นับจากหลายประเทศมีอาวุธนิวเคลียร์ก็ไม่มีใครใช้อีก
นับว่าการป้องปรามได้ผล แต่ความสำเร็จในอดีตไม่เป็นเหตุจะรักษาไว้ได้ตลอดไป โอกาสเกิดสงครามนิวเคลียร์จึงมีอยู่เสมออยู่ตราบเท่าที่โลกมีอาวุธชนิดนี้
บรรณานุกรม :
1. Australia rules out hosting US missiles. (2019, August 5). Arab News. Retrieved from http://www.arabnews.com/node/1535676/world
คำว่า “การป้องปราม” (Deterrence) หมายถึงการเตรียมหรือพร้อมลงมือกระทำการบางอย่างตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม
การมีกองทัพ การซ้อมรบ สามารถตีความว่าเป็นการป้องปรามการรุกรานจากศัตรู ศัตรูไม่กล้าโจมตี
ปัจจุบันเมื่อเอ่ยถึง
“การป้องปราม” มักหมายถึง “การป้องปรามนิวเคลียร์” ป้องปรามไม่ให้อีกฝ่ายใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีหรือคุกคาม
จุดอ่อนของการป้องปราม :
เป็นที่ถกเถียงว่าการป้องปรามนิวเคลียร์ยังใช้ได้ผลหรือไม่
มีข้อคิดว่าการป้องปรามนิวเคลียร์จะต้องตั้งอยู่บนหลักการต่างฝ่ายต่างตัดสินใจด้วยเหตุผล
เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีอาวุธนิวเคลียร์จะไม่มีใครกล้าใช้ก่อน เพราะแม้จะสามารถทำลายศัตรูแต่ตัวเองจะถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน
แต่หากผู้ครอบครองไม่ใช้เหตุผลหรือไม่ยึดเหตุผลข้างต้นหลักการป้องปรามย่อมไร้ผล เช่น
ผู้ก่อการร้ายจุดระเบิดนิวเคลียร์ พวกที่เห็นว่าถึงเวลาทำลายล้างโลกแล้ว
อีกประเด็นที่ควรเข้าใจคือในทางวิชาการเป็นที่ยอมรับว่าผู้ก่อการร้ายบางกลุ่มมีรัฐสนับสนุน
เป็นเรื่องที่มีมานานนับพันปีที่รัฐหรือผู้ปกครองเป็นสร้างกลุ่มก่อการร้ายเพื่อเล่นงานศัตรูโดยไม่เปิดเผยตัวเอง
(รัฐ) ผู้ก่อการร้ายที่มีรัฐอุปถัมภ์จึงเป็นกลุ่มที่มีความพร้อม มีศักยภาพ และอาจสามารถจุดระเบิดนิวเคลียร์
ปัจจุบัน
มีการตีตราประเทศฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นรัฐอุปถัมภ์ก่อการร้าย เช่น รัฐบาลสหรัฐกับอิหร่านต่างชี้ว่าอีกฝ่ายสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย
แนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับการป้องปราม :
คนอีกกลุ่มต่อต้านการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์โดยให้เหตุผลดังนี้
ประการแรก
ผิดศีลธรรม ไม่ชอบธรรม
ฝ่ายที่คิดเรื่องความถูกต้องตามหลักศาสนาจะตีความว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นการทำลายล้างอย่างกว้างขวาง
พลเรือนจำนวนมากได้ผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อมแม้ผู้ใช้จะพยายามจำกัดพื้นที่
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสกล่าวอย่างชัดเจนว่าการมีหรือใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นเรื่องผิดศีลธรรมและสูญเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ
ทำนองเดียวกับอยาตุลเลาะห์ ซัยยิด อาลี คาเมเนอี (Ayatollah Seyyed Ali
Khamenei) ผู้นำจิตวิญญาณชีอะห์อิหร่านกล่าวว่าเป็นเรื่องต้องห้ามทางศาสนา
อย่างไรก็ตาม ในหมู่นักการศาสนามีความเห็นต่างเรื่องนี้เหมือนกัน
บางคนเห็นด้วยกับการใช้นิวเคลียร์ในบางกรณี เช่น โจมตีเป้าหมายทางทหาร
ประการที่ 2
