ลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน้า 5

ตัวอย่างประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : สงครามเย็น โลกาวิวัตน์ และภาวะโลกร้อน
“สงครามเย็น”
            · สงครามเย็น (Cold War) หมายถึง สภาพที่มีความตึงเครียด การแข่งขันระหว่างค่ายประชาธิปไตยที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำ กับค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ
            o เกิดขึ้นช่วงปี 1945 - 1991
           o เป็นสภาวะที่อภิมหาอำนาจทั้งสองมีความขัดแย้ง แต่ไม่ได้ถึงกับทำสงครามต่อกันโดยตรง
            o แต่ต่อสู้ด้วยวิถีทางอื่นๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การแข่งขันพัฒนากองทัพ การให้ความช่วยเหลอทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นพวก
          o แต่มี “สงครามร้อน” ซึ่งดำเนินไปในลักษณะของสงครามตัวแทน (Proxy warfare) โดยอภิมหาอำนาจทั้งสองจะสนับสนุนกำลังทหารและอาวุธ ในกรณีที่เกิดการรบระหว่างฝ่ายนิยมประชาธิปไตยกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในประเทศที่สาม เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม
           · หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด สหภาพโซเวียตกับสหรัฐฯ คือสองประเทศที่มีอำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริง แต่ด้วยความขัดแย้งทางอุดมการณ์การปกครอง ทำให้ต่างฝ่ายต่างระแวงต่อกันว่าจะกระทบต่อการปกครองของอีกฝ่ายหนึ่ง ความระแวงนี้ก่อให้ทั้งสองฝ่ายแสดงความปฏิปักษ์ต่อกัน พยายามแสวงหาประเทศอื่นๆมาเป็นพวก และเกิดความขัดแย้งทั้งใหญ่และตามมาอีกมาก

            o ฝ่ายสหรัฐฯ ด้วยความกลัวอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในยุโรปตะวันออก และทางเอเชีย ประธานาธิบดีทรูแมน จึงประกาศ วาทะทรูแทน (Truman Doctrine) มีเนื้อหาใจความว่าจะให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์
          o มีการตั้งองค์การระหว่างประเทศอีกหลายอย่างที่แสดงถึงการจับขั้ว เช่น NATO Warsaw Pact

          · สงครามตัวแทนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โดยเด่นที่สุดคือกรณีของเวียดนาม ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์
          o โดยมี โว เหงียน เกียบ เป็นผู้บัญชาการรบสามารถเอาชนะกองทัพของฝรั่งเศสที่เมืองเดียนเบียนฟู และขับไล่อิทธิพลของฝรั่งเศสออกจากเวียดนามได้ ต่อมาได้มีการประชุมสันติภาพที่เจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในการตกลงครั้งนั้นได้มีข้อสรุปให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน โดยเหนือเส้นขนานที่ 17 ให้เป็นเวียดนามเหนือภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเวียดนาม ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ส่วนใต้เส้นขนานที่ 17 ให้เป็นเวียดนามใต้ใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐเวียดนาม ปกครองแบบประชาธิปไตย โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อรวมประเทศภายในหนึ่งปี แต่ไปประสบผลสำเร็จ ขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือที่มีสหภาพโซเวียตหนุนหลังได้ยกทัพเพื่อบุกเวียดนามใต้และจะสถาปนาเวียดนามให้เป็นคอมมิวนิสต์ทั้งประเทศ สหรัฐอเมริกาจึงได้เข้าสนับสนุนเวียดนามใต้ โดยจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Treaty Organization : SEATO ) ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ปากีสถานและไทย เพื่อต้านคอมมิวนิสต์และส่งทหารเข้าช่วยเหลือเวียดนามใต้ 

            o สงครามเวียดนามกินระยะเวลายาวนานหลายปีและต้องยุติลงเนื่องจากสหรัฐอเมริกาถูกแรงกดดันจากประชาชนภายในประเทศและนานาชาติให้ถอนทหารออกจากสงครามเวียดนาม และปล่อยให้เวียดนามใต้เผชิญการรุกรานของเวียดนามเหนือตามลำพัง ซึ่งในที่สุดก็พ่ายแพ้ให้กับเวียดนามเหนือ เวียดนามจึงสามารถรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองแบบสังคมนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 เป็นต้นมา

