บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2015

“ผู้อพยพลี้ภัย” กับ “คนพลัดถิ่นภายในประเทศ” ของครึ่งแรกปี 2015

รูปภาพ
“UNHCR Mid-Year Trends 2015” ระบุว่าความขัดแย้ง การกดขี่ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ความรุนแรงต่างๆ เป็นสาเหตุให้ผู้คนทั่วโลกต้องอพยพย้ายถิ่น การสู้รบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่ดำเนินต่อเนื่องมาแล้วหลายปีบีบบังคับให้หลายล้านคนค้นต้องหนีหรือออกจากถิ่นฐานเดิมไปสู่ที่ใหม่ทั้งภายในและนอกประเทศ             เมื่อสิ้นปี 2014 ทั่วโลกมีผู้อพยพทุกประเภทรวมกัน 59.5 ล้านคน เฉพาะครึ่งแรกของปี 2015 เพิ่มขึ้นถึง 5 ล้านคน ในจำนวนนี้ 4.2 ล้านคนยังอยู่ภายในประเทศ ( IDPs ) อีก 839,000 คนหนีออกนอกประเทศ             ประเด็นผู้อพยพลี้ภัย ( refugee) ไม่ใช่เรื่องใหม่ สถิติบ่งบอกว่าช่วงปี 1990-2015 UNHCR ต้องดูแลผู้อพยพลี้ภัยราว 9-18 ล้านคน ตัวเลขลดต่ำลงเรื่อยๆ และต่ำสุดในปี 2005 แต่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ปี 2012 คิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น 4.7 ล้านคนในเวลาเพียง 3 ปีครึ่ง สาเหตุหลักมาจากสงครามกลางเมืองซีเรีย ที่เหลือมาจากความขัดแย้งในประเทศอื่นๆ เช่น อัฟกานิสถาน บูรุนดี ( Burundi) , สาธารณรัฐป...

กองกำลังร่วมอิสลามกับรัฐอุปถัมภ์ก่อการร้าย

รูปภาพ
รัฐบาลมุสลิม 34 ประเทศประกาศร่วมจัดตั้ง “กองกำลังร่วมอิสลาม” ( Islamic military coalition ) เพื่อต้านก่อการร้าย ตั้งศูนย์บัญชาการในกรุงริยาด เน้นปฏิบัติการในประเทศมุสลิม สมาชิก 34 ประเทศได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปากีสถาน บาห์เรน บังคลาเทศ เบนิน ตุรกี ชาด โตโก ตูนิเซีย จิบูตี เซเนกัล ซูดาน เซียร์ราลีโอน โซมาเลีย กาบอง กินี ปาเลสไตน์ คอโมโรส กาตาร์ โกตดิวัวร์ คูเวต เลบานอน ลิเบีย มัลดีฟส์ มาลี มาเลเซีย อียิปต์ โมร็อกโก มอริเตเนีย ไนเจอร์ ไนจีเรีย เยเมน             ส่วนประเทศมุสลิมอีก 10 ประเทศแม้ไม่ได้เข้าร่วมแต่แสดงท่าทีพร้อมให้ความร่วมมือ เช่น อินโดนีเซีย หลักการของกองกำลังร่วมอิสลามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Organization of Islamic Cooperation (OIC) ตามกรอบสหประชาชาติกับ OIC เป้าหมายไม่เฉพาะ IS เท่านั้นแต่รวมก่อการร้ายทุกกลุ่ม ปฏิเสธข้ออ้างใดๆ เพื่อก่อการร้าย เจ้าชาย Mohammed bin Salman รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุฯ ตรัสว่ารัฐบาล จะให้ความช่วยเหลือ “แก่โลกอิสลามทั้งหมด” เพื่อต่อต้านก่อการร้าย...

รัฐบาลตุรกีกับข้อกล่าวหาเรื่องน้ำมัน

รูปภาพ
IS ขายน้ำมันผ่านพรมแดนประเทศใด :  ตั้งแต่ IS/ISIL/ISIS เริ่มปรากฏตัวก่อการใหญ่ทั้งในซีเรียกับอิรัก หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตและข้อสงสัยว่าทำไม IS จึงมีอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ดีเยี่ยม รายได้ของ IS มาจากที่ใด หนึ่งในคำตอบคือจากรัฐบาลหรือเอกชนที่ให้การสนับสนุนทั้งอาวุธกับงบประมาณ ต่อมาเมื่อ IS สามารถยึดบ่อน้ำมัน โรงกลั่นหลายแห่งทั้งในซีเรียกับอิรัก จึงมีผู้เอ่ยว่า IS ขายน้ำมันเป็นสินค้าออก             เป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมพวกเขาจึงไม่ทำลายบ่อน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน             เมื่อ IS ขายน้ำมันเป็นสินค้าส่งออก มีคำถามตามมาว่าขายให้ประเทศใด ขนน้ำมันผ่านประเทศใด ตั้งแต่ปี 2014 ก็มีข่าวว่า IS ขนน้ำมันซีเรียเข้าไปขายในตุรกี นาย Günter Meyer ผู้อำนวยการ Center for Research into the Arabic World แห่งมหาวิทยาลัย University of Mainz ระบุว่าถ้าไม่นับเงินที่ได้จากรัฐบาลหรือเศรษฐีของประเทศใดๆ แล้ว IS มีรายได้จากการขายน้ำมัน น้ำมันเหล่านี้คือน้ำมันจากบ่อน้ำมันทางภาคเห...

อย่างไรดีกว่า โค่นเผด็จการหรือให้เป็นรัฐล้มเหลว

รูปภาพ
ตรรกะของโอบามา ปราบ IS ต้องไม่เอื้ออัสซาด :  รัฐบาลโอบามาเห็นด้วยกับรัสเซียในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย IS/ISIL/ISIS แต่ต้องไม่เป็นเหตุเกื้อหนุนรัฐบาลอัสซาด เมื่อกองทัพรัสเซียเริ่มโจมตีผู้ก่อการร้ายอย่างหนักหน่วง รัฐบาลโอบามากับพันธมิตรต่างแสดงอาการไม่พอใจ เห็นว่าการโจมตีกองกำลังต่างๆ รวมทั้ง IS นั้นมีเป้าหมายเพื่อช่วยรัฐบาลอัสซาด ไม่ร่วมมือกับรัสเซีย             ราวกับว่ารัฐบาลโอบามาเห็นว่ารัฐอิสลาม ( IS) ในซีเรียกับอิรักเป็นภัยคุกคามต่อโลกน้อยกว่าการคงอยู่ของรัฐบาลอัสซาด ไม่คิดว่าคนในพื้นที่อิทธิพลจะถูกล้างสมอง กลายเป็นสมาชิก IS อีกนับหมื่นนับแสน พยายามชี้ว่ารัฐบาลอัสซาดเป็นต้นเหตุดึงดูดผู้ก่อการร้าย กองกำลังติดอาวุธต่างชาติ             ถ้าใช้ตรรกะแบบโอบามา การปรากฏตัวของกองกำลังต่างชาติร่วมร้อยประเทศ ผู้ก่อการร้าย ISIL/ISIS อัลกออิดะห์ การเกิดรัฐอิสลาม เป็นความผิดของรัฐบาลอัสซาด ทั้งๆ ที่สงครามกลางเมืองซีเรียเริ่มจากความขัดแย้งภายในของคนในประเทศ เป็นเรื่องขอ...