ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 1

ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่งประเทศ
“ความสำคัญของวิชา”
วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้รับความสนใจอย่างมากภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ความปรารถนาที่จะสร้างสันติภาพให้แก่มวลมนุษยชาติ โดยหวังว่าความรู้ในศาสตร์นี้จะสามารถตอบคำถาม อธิบาย และนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างประเทศ

· โลกเราแคบลงทุกวัน
โลกยุคนี้นับวันแต่แคบลงและใกล้ชิดกันมากขึ้น ข้าวไทยส่งออกทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆของโลก คนไทยมีโอกาสดูภาพยนต์จากฮอลีวูดที่อยู่คนละซีกโลกกับประเทศไทย
· ประเทศไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยว การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย
การปิดประเทศไม่ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ไม่น่าจะเป็นนโยบายที่ดี แต่เราต้องติดต่อค้าขาย รัฐบาลไทยชุดแล้วชุดเล่าพยายามหาช่องทางค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น บางประเทศที่ยังไม่ได้ค้าสินค้านั้นๆก็ต้องดั้นด้นหาทางติดต่อซื้อขาย

· การติดต่อกับต่างประเทศมีผลต่อวิถีชีวิตของเรา
ถ้าเราไม่ติดต่อกับต่างประเทศ วันนี้เราอาจจะยังไม่มีรถไฟฟ้าทั้งแบบบนดินใต้ดิน ไม่มีอินเตอร์เน็ท ฯลฯ

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าการติดต่อกับต่างประเทศเราจะได้แต่สิ่งดีทั้งหมดหรือเสมอไป
· แม้เราไม่อยากติดต่อด้วย ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลถึงเรา
เช่น ชนพื้นเมืองชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกา แม้ต้องการดำเนินวิถีชวิตอยู่อย่างสงบ แต่ก็ไม่อาจทำให้ชาวยุโรปที่เข้ามายึดครองดินแดนจนหมดทวีปอเมริกาในที่สุด
ในสมัยยุคล่าอาณานิคม ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทั้งหมดต่างตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ยกเว้นสยามประเทศภายใต้รัชกาลที่ 5

ในยุคปัจจุบัน แม้แทบไม่มีการยึดดินแดนของอีกประเทศหนึ่งแล้ว แต่ภัยคุกคามใหม่ๆเกิดขึ้น และกระทบทั่วโลก เช่น กรณีไข้หวัดนก (เชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5N1) ภาวะโลกร้อน (Global warming)
· แต่ความจริงคือคนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสนใจกับเรื่องที่ราวที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ หรือไม่สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม
ปลายปี 1997 สำนักโพลล์แห่งได้สำรวจพบว่าชาวอเมริการ้อยละ 20 ที่บอกว่าตนเองติดตามข่าวระหว่างประเทศ

“ขอบเขตวิชา”
            เค.เจ.โฮลสติ มองว่าวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศศึกษาเรื่อง การปะทะสังสรรค์ทุกแบบระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกของต่างสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม ครอบคลุมเรื่องการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศจะต้องศึกษาสถาบันการค้าระหว่างประเทศ กาชาดสากล การท่องเที่ยว การคมนาคมระหว่างประเทศ พัฒนาการค่านิยมและจริยธรรมระหว่างประเทศ

            สตีฟ ชาน มีความเห็นคล้ายของโฮลสติ ทั้งนี้ดูจากคำนิยามของเขาที่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นการปะทะสังสรรค์ของตัวละครต่างๆ โดยที่การกระทำและสภาพการณ์ของตัวละครเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อตัวละครอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจควบคุมปกครองของตน

วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International relations) คือวิชาที่ศึกษาว่าใครได้อะไรเมื่อไหร่ อย่างไรที่อยู่นอกเขตแดนของประเทศตน

·      เป้าหมายทางวิชาการ ของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ที่สุดแล้ว เป้าหมายของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอยู่ที่
1.        การเข้าใจประเด็นหรือสถานการณ์ปัจจุบัน และ
2.        ในประเด็นที่อยู่ในความสนใจในปัจจุบัน จะคาดการณ์ความเป็นไปในอนาคต
3.        การเสนอแนะทางออกหรือให้ทิศทาง แนวการแก้ไข

ดังนั้น แนวเนื้อหาจึงพูดถึงประเด็นที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมโลกหรือในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน

สภาพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งอนาคตเกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นสำคัญ ความสำคัญของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือเพื่อแสวงหา การบรรลุถึงเป้าหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ทั้งในระดับองค์กรจนถึงระดับปัจเจกบุคคล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลเป็นอย่างไรสะท้อนประชาชนเจ้าของประเทศ หากจะให้รัฐมีสัมพันธ์ต่อกันที่ดีกว่านี้ ต้องแก้ไขที่ตัวประชาชนก่อน
(บทความนี้จะมีรายละเอียดเนื้อหาที่มากกว่าและลึกกว่า)
--------------------
รายชื่อบทเรียน ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

            เนื่องจากมีผู้สนใจ เนื้อหาบทเรียน “ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” อย่างต่อเนื่อง จึงของรวบรวมเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น ดังนี้

เนื้อหาแบ่งออกเป็น 6 หน้าหรือ 6 ตอน ดังนี้
หน้า
หัวข้อ
1
ความสำคัญของวิชา
“ขอบเขตของวิชา”
อ่านได้ที่ http://www.chanchaivision.com/2012/06/1.html
2
ผลประโยชน์แห่งชาติ
นิยามผลประโยชน์แห่งชาติ
อ่านได้ที่ http://www.chanchaivision.com/2012/06/2.html
3
ตัวแสดง-รัฐยังคงเป็นตัวแสดงหลักในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่
ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (NON STATE ACTOR)
ตัวแสดงมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
อ่านได้ที่ http://www.chanchaivision.com/2012/06/3.html
4
ลักษณะแนวคิดหรือทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สัจนิยม
แก่นหลักคิดของสำนักสัจนิยม
 “HANS MORGENTHAU”
BALANCE-OF-POWER
อุดมคตินิยม
อ่านได้ที่ http://www.chanchaivision.com/2012/06/4.html
5
ตัวอย่างประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สงครามเย็น
โลกาภิวัตน์
สหรัฐฯกับโลกาภิวัตน์
ไทยกับโลกาภิวัตน์
ภาวะโลกร้อน (Global warming)”
แนวทางแก้ไขภาวะโลกร้อน
สหรัฐฯกับภาวะโลกร้อน
ไทยกับภาวะโลกร้อน
คำถาม รัฐบาลไทยควรดำเนินการอย่างไรกับภาวะโลกร้อน
อ่านได้ที่ http://www.chanchaivision.com/2012/06/5.html
6
กรณีศึกษา: British Petroleum กับ CIA ร่วมกันโค่นล้มรัฐบาล Mossadegh
อ่านได้ที่ http://www.chanchaivision.com/2012/06/6.html


            อนึ่ง เนื้อหาทั้งหมดเป็นเพียงเนื้อหาเพื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นเท่านั้น ในแต่หัวข้อยังมีรายละเอียดอีกมาก สามารถศึกษาได้จากตำราความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั่วไป

เอกสารประกอบคำบรรยาย รหัสวิชา2551120 
ชาญชัย คุ้มปัญญา

------------------------------