· กรณีความขัดแย้งในสงครามเย็น: สงครามเกาหลี
            o หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีซึ่งก่อนหน้านี้ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่น สหภาพโซเวียตเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นที่อยู่ในตอนเหนือของเกาหลี ส่วนใหญ่เข้ามาควบคุมทางตอนใต้ เป็นผลทำให้สหภาพโซเวียตได้สิทธิในดูแลเกาหลีเหนือ (เหนือเส้นขนานที่ 38) ส่วนสหรัฐฯกับพันธมิตรได้สิทธิในการดูแลเกาหลีใต้
            o ความขัดแย้งระหว่างสองรัฐบาลมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในช่วงค.ศ.1950-1953 เกาหลีเหนือส่งทหารรุกรานเกาหลีใต้ ทำให้มหาอำนาจอื่นๆเข้าแทรกแซง รวมทั้งสหประชาชาติ
            สงครามเกาหลีเป็นครั้งแรกที่ มีทหารสหประชาชาติไปร่วมรบเพื่อปกป้องประเทศสมาชิก

“โลกาภิวัตน์”
            · นิยาม โลกาภิวัตน์ (globalization) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"
            · โลกาภิวัตน์ (globalization) หมายถึง สภาพที่ส่วนต่างๆ (ไม่ได้หมายถึงทุกส่วน) ของโลกติดต่อถึงกันได้โดยง่าย ทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ทำให้ได้รับผลกระทบต่อกันและกันทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความก้าวหน้าทางการติดต่อสื่อสาร

            · ตัวอย่างทาง สังคม วัฒนธรรม
           o เด็กนักเรียนประเทศแอฟริกาผู้ยากไร้สามารถเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนยุโรป ญี่ปุ่น ผ่านทางอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนที่ได้รับบริจาคจากองค์กรช่วยเหลือจากต่างประเทศ
          · ตัวอย่างทาง เศรษฐกิจ 
            o คนอินเดียที่กำลังอาศัยอยู่ในอินเดียเป็นพนักงานบัญชีให้กับบริษัทอเมริกันที่ตั้งอยู่ในอเมริกา บริษัทอเมริกันสามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้แม้แรงงานนั้นอยู่นอกเขตแดนอเมริกา
            o หุ้นไทยสามารถถูกซื้อโดยโบรกเกอร์หรือนักลงทุนต่างชาติในรูปแบบต่างๆ เงินบาทไทยถูกซื้อขายแบบเก็งกำไรจากนักเก็งกำไรทั่วโลก
            o วิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เริ่มจากสหรัฐฯ ในปี 2008 กระทบไปหลายประเทศทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
            · ตัวอย่างทาง การเมือง
          o ภาพความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมืองภายในของประเทศหนึ่งที่แพร่ภาพผ่านเวบไซด์อินเตอร์เน็ตโดยที่เจ้าของประเทศไม่สามารถปิดหรือห้ามได้ทั้งหมด

            · การแพร่กระจายทั่วโลก การติดต่อได้ง่าย โลกมีสภาพเหมือนเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้นนั้น ก่อเกิดทั้งผลดีและผลเสีย
            · โลกาภิวัตน์ปัจจุบันซึ่งมีสหรัฐฯเป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียว สนับสนุนลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ตรงข้ามกับลัทธิปกป้อง (protectionism)
            o รูปธรรมของลัทธิเสรีนิยม เช่น การค้าเสรี (free trade)
            o รูปธรรมของลัทธิปกป้อง เช่น การตั้งกำแพงภาษีศุลากร

            · โดยรวมแล้ว โลกาภิวัตน์เหมือนอัตราเร่ง ทำให้โลกติดต่อกันได้เร็วขึ้น มากขึ้น
            o ผลที่ตามมา เช่น ค้าขายได้เร็วขึ้น มากขึ้น
            · โลกาภิวัตน์ทำให้จีนกับอินเดียเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประชากรหลายร้อยล้านพ้นจากความยากจน (เพราะมีงานทำ)

“สหรัฐฯ กับโลกาภิวัตน์”
            · หลังจากที่สหรัฐฯ อยู่ในภาวะโลกาภิวัฒน์มาหลายปี เริ่มปรากฎให้เห็นทั้งผลบวกและลบ
            · ในด้านผลบวก
            o สินค้าไฮเทคกับพวกซอฟแวร์ของสหรัฐฯส่งออกได้มากขึ้น
            o ชาวอเมริกันบริโภคสินค้านำเข้าในราคาที่ถูกกว่าผลิตในประเทศ เช่น ของเล่นกับเครื่องนุ่งห่มจากจีน เครื่องใช้ไฟฟ้าจากหลายประเทศในเอเชีย
            · ในด้านผลลบ
            o ชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีรายได้ลดน้อยลง เพราะสินค้าที่ต่างประเทศผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้บริษัทและโรงงานสหรัฐฯ ต้องลดค่าแรงแรงงานอเมริกันเพื่อให้แข่งกับสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ
          o ภาคการเกษตรของสหรัฐฯ ย่ำแย่กว่าเดิม เพราะสู้ต้นทุนที่ต่ำกว่าของบางประเทศไม่ได้
          · ด้วยจากผลลบดังกล่าว ทำให้กลุ่มกรรมกรเห็นว่าสหรัฐฯ ควรดำเนินนโยบายลัทธิปกป้อง (protectionism) เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวอเมริกันตกงาน

“ไทยกับโลกาภิวัตน์”
            · โดยภาพรวมแล้ว ประเทศไทยแทบไม่ได้ต่อต้านหรือปฏิเสธโลกาภิวัตน์
            · การต่อต้านอาจมีในกลุ่มนักวิชาการบางส่วน กับพวกเอ็นจีโอบางกลุ่มเท่านั้น
          o ทั้งนี้เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะเปิดรับสิ่งต่างๆที่เข้ามา โดยแทบไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองหรือปกป้องทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน 
          o และแท้จริงแล้ว สังคมไทยมีลักษณะค่อนไปตามกระแสโลก โดยเฉพาะกระแสจากชาติตะวันตก
            · ชนชั้นนำกับพวกนายทุนใหญ่ของไทยสนับสนุนการค้าเสรี ดังนั้น จึงสนับสนุนโลกาภิวัตน์
            o สังเกตว่ารัฐบาลไทยสนับสนุนให้ต่างชาติมาลงทุน สนับสนุนการค้าเสรี ด้วยเหตุผลที่ว่าจะทำให้คนไทยมีงานทำ ประเทศพัฒนา

· ประโยชน์และโทษที่ไทยได้รับ
            o ประโยชน์ เช่น มีสินค้าหลากหลายให้เลือกบริโภคได้ ต่างชาติมาลงทุนในบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมรถยนต์ คนไทยส่วนหนึ่งมีงานทำในภาคการลงทุนจากต่างชาติ
            o โทษ เช่น วัฒนธรรมท้องถิ่นจางหายกลายเป็นวัฒนธรรมตะวันตกเข้าแทนที่ (การมีโทรศัพท์มือถือ) เกิดวัตถุนิยม แฟชั่นนิยม ขาดดุลการค้า ขาดอิสระในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจกับต่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุนของต่างประเทศ

“ภาวะโลกร้อน (Global warming)”
            · เกิดจากสารประกอบของก๊าซต่างๆ ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งส่วนใหญ่คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (อื่นๆ เช่น มีเทน) ดูดซึมแสงอินฟาเรดและกันรังสีความร้อนจากโลกไว้ เกิดสภาพที่เรียกว่า Greenhouse effect (สภาพเรือนกระจก)
            o Greenhouse effect เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางเกษตร เป็นห้องปรับอุณภูมิเเรือนเเพาะชำเพื่อให้พืชเจริญเติบโตโดยไม่ถูกขัดขวางด้วยแสงแดดกับอุณหภูมิ
            o ปกติแสงอินฟาเรดบางส่วนจะสะท้อนกลับมายังโลก แต่หากเกิดภาวะที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก จะยิ่งกันไม่ให้แสงอินฟาเรดหลุดออกไป

            · สาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดภาวะโลกร้อนคือจากเกิดก๊าซเรือนกระจก ที่มาจากการเผาผลาญพลังงานน้ำมัน ถ่านหิน และแก๊ส
            · ผลจากภาวะโลกร้อนได้แก่
            o ระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นจากสาเหตุหลักๆ คือ การขยายตัวของน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น รองลงมาเป็นการละลายของธารน้ำแข็ง
            o บางส่วนเกิดอุทกภัยรุนแรง บางส่วนเกิดภัยแล้ง คาดว่าประชากร 1 ใน 6 ของโลกจะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มอย่างรุนแรง
            o ภาคการเกษตรเสียหาย พื้นที่เกษตรกรรมลดลง ทำให้บางประเทศผลิตอาหารไม่พอเลี้ยงประชากร อาหารจะแพงขึ้น ผู้มีรายได้น้อยจะได้ผลกระทบมากที่สุด เป็นภาระแก่รัฐบาล
            o ปัญหาจากภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม พายุ
            o โรคระบาดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะมาเลเรีย
            o พื้นที่ชายทะเลจมใต้น้ำ เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น และต้องการย้ายถิ่นฐาน
            o ปัญหาตามมา เช่น การต้องสร้างแนวเขื่อนป้องกันระดับน้ำที่สูงขึ้น ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ การจัดเตรียมแผนงานเพื่ออพยพและตั้งถิ่นฐานใหม่ แผนงาน ป้องกันและควบคุมโรค เป็นต้น ซึ่งจะทำให้รัฐต้องเสีย ค่าใช้จ่ายและ ลงทุน เพิ่มขึ้นมากมาย
            · คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ “ไอพีซีซี” (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ที่ตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ไอพีซีซีชี้ว่า ก๊าซเรือนกระจก จะส่งผลกระทบต่อระบบลมฟ้าอากาศของโลก ทำให้รูปแบบการเกิดฝนเปลี่ยนแปลง และยังทำให้พายุมีกำลังความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะจะเกิด ปัญหา ภัยแล้ง น้ำท่วม และแหล่งน้ำเหือดแห้ง
            · การแก้ปัญหาก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
              o ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดคือสหรัฐฯ คือราวร้อยละ 23 ของจำนวนที่ทุกประเทศปล่อยทั้งหมด รองมาคือจีนราวร้อยละ 17 อันดับสามคืออินเดียราวร้อย 5-6

แนวทางแก้ไขภาวะโลกร้อน
            · ภาวะโลกร้อนเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยลำพังเพียงบางประเทศ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกประเทศ
            · ในระดับนานาชาติมีความพยายามแก้ไขปัญหาโลกร้อน ความพยายามที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ การทำพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ กำหนดให้มีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ 5.2 เปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าระดับการปล่อยก๊าซดังกล่าวของปี พ.ศ. 2533 ภายใน พ.ศ. 2555 (2012)
            · มีบางคนฝากความหวังไว้กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ดังกล่าวต้องมีราคาถูกสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง

สหรัฐฯ กับภาวะโลกร้อน
            ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด ทำให้การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร"
            · ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯในปัจจุบันจึงเปลี่ยนไปเป็นการเรียกร้องให้จีนกับอินเดีย ต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในอัตราเดียวหรือใกล้เคียงกับสหรัฐฯ
            · อีกมาตรการหนึ่งที่สหรัฐฯ กับบางประเทศเสนอคือ การใช้ Pollution Credit คือ โดยทางรัฐบาลของแต่ละประเทศจะกำหนดค่าของมลภาวะที่บริษัท หน่วยงานหนึ่งๆ จะสามารถปลดปล่อยออกมาสู่ธรรมชาติได้ ซึ่งหากบางองค์กรมีความจำเป็นต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมามากกว่าเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้ จะต้องจ่ายเงินซื้อสิทธิจากองค์กรอื่น ดังนั้น จึงเหมือนการที่ประเทศหนึ่งหรือบริษัทหนึ่งซื้อสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโควต้าของอีกประเทศหนึ่ง
            o ยกตัวอย่าง สมมุติว่าสหรัฐฯสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 100 หน่วย แต่สหรัฐฯปล่อยทั้งหมด 120 หน่วย ดังนั้น สหรัฐฯต้องติดต่อขอซื้อสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากประเทศอื่นๆอีก 20 หน่วยที่ใช้สิทธิไม่ถึงที่ตัวเองมี
            o แต่ข้อเสนอนี้ มีนักวิชาการเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบประเทศที่กำลังพัฒนาเพราะเป็นการพยายามหาทางออกเพื่อให้ประเทศตน สามารถดำเนิน กิจการอุตสาหกรรมโดยไม่ได้รับความเสียหาย ถึงแม้จะช่วยเหลือทางด้านการ เงินแก่ประเทศ กำลังพัฒนาก็ตาม แต่ก็คุ้มค่ากว่าที่จะมาพัฒนาโครงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกกับกิจกรรมอุตสาหกรรมของรัฐตน และที่สำคัญคือการเข้าร่วมโครงการลดปริมาณ ก๊าซ เรือนกระจก ในความช่วยเหลือการเงินของประเทศที่พัฒนาย่อมต้องใช้เวลาในการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆทำให้เกิดข้อจำกัดในการผลิตในกิจการอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา

            · ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุด ทั้งในแง่ปริมาณและในแง่สัดส่วน คือสหรัฐฯมีประชากรเพียง 4% ของโลก แต่ปล่อยก๊าซเรือกระจก ที่เป็นสาเหตุทำให้อุณหภูมิโลกร้อนสูงถึงราว 25% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากทั่วโลก

            · นายอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยปธน.บิล คลินตัน เป็นนักการเมืองที่สนใจประเด็นภาวะโลกร้อนเป็นอย่างมาก ได้สร้างภาพยนตร์สารคดี "An Inconvenient Truth" นำเสนอเรื่องราวปัญหาวิกฤติการณ์โลกร้อน

ไทยกับภาวะโลกร้อน
            · ประเทศไทยมีความพยายามในการลดภาวะโลกร้อน ตัวอย่างที่เห็นชัดส่วนหนึ่งมาจากภาคราชการ
            · ตัวอย่างการรณรงค์ของทางราชการไทย เช่น ก.ท.ม.ร่วมรณรงค์ลดปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยการปิดไฟวันละ 15 นาที ตามสโลแกนว่า “หยุดเพิ่ม ความร้อน ใส่กรุงเทพฯ”
            · นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมลงนามปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการลด ปัญหาภาวะโลกร้อน
            คำถาม รัฐบาลไทยควรดำเนินการอย่างไรกับภาวะโลกร้อน

· หลักนโยบายของไทย
            o ไม่ปฏิเสธแนวทางของนานาชาติ โดยเฉพาะข้อมติของสหประชาชาติ (ถ้ามี)
            o แต่ต้องรักษาผลประโยชน์ของไทย
· แนวทางการดำเนินนโยบายของไทย
            o ไทยควรฉวยประโยชน์จากการรณรงค์ภาวะโลกร้อน
            o ใช้เป็นข้อต่อรองกับสหรัฐฯ และประเทศที่สนับสนุนพิธีสารเกียวโต
· ภายในประเทศมีนโยบายแก้ไขอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง
            o มาตรการประหยัดการใช้พลังงาน เช่น การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน
            o สนับสนุนอุตสาหกรรมให้เปลี่ยนหรือปรับปรุงเครื่องจักรที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
            o การปลูกป่าทดแทน ปลูกป่าเพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวฟอกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นออกซิเจนแทน
เอกสารประกอบคำบรรยาย รหัสวิชา2551120 ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์
ชาญชัย คุ้มปัญญา
------------------------------