เนทันยาฮูย้ำว่าอิสราเอลหวังอยู่ร่วมกับนานาชาติโดยสันติ แต่กระแสโลกต่อต้านอิสราเอลส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของอิสราเอล นโยบายกับความจริงจึงย้อนแย้ง
เบนจามิน
เนทันยาฮูกล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ 2024
แสดงท่าทีความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านและกลุ่มต่างๆ ในบริบทล่าสุด
บทความนี้เป็นตอนที่ 2 มีสาระสำคัญพร้อมการวิเคราะห์ ดังนี้
ส่งสริมสันติภาพด้วย Abraham Accords:
รัฐบาลอิสราเอลเสนอ Abraham Accords เป็นข้อตกลงสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระดับปกติ
ความหมายว่าประเทศนั้นยอมรับความเป็นรัฐชาติของอิสราเอล (nation-state) ซึ่งแต่เดิมพวกรัฐอาหรับประเทศมุสลิมจะไม่ยอมรับอิสราเอล
สิงหาคม
2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศแรกที่ทำ Abraham Accords Peace Agreement
เดือนถัดมาบาห์เรนประกาศสถาปนาการทูตกับอิสราเอลเช่นกัน เนื้อหาตอนหนึ่งใน
Abraham Accord ระบุชัดว่าทั้งอาหรับกับยิวต่างเป็นลูกหลานของอับราฮัม
(Abraham) ภูมิภาคตะวันออกกลางประกอบด้วยมุสลิม ยิว
พวกนับถือคริสต์ และผู้นับถือศาสนาความเชื่ออื่นๆ แม้แตกต่างแต่ปรารถนาอยู่ร่วมกัน
(spirit of coexistence)
ด้วยความเข้าใจและเคารพซึ่งกันและกัน
แม้ชาติมุสลิมทยอยเข้าร่วมแต่รัฐบาลซาอุฯ
ซึ่งเป็นพี่ใหญ่อาหรับยังไม่ยอมรับ ไม่แปลกที่นายกฯ เนทันยาฮูกล่าวว่าเป้าหมายสำคัญตอนนี้คือให้ซาอุฯ
ร่วมข้อตกลง Abraham Accords ที่ผ่านมามีการเจรจาหลายรอบ
รัฐบาลสหรัฐพยายามช่วยแต่ซาอุฯ ยังแข็งขืน
รัฐบาลอิสราเอลย้ำว่าข้อตกลงนี้ได้นำคนอิสราเอลนับล้านเดินทางสู่ประเทศตะวันออกกลาง
ส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นผลดีต่อทั้งภูมิภาค
อาหรับกับอิสราเอล อิสลามกับยาดาห์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
แต่ด้านนายมาห์มูด
อับบาส (Mahmoud Abbas) ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ชี้ว่าเป็นการ
“ทรยศต่อเยรูซาเล็ม มัสยิดอัล-อักซอร์ (Al-Aqsa Mosque) และต่อประเด็นปาเลสไตน์
(Palestinian cause)”
โครงสร้างสันติภาพใหม่:
นายกฯ
เนทันยาฮูย้ำว่าอิสราเอลหวังอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านตะวันออกกลางอย่างสงบ ตอนนี้เหลือแต่อิหร่านกับพวกเท่านั้นที่ขัดขวาง
จึงต้องช่วยกันทำให้อิหร่านเดินทางนี้ โครงสร้างสันติภาพตะวันออกกลางในอนาคตจะต้องมีอิสราเอล
เพื่อนบ้านอื่นๆ และสหรัฐรวมอยู่ในโครงสร้างความร่วมมือนี้ โดยสหรัฐจะเป็นผู้นำ
ประเทศทั้งหลายที่เกี่ยวข้องต้องตัดสินใจว่าเลือกทางใด สันติภาพหรือสงคราม
ถ้าเลือกร่วมมือกับอิสราเอล ทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์จากสันติภาพ
นับวันแนวคิดรัฐยิวรัฐเดียว (Jewish state) จะถูกเอ่ยถึงมากขึ้นในสหประชาชาติ (ตรงข้ามกับทวิรัฐ)
เหลือแต่พวกต่อต้านยิวที่ไม่ยอมรับแนวทางนี้ พวกนี้จะคอยให้ร้ายชาวยิวกับรัฐยิว
หลายประเทศใช้เวทีสหประชาชาติประณามอิสราเอล บางหน่วยงานเป็นเครื่องมือต่อต้านยิว
แทนที่จะต้านยิวกล่าวหาว่าเป็นอาชญากร
อิหร่านต่างหากที่เป็นอาชญากรเพราะปรากฎตัวในทุกที่ ทั้งกาซา ซีเรีย เยเมน
อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดอิสราเอลจะเป็นฝ่ายชนะ ชนชาติอิสราเอลจะดำรงสืบไป
เนทันยาฮูยืนยันล้มแนวทางทวิรัฐ (Two-State
