเพียงฉากหนึ่งของการช่วงชิงระหว่างมหาอำนาจ เหมือนนิยายเรื่องเก่าที่นำมาแสดงใหม่ สหรัฐกับรัสเซียยังคงอยู่ส่วนยูเครนกลายเป็นซาก

The Clash of Civilizations ของฮันติงตันระบุว่าโลกในอนาคตจะไม่แบ่งแยกด้วยอุดมการณ์การเมืองเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่จะแบ่งแยกด้วยความเชื่อศาสนา มนุษย์จะฆ่าฟันทำลายล้างกันด้วยเหตุนี้ แต่ข้อเท็จจริงคือทุกวันนี้อำนาจรัฐระวังการครอบงำจากศาสนา แนวคิดของฮันติงตันอาจถูกตีความว่าต้องการให้ศาสนามีอิทธิพลเหนืออำนาจรัฐฝ่ายโลก หรือไม่ก็หวังใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแบ่งแยกโลก แบ่งความเป็นมิตรกับศัตรูแบบเหมารวม เป็นอีกครั้งที่อำนาจรัฐแสวงหาประโยชน์จากศาสนา

ความเชื่อศาสนาคริสต์ไม่ใช่ตัวแทนของอารยธรรมตะวันตก เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ระบบการค้าอิงหลักคุณธรรมไม่ใช่ความโลภ ความมั่งคั่งมีเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม ปัจเจกมีเสรีภาพแต่เป็นเสรีภาพภายใต้หลักศาสนา ส่วนอิสลามเน้นรักสันติ ไม่สุดโต่ง มุสลิมทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นผู้รักสันติ ไม่ใช่พวกสุดโต่งหัวรุนแรง ต่อต้าน IS อัลกออิดะห์ แต่ฮันติงตันยังพยายามชักนำให้เกิดสงครามศาสนา

บางครั้งการวิเคราะห์โดยตั้งอยู่บนศาสนาสร้างความสับสนไม่น้อย ยกตัวอย่าง ชายพุทธคนหนึ่งข่มขืนแล้วฆ่าหญิงชาวพุทธ อย่างนี้เป็นประเด็นศาสนาหรือไม่ อเมริกาคือประเทศที่มีสถิติข่มขืนสูงมาก จะอธิบายว่าพวกคริสต์มักข่มขืนพวกคริสต์ด้วยกันเองหรือไม่ ควรอธิบายอย่างนี้หรือไม่ว่าถ้าชายบ้ากามคนนี้ข่มขืนหญิงศาสนาเดียวกันก็เพราะ “ความบ้ากาม” แต่ถ้าข่มขืนหญิงต่างศาสนาจะกลายเป็น “การปะทะระหว่างอารยธรรม”

เป็นอีกครั้งที่ผู้นำศาสนาย้ำสันติภาพ การอยู่ร่วมกันแม้ต่างศาสนา และเป็นอีกครั้งที่ผู้นำศาสนาย้ำให้ศาสนิกชนดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาที่ถูกต้อง แสวงหาสันติภาพ ไม่ใช่ความเกลียดชัง

นับจากหลายประเทศมีอาวุธนิวเคลียร์ก็ไม่มีใครใช้อีก นับว่าการป้องปรามได้ผล แต่ความสำเร็จในอดีตไม่เป็นเหตุจะรักษาไว้ได้ตลอดไป โอกาสเกิดสงครามนิวเคลียร์จึงมีอยู่เสมออยู่ตราบเท่าที่โลกมีอาวุธชนิดนี้

Nuclear sharing ความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างสหรัฐกับเยอรมนี
สังคมเยอรมันถกแถลงเรื่องอาวุธนิวเคลียร์เรื่อยมา แต่จนทุกวันนี้อาวุธนิวเคลียร์สหรัฐยังประจำการที่นี่และอาจอยู่อีกนาน เพราะเป็นความสัมพันธ์อันซับซ้อน ผลประโยชน์มหาศาล

สมดุลอินโด-แปซิฟิกจะเปลี่ยนไปถ้าเกาหลีใต้มีอาวุธนิวเคลียร์ และหากคิดจะใช้นิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ต้องถามว่าหากวันหนึ่งสหรัฐห้ามติดต่อค้าขายกับจีน เกาหลีใต้พร้อมทำตามหรือไม่

สงครามใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่ภายใต้หลักคิดของรัฐบาลสหรัฐมองว่ากำลังถูกคุกคาม ประเทศตกอยู่ในอันตรายร้ายแรงจำแก้ไข เกิดความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจนิวเคลียร์

เหตุผลที่โลกไม่เกิดสงครามนิวเคลียร์
ทุกวันนี้การเปิดฉากทำสงครามเป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวข้องกับนานาชาติ ไม่อาจเกิดขึ้นง่ายๆ ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ชั่ววูบภายใต้การตัดสินใจของไม่กี่คน ยิ่งเป็นสงครามนิวเคลียร์ยิ่งเป็นไปได้ยากมาก

สงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องระหว่างยูเครนกับรัสเซีย แต่เป็นการต่อสู้แข่งขันระหว่างมหาอำนาจ เงินเฟ้อที่เกิดกับทุกประเทศ สินค้าขึ้นราคาแพงทั้งแผ่นดินเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม

มีข้อมูลว่า CIA กับหน่วยงานข่าวกรองเยอรมันให้คนทั้งโลกซื้อระบบเข้ารหัสข้อมูล เพื่อจารกรรมข้อมูลจากผู้ซื้อเหล่านั้น ผู้ต้องการปกปิดความลับจ่ายเงินแก่บริษัทที่หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐตั้งขึ้นมา

ข้อมูลที่เปิดเผยจากสถานีวิทยุเดนมาร์ก (DR) ตอกย้ำว่านาโตจารกรรมกันเอง ชาติเสรีประชาธิปไตยจารกรรมพวกเดียวกัน สหรัฐสอดแนมพันธมิตร คำว่าพันธมิตรในมุมมองของสหรัฐหมายถึงอะไรกันแน่

เรื่อง Nord Stream 2 ที่มากกว่าท่อส่งก๊าซ
Nord Stream 2 คืออีกครั้งที่เยอรมันพยายามเป็นอิสระและรัฐบาลสหรัฐขัดขวาง ยูเครนเป็นตัวละครล่าสุดที่ถูกดึงเข้ามาใช้ สถานการณ์ยิ่งยืดเยื้อเท่ากับโลกต้องซื้อใช้พลังงานแพงนานขึ้น

พอโลเนียม-210 ยาพิษปริศนา (Ookbee)
ตั้งแต่ยุคโบราณมนุษย์รู้จักยาพิษ นำมาใช้เป็นอาวุธเรื่อยมา และเมื่อความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นมนุษย์เริ่มคิดค้นสารพิษใหม่ที่ร้ายแรงกว่าสารพิษที่พบตามธรรมชาติ พอโลเนียม-210 คือตัวอย่างสารพิษที่มนุษย์แสวงหามานานแล้ว นั่นคือสารพิษหรือยาพิษที่ไร้สีไร้กลิ่นไร้รส ไม่มีทางเยียวยาที่ได้ผลดี ตรวจจับไม่ได้ (ยากแก่การตรวจจับ) ผู้เสียชีวิตมักเป็นบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญทางการเมือง พอโลเนียม-210 จึงเป็นยาพิษสมัยใหม่ที่คิดค้นมาเพื่อจัดการบุคคลเหล่านี้

แนวคิดกำจัดผู้นำฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ยาพิษสมัยใหม่ไร้รสไร้กลิ่น ขนาดเพียงเม็ดฝุ่นฆ่าคนได้แล้ว มีกระแสชวนให้คิดลอบสังหารประธานาธิบดีปูติน มีเหตุผลรองรับ

สงครามยูเครนฝ่ายรัสเซียมีแต่ชนะกับเสมอ ส่วนยูเครนมีแต่เสมอกับแพ้ เพราะรัสเซียพร้อมใช้นิวเคลียร์ถ้าใกล้แพ้ส่วนนาโตไม่กล้าใช้นิวเคลียร์ช่วยยูเครนที่กำลังปกป้องประชาธิปไตยยุโรป

ไม่ว่าจะประกาศดังๆ หรือกระซิบเบาๆ รัฐบาลเนทันยาฮูกับไบเดนจะถูกประณามว่า “ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ” “ละเมิดสิทธิมนุษยชน” “ขาดมนุษยธรรม”

มติยูเอ็นสนับสนุนตั้งรัฐปาเลสไตน์มติยูเอ็นสนับสนุนตั้งรัฐปาเลสไตน์
ยืนยันเจตนารมณ์ของนานาชาติที่ “ขัดแย้ง” อิสราเอล สหรัฐและพวก สะท้อนว่าระเบียบโลกเก่าที่สหรัฐเป็นแกนนำกำลังสั่นคลอน

รัฐบาลซาอุฯ กับสหรัฐมีเป้าหมายของตนเอง ขัดแย้งกันในอุดมการณ์หรือหลักยึด ยิ่งสหรัฐต้องการขยายอำนาจอิทธิพลครอบงำ ฝ่ายซาอุฯ ย่อมต้องตอบโต้ตามหลักคำสอนอิสลาม

เป็นธรรมดาที่จะมีผู้แข็งแรงกับอ่อนแอกว่า รัฐบาลสหรัฐอาศัยอิสราเอลกับซาอุฯ ที่แข็งแรงและเป็นพันธมิตรของตนช่วยควบคุมกำกับภูมิภาคตะวันออกกลาง

การลุกฮือครั้งที่ 2 หรือการลุกฮือแห่งอัล-อักซอร์และข้อคิด
ช่วงปี 2000-2004 เกิดเหตุการลุกฮือครั้งที่ 2 (Second Intifada) หรือการลุกฮือแห่งอัล-อักซอร์ (Al-Aqsa Intifada) หลังเอเรียล ชารอน เดินทางไปที่เขตวิหารศักดิ์สิทธิ์ ผลลัพธ์สำคัญคือการเจรจาสันติภาพยุติ และไร้ข้อสรุปจนถึงบัดนี้ พร้อมกับที่อิสราเอลก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตยึดครองเรื่อยมา เหตุการณ์เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วให้บทเรียนสำคัญ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวต่อต้านอิสราเอลควบคุมมัสยิดอัล-อักซอร์ในช่วงนี้ ...

ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการบางคนพูดเสมอว่าราคาน้ำมันเป็นไปตามหลักตลาดเสรี ขึ้นกับอุปสงค์อุปทาน แต่การลดต่ำของราคาน้ำมันดิบในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีหลักฐานหลายชิ้นที่บ่งบอกว่าไม่ได้เป็นไปตามหลักกลไกเสรี หนึ่งในหลักฐานดังกล่าวคือแนวคิดที่ว่ารัฐบาลซาอุฯ กำลังใช้ราคาน้ำมันเป็นเครื่องมือจัดการอิหร่าน เรื่องทำนองไม่ใช่เรื่องใหม่ราคาน้ำมันเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศมานานแล้ว

มายาคติ จันทร์เสี้ยวชีอะห์
ไม่มีนิยามสากลว่าจันทร์เสี้ยวชีอะห์ครอบคลุมพื้นที่ใด คำตอบที่ถูกต้องไม่มี เพราะแท้จริงแล้วไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนชัดเจน เป้าหมายที่สร้างขึ้นเพื่อจะทำลาย

มีแนวคิดว่าแท้จริงแล้วการที่รัฐบาลสหรัฐจ้องเล่นงานอิหร่านเป็นเพราะแรงกดดันจากซาอุดีอาระเบีย ความขัดแย้งระหว่างซาอุฯ กับอิหร่านเป็นการช่วงชิงอิทธิพลในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ยอมกันไม่ได้

การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับศาสนา เชิดชูอิหร่าน เป็นเหตุผลว่าทำไมอิหร่านจึงแสดงบทบาทเข้มแข็งโดดเด่นไม่หยุด

ผลเมื่อชาติอาหรับญาติดีกับกับอิสราเอล
การปรับความสัมพันธ์อิสราเอลกับชาติอาหรับเป็นกรณีน่าศึกษา จากศัตรูที่อยู่ร่วมโลกไม่ได้แต่นับวันความเป็นศัตรูหดหาย อุดมการณ์เปลี่ยนได้ เป้าหมายเปลี่ยนไป เปิดเผยชัดเจนกว่าเดิม

หากมองว่ายิวไม่ใช่ศาสนาหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมโลกไม่ได้ ซาอุฯ ในยุคนี้กำลังประกาศว่าสามารถอยู่ร่วมกับทุกศาสนาทุกเชื้อชาติ เป็นไปตามคำสอนอิสลาม

บัดนี้สถานการณ์ชี้ชัดแล้วว่าอิสราเอลกำลังจัดการฮิซบอลเลาะห์ต่อจากฮามาส ทำลายอิหร่านกับสมุนให้เสียหายหนัก

เนทันยาฮูย้ำว่าอิสราเอลหวังอยู่ร่วมกับนานาชาติโดยสันติ แต่กระแสโลกต่อต้านอิสราเอลส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของอิสราเอล นโยบายกับความจริงจึงย้อนแย้ง

ความไม่พอใจรัฐบาลเป็นเรื่องปกติของการเมืองการปกครอง แต่เมื่อบานปลายจนไร้การควบคุม ต่างชาติเข้าแทรก การชุมนุมประท้วงจึงกลายเป็นสงครามกลางเมือง ประเทศซีเรียไม่ใช่ของชาวซีเรียอีกต่อไป

แทนความขัดแย้งควรสร้างบรรยากาศการพัฒนา สันนิบาตอาหรับยินดีร่วมมือกับทุกมหาอำนาจ ทุกศาสนาเชื้อชาติ นี่คือจุดยืนของชาติอาหรับที่คิดและทำเพื่อตัวเอง เป็นสิทธิที่พลเมืองอาหรับควรได้รับ

หากเบนเน็ตต์ได้นั่งตำแหน่งนายกฯ จะเป็นความสำเร็จทางการเมืองครั้งใหญ่ เมื่อผู้นำคนเก่าสะสมเรื่องอื้อฉาวเต็มตัวถึงคราวร่วงโรย ย่อมเป็นโอกาสแก่ผู้นำดาวรุ่งคนใหม่ เป็นวัฏจักรการเมืองอย่างหนึ่ง

ท้ายที่สุดกลับสู่คำถามว่าทำไมผ่านไปกว่า 3 ทศวรรษจึงยังไม่เกิดแผนสันติภาพ ไม่เกิดทวิรัฐ น่าคิดว่าสภาพเช่นนี้แหละที่รัฐบาลอิสราเอลเห็นว่าเหมาะสมแล้ว

ความเป็นไปของอัฟกานิสถานชี้ชัดว่ารัฐบาลประชาธิปไตยอยู่ได้เพราะกองทัพกับเงินดอลลาร์ของอเมริกัน เป็นอีกครั้งที่ประชาธิปไตยอเมริกันพ่ายแพ้แก่ระบอบการปกครองอื่น

20 ปีสงครามอัฟกานิสถาน ชัยชนะของสหรัฐ
กองทัพถอนตัวหลังเสร็จศึกเป็นเรื่องปกติ อัฟกานิสถานคือพื้นที่สมรภูมิเพื่อรักษาหรือแสดงความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐ เป้าหมายสำคัญคือสหรัฐยังคงเป็นความเป็นมหาอำนาจของตน