แข่งขันสะสมอาวุธนิวเคลียร์
ในช่วงสงครามเย็นกำลังตึงเครียดทั้งฝ่ายสหรัฐกับสหภาพโซเวียตต่างทุ่มเททรัพยากรพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์
ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องการให้อีกฝ่ายมีกำลังรบที่เหนือกว่า คิดว่าจะทำให้อีกฝ่ายไม่กล้าลงมือทำสงครามนิวเคลียร์และด้วยเหตุผลอื่นๆ
เช่น แสดงความเป็นอภิมหาอำนาจ ผลคือทั้งคู่สะสมอาวุธนิวเคลียร์นับหมื่นหัวรบ เพียงพอทำลายโลกได้หลายรอบ
ประการที่
3 ยิ่งเสี่ยงเกิดสงคราม หายนะ
ความคิดที่ว่าเพื่อการป้องปรามนั้นก่อให้เกิดการแข่งขันสะสมอาวุธ
เนื่องจากไม่อาจประเมินกำลังอีกฝ่ายอย่างถูกต้องจึงต้องมีให้มากไว้ก่อน และอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายต้องชิงลงมือก่อน
เช่น เมื่อสถานการณ์ตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจลงมือก่อนทันที
เป็นหายนะที่จะไม่เกิดแน่นอนหากปราศจากอาวุธนิวเคลียร์
ที่ผ่านมามีการกำหนดเป้าโจมตีล่วงหน้า เป้าหมายหลายจุดคือเมืองหลวง
เมืองใหญ่ แม้เป็นวิธีป้องปรามอย่างหนึ่งแต่หากเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้นจริงย่อมหมายถึงหายนะของโลก
ทุกวันนี้ยุทธศาสตร์สหรัฐประกาศชัดว่าจะไม่ปล่อยประเทศใดมีกำลังเข้มแข็งเทียบเท่าอเมริกาเด็ดขาด
ไม่ว่ารัฐบาลสหรัฐจะยอมรับหรือไม่หลักคิดที่ใช้คือต้อง “ชิงลงมือก่อน”
(preemption) และไม่ปล่อยให้ประเทศใดไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรูก้าวขึ้นมามีอำนาจเทียบเท่า
ไม่ปล่อยให้ประเทศใดเติบใหญ่เข้มแข็งจนยากจะจัดการ
นักยุทธศาสตร์บางคนอ้างประวัติศาสตร์ว่าเพราะปล่อยให้นาซีเติบใหญ่จึงเกิดสงครามโลกครั้งที่
2
ประการที่ 4 อาจบานปลายเป็นสงครามใหญ่
นักวิชาการบางท่านเห็นว่าการตั้งใจใช้กับสนามรบหรือเป้าหมายทางทหารน่าจะเป็นเหตุให้สงครามบานปลาย
กลายเป็นสงครามเบ็ดเสร็จ (ทำลายทุกอย่างแม้กระทั่งพลเรือน)
รวมความแล้ว
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยจะสรุปว่าไม่ควรใช้นิวเคลียร์เป็นอาวุธป้องปราม แค่ใช้กำลังรบทั่วไปก็พอ
อาจด้วยเหตุผลเรื่องศีลธรรม เป็นประเทศไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ฯลฯ
มีผู้เสนอว่าวิธีป้องปรามที่ดีคือใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ
ด้วยการคว่ำบาตร ไม่ติดต่อค้าขายด้วย
ความสำเร็จและความไม่แน่นอน :
นับจากโลกมีอาวุธนิวเคลียร์
การป้องปรามเป็นคำที่นำมาใช้เสมอ หลายคนอธิบายว่าเป็นเหตุผลสำคัญกีดกั้นการใช้อาวุธทำลายล้างนี้
เป็นเหตุผลว่าทำไมไม่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ที่อาจกลายเป็นสงครามล้างโลก
อย่างไรก็ตาม
หากมองอีกมุมโลกยังตกอยู่ในความไม่แน่นอน ชาติอาวุธนิวเคลียร์ยังคงประจำการอาวุธรุ่นใหม่
ฉีกสนธิสัญญานิวเคลียร์หลายฉบับ ล่าสุดคือสนธิสัญญาขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางและใกล้
(INF) หลายฝ่ายวิตกว่าการแข่งขันสร้างอาวุธนิวเคลียร์กำลังจะเกิดขึ้นอีกรอบ
ล่าสุดมีข่าวหลายชิ้นที่ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐกำลังหาพันธมิตรใหม่เพื่อประจำการอาวุธนิวเคลียร์ของตนในแถบเอเชียแปซิฟิก
เรื่องราวเกี่ยวกับสงครามนิวเคลียร์จึงไม่ล้าสมัยและใกล้ตัว
