สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันครบรอบ 70
ปีแตกต่างจากเมื่อก่อตั้งประเทศในทุกมิติ และกำลังเปลี่ยนแปลงต่อไปทุกด้านพร้อมกับอีกหลายประเทศตามแนว
“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
ข้อมูลอีกชิ้นที่น่าสนใจคือ จีนมีประชากรใกล้ 1,400 ล้านคนแล้ว ที่บางคนอาจยังไม่รู้คือ คนจีนหลายสิบล้านคนได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในแอฟริกา ลาตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้แต่ทวีปอเมริกาเหนือ ผู้ย้ายถิ่นฐานยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บรรณานุกรม :
Denys Nevozhai
เส้นทางสายไหมเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในศตวรรษที่
2 ก่อนคริสตศักราช (2,200 ปีก่อน) ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (Han Dynasty) เส้นทางนี้เริ่มต้นจากเมืองซีอาน (Xi’an)
มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันตก ไปไกลถึงแอฟริกาและยุโรปใต้
เป็นเส้นทางโบราณสายหลักเพียงสายเดียวที่เชื่อม 3 ทวีป บรรดาพ่อค้านักเดินทางต่างรู้จักและใช้เส้นทางสายนี้นับพันปี
ถ้าจะพูดโดยมองจีนเป็นหลัก
อาณาจักรจีนโบราณทำการค้ากับชนชาติอื่น ไกลถึงอาณาจักรโรมัน เป็นการเชื่อมต่อที่กษัตริย์หรือผู้ปกครองยุคนั้นสนับสนุน
แน่นอนว่าจีนได้ประโยชน์ไม่น้อย ทั้งด้านการค้า สินค้าที่อีกฝ่ายไม่มีหรือผลิตไม่ได้
การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความรู้และอื่นๆ
แต่ความจริงแล้วเส้นทางยาวหลายพันกิโลเมตรไม่ใช่ของจีนเพียงผู้เดียว
(อาณาจักรจีนควบคุมบางส่วนของเส้นทางที่อยู่ในเขตแดนตน) เป็นเส้นทางร่วมของทุกอาณาจักร
ทุกชนชาติเผ่าพันธุ์ที่ใช้เส้นทางนี้ ต่างได้ประโยชน์และหวังรักษาผลประโยชน์ของตน เป็นผลประโยชน์ร่วมที่จะรักษาและควบคุมเส้นทางดังกล่าว
ดังนั้นแม้ชื่อจะชวนให้นึกถึงประเทศจีน ตำราประวัติศาสตร์ให้เกียรติจีนในเส้นทางนี้
ความจริงแล้วจีนไม่ใช่เจ้าของเพียงลำพังและไม่อาจเป็นเช่นนั้น
สงครามร้อนไม่ยุ่ง มุ่งการค้าและพัฒนา :
แนวคิดริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" หรือ Belt and
Road Initiative (BRI) เป็นอีกวิสัยทัศน์ว่ารัฐบาลจีนในยุคปัจจุบันมุ่งทำการค้าการลงทุนกับนานาประเทศ
เพื่อการมีกินมีใช้ พัฒนาคนประเทศพัฒนา
รัฐบาลจีนพยายามหลีกเลี่ยงสงครามทางทหาร เพราะจะบั่นทอนบรรยากาศการค้าการลงทุน
ต้องสูญเสียทรัพยากรจำนวนมาก สงครามเกาหลีกับสงครามเวียดนามเป็นตัวอย่างที่จีนเข้าร่วม
สงครามครั้งหน้าอาจลงเอยเป็นสงครามร้อนที่ไม่จบสิ้นหากมหาอำนาจอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นเช่นนั้น อาจเป็นกับดักที่ปรปักษ์วางไว้
เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจีนกำลังก้าวขึ้นมาอย่างสันติ
จีนไม่พยายามขูดรีดผลประโยชน์ด้วยการทำสงครามหรือข่มขู่ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เพื่อนบ้านอุ่นใจและเห็นว่าการร่วมมือกับจีนน่าจะเป็นทางที่ดีกว่า
แม้จะต้องเสียผลประโยชน์บ้าง จีนจะได้ประโยชน์จาก BRI
มากกว่า (ถ้าคิดเช่นนั้น)
ภายใต้ยุทธศาสตร์
BRI รัฐบาลจีนประกาศสนับสนุนให้คนจีน 500 ล้านคนเดินทางไปต่างประเทศ
คนจีนในขณะนี้และอนาคตจึงเป็นผู้สัมผัสโลกภายนอกอันหลากหลาย มีความเป็นอินเตอร์มากขึ้น