20 ปีที่สหรัฐกับพวกทำสงครามในอัฟกานิสถาน ทุ่มเทงบประมาณนับล้านล้านดอลลาร์ สุดท้ายประวัติศาสตร์หน้านี้อาจเขียนว่าพวกตาลีบันต่อต้านต่างชาติอย่างทรหดถึง 20 ปีจนได้ชัยชนะ

ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซียในวิกฤตยูเครนเป็นสงครามเย็นหรือไม่
แม้ว่าทุกวันนี้จะผ่านพ้นสงครามเย็นมานานแล้ว สิ่งหนึ่งที่สื่อชาติตะวันตกทำอย่างต่อเนื่องนับจากสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน คือ การโฆษณาชวนเชื่อ บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร หลอกหลวงประชาคมโลกอย่างเป็นระบบ ไม่ต่างจากทางการรัสเซียที่ยังใช้การโฆษณาชวนเชื่อเป็นเครื่องมือดังที่กระทำเรื่อยมา วิกฤตยูเครนในขณะนี้เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ต่างฝ่ายต่างพยายามช่วงชิงความได้เปรียบ โดยพยายามเปรียบเปรยให้นึกถึงสงครามเย็น ยุคที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน และพยายามดึงให้ประเทศอื่นๆ อยู่กับฝ่ายของตน
บทความนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน
3. ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซียในวิกฤตยูเครนเป็นสงครามเย็นหรือไม่(ตอนจบ)

ยุทธศาสตร์สร้างความเกลียดชังรัฐบาลจีน 
รัฐบาลทรัมป์ประสบผลไม่น้อยในการสร้างความเกลียดชังรัฐบาลจีน ความเกลียดชังนี้ขยายผลสู่ระดับประชาชน เป็นประเทศที่ใช้นโยบายเกลียดชังคนอื่นเพื่อเล่นงานฝ่ายตรงข้าม หวังผลทางการเมือง

ในทางยุทธศาสตร์มีแนวคิดว่าแทนที่สหรัฐจะปิดล้อมจีนกับรัสเซียพร้อมกัน ทำไมจึงไม่จับมือรัสเซียร่วมปิดล้อมจีน แต่แนวคิดนี้มีจุดอ่อนและอุปสรรคหลายประการ

รัฐบาลไบเดนพูดถึงประโยชน์ของ IPEF แต่มีข้อสงสัยว่าชาติสมาชิกคู่เจรจาจะได้ประโยชน์ทางการค้าเศรษฐกิจแค่ไหน มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่

หลายปีต่อจากนี้เยอรมนีจะตั้งงบกลาโหมให้ได้เฉลี่ย 2% ของ GDP จำต้องปรับขึ้นมากเพื่อพัฒนากองทัพรับมือสถานการณ์ มีความรับผิดชอบต่อยุโรปและโลก

กระแสกลัวรัสเซียเป็นทัศนคติ การรับรู้ของผู้ที่มองรัสเซียเป็นภัยซึ่งอาจเป็นจริงหรือเกินจริง ในยุคทรัมป์กระแสกลัวรัสเซียถูกผูกเข้ากับการเมืองภายในอเมริกาเพื่อชี้ว่าทรัมป์คือหุ่นเชิดของรัสเซีย

นาโตเป็นตัวอย่างองค์การระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงยาวนานถึง 70 ปี แต่นาโตปัจจุบันไม่เป็นเอกภาพดังเดิม เป็นอีกตัวอย่างแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอันซับซ้อน การบั่นทอนต่อสู้กันภายใน

ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้ (MNNA)
ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโตไม่ใช่สนธิสัญญาป้องกันประเทศร่วม เป็นประเทศที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มีความร่วมมือด้านความมั่นคงหลายอย่าง

สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันครบรอบ 70 ปีแตกต่างจากเมื่อก่อตั้งประเทศในทุกมิติ และกำลังเปลี่ยนแปลงต่อไปทุกด้านพร้อมกับอีกหลายประเทศตามแนว หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ในโลกแห่งสัจนิยม (Realism) ความเป็นอภิมหาอำนาจจะต้องเหนือกว่าประเทศอื่น พลังอำนาจทางทหารหรือกองทัพเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง จำต้องมีอาวุธนิวเคลียร์ที่เหนือกว่า

กองทัพจีนพัฒนาโดยยึดแนวการรบแบบชาติตะวันตก หากเศรษฐกิจพัฒนาเติบโตต่อไป ผลประโยชน์ที่ขยายตัวทั่วโลกย่อมเป็นเหตุให้กองทัพจีนต้องสามารถปกป้องผลประโยชน์ประเทศที่กระจายทั่วโลก

ไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่การกีดกันเทคโนโลยีชิ้นส่วนไฮเทคสู่จีนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบโลกในตอนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็นใหม่ที่การแบ่งขั้วชัดเจนยิ่งขึ้นทุกที

จุดยืนของจีนชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง ไต้หวันประกาศเอกราชคือขอแบ่งแยกดินแดน จีนจะส่งกองทัพบุกโค่นล้มรัฐบาลไต้หวัน ยึดดินแดนกลับคืน ไม่ปล่อยให้ไต้หวันเป็นเช่นปัจจุบันอีก