นับจากมีอาวุธนิวเคลียร์
สหรัฐเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ 2
ครั้งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดีที่ไม่มีใครใช้อีก เพราะหากมีผู้ใช้อีก (แบบลูกเล็กๆ
จำกัดขอบเขตการทำลาย) อาจเป็นเหตุกระตุ้นให้ใช้ถี่ยิ่งขึ้น กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ว่าสามารถใช้ได้
ป้องกันเชิงรับหรือเชิงรุก :
ป้องกันเชิงรับหรือเชิงรุก :
ทุกประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์หรือคิดจะมีต่างประกาศว่าเพื่อป้องกันประเทศ
หากพิจารณาให้ดีคำว่า “ป้องกันประเทศ” ของบางคนหมายถึงการ “ป้องกันเชิงรับ”
ป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายรุกราน กับอีกความหมายคือ “ป้องกันเชิงรุก” มีความหมายเป็นนัยว่าจะต้องกำราบคู่แข่งให้หมด
ทำลายฝ่ายตรงข้ามให้ราบคาบ ทำให้ประเทศต่างๆ อยู่ใต้อิทธิพลของตน
ในข้อหลังนี้อาวุธนิวเคลียร์มีส่วนสำคัญใช้ข่มขู่อีกฝ่ายให้ยอมนบนอบอยู่ใต้อิทธิพล
ประเทศที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อการป้องกันเชิงรุกจึงใช้นิวเคลียร์ข่มขู่คุกคามประเทศอื่น
มักแสดงความเป็นเจ้า เป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศเหล่านี้จะยังคงประจำการอาวุธอำนาจทำลายร้ายแรงชนิดนี้อีกนานเท่านาน
สำหรับพวกเขาแนวคิดของฝ่ายไม่เห็นด้วยกับอาวุธนิวเคลียร์เป็นเรื่องอุดมคติที่ยังห่างไกลจากโลกแห่งความจริง
มองว่าโลกไม่ได้ตั้งอยู่บนความดีงาม การทำสงครามเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าผู้หนึ่งเข้มแข็งขึ้นเท่ากับอีกผู้หนึ่งอ่อนแอลง
(เชิงเปรียบเทียบ) ดังนั้น ต้องเป็นผู้แข็งแกร่งที่สุดเสมอจึงจะอยู่รอด
ส่วนที่เหลือจะค่อยๆ ถูกทำลายหรืออยู่ใต้อำนาจผู้แข็งแกร่งกว่า
ประเทศที่ยึดแนวทางนี้จะสร้างกองทัพใหญ่โต
สะสมอาวุธจำนวนมาก นิวเคลียร์คือหนึ่งในอาวุธที่พวกเขานึกถึงและต้องการ ในด้านนโยบายต่างประเทศจะพยายามชี้ชัดว่าใครเป็นมิตรเป็นศัตรู ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีสัมพันธ์กับการเป็นมิตรหรือศัตรูด้วย
ในทางวิชาการมีข้อสรุปว่านับจากมีอาวุธนิวเคลียร์
มีบางกรณีที่พูดถึงการใช้อาวุธทำลายล้างนี้ แต่น้อยครั้งที่คิดใช้จริง ส่วนใหญ่เป็นลักษณะมหาอำนาจที่มีนิวเคลียร์ใช้กับประเทศที่ไม่มีนิวเคลียร์
ส่วนกรณีการเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจด้วยกันมีน้อยมาก ที่สุดแล้วไม่มีใครกล้าใช้
ลงเอยด้วยการถอยคนละก้าว นับว่าการป้องปรามบรรลุผล อย่างไรก็ตามสำหรับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการป้องปรามชี้ว่าแม้มีครอบครองก็ผิดแล้ว
และการไม่ใช้ในอดีตไม่ได้หมายความว่าจะไม่ใช้ในอนาคต เป็นอีกประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ขัดกันทางหลักคิด
หากจะแก้ไขนโยบายต้องแก้เอาชนะทางหลักคิดก่อน
1 ธันวาคม
2019
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
24 ฉบับที่ 8421 วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562)
----------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
โลกเข้าสู่ยุคสงครามนิวเคลียร์ สหรัฐจะชิงลงมือก่อน?
โอกาสเกิดสงครามล้างโลกนิวเคลียร์เป็นไปได้น้อยมาก
ที่มีความเป็นไปได้มากขึ้นคือสหรัฐจะเป็นผู้ลงมือใช้ก่อนกับประเทศเล็กๆ
นับจากโลกมีอาวุธนิวเคลียร์
รัฐบาลสหรัฐไม่คิดที่จะปลดอาวุธนี้เพราะเห็นว่าคือเครื่องมือกอบโกยผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ประเด็นขีปนาวุธพิสัยกลางคืออีกภาพสะท้อน
1. Australia rules out hosting US missiles. (2019, August 5). Arab News. Retrieved from http://www.arabnews.com/node/1535676/world
2. Cimbala, Stephen J. (2010). Nuclear Weapons and
Cooperative Security in the 21st Century: The New Disorder. New York: Routledge.
3. Jones, Brian Madison. (2008). Nuclear Arms Race. In The
Encyclopedia of the Cold War: A Student Encyclopedia. (pp.1522-1526). USA:
ABC-CLIO.
4. Martin, Jerome V. (2008). Intermediate-Range Nuclear
Forces Treaty. In The Encyclopedia of the Cold War: A Student Encyclopedia.
(pp.1364-1366). USA: ABC-CLIO.
5. Pope: Use and possession of atomic bombs an ‘immoral’
crime. (2019, November 25). The Asahi Shimbun. Retrieved from http://www.asahi.com/ajw/articles/AJ201911250016.html
6. Quester, George H. (2011). Deterrence. In The Encyclopedia of Political Science.
(pp.414-415). DC: CQ Press.
7. Ray, James Lee., Kaarbo, Juliet. (2008). Global
Politics (9th Ed.). USA: Houghton Miffl in Company.
8. Tannenwald, Nina. (2007). The Nuclear Taboo: The
United States and the Non-Use of Nuclear Weapons Since 1945. UK: Cambridge University
Press.
9. Tucker, Spencer C. (2008). Intermediate-Range Nuclear
Forces Treaty, 8 December 1987. In The Encyclopedia of the Cold War: A
Student Encyclopedia. (pp.2753-2755). USA: ABC-CLIO.
10. U.S. State Department. (2018, September). Country
Reports on Terrorism 2017. Retrieved from https://www.state.gov/documents/organization/283100.pdf
11. Williams, Joseph W. (2008). Just War Theory. In The
Encyclopedia of the Cold War: A Student Encyclopedia. (pp.1081-1083). USA:
ABC-CLIO.
12. Wirtz, James J., Larsen, Jeffrey A. (2005). Nuclear
Transformation: The New Nuclear U.S. Doctrine. New York: PALGRAVE MACMILLAN.
-----------------------------
ที่มาของภาพ : https://www.atomicheritage.org/history/bombings-hiroshima-and-nagasaki-1945