เอชีย

เอเชีย (ยกเว้นอาเซียนกับตะวันออกกลาง ส่วนทวีปออสเตรเลียจัดให้อยู่ในหมวดนี้ก่อน)
ติดต่อพูดคุยสอบถามได้ที่ไลน์ @7chanchai (มีเครื่องหมาย @)
เพิ่มเพื่อน
อ่านบทความ คลิกที่ชื่อเรื่อง

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2024

บัดนี้เกาหลีเหนือสามารถส่งกระสุนอาวุธต่างๆ ช่วยรัสเซียทำศึกยูเครน แม้กระทั่งส่งกองทัพเกาหลีเข้ารบโดยตรง ดังที่ผู้นำเกาหลีเหนือกล่าวว่าปูตินคือเพื่อนแท้ที่ดีที่สุด

การประกาศเอกราชอาจอยู่ในแผนที่ต้องดำเนินตามขั้นตอน ดังผู้เชี่ยวชาญตะวันตกบางคนวิเคราะห์ว่ากองทัพจีนจะบุกไต้หวันในสมัยรัฐบาลไล่ชุดนี้

ผู้นำไต้หวันหวังว่าจีนจะยอมรับการมีอยู่ของประเทศไต้หวัน เคารพการตัดสินใจของคนไต้หวัน อยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่เรื่องนี้จะสู่สงครามแทนสันติหรือไม่ 

ด้วยความคิดว่าภายในปี 2030 เกาหลีเหนือน่าจะสะสมนิวเคลียร์ถึง 300 หัวรบ เกาหลีใต้จึงควรมีนิวเคลียร์ร้อยลูกเพื่อรับมือภัยดังกล่าว

ในมุมเกาหลีเหนือการรวมชาติจะเริ่มขึ้นจริงเมื่อประเทศอยู่ในบรรยากาศปลอดภัย ไม่มีใครคิดล้มล้างอำนาจผู้ปกครอง

จุดยืนของจีนชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง ไต้หวันประกาศเอกราชคือขอแบ่งแยกดินแดน จีนจะส่งกองทัพบุกโค่นล้มรัฐบาลไต้หวัน ยึดดินแดนกลับคืน ไม่ปล่อยให้ไต้หวันเป็นเช่นปัจจุบันอีก

นักวิชาการฝ่ายตะวันตกหลายคนคาดไต้หวันกับจีนจะทำสงครามภายในไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อคำนวณเวลาแล้วคือในช่วงรัฐบาลไต้หวันชุดใหม่นี้เอง

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2023
ที่ควรวิเคราะห์คือเหตุผลเบื้องหลังของเหตุการณ์ ในอนาคตซากเรือ BRP Sierra Madre จะทำหน้าที่อีกครั้ง เป็นนิยายเรื่องเก่าที่ผู้กำกับคนใหม่นำมาแสดงอีกรอบ

ญี่ปุ่นกังวลจีน ความร่วมมือจีน-รัสเซีย อาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ แก้ไขด้วยการสร้างกองทัพให้เข้มแข็งพร้อมรับมือ ยึดพันธมิตรญี่ปุ่น-สหรัฐเป็นแกนหลัก

Defence Strategic Review 2023 ของออสเตรเลีย
แนวยุทธศาสตร์แห่งชาติล่าสุดออสเตรเลียจะร่วมมือกับสหรัฐ ญี่ปุ่นและ AUKUS มากขึ้น ใช้ยุทธศาสตร์ป้องปราม รักษาสมดุลให้ก่อประโชน์ต่อประเทศ

ในสมัยทรัมป์โหมกระแสต่อต้านจีน ลามถึงคนเชื้อสายจีนในอเมริกา มาถึงสมัยไบเดนมองจีนเป็นปรปักษ์มากขึ้นอีก สอดคล้องข่าวโจมตีจีนจากรัฐบาลและสื่อกระแสหลัก

ความบาดหมางฝังลึกที่เกาหลีใต้มีต่อญี่ปุ่น ความไม่ไว้วางใจรัฐบาล ทำให้การปรับความสัมพันธ์ยุ่งยาก น่าสงสัย อาจมีผลช่วงสั้นๆ ตามอายุรัฐบาล

ไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่การกีดกันเทคโนโลยีชิ้นส่วนไฮเทคสู่จีนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบโลกในตอนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็นใหม่ที่การแบ่งขั้วชัดเจนยิ่งขึ้นทุกที

กองทัพสหรัฐเหนือกว่าแต่พร้อมที่จะสูญเสียเพื่อไต้หวันหรือไม่ หาก 2 มหาอำนาจรบกันจริงย่อมส่งผลต่อระเบียบโลกใหม่ที่จะตามมา หมากไต้หวันเพียงตัวเดียวอาจเปลี่ยนระบบโลก

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2022
การมีอาวุธนิวเคลียร์ยังเป็นเครื่องมือป้องปรามสงครามใหญ่ได้ดี ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่คิดเช่นนี้ นี่ยังไม่รวมแนวคิดญี่ปุ่นอยากกลับมาเป็นชาติมหาอำนาจอีกครั้ง

สมดุลอินโด-แปซิฟิกจะเปลี่ยนไปถ้าเกาหลีใต้มีอาวุธนิวเคลียร์ และหากคิดจะใช้นิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ต้องถามว่าหากวันหนึ่งสหรัฐห้ามติดต่อค้าขายกับจีน เกาหลีใต้พร้อมทำตามหรือไม่

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกคือยุทธศาสตร์ปัจจุบันที่รัฐบาลสหรัฐใช้ขวางเส้นประ 9 เส้นของจีน เป็นการเผชิญหน้าระหว่าง 2 มหาอำนาจโดยตรง และกำลังทวีความรุนแรง

การ “ปั่น” คนไต้หวันให้เป็นศัตรูกับจีนนั้นมีจริง เป็นภัยคุกคามที่บั่นทอนความสงบสุขการอยู่ดีกินดีในยามนี้และในอนาคต สุดท้ายจึงอยู่ที่คนไต้หวันจะรู้ทันนักการเมืองหรือไม่

มุมมองยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติญี่ปุ่น 2022
จีนที่ก้าวขึ้นมาทำให้สหรัฐกับญี่ปุ่นอยู่เฉยไม่ได้ มองว่าจีนกำลังเปลี่ยนแปลงอินโด-แปซิฟิกเพื่อตนเอง ญี่ปุ่นที่มีพลังอำนาจเป็นรองจำต้องแสวงหาพันธมิตรและเข้าพัวพันเข้มข้นกว่าเดิม

รัฐบาลไบเดนพูดถึงประโยชน์ของ IPEF แต่มีข้อสงสัยว่าชาติสมาชิกคู่เจรจาจะได้ประโยชน์ทางการค้าเศรษฐกิจแค่ไหน มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่

เบื้องหน้าเบื้องหลังการสร้าง IPEF ของไบเดน
ฝ่ายสหรัฐคิดเสมอว่าทำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศสูงสุด รวมทั้งการต่อต้านจีน IPEF เป็นความพยายามรอบใหม่ ประกาศชัดขอสร้างกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกที่ตนเป็นผู้นำ

นโยบายต่างประเทศสหรัฐต่อจีนโดยแอนโทนี บลิงเคน
สหรัฐไม่แสวงหาความขัดแย้งหรือสงครามเย็นใหม่ (new Cold War) รัฐบาลสหรัฐจะสัมพันธ์กับจีนอย่างสร้างสรรค์ในทุกเรื่องที่ทำได้ โดยที่สหรัฐจะไม่ทิ้งหลักการของตน

แผนติดตั้งขีปนาวุธพิสัยกลางในอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐ
สหรัฐฯ หวังติดตั้งขีปนาวุธพิสัยกลางในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้และไทย เป้าหมายหลักคือต่อต้านจีน อเมริกาครองความเป็นเจ้าในอินโด-แปซิฟิก