หลายคนละครแล้วมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน บางคนถึงกับ “ติด” การดูละครไม่ใช่เรื่องผิด การโฆษณามีอยู่คู่กับอุตสาหกรรมละคร ประเด็นข้อคิดคือ “เป็นไปได้ไหมที่ละครทั้งเรื่องคือโฆษณา” นั่นหมายความว่าเวลาดูละครคือดูโฆษณา ได้รับสื่อโฆษณาทั้งแบบตรงไปตรงมากับแบบแนบเนียน การที่เป็นเช่นนี้มีทั้งผลดีผลเสีย เพราะบางส่วนคือการปลูกฝังค่านิยมที่ดี ส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ในด้านลบก็มีเช่นกัน

‘ชาร์ลีเอ็บโด’การเผชิญหน้าของ 2 สุดโต่ง เสรีนิยมสุดโต่งกับมุสลิมสุดโต่ง
กรณี “ชาร์ลีเอ็บโด” สังคมควรตั้งคำถามว่าผู้ก่อเหตุยิงสังหารกระทำตามหลักอิสลามหรือไม่ หรือว่าเป็นพวกบิดเบือนศาสนา เข้าใจหลักศาสนาผิดพลาด ในอีกด้านหนึ่ง การล้อเลียนโดยอ้างว่าเป็นเรื่องของการใช้เสรีภาพ ไม่ช่วยสร้างสรรค์สังคม เป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความแตกแยก ความเกลียดชัง เพราะเป็นที่รับรู้ทั่วไปอยู่แล้วว่าการลบหลู่อิสลามสร้างความแตกแยกในสังคม เป็นต้นเหตุความรุนแรง สังคมควรส่งเสริมพวกสุดโต่งเหล่านี้หรือไม่

โลกต้องชื่นชมเศรษฐีผู้สร้างความร่ำรวยเพื่อมุ่งช่วยเหลือสังคมให้เป็นอารยะ ไม่ส่งเสริมยกย่องเศรษฐีที่ไม่ดูแลสังคมอย่างจริงจัง ยึดหลัก “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” อยากเห็นผู้อื่นมีความสุขเหมือนตนเอง

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ชูธงการค้าเสรี โจมตีหลัก “อเมริกาต้องมาก่อน” ความเข้าใจที่ถูกต้องคือไม่มีการค้าเสรีที่เสรีเต็มร้อย ทุกอย่างอยู่ในข้อตกลงที่เปิดเผยและปิดลับ ปรับแก้ได้และไม่มีของฟรีในโลก

รัฐบาลทรัมป์ชี้ว่าต้องแก้ปัญหาขาดดุลด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจีนและกำลังไปด้วยดี แต่นักวิชาการ องค์การระหว่างประเทศหลายแห่งให้มุมมองตรงข้าม ท่ามกลางผู้คนจำนวนไม่น้อยยังอยู่ในวังวนภาพลวงตา

การห้ามนานาประเทศซื้อน้ำมันอิหร่านไม่ใช่เรื่องการคว่ำบาตรอิหร่านเท่านั้น ยังมีผลโดยตรงต่อระเบียบการซื้อขายน้ำมันโลก หลายประเทศต้องมุ่งนำเข้าน้ำมันจากผู้ส่งออกที่เป็นมิตรกับสหรัฐเท่านั้น

ปานามา เปเปอร์ส’ คือชื่อที่เรียกขานข้อมูลลับของลูกค้าของบริษัทมอสสัคฟอนเซคา หรือคือการสืบสวนเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของบริษัทมอสสัคฟอนเซคา ลูกค้าบริษัทผ่านข้อมูลที่รั่วไหลออกมา จากการที่บริษัทเอกชนได้ประโยชน์จากบริษัทนอกอาณาเขต มีลูกค้าชั้นดีอย่างพวกอาชญากรข้ามชาติ เป็น “ตู้เซฟ” ของชนชั้นอำนาจ เป็นเครื่องมือความมั่นคงของรัฐ จึงคาดการณ์ได้ว่าบริษัทอย่างมอสสัคฟอนเซคายังเป็นที่ต้องการของตลาด รัฐหนึ่งอาจต่อต้านแต่อีกรัฐจะปกป้อง

ผู้ก่อการร้ายยังคงมีอยู่ในกว่าร้อยประเทศทั่วโลก มีทั้งกลุ่มเล็กกับกลุ่มใหญ่ชื่อดังอย่างอัลกออิดะห์ ISIS บางครั้งก่อเหตุตามลำพังจนถึงขั้นมีรัฐบาลต่างชาติให้การสนับสนุน เป็นอีกประเด็นที่อยู่คู่สถานการณ์โลก

รัฐบาลบุชกับพวกส่งกองทัพบุกอัฟกานิสถานทำสงครามต่อต้านก่อการร้าย รัฐบาลชุดถัดมาเจรจากับตาลีบันที่สหรัฐตีตราว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ในที่สุดรัฐบาลไบเดนประกาศถอนทหารที่เหลือเพียงไม่กี่พันกลับบ้าน

Pew Research Center เสนอผลสำรวจภัยคุกคามต่างๆ ตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่าผู้ก่อการร้าย IS/ISIL/ISIS กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (global climate change) คือ 2 ประเด็นที่คนทั่วโลกเห็นว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดในขณะนี้