นักศึกษาจีนไปเรียนต่อในสหรัฐปีละนับแสนคน ข้อมูลปี 2017-18 นักศึกษาต่างชาติที่มากที่สุดในสหรัฐคือนักศึกษาชาวจีน มีมากถึง 363,341 คน เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่แล้ว 3.6 เปอร์เซ็นต์ และคิดเป็นร้อยละ 33.2 ของจำนวนนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด (หรือ 1 ใน 3 ของบรรดานักศึกษาต่างชาติทั้งหมด) ราวกับว่ารัฐบาลจีนไม่หวั่นเกรงว่านักศึกษาเหล่านี้จะถูกสถาบันการศึกษา สังคมสหรัฐล้างสมองข้อมูลอีกชิ้นที่น่าสนใจคือ จีนมีประชากรใกล้ 1,400 ล้านคนแล้ว ที่บางคนอาจยังไม่รู้คือ คนจีนหลายสิบล้านคนได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในแอฟริกา ลาตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้แต่ทวีปอเมริกาเหนือ ผู้ย้ายถิ่นฐานยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
มีความเป็นไปได้สูงว่า
BRI จะส่งเสริมให้คนจีนย้ายไปตั้งถิ่นฐานในประเทศต่างๆ
ที่เส้นทางสายใหม่ศตวรรษที่ 21 นี้วิ่งผ่าน
มีเหตุผลน่ากังวลว่าการไหล่บ่าของคนจีนนักศึกษาจีนจะมีผลต่อสังคมวัฒนธรรมของประเทศนั้น
ในมุมกลับกันคนจีนนักศึกษาจีนนับสิบนับร้อยล้านได้รับอิทธิพลค่านิยมจากประเทศอื่นๆ
เช่นกัน ถ้ามองตามประวัติศาสตร์ โลกเป็นเช่นนี้ที่มีการส่งผ่านและรับทอดความรู้ค่านิยมจากอีกประเทศเสมอมา
และกำลังทวีความรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์
จีนไม่ได้คิดค้นระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ด้วยตนเองแต่นำมาปรับปรุงให้เข้ากับคุณลักษณะจีน
จีนคิดค้นดินประสิวแต่ชาติอื่นต่อยอดส่งยานลงดวงจันทร์ได้ก่อน จีนไม่ได้คิดค้นระบบสื่อสารไร้สายแต่กำลังใช้
5G และพัฒนา 6G
ประเด็นจึงไม่อยู่ที่ว่าควรแลกเปลี่ยนซื้อขายความรู้กับสินค้าหรือไม่
แต่อยู่ที่สามารถคัดสรรสิ่งที่เป็นประโยชน์และพัฒนาต่อยอดหรือไม่ มีความมุ่งมั่นปฏิรูปพัฒนาตัวเองหรือไม่
นึกถึงจีนเมื่อ
70 ปีก่อนกับปัจจุบัน แน่นอนว่าจีนไม่สมบูรณ์แบบ
แต่มีหลายสิ่งที่น่าศึกษาเรียนรู้จากเขา
ปัญหาการตีความ BRI ที่มุ่งการเมืองระหว่างประเทศ
:
แม้รัฐบาลจีนพยายามอธิบายว่า BRI ไม่ได้มุ่งแข่งขันทางการเมืองระหว่างประเทศ
ไม่ใช่ zero-sum game เป็นความร่วมมือผ่านการปรึกษาหารือ
ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่รัฐบาลประเทศที่มองจีนในแง่ลบมักจะตีความว่าเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ
เช่น มองว่าเป็นแผนสร้างจักรวรรดิจีนยุคใหม่ รัฐบาลจีนใช้ BRI เป็นเหยื่อล่อเพื่อครอบงำประเทศต่างๆ Chang Ching-his นักเศรษฐศาสตร์ไต้หวันเห็นว่าหนึ่งในวิธีการคือให้สกุลเงินหยวนเป็นสกุลเงินหลักของโลก
เป็นเหตุผลที่จีนปล่อยกู้เป็นเงินหยวนแก่ประเทศต่างๆ
เพื่อพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์นี้
เป็นไปได้ที่บางกรณีรัฐบาลจีนตั้งใจใช้โครงการพัฒนา
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือเพื่อมีอิทธิพลต่อประเทศนั้นๆ แต่ถ้าจะกล่าวหาเช่นนั้น
รัฐบาลอีกหลายประเทศทำเช่นนี้เหมือนกัน แม้กระทั่งจากรัฐบาลที่เรียกตัวเองว่าพัฒนาแล้ว
เป็นเสรีประชาธิปไตย
ข้อเท็จจริงคือ แทบทุกประเทศใช้วิธีการเช่นนั้น
ก่อนหน้า
BRI โลกมีโครงการเงินกู้ โครงการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศมากมาย
ทั้งองค์กรระหว่างประเทศอย่าง IMF ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย
หรือแบบกู้ยืมจากประเทศอื่น ทั้งจากสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น
BRI จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ถ้ามองในมุมลูกหนี้ย่อมเป็นโอกาสของลูกหนี้ที่จะมีตัวเลือกมากขึ้น
ถ้ามองอย่างเป็นกลาง
โดยทั่วไปแล้วประเทศลูกหนี้ ผู้รับการส่งเสริมการลงทุนมักเกรงใจประเทศเจ้าหนี้
และหวังจะได้เงินกู้ ความช่วยเหลือเศรษฐกิจเพิ่มเติมในอนาคต
ที่ผ่านมาหลายสิบประเทศขอจีนช่วยผ่อนผันการชำระหนี้
ไม่ว่าจะมุมมองใด
อิทธิพลจีนในเวทีโลกและต่อประเทศผู้รับการลงทุนจะเพิ่มขึ้น ส่วนจะเป็นที่ยินดีหรือไม่