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2021
ประชาธิปไตยจีน ประชาธิปไตยที่ใช้การได้จริง
ประชาธิปไตยแท้ต้องอยู่ในวิถีชีวิตไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงาน ต้องถือว่าล้มเหลวถ้าสังคมเป็นประชาธิปไตยแต่รัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ ประเทศไม่พัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ย่ำแย่

ยุทธศาสตร์จีนในมุมมองของสหรัฐ 2021
เป้าหมายของจีนคือพัฒนากองทัพที่ทัดเทียมหรือเหนือกว่าสหรัฐ สอดรับกับการพัฒนาประเทศ ฟื้นฟูชาติจีนให้ยิ่งใหญ่อีกครั้ง ตั้งเป้าสำเร็จภายในปี 2049

จากยากจนสู่สังคมที่ทุกคนมีกินมีใช้ไม่ขัดสน
ไม่มีคนจนในประเทศอีกแล้ว เพราะรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับประชาชน 1,400 ล้านคนต่างทำหน้าที่ของตน เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือทุกคนมีกินมีใช้ไม่ขัดสน

ขณะที่ชาติมหาอำนาจไม่ปะทะกันเอง แต่อาจสู้กันในพื้นที่อื่นๆ เป็นสงครามตัวแทน (proxy war) ดังนั้นประเทศทั้งหลายต้องระวังไม่ตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งดังกล่าว

เป้าหมาย 100 ปีข้างหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในเวลา 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีนบรรลุเป้าหมายสร้างสังคมที่ทุกคนมีกินมีใช้ไม่ขัดสน เป้าหมายถัดไปคือประเทศสังคมนิยมอันยิ่งใหญ่ทันสมัยทุกด้าน

สงครามร้อนระหว่างจีนกับสหรัฐหลีกเลี่ยงได้หรือไม่
ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำคัญที่ควบคุมได้หรือไม่ ทั้งนี้ชนชั้นนำผู้ปกครองประเทศมีส่วนสำคัญยิ่ง แม้กระทั่งในประเทศประชาธิปไตยก็ตาม

ความมั่นคงไต้หวัน กลเกมของมหาอำนาจ
การชี้ว่าจีนจะบุกไต้หวันและสหรัฐอาจเป็นฝ่ายปราชัย เป็นคำถามที่น่าคิดว่าทำไมผู้นำกองทัพสหรัฐพูดเช่นนั้น กำลังปลุกเร้าสถานการณ์ให้ตึงเครียดใช่หรือไม่ กำลังพาไต้หวันเข้าสู่สงครามหรือเปล่า

ความเข้าใจผิดเรื่องการก้าวขึ้นมาของจีน
จีนยุคสังคมนิยมต่างจากอาณาจักรจีนโบราณและไม่อาจเหมือนได้เพราะบริบทโลกต่างกันมาก อีกทั้งจีนสังคมนิยมปัจจุบันต่างจากสมัยเหมา รัฐบาลจีนจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่เป็นเรื่องคาดเดายาก

แถลงการณ์การประชุมสุดยอด Quad ครั้งแรกไม่มีนโยบายที่ชัดเจน จุดสำคัญคือทั้ง 4 ประเทศจะทำงานร่วมภายใต้กลุ่มนี้มากขึ้น และจะจัดประชุมสุดยอดแบบพบตัวต่อตัวอีกครั้งในปลายปีนี้

รู้จัก Quad และประชุมสุดยอด 4 ฝ่ายในสมัยไบเดน
Quad คือกลไกหนึ่งของยุทธศาสตร์ครองความเป็นเจ้าของสหรัฐฯ สกัดกั้นอิทธิพลจีนที่กำลังก้าวขึ้นมา และอาจเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลไบเดน

วิพากษ์ความฝันของจีน (Chinese Dream)
ความฝันหรือความใฝ่ฝันมักสู่เป้าหมายที่สวยงามดีงาม เป็นเรื่องดีที่ควรมี แต่ในขณะเดียวกันจำต้องมองโลกตามสภาพที่เป็นจริง เรียนรู้ที่จะอยู่ในโลกที่เป็นอยู่เพราะคือความฝันที่เป็นจริงอยู่ในขณะนี้

