ลักษณะทั่วไปของวิชารัฐศาสตร์ หน้า 3

ตัวแสดง : “ตัวแสดง-รัฐยังคงเป็นตัวแสดงหลักในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่”
            · คำถามที่ว่า ตัวแสดง (Actor) รัฐในปัจจุบันยังเป็นตัวแสดงหลักในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างหรือไม่นั้น เกิดจาก
            1. ปรากฎการณ์ที่อำนาจรัฐไม่อาจครอบงำประชาชนได้เต็มที่อย่างในอดีต
            o สังเกตจากการที่ปัญหาหลายอย่างในปัจจุบัน รัฐไม่สามารถแก้ไขจัดการได้ดีเหมือนแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาชนกลุ่มน้อย ทำให้เกิดการประท้วง การแสดงถึงความไม่พอใจในหลายรูปแบบ พร้อมกับบทบาทของตัวแสดงมิใช่รัฐ (non-state actor) ที่เพิ่มมากขึ้น
            o ประชาชนของรัฐหนึ่งติดต่อกับอีกรัฐหนึ่งได้โดยง่าย เป็นโลกไร้พรมแดน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ท
            2. อำนาจอธิปไตยถูกสั่นคลอนหรือลดทอน
            3. ตัวแสดงมิใช่รัฐ (non-state actor) นับวันจะทวีความสำคัญมากขึ้นทุกที
· รัฐยังมีอำนาจเหนือตัวละครมิใช่รัฐในหลายกรณี
            1. รัฐยังต้องการควบคุมและรักษาอำนาจเหนือดินแดนของตน
            2. รัฐมีอำนาจสูงในการจัดสรรทรัพยากรในประเทศ
            เนื่องจากตัวละครมิใช่รัฐพวกนี้มักอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐ ดังนั้นรัฐจึงมีช่องทางกำหนดกฎเกณฑ์ให้กับตัวละครมิใช่รัฐเหล่านี้ได้ เช่น ออกกฎควบคุมต่างๆ หรือแม้กระทั่งประกาศว่าเป็นพวกผิดกฎหมาย เช่น องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ องค์กรที่ถูกนับว่าเป็นพวกผู้ก่อการร้าย
            3. รัฐเป็นองค์กรทางการเมืองหลักที่สำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ของคนทั้งประเทศ

· อย่างไรก็ดี ไม่ว่ารัฐจะยังเป็นตัวแสดงหลักหรือไม่ก็ตาม บทบาทของตัวแสดงหลักและตัวแสดงอื่นๆ ต่างมีพลวัตรคือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บนเวทีความสัมพันธ์ในโลกตัวแสดงทั้งหมดทุกประเภทต่างมีปฏิบัติสัมพันธ์ต่อกัน และมีการเปลี่ยนแปลงของอำนาจของแต่ละตัวแสดง และบทบาทของตัวแสดงหนึ่งมีผลต่ออีกตัวแสดงหนึ่งไม่มากก็น้อย

“ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (Non State Actor)”
            · ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (non-state actor) ที่มีบทบาทเด่นในปัจจุบัน
            o “องค์การระหว่างประเทศ” เช่น สหประชาชาติ
            o บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations: MNCs)
            อำนาจของ MNCs บางครั้ง บางแห่ง มีมากกว่าที่คิด เช่น บรรษัทยาของสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ด้วยการบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาลงนามป้องกันสิทธิบัตรยา หรือบรรษัทข้ามชาติสหรัฐฯ บีบให้ประเทศต่างหันมาสนับสนุนเปิดประเทศเพื่อการค้าเสรี
            ดังนั้น เท่ากับว่า MNCs เหล่านี้ชักใยประเทศสหรัฐฯ ให้มีนโยบายหรือดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อประเทศอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ของ “MNCs”
            เท่ากับว่า ในบางแง่มุม MNCs เหล่านี้มีอำนาจมากกว่าประเทศสหรัฐฯ เสียอีก