Solution) แบบเดิมแม้ไบเดนคัดค้าน
ด้วยเหตุผลว่าถ้ามีประเทศปาเลสไตน์ย่อมต้องมีกองทัพของเขาพวกซึ่งเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อตน
รัฐบาลมีหน้าที่ปกป้องพลเรือน ตนไม่ได้ทำผิดอะไร
กองทัพอิสราเอลจึงต้องเข้าควบคุมปาเลสไตน์ ไม่สนใจแรงกดดันนานาชาติ ข้อตกลงใดๆ
ในอนาคตจะต้องตั้งบนเงื่อนไขเช่นนี้
ในอดีตนานาชาติกับอิสราเอลจะเอ่ยถึงนโยบายทวิรัฐ
(Two-State Solution) ตามข้อตกลงสันติภาพออสโล (Oslo
Peace Accords) เมื่อ 1993
สาระสำคัญคือปาเลสไตน์รับรองสถานะความเป็นประเทศของอิสราเอล
พร้อมกับที่อิสราเอลรับรองสถานะขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ว่าเป็นตัวแทนปาเลสไตน์ ผู้ดูแลบริหารปกครองภายในดินแดนส่วนต่างๆ
ของเวสต์แบงก์กับฉนวนกาซา (แต่ยังไม่ได้รับรองรัฐปาเลสไตน์)
อิสราเอลต้องทยอยมอบอำนาจการดูแลพื้นที่คืนแก่ PLO (ปัจจุบันคือ
PA) ท้ายที่สุดจะเกิดรัฐปาเลสไตน์มีเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นเมืองหลวง
3
ทศวรรษที่นานาชาติประณามทุกปีคืออิสราเอลไม่รักษาสัญญาดังกล่าว ยังคงรื้อถอนบ้านเรือน ก่อสร้างที่อยู่อาศัยของตนในปาเลสไตน์มากขึ้น
โดยอ้างก่อการร้ายจากปาเลสไตน์ ชี้ว่ารัฐบาลปาเลสไตน์ (PA)
ไม่สามารถควบคุมความสงบ อิสราเอลจึงต้องลงมือด้วยตัวเอง เป็นเรื่องความมั่นคงของตนที่ยอมไม่ได้
จึงน่าสงสัยว่าอิสราเอลต้องสันติภาพจริงหรือไม่
พยายามถ่วงเวลาเพื่อผนวกเวสต์แบงก์กับฉนวนกาซาใช่ไหม
มาถึงปี 2024
บัดนี้ชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลอิสราเอลภายใต้เนทันยาฮูล้มข้อตกลงดังกล่าว เรื่องนี้ที่ยาวนานหลายทศวรรษบ่งชี้ว่านานาชาติได้แค่ประณาม
สุดท้ายรัฐบาลสหรัฐกับพวกยังสนับสนุนอิสราเอลอย่างแข็งขันท่ามกลางเสียงประณามจากนานาชาติ
แรงต้านจากสหประชาชาติ:
แม้รัฐบาลอิสราเอลไม่ยึดสัญญา พฤษภาคม 2024 สมัชชาสหประชาชาติ
(UNGA) มีมติสนับสนุนให้ปาเลสไตน์เป็นสมาชิกเต็มตัว
ชี้ว่าปาเลสไตน์มีคุณสมบัติครบถ้วน ขอให้คณะมนตรีความมั่นคงทบทวนเรื่องการรับปาเลสไตน์เป็นสมาชิกอีกครั้ง
143 ประเทศสนับสนุนข้อมตินี้ 25 ประเทศงดออกเสียง
มีเพียง 9 ประเทศที่คัดค้าน 2 ใน 9
ประเทศที่คัดค้านคือสหรัฐกับอิสราเอล
รัฐบาลซาอุฯ ชี้ว่ามติสมัชชาแสดงให้เห็นว่านานาชาติคิดเห็นอย่างไร
การรับรองรัฐปาเลสไตน์สอดคล้องกับการสร้างสันติภาพถาวรในตะวันออกกลาง ตามแนวทางทวิรัฐ ถึงเวลาแล้วที่จะหยุดอิสราเอลทำร้ายปาเลสไตน์
แม้ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติผ่านด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นแต่ไม่มีผลบังคับใช้
ถ้าทบทวนข้อมูลเดิมพฤษภาคม 2020 เนทันยาฮูประกาศย้ำต้องผนวกพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวสต์แบงก์ให้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิสราเอล
เพื่อบันทึกอีกหน้าหน้าประวัติศาสตร์แห่งความรุ่งเรืองของลัทธิไซออนิสต์ (Zionism)
พวกปาเลสไตน์จำต้องยอมรับ
การล้มแนวทางทวิรัฐ
ข้อตกลงสันติภาพออสโล นำสู่คำถามที่สำคัญมากคืออิสราเอลยังเชื่อถือได้หรือไม่ ข้อตกลงใดๆ
ที่อิสราเอลทำกับเพื่อนบ้านอาจถูกฉีกทิ้งในอนาคต คำมั่นสัญญาสันติภาพต่างๆ
น่าเชื่อถือแค่ไหน เป็นเพียงกลเกมซื้อเวลาตามยุทธศาสตร์กินทีละคำใช่หรือไม่
อิสราเอลในสายตานานาชาติเป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่ากระแสโลกต่อต้านอิสราเอลส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของรัฐบาลอิสราเอล
ประเทศนี้กับผู้สนับสนุนยังต้องใช้กำลังควบคุมเพื่อนบ้านต่อไป
ล่าสุด Bezalel Smotrich รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและผู้นำพรรค
Religious Zionist กล่าวว่า
“ได้เวลาแล้วจะประกาศอธิปไตยในเขตยูเดียกับสะมาเรีย” (Judea and Samaria) การผนวกรวมเป็นวิธีขจัดภัยคุกคามถาวร ตลอดปีหน้าจะเน้นเรื่องนี้
ตนกำลังหารือและเชื่อว่ารัฐบาลทรัมป์2.0จะสนับสนุน
---------------------
บรรณานุกรม :
2. Cleveland, William L., Bunton, Martin. (2016). A
History of the Modern Middle East (6th Ed.). USA:
Westview Press.
3. Full
text of Netanyahu’s UN speech: ‘Enough is enough,’ he says of Hezbollah, also
warns Iran. (2024, September 27). Times of Israel. Retrieved from
https://www.timesofisrael.com/full-text-of-netanyahus-un-speech-enough-is-enough-he-says-of-hezbollah-also-warns-iran/
4. Israel
and the Kingdom of Bahrain to establish 'full diplomatic relations,' Trump says.
(2020, September 11). CNN.
Retrieved from https://edition.cnn.com/2020/09/11/politics/israel-bahrain-trump/index.html
5. Israel to swear in unity govt, PM insists on West Bank
annexation. (2020, May 17). AFP.
Retrieved from https://www.afp.com/en/news/3954/israel-swear-unity-govt-pm-insists-west-bank-annexation-doc-1rr3b29
6. Israel's
Smotrich calls for annexation of occupied West Bank: What we know. (2024,
November 11). Al-monitor. Retrieved from https://www.al-monitor.com/originals/2024/11/israels-smotrich-calls-annexation-occupied-west-bank-what-we-know
7. Mattar,
Philip. (2004). The Encyclopedia of the Modern Middle East and North Africa
(2nd Ed.). USA: Thomson Gale.
8. Netanyahu
vows no Palestinian state, attacks Israeli media, denies blindsiding Gallant.
(2024, January 18). Times of Israel. Retrieved from https://www.timesofisrael.com/netanyahu-vows-no-palestinian-state-attacks-israeli-media-denies-blindsiding-gallant/
9. Netanyahu: Iran
regime change will come a ‘lot sooner than people think’. (2024, September 30).
Politico. Retrieved from https://www.politico.eu/article/benjamin-netanyahu-iran-regime-change-video-israel-hezbollah-war/
10.
Netanyahu: No full Palestinian state, no ‘surrender’ in exchange for Gaza
hostages. (2024, January 21). Times of Israel. Retrieved from https://www.timesofisrael.com/netanyahu-no-full-palestinian-state-no-surrender-in-exchange-for-gaza-hostages/
11.
Palestinian leader 'rejects and denounces' Israel-UAE deal: statement. (2020, August 14). Reuters. Retrieved
from
https://www.reuters.com/article/us-israel-emirates-trump-palestinians-ab/palestinian-leader-rejects-and-denounces-israel-uae-deal-statement-idUSKCN2592T5
12. UN General
Assembly backs Palestinian bid for UN membership. (2024, May 11). Xinhua.
Retrieved from
https://english.news.cn/20240511/b724c8c63bd44ea988a7bb13f40b3964/c.html
-----------------