สถานการณ์โลกและการทูตจีน 2021
เมื่อเทียบจีน 50 ปีก่อนกับปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจสังคมจีนมีความเป็นทุนนิยมที่เปิดกว้างมากขึ้น ทันสมัยมากขึ้น พร้อมกับที่รัฐบาลสหรัฐมองจีนเป็นภัยคุกคามร้ายแรงมากขึ้นทุกที

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2020
นโยบายต่างประเทศของโจ ไบเดนต่อจีน
ที่จะทำคือปิดล้อมจีนต่อไป ต่างกันเพียงแสดงตัวชัดหรือไม่ชัด ใช้ถ้อยคำรุนแรงแค่ไหน ใช้วิธีการอะไร ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่อย่างน้อยมีประเด็นสำหรับใช้หาเสียง ต่อเวลาได้อีก 4 ปีแล้วค่อยว่ากันใหม่

ข้อดีของนายกฯ ซูกะคือเป็นนักประสาน ผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ทุกประเด็นสำคัญ สามารถบริหารแบบไร้รอยต่อ สานต่อจากอดีตนายกฯ อาเบะที่ทำไว้ เป็นบุคคลที่เหมาะสมสำหรับอายุรัฐบาลที่เหลือเพียงปีเดียว

รัฐบาลทรัมป์ประสบผลไม่น้อยในการสร้างความเกลียดชังรัฐบาลจีน ความเกลียดชังนี้ขยายผลสู่ระดับประชาชน เป็นประเทศที่ใช้นโยบายเกลียดชังคนอื่นเพื่อเล่นงานฝ่ายตรงข้าม หวังผลทางการเมือง

โควิด-19 กลายเป็นอีกสนามของการต่อสู้ระหว่างชาติมหาอำนาจ น่าคิดว่าหากร่วมมือกันจะช่วยรักษาชีวิตได้กี่คน ลดความสูญเสียมากเพียงไร แม้กระทั่งต่อพลเมือง เศรษฐกิจสังคมของตนเอง

คำประกาศส่งเรือพิฆาตสู่ตะวันออกกลางเพื่อรวบรวมข่าวกรอง กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงจุดยืนของรัฐบาลญี่ปุ่นอีกครั้งว่ากำลังละเมิดรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้มีกองทัพเพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้นหรือไม่

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2019
ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกหวังสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับหุ้นส่วนเพื่อต้านจีน ถ้ามองในมุมกว้างคือแผนจัดระเบียบภูมิภาคของสหรัฐนั่นเอง

สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันครบรอบ 70 ปีแตกต่างจากเมื่อก่อตั้งประเทศในทุกมิติ และกำลังเปลี่ยนแปลงต่อไปทุกด้านพร้อมกับอีกหลายประเทศตามแนว หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

การชุมนุมประท้วงฮ่องกงไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยประท้วงใหญ่มาก่อนและจัดชุมนุมเป็นประจำทุกปี ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่ จุดติดแน่นอนว่าแกนนำต้องการความสำเร็จมากกว่าครั้งก่อน ทางออกอยู่ที่ใด

ถ้าอยากเข้าใจนโยบายจีนต่อฮ่องกงจะต้องมองกรอบกว้างด้วย รัฐบาลจีนปกครองพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล มีประชากรอีกราว 1,400 ล้านคนที่ต้องดูแล หวังให้ฮ่องกงเป็น 1 ประเทศ 2 ระบบที่เป็นแบบอย่างที่ดี

บทบาทของกองทัพกับความเป็นไปของประเทศเป็นของคู่กันแยกออกจากกันไม่ได้ เป็นเครื่องทดสอบและให้คำตอบในตัวเองว่ากองทัพสนับสนุนการก้าวขึ้นมาของจีนอย่างสันติหรือไม่ อย่างไร

