สิ้นแล้วหรือการค้าเสรีตามกติกา WTO และอนาคต
ยังไม่ควรฟันธงว่าสหรัฐจะไม่หวนกลับสู่การค้าเสรีแบบเดิมอีก ระบบการค้าโลกในอนาคตเป็นไปได้หลายอย่าง หนี่งในนั้นคือการค้าเสรีแบบจับขั้วหลายฝ่าย ความสัมพันธ์หลายชั้น
เมษายน
2025 ลอว์เรนซ์ หว่อง (Lawrence Wong)
นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์กล่าวว่า "ยุคโลกาภิวัตน์กับการค้าเสรีสิ้นสุดแล้ว
ตอนนี้โลกเข้าสู่ยุคใหม่ เป็นยุคที่ผันผวน กีดกันการค้าและอันตรายมากกว่าเดิม"
รัฐบาลทรัมป์ 2.0 ละเมิดกติกาการค้าเสรีกับหลายสิบประเทศทั่วโลกพร้อมกัน
แต่ถ้าไม่นับสหรัฐ นานาชาติยังยึดกติกา WTO และไม่มีท่าทีจะยกเลิกการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ
หากพูดว่าการค้าเสรีสิ้นสุดน่าจะหมายถึงการค้าเสรีกับสหรัฐเท่านั้น
สหรัฐจะกลับมายึด WTO หรือไม่:
ไม่ว่ารัฐบาลทรัมป์จะละเมิดการค้าเสรีมากเพียงไร
ควรตระหนักว่าไม่ใช่ ส.ส. ส.ว. และคนอเมริกันทุกคนที่เห็นด้วยกับทรัมป์ ยังไม่ควรฟันธงว่าสหรัฐจะไม่หวนกลับสู่การค้าเสรีแบบเดิมอีกแล้ว
ยิ่งหากสหรัฐเสียหายหนักจากนโยบายของทรัมป์
เชื่อว่าชาวอเมริกันจำนวนมากกับพรรคเดโมแครทน่าจะยืนกรานสนับสนุนการค้าเสรีของ WTO
ต่อไป
ดังนั้น
ควรรอจนถึงการเลือกประธานาธิบดีรอบต่อไป
หากพรรคเดโมแครทชนะและยืนยันยึดแนวทางทรัมป์ 2.0
เมื่อนั้นจึงควรฟันธงกว่ารัฐบาลสหรัฐไม่ยึดการค้าเสรี WTO อีกแล้ว
ระหว่างนี้สังคมอเมริกันจะอภิปรายว่าแนวทางใดดีกว่า
ตอบโจทย์คนอเมริกันมากกว่า
การค้าเสรีตามขั้วหรือแกนความร่วมมือ:
ถ้าหากสหรัฐไม่ยึดถือการค้าเสรีแบบเดิม
ระบบการค้าโลกในอนาคตสามารถเป็นไปได้หลายอย่าง
หนี่งในนั้นคือการค้าเสรีแบบจับขั้วหลายฝ่าย ความสัมพันธ์หลายชั้น
วิเคราะห์พอสังเขปดังนี้ ...