ประชาคมโลกสามารถช่วย LDCs พัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการเห็นคุณค่าว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก เข้าถึงระบบตลาดและได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

คนต่างด้าวอพยพ (Migrant) ต่างจากคนต่างด้าวย้ายถิ่น (Immigrant) ตรงที่คำหลังให้ความหมายเชิงการย้ายถิ่นถาวรมากกว่า ทั้ง 2 คำไม่เน้นเหตุผลของการย้ายถิ่น คำว่าผู้ขอลี้ภัย (Asylum) คือคนต่างด้าว ต่างสัญชาติที่แจ้งความจำนงต่อรัฐบาลขอเป็นผู้ลี้ภัย การอพยพย้ายถิ่นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศรับคนเหล่านี้เป็นประจำทุกปี 

สถานการณ์ “ผู้อพยพลี้ภัย” กับ “คนพลัดถิ่นภายในประเทศ” รุนแรงขึ้นและน่าเป็นห่วงทั้งในแง่จำนวนและไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะสงบ ผู้ลี้ภัย คนพลัดถิ่นสามารถกลับถิ่นฐาน ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุข เนื่องจากเป็นความขัดแย้งที่เมื่อบานปลายแล้วยากจะแก้ไข เช่น ความแตกแยกทางนิกายศาสนา การปรากฏตัวของผู้ก่อการร้าย กองกำลังต่างชาติ การแบ่งแยกทางการเมือง การแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจ แนวทางที่ดีที่สุดคือไม่ให้ปัญหา ความขัดแย้งบานปลาย

จนถึงสิ้นปี 2016 ทั่วโลกมีผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานทั้งสิ้น 65.6 ล้านคน เพิ่มสูงกว่าปีก่อน ความขัดแย้งภายในประเทศ สงครามกลางเมือง ยังเป็นเหตุผลหลักของการพลัดถิ่นและเกิดกับพื้นที่เดิมๆ ในตะวันออกกลางกับแอฟริกา แสดงให้เห็นว่าปัญหาประเทศเหล่านี้ยังคงอยู่ หลายแสนสามารถกลับถิ่นฐาน ส่วนหนึ่งได้อพยพไปอยู่ประเทศที่ 3 อย่างถาวร แต่น้อยกว่าผู้พลัดถิ่นที่เกิดใหม่หลายล้านคน ข้อเสนอแก้ไขคือสถาบัน องค์กรศาสนาควรแสดงบทบาทให้มากกว่าที่เป็นอยู่

ประเด็นโรฮีนจา (Rohingya) เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและชาติสมาชิกอาเซียนอีกหลายประเทศโดยตรง มีผลต่อความเป็นไปของเมียนมาและกระทบต่อทั้งภูมิภาค เป็นเรื่องเก่าหลายทศวรรษ (หรือหลายศตวรรษ) และคงจะอยู่คู่กับอาเซียนอีกนาน จึงเป็นประเด็นที่ควรศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้
            “10 คำถาม โรฮีนจา” จะตอบคำถามหรือนำเสนอ 10 ข้อ 10 ประเด็น เริ่มจากการเรียกชื่อ ควรเรียก “โรฮีนจาหรือโรฮินญา” อธิบายต้นกำเนิดโรฮีนจา เป็นชาวเบงกาลีหรือไม่ เหตุผลเบื้องหลังรัฐบาลเมียนมาไม่ถือโรฮีนจาเป็นพลเมือง จากนั้นอธิบายเหตุปะทะเมื่อปี 2012 ซึ่งเป็นจุดเริ่มของความสนใจรอบใหม่ ความเกี่ยวข้องของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ปัญหาชุมชนโรฮีนจาซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่อาจมองข้าม นโยบายและท่าทีของรัฐบาลเมียนมา โอบามาและมาเลเซีย สอดแทรกด้วยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ช่วยตอบโจทย์อนาคตของโรฮีนจา อนาคตประชาธิปไตยเมียนมาซึ่งมีผลกระทบต่ออาเซียนทั้งหมด

เนื่องจากไม่อาจมองว่าผู้อพยพโรฮีนจาเป็นปัญหาของเมียนมาเท่านั้น ถ้าพูดให้ครอบคลุมกว่านี้ ในโลกนี้มีอีกนับร้อยล้านคนที่รอความช่วยเหลือ จึงต้องเริ่มต้นด้วยการตอบว่าเป็นปัญหาของใคร

นับแต่ก่อตั้งอาเซียนเมื่อ 50 ปีก่อน หลักไม่แทรกแซงกิจการภายในเป็นเสาหลักของกลุ่ม ประเด็นโรฮีนจาเป็นกรณีพิเศษที่อาเซียนละเมิดหลักการ แต่เพราะเมียนมาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน

มุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก
อาเซียนเสนอเอกสาร “มุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก” หวังนำอนุทวีปอินเดียเข้ามาเชื่อมต่อกับเอเชียแปซิฟิกให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น คงหลักอาเซียนเป็นแกนกลาง เน้นความร่วมมือแทนการทำลายล้าง