หลักสำคัญคือสหรัฐกับจีนต้องประสานงานและร่วมมือกับประเทศอื่นๆ สงครามการค้าไม่สามารถล้มจีน เช่นเดียวกับที่จีนไม่อาจล้มสหรัฐซึ่งจะคงเป็นชาติแข็งแกร่งที่สุดในโลก

โอริตะ คูนิโอะ แสดงความคิดเห็นว่าภายในปี 2025 จีนจะก่อสงครามใหญ่ เพื่อยึดครองไต้หวัน ควบคุมทะเลจีนใต้ ข้อวิพากษ์คืออย่างไรเป็นประโยชน์ต่อจีนมากกว่าระหว่างสงครามกับสันติภาพ

การลุกออกจากห้องประชุมของประธานาธิบดีทรัมป์มีปริศนาว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ใครพูดจริงพูดเท็จ และการปราศจากพิธีลงนามไม่ได้หมายความว่าไม่มีข้อตกลงลับ

กองทัพจีนพัฒนาโดยยึดแนวการรบแบบชาติตะวันตก หากเศรษฐกิจพัฒนาเติบโตต่อไป ผลประโยชน์ที่ขยายตัวทั่วโลกย่อมเป็นเหตุให้กองทัพจีนต้องสามารถปกป้องผลประโยชน์ประเทศที่กระจายทั่วโลก

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2018
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ชูธงการค้าเสรี โจมตีหลัก “อเมริกาต้องมาก่อน” ความเข้าใจที่ถูกต้องคือไม่มีการค้าเสรีที่เสรีเต็มร้อย ทุกอย่างอยู่ในข้อตกลงที่เปิดเผยและปิดลับ ปรับแก้ได้และไม่มีของฟรีในโลก

พลังเศรษฐกิจพลังเปลี่ยนแปลงเกาหลีเหนือและอื่นๆ
ความก้าวหน้าของโลก เศรษฐกิจสังคมเพื่อนบ้านที่พัฒนารุดหน้าเป็นปัจจัยสำคัญกดดันให้เกาหลีเหนือต้องเปลี่ยนแปลง แต่ในกรณีเกาหลีเหนือการจะปฏิรูปซับซ้อนกว่านั้นเพราะอยู่ในโลกที่ต่อสู้ขัดแย้งกัน

สงครามการค้าสหรัฐฯ – จีน ไม่แรงอย่างที่คิด
ทรัมป์เคยขู่ว่าจะขึ้นสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ เป็นการตอบโต้จีน ล่าสุดสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ชี้ว่าหากขึ้นภาษีตามนั้นจะกระทบคนอเมริกันอย่างแรง

2 เกาหลีมีแนวคิดรวมชาติมานานแล้ว ถ้ามองจากมุมเกาหลีใต้จะเป็นการยุติความทุกข์ยาก การตกอยู่ในความหวาดหวั่นของภัยสงครามที่มหาอำนาจวางไว้ เป็นความพยายามเขียนประวัติศาสตร์บทใหม่

จีนประกาศผลสำเร็จระบบนำส่งไฮเปอร์โซนิค Xingkong-2
จีนประกาศความสำเร็จในการทดสอบระบบนำส่งไฮเปอร์โซนิคเป็นครั้งแรก เป็นก้าวกระโดดที่จะพัฒนาเป็นอาวุธยิงไกลสู่ทุกจุดทั่วโลก โดยที่ระบบป้องกันขีปนาวุธยากจะสกัดกั้น

อีก 10 ปีข้างหน้าโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าเดิม ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจการเมืองโลก จนถึงวิถีชีวิตทุกคน แต่ไม่ใช่ทุกประเทศหรือทุกคนจะได้ประโยชน์เท่ากันแม้จะพยายามก็ตาม

ตลาดหุ้นเอเชียแดงถ้วนหน้า เพราะกังวลค่าเงินตุรกี
ตลาดหุ้นเอเชียกับยุโรปแดงถ้วนหน้า เหตุเพราะค่าเงินลีราตุรกียังคงอ่อนค่าต่อเนื่องอย่างรุนแรง วันเดียวหล่นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ หลังทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีให้หนักกว่าเดิม