ประการแรก การค้าเสรีชั้นบนสุด
หมายถึงการค้าเสรีในระดับโลกหรือกว้างสุด
ชั้นนี้คือแบบที่นานาชาติยังยึดการค้าเสรีเดิม โดยที่สหรัฐไม่อยู่ในกรอบนี้
ถามว่าจะมีระเบียบการค้าเสรีใหม่ที่สหรัฐเป็นแกนนำอีกหรือไม่
คำตอบคือยังไม่ชัดเจน อาจเป็นไปไม่ได้
เหตุผลข้อแรกคือทั่วโลกต่างยอมรับเห็นว่าการค้าเสรี WTO ดีอยู่แล้ว
อาจปรับปรุงปฏิรูป แต่ไม่ยกเลิก เหตุผลข้อสองคือจีนกับรัสเซียไม่ยอม
รัฐบาลจีนกับรัสเซียประกาศเรื่อยมาว่าไม่ยอมรับระเบียบเศรษฐกิจการค้าโลกที่สหรัฐเป็นแกนนำ
เซอร์เกย์
ลาฟรอฟ (Sergei Lavrov) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียชี้ว่าระบบโลกเดิมที่บางประเทศรักษาการอยู่ดีกินดีด้วยการกดขี่ขูดรีดผู้อื่นกำลังจะสิ้นสุด
มนุษยชาติไม่ต้องการเช่นนั้น โลกพหุภาคีที่เป็นธรรมกำลังก่อตัว
มีศูนย์เศรษฐกิจใหม่ ศูนย์การตัดสินใจใหม่ที่ยึดผลประโยชน์ของทุกชาติ
เคารพอธิปไตยของประเทศอื่น หลายประเทศอยากเข้าร่วมกลุ่ม การลดใช้ดอลลาร์เป็นหลักฐาน
ประธานาธิบดีปูตินยกตัวอย่างการดำเนินงานของ
IMF ไม่ตรงไปตรงมา มีเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐกับพันธมิตรมากกว่า
หากสหรัฐทิ้งการค้าโลกตามกติกา
WTO ต้องติดตามอีกหลายปีว่ารัฐบาลสหรัฐจะสร้างระบบการค้าใหม่อย่างไร
ที่ชัดเจนตอนนี้คือแนวทางทรัมป์ 2.0 ไม่ใช่การค้าเสรี
ประการที่
2 การค้าเสรีหรือระเบียบเศรษฐกิจตามขั้ว
ถ้าวิเคราะห์ว่าระเบียบการค้าโลกเก่าพัง
ผลที่น่าตามมาคือ ‘ระเบียบเศรษฐกิจตามขั้ว’
เมษายน
2025 อีลอน มัสก์ (Elon Musk)
พูดถึงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐกับอียู
ขั้วพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐทั้งด้านการค้ากับความมั่นคง (นาโต)
ข้อนี้ตรงกับแนวทางของทรัมป์ 2.0 ที่รวมการค้าเข้ากับด้านอื่นๆ
รวมเข้ากับยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ สงครามเย็นใหม่
การค้าเสรีตามขั้วจะต่างจาการค้าเสรีระดับภูมิภาค
ทุกวันนี้มีการค้าเสรีระดับภูมิภาคหลายแห่ง
เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area: ACFTA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive
Economic Partnership: RCEP) เป็นข้อตกลงระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย
จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และนิวซีแลนด์
นอกจากนี้
มีความพยายามจัดตั้งเขตการค้าเสรีใหม่ เช่น เขตการค้าเสรีไตรภาคีระหว่างจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้
กลุ่ม BRICS (บริคส์) พยายามร่วมมือหลายด้าน
รวมทั้งเป็นเกลุ่มเชื่อมโยงเศรษฐกิจ
เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ากลุ่มนี้อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐ เป็นตัวอย่าง ‘ระเบียบเศรษฐกิจตามขั้ว’
ประการที่
3 หนึ่งประเทศหลายขั้วหลายความร่วมมือ
สงครามเย็นพยายามแบ่งขั้วอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตยกับฝ่ายสังคมนิยม
หลายสิบประเทศเลือกอยู่ตามขั้ว แต่ในปัจจุบันและอนาคต
หลายประเทศจะไม่เลือกอยู่ขั้วใดขั้วหนึ่งเต็มตัว ยกตัวอย่าง ...
1) อินเดีย
อินเดียเป็นสมาชิกของกลุ่มบริคส์
(BRICS) ผู้เชี่ยวชาญบางคนวิเคราะห์ว่าอินเดียคงไม่สนใจเรื่องลดใช้ดอลลาร์
ตั้งใจใช้ BRICS สร้างสัมพันธ์รอบทิศมากกว่า ในขณะเดียวกันอินเดียอยู่ในกลุ่ม
Quad หรือ “Quadrilateral Security Dialogue” เป็นเวทีหารือด้านความมั่นคงของ 4 ประเทศ
ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและอินเดีย
ตั้งขึ้นมาเพื่อต้านจีนโดยเฉพาะ
การที่อินเดียเป็นสมาชิกทั้ง
BRICS กับ Quad เป็นหลักฐานชี้ว่าอินเดียไม่ข้างเข้าขั้วใดขั้วหนึ่ง
2)
ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้
ความร่วมมือด้านความมั่นคงไกลไปถึงนาโต
กุมภาพันธ์ 2023 Jens Stoltenberg เลขาธิการนาโตกล่าวว่าตอนนี้
นาโตกำลังยกระดับความร่วมมือกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ “การก้าวขึ้นมาของจีนมีผลต่อความมั่นคง
ผลประโยชน์ของเราและคุณค่าที่เรายึดถือ”
ในอีกด้าน The Observatory of
Economic Complexity (OEC) ระบุว่าปี 2024
เกาหลีใต้ส่งออกไปยังจีนเป็นมูลค่า 162,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของเกาหลีใต้
ส่วนจีนส่งออกมายังเกาหลีใต้เป็นมูลค่า 147,000 ดอลลาร์
ทำให้จีนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของเกาหลีใต้
เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ข้อมูลพฤษภาคม
2024 จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของญี่ปุ่น และจีนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1
ของญี่ปุ่น
วิเคราะห์:
ความสัมพันธ์การค้าระหว่างประเทศของทั้งเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและจีน เป็นอีกปัจจัยมีผลต่อความเป็นไปของคาบสมุทรเกาหลี
ทุกฝ่ายต้องระวังไม่ให้ความขัดแย้งด้านความมั่นคงกระทบกระเทือนการค้าหนักเกินไป
3)
ประเทศไทย
พฤศจิกายน
2566 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้ว่า ไทยจะรักษาสมดุลในการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับจีนและสหรัฐ
รวมทั้งมีจุดยืนของตนเองบนพื้นฐานของหลักการที่ชัดเจนและผลประโยชน์ของประเทศ
และมองไปยังประเทศที่มีอำนาจในตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา
และกลุ่มประเทศอำนาจอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์กับไทย
วิเคราะห์:
เป็นการประกาศชัดว่ารัฐบาลไทยจะไม่พาตัวเองเข้าสู่ความขัดแย้ง
ที่ชาติมหาอำนาจบางประเทศพยายามให้ไทยเลือกข้าง
ถ้าพูดถึงการเลือกข้าง
แคนาดากับเดนมาร์กเป็นตัวอย่างล่าสุดของศตวรรษที่ 21 ที่รับผลเสียจากพันธมิตร
ขั้วของตัวเอง การเลือกข้างอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยใช่ว่าจะปลอดภัย
----------------
บรรณานุกรม :1. กระทรวงการต่างประเทศไทย. (2023, November
22). รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบนโยบายในพิธีเปิดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลก
ประจำปี ๒๕๖๖. Retrieved from
https://www.mfa.go.th/th/content/pr201123?cate=5d5bcb4e15e39c306000683d
2. Beijing is
'watching closely' If Russia succeeds in Ukraine. NATO says flagging a growing
challenge to China. (2023, February 18). CNBC. Retrieved from
https://www.cnbc.com/2023/02/18/natos-stoltenberg-beijing-watching-closely-russia-success-in-ukraine.html
3. Bershidsky,
Leonid. (2014, July 15). The End of the World Bank? Bloomberg View.
Retrieved from
http://www.bloombergview.com/articles/2014-07-15/the-end-of-the-world-bank
4. Full
text of Chinese president's remarks at BRICS Brasilia Summit. (2019, November
15). Xinhua. Retrieved from
http://www.xinhuanet.com/english/2019-11/15/c_138555946.htm
5. Trump’s Tariffs
Crush the ASEAN Economic Model. (2025, April 7). Foreign Policy. Retrieved from
https://foreignpolicy.com/2025/04/07/trump-tariffs-asean-southeast-asia-free-trade/
6. Vietnam
remains S. Korea's No. 3 trading partner in 2023. (2024, February 5). Yonhap.
Retrieved from
https://en.yna.co.kr/view/AEN20240205000800320?section=k-stories/k-stories
7. Why
India Must Shape the New BRICS Moment. (2023, June 2). The Diplomat.
Retrieved from
https://thediplomat.com/2023/06/why-india-must-shape-the-new-brics-moment/
-----------------