แม้กลุ่มนอกโอเปกเป็นที่รู้จักน้อยกว่ากลุ่มโอเปก กลุ่มนอกโอเปกมีส่วนช่วยเพิ่มอุปทานน้ำมัน ลดการผูกขาด กำลังก้าวขึ้นมาเทียบเคียงโอเปกและมีความซับซ้อนภายในกลุ่มนี้

อาจเป็นเพราะรัสเซียเสนอว่าถ้าจะลดก็ต้องลดทุกประเทศ ไม่ใช่มีบางประเทศที่ ลอยตัวอยากผลิตเท่าไหร่ก็ได้ ไม่อยู่ในระบบโควตามาตรฐาน

เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน
เมื่อต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากการคว่ำบาตรน้ำมันก๊าซธรรมชาติรัสเซีย วิธีแก้คือระงับหรือชะลอคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียออกไปก่อน ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐกับเงินเฟ้อโลกจะลดลง เศรษฐกิจฟื้นตัวทันที

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและทางออก

แทบทุกรัฐบาลประกาศว่าจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำแต่ยิ่งทำยิ่งเหลื่อมล้ำ องค์การอ็อกแฟมเสนอให้แก้ 3 เรื่องหลักคือ การใช้จ่ายภาคสังคม ภาษีและสิทธิแรงงาน ที่เหลืออยู่ที่ความตั้งใจของรัฐบาล

แทบทุกรัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำแต่ข้อเท็จจริงคือโลกเหลื่อมล้ำยิ่งกว่าเดิม องค์การอ็อกแฟมเสนอวิธีแก้ไขที่ทุกประเทศทำได้ เป็นมาตรการที่ได้ผล เหลือเพียงรัฐบาลกล้าลงมือหรือไม่

หากไม่แก้ความเหลื่อมล้ำจะนำสู่หายนะทางเศรษฐกิจสังคม ร้ายแรงที่สุดคือล้มล้างการทางเมือง ทางออกนั้นชัดเจนด้วยการเก็บภาษีพวกมหาเศรษฐีพันล้าน ไม่ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีก ฯลฯ

City Carshare” หวังสร้างชุมชนต้นแบบที่คนใช้รถร่วมกัน ช่วยลดรายจ่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากความตั้งใจของคนไม่กี่คนกลายเป็นองค์กรใหญ่ บริหารแบบมืออาชีพ ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ กำไรขาดุทน ความสำเร็จของ “City Carshare” เป็นแบบอย่างแก่องค์กรภาคประชาชนอื่น สร้างประโยชน์แก่สังคมและให้ข้อคิดแก่ผู้ประสงค์ทำงานเพื่อสังคม

หลายรัฐบาลมองสื่อเป็นอริเพราะมักวิพากษ์วิจารณ์รัฐ ในอีกมุมหนึ่งสื่อถูกใช้เป็นกลไกของรัฐช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการโฆษณาชวนเชื่อทั้งระดับประเทศและโลก เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน

ความมั่นคงทางอาหาร เรื่องจริงที่ควรรู้
ความมั่นคงทางอาหารแท้จะต้องเป็นระดับชุมชนขึ้นไป เมื่อคนอิ่มท้องและมั่นใจว่าพรุ่งนี้มีกินความวิตกกังวลจะลดน้อยลง มีสติคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น สังคมไม่โกลาหลวุ่นวาย

ไม่ควรเป็นคำถามอีกแล้วว่าการทำลายสิ่งแวดล้อม ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นผลร้ายหรือไม่ คำถามที่ควรถามคือจะจัดการแก้ไขอย่างไร และเร่งลงมือก่อนจะเสียหายหนักกว่านี้

ปีนี้ (2017) สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงมีความรุนแรงกว่าปกติ ทางการฮ่องกงกำลังรับมือเต็มที่ การระบาดเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้ แต่หากรุนแรงจะกลายเป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐ เชื้อโรคเพียงชนิดเดียวอาจสร้างความเสียหายมากมาย ดีที่โรคไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน กลุ่มบุคคลเสี่ยงติดเชื้อควรพิจารณาฉีดวัคซีนเป็นพิเศษ

ผลจากการแพร่ระบาดของเชื้ออีโบลาทำให้สังคมโลกตีตราว่าประเทศที่มีการแพร่ระบาดกลายเป็นประเทศที่อันตรายต่อชีวิตมากที่สุด หลายคนกลัวแม้กระทั่งไม่กล้าซื้อสินค้าจากประเทศเหล่านี้ ตราบใดที่การแพร่ระบาดยังไม่สิ้นสุด ประเทศเหล่านี้เหมือนประเทศที่ถูกคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนจากนานาชาติ เป็นการยากลำบากอย่างยิ่งที่ประเทศซึ่งยากจนอยู่แล้วจะพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้เจริญรุ่งเรือง

โลกรู้จักไวรัสอีโบลา หลายทศวรรษแล้ว ช่วงเวลาที่ผ่านมา เกิดการระบาดครั้งใหญ่น้อยหลายรอบ แต่จนถึงทุกวันนี้ โลกยังปราศจากยา วัคซีนที่ใช้ได้ผลอย่างจริงจัง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะขาดการวิจัยยากับวัคซีนที่มากเพียงพอ ในภาวะเช่นนี้ การป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดคือ “แนวทางรักษา” ที่เหมาะสมที่สุด เพราะเมื่อไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม การระบาดจะยุติไปเอง