กรณีตัวอย่าง บรรษัทน้ำมัน
            เจ้าพ่อในวงการน้ำมันมีท่าทีใคร่จะย้อน เวลากลับไปก่อนที่จะมีกระแสคลื่นยึดกิจการน้ำมันมาเป็นของชาติ ในปี ค.ศ.๑๙๗๐ เมื่อบรรดายักษ์ใหญ่ในวงการน้ำมันโลกอันได้รับขนานนามว่า"เจ็ดศรีพี่น้อง (Seven Sisters) ถูกขับออกจาก ตะวันออกกลางและ ละตินอเมริกา "เจ็ดศรีพี่น้อง" นี้ได้แก่ เอ็กซ์ซอน (Exxon), กัล์ฟ (Gulf), เท็กซาโก้ (Texaco), โมบิล (Mobil), โซคอล (Socal) หรือเชฟรอน (Chevron), บี.พี. (B.P.), และเชลล์ (Shell), ๕ บริษัทแรกเป็นบริษัทใหญ่ของสหรัฐ ฯ ถัดมาก็เป็นบริษัทของจักรภพอังกฤษ สุดท้ายก็ได้แก่แองโกล-ดัทช์ (Anglo - Dutch) "เจ็ดศรีพี่น้อง" นี้แหละครอบงำกิจการน้ำมัน ของโลกที่พวกเราทั้งหลายอยู่ภายใต้การครอบงำ ของน้ำมันด้วยกันทั้งนั้น
            การที่ประเทศสหรัฐฯ ที่มีนโยบายเข้มงวดในการรักษาการมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางที่อุดมด้วยน้ำมัน ถ้ามองในแง่ตัวแสดงรัฐคือสหรัฐฯต้องการผลประโยชน์ด้านพลังงานจากตะวันออกลาง และถ้ามองในแง่ตัวแสดงบรรษัทข้ามชาติ การที่รัฐอเมริกันใช้นโยบายและใช้ทรัพยากรมหาศาลเพื่อรักษาอิทธิพลเหนือตะวันออกลางก็คือเพื่อให้บรรษัทน้ำมันข้ามชาติสามารถประกอบกิจการต่อไปโดยราบรื่น

            o NGOs ปัจจุบันส่วนใหญ่ทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส หลายแห่งเกี่ยวข้องกับศาสนาแต่ส่วนใหญ่ไม่
            ในปี 2007 มีเอ็นจีโอในสหรัฐฯ กว่า 2 ล้านองค์กร อินเดียราว 1 ล้านองค์กร ในรัสเซีย 4 แสน
            เอ็นจีโอบางแห่งไม่ได้ทำงานเพื่อประชาชนจริง แต่เป็นเอ็นจีโอของรัฐบาลหรือบริษัทเอกชน เอ็นจีโอที่ส่งเสริมประชาธิปไตยบางแห่งของสหรัฐฯ ถูกบางประเทศมองว่าเป็นเครื่องมือของรัฐบาลอเมริกันเพื่อล้มล้างหรือบ่อนทำลายรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น

            เอ็นจีโอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีผลต่อนโยบายของรัฐบาล แต่บางเอ็นจีโอมีผลต่อนโยบายของรัฐบาลค่อนข้างมาก เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) and Oxfam กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ทำหน้าที่รณรงค์ เรียกร้อง ประท้วงและกดดันรัฐบาลประเทศต่างๆในเรื่องของสันติภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders)

            NGOs ที่เป็นกลุ่มแนวคิดหรือองค์กรศาสนา
            เช่น Al Qaeda, Hezbollah ซึ่งบางครั้งถูกชาติตะวันตกระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (Terrorist) โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์เครื่องบินชนอาคารแฝดเวิร์ลเทรด เซ็นเตอร์ ประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเรียกว่าเหตุการณ์ 911

 o ตัวแสดงที่มิใช่รัฐอื่นๆ
            เช่น ปัจเจกบุคคล อดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ แห่งสหรัฐฯ แสดงบทบาท คือ การรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน
            ข้อสังเกต คือ อัล กอร์ รณรงค์กับคนส่วนใหญ่ทั่วโลก ไม่เฉพาะกับคนอเมริกัน มีกิจกรรมต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่นในสื่อกับวิชาวิชาการ สาขาการระหว่างประเทศ อัล กอร์ ไม่ได้ไปในนามของอดีตรองประธานาธิบดี แต่ไปในนามบุคคลธรรมดาที่สนใจรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม เหมือนนักเคลื่อนไหว (activist) คนหนึ่ง นายอัล กอร์ ได้สร้างภาพยนตร์สารคดี "An Inconvenient Truth”นำเสนอความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเอาไว้อย่างน่าสนใจ
          ผลการสำรวจของ “Pew” พบว่า คนส่วนใหญ่จาก 47 ประเทศทั่วโลก เป็นว่า ปัญหามลภาวะ (pollution) และปัญหาสิ่งแวดล้อม (environmental problems) เป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของโลก ไม่ใช่เรื่องการก่อการร้าย หรืออาวุธนิวเคลียร์
            อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้ใช้ทั่วโลก ส่งผลทำให้แต่ละปัจเจกบุคคลมีอิทธิพล ปัจเจกบุคคลสามารถส่งผ่านความคิดความเห็นของเขาแก่ทุกคนที่เข้าไปสัมพันธ์ด้วยผ่านอินเตอร์เน็ต

“ตัวแสดงมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน”
            · เหตุการณ์ระหว่างประเทศเกิดขึ้น เนื่องจากมีตัวแสดงหนึ่งกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป และบ่อยครั้งจะมีตัวแสดงอีกตัวหนึ่งตอบโต้ เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างกัน
            ยกตัวอย่าง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงที่กำลังเป็นข่าวในปัจจุบัน
เอกสารประกอบคำบรรยาย รหัสวิชา2551120 
ชาญชัย คุ้มปัญญา
------------------------------