กาลเวลาจะค่อยๆ เปิดเผยให้โลกรู้
จีนเป็นพัฒนาที่พัฒนาแล้วทุกด้านในปี 2049 :
ในเวลา 70 ปี
เศรษฐกิจจีนจากเดิมที่ล้าหลังแทบไม่มีอะไร
ปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ปี 1950
ปริมาณการค้าจีนทั้งหมดมีมูลค่า 1,130 ล้านดอลลาร์ ปี 2018 ตัวเลขนี้กลายเป็น 4.6
ล้านล้านดอลลาร์ นำเข้าสินค้าบริการจากต่างชาติอีกปีละ 2 ล้านล้านดอลลาร์ จีนกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการค้าโลก
นโยบายเปิดประเทศค้าขายกับต่างชาติสร้างคุณประโยชน์ต่อชาวจีนและประเทศอื่นๆ
ประธานาธิบดีสี
จิ้นผิง ประกาศวิสัยทัศน์ว่าในปี ค.ศ. 2049 เมื่อฉลองวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนครบ
100 ปี จีนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วทุกด้าน เป็นเป้าหมายวิสัยทัศน์ที่กล้าหาญเป็นประโยชน์
โดยที่ไม่ต้องรอให้ถึงวันนั้น เพราะก่อนถึงวันนั้นทั่วโลกจะได้เห็นกับตาและพูดเองว่าจีนกำลังก้าวสู่มหาอำนาจโลกหรือไม่
เป็นแบบอย่างชาติมหาอำนาจที่เจริญแล้วและน่าชื่นชมหรือไม่
เป็นการยากที่จะวิเคราะห์อนาคต
BRI ว่าจะเป็นอย่างไร จึงยากที่จะให้นิยามด้วย เพราะ BRI กำลังขยายตัวในทุกมิติ พัฒนาเหมือนไร้ที่สิ้นสุด เกิดผลกระทบทุกด้านทั้งบวกกับลบ
ไม่อยู่ใต้การควบคุมเบ็ดเสร็จจากประเทศใดประเทศหนึ่ง บอกได้แต่ว่า BRI อยู่คู่กับโลกาภิวัตน์แห่งศตวรรษนี้
อยู่คู่กับความต้องการพัฒนาและอยู่รอดของประเทศ รัฐบาลและปัจเจกบุคคล
แนวคิดข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง"
คือเส้นทางสายไหมใหม่ที่จีนกำลังก้าวไป ขวากหนามมีแน่นอนแต่เป็นเรื่องปกติไม่ใช่หรือ
6 ตุลาคม
2019
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
23 ฉบับที่ 8365 วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2562)
------------------------------
บทบาทของกองทัพกับความเป็นไปของประเทศเป็นของคู่กันแยกออกจากกันไม่ได้
เป็นเครื่องทดสอบและให้คำตอบในตัวเองว่ากองทัพสนับสนุนการก้าวขึ้นมาของจีนอย่างสันติหรือไม่
อย่างไร
อีก 10
ปีข้างหน้าโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าเดิม ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจการเมืองโลก
จนถึงวิถีชีวิตทุกคน แต่ไม่ใช่ทุกประเทศหรือทุกคนจะได้ประโยชน์เท่ากันแม้จะพยายามก็ตาม
1. ‘Belt and Road’ spreading
China’s power: academics. (2018, May 27). Taipei Times. Retrieved from
http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/2018/05/27/2003693809
2. Berlie, Jean A (ed.). (2019). Chinas
Globalization and the Belt and Road Initiative. Switzerland: Palgrave
Macmillan.
3. China hails ‘miracle’ achievement in trade. (2019, September 29). Global Times.
Retrieved from http://en.people.cn/n3/2019/0912/c90000-9614442.html
4. China marches on. (2019, October 2). China Daily. Retrieved from http://www.chinadaily.com.cn/a/201910/02/WS5d93b56fa310cf3e3556e8c2.html)
5. Deepak, B.R. (ed.). (2018). China`s Global Rebalancing
and the New Silk Road. Singapore: Springer Nature Singapore.
6. Institute of International
Education. (2019). Places of Origin. Retrieved from
https://www.iie.org/en/Research-and-Insights/Open-Doors/Data/International-Students/Places-of-Origin
7. Xi says Belt and Road Initiative not an intrigue of
China. (2018, April 12). Xinhua. Retrieved from
http://www.xinhuanet.com/english/2018-04/11/c_137103588.htm
-----------------------------