การแพร่ระบาดครั้งนี้อาจมองว่าเป็นสงครามโลก เป็นสงครามที่นานาชาติ คนเกือบทั้งโลกต้องสู้กับเชื้อชนิดใหม่ สงครามที่สร้างความเสียมหาศาล อาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะฟื้นตัวกลับมา

โควิด-19 โอกาสและ Disruptor แห่งปี 2020
ไวรัสโควิด-19 กำลังเป็น Disruptor เขย่าโลกทุกมิติ ความสูญเสียร้ายแรงที่สุดคือการเสียชีวิต คือความสูญเสียของนับแสนนับล้านครอบครัว และเป็นโอกาสหากเรียนรู้พัฒนาฟันฝ่าความท้าทายครั้งนี้

ถ้าเชื่อหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์จะสรุปว่าเกิดจากธรรมชาติ ถ้าเชื่อว่าเป็นฝีมือมนุษย์ต้องคิดต่อว่าจะเชื่อฝั่งใด เป็นเชื้อโรคหรือแผนของประเทศใด สหรัฐ จีน ฯลฯ ด้วยหลักฐานเหตุผลใด

QAnon กำลังเป็นกระแสหวังทำลายระบบโลกเก่าสร้างโลกใหม่ ตอบสนองความคิดของหลายคนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อาจมองว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวหรือเครื่องมือช่วงชิงอำนาจ

บิล เกตส์กับทฤษฎีสมคบคิดโควิด-19 ให้ความเข้าใจว่าสังคมอเมริกันอยู่ในภาวะสับสนทางความคิด หลายคนแยกไม่ออกว่าอะไรจริงอะไรเท็จ ทำให้ยุคโควิด-19 ยืดเยื้อยาวนาน ส่งผลกระทบทั้งโลก

โลกกำลังตื่นเต้นยินดีกับข่าวความสำเร็จของวัคซีนต้านโควิด-19 แต่สำหรับพวกที่เชื่อทฤษฎีสมคบคิดนี่คือการรุกคืบอีกขั้นของชนชั้นปกครองโลก

ผลของโควิด-19 จะอยู่กับโลกอีกหลายปี หลายอย่างจะเปลี่ยนไป เป็นที่มาของคำว่า “ยุคโควิด-19” เป็นทั้งโอกาสกับการทำลายล้าง ความร่วมมือช่วยให้อยู่รอดร่วมกัน

ผู้ที่พูดทำนองไวรัสโรคโควิด-19 มาจากศูนย์วิจัยเมืองอู่ฮั่น ควรแสดงหลักฐานก่อน ไม่ใช่นั้นจะเป็นการ “ตั้งธง” ชวนให้คนอื่นเข้าใจอย่างนั้นทั้งๆ ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้

การที่ชาติมหาอำนาจยังมัวขัดแย้งกัน (แทนที่จะร่วมมือกัน) ทำให้การระบาดรุนแรงขึ้น ยาวนานขึ้น ผู้คนล้มป่วยเสียชีวิตมากขึ้น ขยายความสูญเสียทางเศรษฐกิจสังคมอย่างประเมินค่าไม่ได้


IoT เป็นระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่าง สามารถสั่งการโดยอัตโนมัติ เป็นเหมือนผู้รู้ปัจจุบัน ประเมินอนาคตและให้คำแนะนำว่าแต่ละเรื่องควรดำเนินการอย่างไร

โลกเต็มไปด้วยการแข่งขันช่วงชิง ทางที่ดีคือนำประเทศต่างๆ มาอยู่ภายใต้กรอบกติกาที่ทุกประเทศเห็นชอบ ในขณะเดียวกันจำต้องสร้างพลังอำนาจแห่งชาติ หนึ่งในนั้นคือสร้างความเข้มแข็งจากภายใน

โลกกำลังเจอปัญหาใหญ่ นับวันยิ่งแบ่งแยก ความไม่เท่าเทียมขยายกว้าง ต้องปรับเปลี่ยนระบบการเงินโลกที่สร้างโดยประเทศร่ำรวย ต้นเหตุความไม่เท่าเทียม

สิ่งหนึ่งที่โลกไม่เปลี่ยนแปลงคือ โลกแก่งแย่งแข่งขันเรื่อยมา ทางออกสำหรับประเทศไทยคือ ต้องไม่ตกเป้าทำลายของมหาอำนาจ มีสัมพันธ์รอบทิศ สร้างมิตร และสร้างชาติเหมือนสร้างครอบครัว

ประวัติศาสตร์โลกเต็มด้วยสงคราม ศาสนาไม่สอนให้ทำชั่วแต่ชี้ว่าสงครามคือส่วนหนึ่งของมนุษย์ บทบาทของความเชื่อคือช่วยยับยั้งชั่งใจ หากใช้ร่วมกับหลักวิชาอื่นจะช่วยสร้างสันติได้มากขึ้น

-------------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุดมการณ์ทางการเมือง (1) นิยาม อุดมการณ์ทางการเมือง

อุดมการณ์ทางการเมือง (2) อุดมการณ์เสรีนิยม

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก