จีนที่ก้าวขึ้นมาทำให้สหรัฐกับญี่ปุ่นอยู่เฉยไม่ได้ มองว่าจีนกำลังเปลี่ยนแปลงอินโด-แปซิฟิกเพื่อตนเอง ญี่ปุ่นที่มีพลังอำนาจเป็นรองจำต้องแสวงหาพันธมิตรและเข้าพัวพันเข้มข้นกว่าเดิม
กรกฎาคม 2022 Thomas Wilkins จาก Australian Strategic Policy Institute นำเสนอยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติญี่ปุ่น โดยผสมมุมมองจากออสเตรเลีย มีสาระสำคัญดังนี้
การพัฒนากองทัพญี่ปุ่นหลังสหรัฐถอนตัว : ปี 1952
กองทัพสหรัฐส่วนใหญ่ถอนตัวออกจากการยึดครองญี่ปุ่น รัฐบาลใหม่มุ่งเน้นฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม
เริ่มต้นปกครองประเทศด้วยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่สหรัฐเป็นผู้ร่าง
อยู่ภายใต้การคุ้มครองของสหรัฐตามหลักนิยม “Yoshida
Doctrine”
1954 เกิดกองกำลังป้องกันประเทศญี่ปุ่น (JSDF) กองทัพสหรัฐส่วนหนึ่งยังประจำการที่นี่และกลายเป็นที่ตั้งฐานทัพอเมริกันประจำย่านนี้
มีบทบาทสำคัญต่อสงครามเกาหลีกับสงครามเวียดนามและเรื่อยมา
ตลอดช่วงสงครามเย็นกองทัพญี่ปุ่นไม่โดดเด่นเท่าอดีต
รัฐบาลเน้นพัฒนาเศรษฐกิจ จำกัดงบกลาโหมไม่เกิน 1% ของจีดีพี อย่างไรก็ตามนับจากปี 1976
เป็นต้นมากองทัพพัฒนาตามลำดับ นายกฯ ยาสุฮิโระ นากาโซเนะ (Yasuhiro
Nakasone, 1982–87)
ให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองด้านการทหาร
พัฒนากองทัพตามภัยคุกคามจากโซเวียตรัสเซีย และเมื่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟูในทศวรรษ
1980 เริ่มเกิดความคิดว่าญี่ปุ่นจะพัฒนากองทัพให้เป็นดังกองทัพประเทศทั่วไป
(ไม่จำกัดตัวเองเป็นกองทัพป้องกันประเทศเท่านั้น ไม่มีขีดความสามารถด้านการโจมตี)
ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการพัฒนากองทัพเต็มตัวเมื่อสิ้นสงครามเย็นและเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียปรับแนวคิดความมั่นคง
สนใจโลกภายนอกมากขึ้น นายกฯ จุนอิชิโร โคอิซูมิ (Junichiro Koizumi, 2001–06)
ปรับแนวคิดว่า กองทัพญี่ปุ่นต้องมีส่วนสนับสนุนความมั่นคงโลก ความมั่นคงภูมิภาค
ขยายกระทรวงกลาโหมให้รองรับภารกิจที่กว้างขวาง ปี 2007 กระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับออสเตรเลีย
ปี 2010
เกิดข้อพิพาทกับจีนจากเหตุหมู่เกาะเซนกากุ เรื่องกำลังรบทวีความสำคัญ ญี่ปุ่นปรับกองทัพครั้งใหญ่ตามหลักการรบสมัยใหม่
ปี 2012 นายกฯ ชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe, 2006–07, 2012–20) เห็นควรปรับรัฐธรรมนูญที่จำกัดกองทัพ
หวังให้กองทัพกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง พยายามผลักดันเรื่องนี้
(แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย) เป็นยุทธศาสตร์แม่บท (grand strategy) ฉบับใหม่ แม้กองทัพญี่ปุ่นยังไม่เทียบเท่าสหรัฐกับจีนแต่เป็นกองทัพทรงอานุภาพของภูมิภาคประเทศหนึ่ง
ภัยคุกคามที่ทวีความรุนแรง
:
ประการแรก ภัยคุกคามจากจีน
จีนจะเป็นภัยคุกคามหลักอีกนาน
ผลจากเศรษฐกิจที่เติบใหญ่และต้องการแสดงบทบาทมากขึ้น การแข่งขันทวีความเข้มข้นต่างหวังกำหนดระเบียบโลกที่เป็นประโยชน์ต่อตนมากที่สุด
การอ้างความเป็นเจ้าของทะเลจีนใต้โดยใช้เส้นประ
9 เส้น (nine-dash line) ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร
(Permanent Court of Arbitration: PCA) สร้างฐานทัพบนเกาะแก่งในทะเลจีนใต้
กองทัพจีนที่แสดงตัวแถบทะเลทางตอนใต้ญี่ปุ่น
เหตุยกเลิกขายแร่หายากแก่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2010 ความก้าวหน้าของจีนด้านปัญญาประดิษฐ์
อาวุธไฮเปอร์โซนิค กองทัพจีนที่นับวันยิ่งเข้มแข็งเหล่านี้เป็นเรื่องน่ากังวล
ผู้กำหนดนโยบายมองว่าญี่ปุ่นเป็นแนวหน้าที่ต้องประจันหน้าจีน
พร้อมกับที่จีนพยายามเปลี่ยนบริบทแวดล้อมแถบนี้ เครื่องบินรบญี่ปุ่นเข้าสกัดเครื่องบินรบจีนเป็นประจำ
จีนอาจรวมไต้หวันด้วยการใช้กำลัง
โจมตีทางไซเบอร์ ปัจจุบันญี่ปุ่นถือว่าความมั่นคงของไต้หวันสัมพันธ์กับความมั่นคงของญี่ปุ่นและของโลกโดยตรง
ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของแนวเกาะเส้นแรก (first
island chain) ที่ห่างจากหมู่เกาะริวคิวของญี่ปุ่นเพียง 110
กิโลเมตรเท่านั้น
ประการที่ 2 เกาหลีเหนือ
เกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงและจวนตัวเช่นกัน
โครงการนิวเคลียร์กับขีปนาวุธก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ได้ทดลองนิวเคลียร์มาแล้วถึง 6 ครั้ง
พัฒนาการยิงนิวเคลียร์ที่ใช้เวลาสั้นยากต่อการป้องกัน
รัฐบาลเกาหลีเหนือเป็นศัตรูของญี่ปุ่นมาเนิ่นนาน ส่งหน่วยแทรกซึมเข้ามา
ประการที่ 3
ความร่วมมือระหว่างจีนกับรัสเซีย
ญี่ปุ่นพิพาทกับรัสเซียเรื่องหมู่เกาะคูริลมานานแล้ว
กองทัพรัสเซียเป็นที่น่ากังวลเสมอ ทั้งยังประจำการอาวุธรุ่นใหม่แถบนี้ด้วย
การรบที่ยูเครนเป็นหลักฐานว่ารัสเซียกล้าใช้กำลัง
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียแนบแน่นขึ้นทุกที ซ้อมรบร่วมทั้งทางนาวีกับทางอากาศ
ทำการลาดตระเวนร่วมซึ่งญี่ปุ่นตีความว่าเป็นการร่วมกันกดดันญี่ปุ่น
การพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงร่วมเป็นอีกประเด็นที่ญี่ปุ่นกังวล
ประการที่ 4 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของปรปักษ์เป็นอีกประเด็นที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญ
เช่น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ทางทหาร ด้านอวกาศ สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic
spectrum) ด้านไซเบอร์ การผสมผสานเทคโนโลยีที่พลเรือนใช้ร่วมกับทางทหาร
เช่น AI กับ quantum computing
อาวุธไฮเปอร์โซนิค อาวุธพลังงานสูง (เลเซอร์ ไมโครเวฟ)
เทคโนโลยีใหม่พวกนี้อาจทำให้ดุลอำนาจเปลี่ยนไป
ห้วงอวกาศกำลังสัมพันธ์กับการรบภาคอื่นๆ
ดาวเทียมมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสำรวจตรวจสอบพื้นที่ กำหนดเป้าหมาย
จีนสร้างระบบเครือข่ายดาวเทียม รัสเซียกำลังทำเช่นกัน
ทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ด้วยสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic
Spectrum) ทำสงครามพันทาง (hybrid warfare) สงครามไซเบอร์
ประการที่ 5 ภัยคุกคามรูปแบบใหม่
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ญี่ปุ่นจับตา
เกรงว่าจะก่อปัญหาแก่คนท้องถิ่น การอพยพย้ายถิ่นจากคนต่างชาติ
แต่ไหนแต่ไรญี่ปุ่นมักเผชิญภัยธรรมชาติอยู่เสมอ
การกู้ภัยจึงเป็นภารกิจหนึ่งของกองทัพ
พันธมิตรเพื่ออินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี :
ปี 2020 กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นประกาศวิสัยทัศน์อินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี
(a free and open Indo-Pacific หรือ FOIP) ในปีต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ ญี่ปุ่นจะเข้าไปร่วมกำหนดโครงสร้างภูมิภาคโดยตรง
แทนการทำหน้าที่สนับสนุนสหรัฐ แม้ว่าแนวทางของสหรัฐกับญี่ปุ่นจะคล้ายกันก็ตามแต่ญี่ปุ่นจะทำสิ่งที่ก่อประโยชน์ต่อตนเป็นหลัก
โดยจะให้ความสำคัญกับการพูดคุยหารือมากกว่ามุ่งใช้กำลัง ส่งเสริมการค้า
เป็นทางเลือกให้กับประเทศอื่นๆ เป็นสมาชิก RCEP
ในอดีตญี่ปุ่นอาจร่วมมือกับสหรัฐเป็นหลักแต่นโยบายใหม่ไม่เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว
จะให้ความสำคัญกับการพึ่งตนเองและจับมือกับหลายประเทศพร้อมๆ กัน ทั้งสหรัฐ ออสเตรเลีย อินเดีย อังกฤษ
ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดาและนิวซีแลนด์
บนรากฐานความคิดที่ว่าการเข้าไปพัวพันจะส่งเสริมเสถียรภาพ ความร่วมมือระหว่างกัน
ความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐจะช่วยปกป้องดินแดนรวมทั้งกรณีใช้อาวุธนิวเคลียร์
เชื่อมนโยบายความมั่นคงเข้าด้วยกัน สองรัฐบาลทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและให้ความเป็นพันธมิตรนี้มีผลในระดับโลก
(ไม่ใช่เฉพาะขอบเขตญี่ปุ่นหรือย่านนี้เท่านั้น)
มีกลุ่มความร่วมมือหลายกลุ่มที่สัมพันธ์กับสหรัฐ
เช่น Trilateral Strategic Dialogue (TSD) ระหว่างญี่ปุ่น
สหรัฐและออสเตรเลีย Quadrilateral Strategic Dialogue (Quad)
ที่รวมอินเดียเข้ามาอีกประเทศ ทั้งหมดมีเป้าหมายร่วมคืออินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี
เวียดนาม ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์คือ 3
ชาติสมาชิกอาเซียนที่มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นกับออสเตรเลียปัจจุบันมีสถานะเป็น Special Strategic Partnership
บูรณาการยุทธศาสตร์ความมั่นคง 2 ประเทศเข้าด้วยกัน เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจน แสวงหาปฏิบัติการร่วม
ประสานพลังอำนาจเข้าด้วยกัน เพิ่มความร่วมมือด้านการข่าว ญี่ปุ่นหวังเข้าถึงการข่าวจากระบบ
Five Eyes ลาดตระเวนทางทะเลร่วม ความใกล้ชิดระหว่าง 2
ประเทศเอื้อความร่วมมือในกรอบที่ใหญ่ขึ้น เช่น TSD
คาดว่าความสัมพันธ์จะแนบแน่นขึ้นอีกในอนาคต
-----------------
Wilkins, Thomas. (2022, July).
Japan’s security strategy. Retrieved from https://ad-aspi.s3.ap-southeast-2.amazonaws.com/2022-07/SR186%20Japans%20security%20strategy.pdf?VersionId=DpkmKOvNKVqOEwvUtGfsY56HbSBgOMUY