แผนพัฒนาใดๆ ของจีนสามารถตีความว่ากำลังบั่นทอนผลประโยชน์ของอีกฝ่าย แต่อาจเป็นแนวทางที่ดีกว่า เพิ่มโอกาสเพิ่มทางเลือก สำคัญว่าสุดท้ายประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้นหรือไม่

ไม่ว่าผลการประชุมจะเป็นอย่างไร ต้องไม่ลืมว่าความเป็นไปของคาบสมุทรเกาหลีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ใหญ่กว่า ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ของสหรัฐ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น

หากเกาหลีเหนือยกเลิกโครงการนิวเคลียร์กับขีปนาวุธ สหรัฐพร้อมเลิกคุกคามเกาหลีเหนือ เป็นเงื่อนไขตรงไปตรงมา แต่ความเป็นไปของโลกไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างที่เห็น

เป็นเวลากว่า 100 ปีที่คนเกาหลีตกอยู่ในความทุกข์ยาก ผ่านสงครามหลายครั้งที่คร่าชีวิตหลายล้านคน ถูกรายล้อมด้วยมหาอำนาจ เป็นข้อคิดว่าสันติภาพไม่ได้หาได้โดยง่ายอย่างที่คิด

ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือกับใต้เป็นความขัดแย้งกรอบแคบในกรอบใหญ่ เกี่ยวพันประวัติศาสตร์กว่าร้อยปีก่อน ส่งผลสืบเนื่องผ่านยุคสมัยต่างๆ จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ชาวเกาหลีโหยหาสันติภาพ

เกาหลีเหนือพลิกยุทธศาสตร์ ขอปลอดนิวเคลียร์
การประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐกับเกาหลีเหนืออาจนำสู่สันติภาพหรืออาจเป็นชนวนการเผชิญหน้ารอบใหม่เป็นเรื่องน่าติดตาม เป็นอีกครั้งที่เกาหลีเหนือใช้ประโยชน์จากโครงการนิวเคลียร์

หากไม่ทำเพื่อประชาชนสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะกุมอำนาจคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม นั่นคือเผด็จการ หากทำเพื่อความสุขของประชาชนจริง จะกลายเป็นราชาธิปไตยหรือการปกครองโดยคณะบุคคลที่น่าส่งเสริม

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2017
นานาชาติไม่ต้องการให้เกาหลีเหนือมีอาวุธนิวเคลียร์ แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องให้ความร่วมมือด้วย ไม่กดดันเกาหลีเหนือในลักษณะผลักดันให้ดื้อดึงมากขึ้น การเจรจาจะได้ผลถ้าต่างฝ่ายยอมถอยคนละก้าว

ผู้นำเกาหลีเหนือขู่ใช้มาตรการขั้นสูงสุด อาจเป็นการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ในมหาสมุทรแปซิฟิก หลังทรัมป์ขู่ว่าจะทำลายเกาหลีเหนือให้สิ้นซาก แต่จะเกิดขึ้นจริงหรือ

15 กันยายน เช้าวันนี้เกาหลียิงขีปนาวุธข้ามฮอกไกโดอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ของใหม่ เริ่มไม่น่าตกใจ ทุกอย่างจะคืนสู่ปกติในไม่ช้า เกิดคำถามว่า มีอะไรที่แรงกว่านี้ไหม

รัฐบาลสหรัฐพูดเรื่อยมาว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคาม ถ้ามองจากมุมเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือจำต้องป้องกันประเทศเช่นกัน

ความขัดแย้งเกาหลีเหนือจะลงเอยอย่างไร
ความขัดแย้งเกาหลีเหนือที่ดำเนินมาแล้วกว่า 2 เดือนกำลังทวีความเข้มข้นมากขึ้น คำถามคือเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร 

ตลอด 2 เดือนเต็มที่ประเด็นเกาหลีเหนือตึงเครียด และรุนแรงสุดเมื่อทดสอบระเบิดไฮโดรเจน สหรัฐฯ ถึงกับพูดว่าเกาหลีเหนือกำลัง ร้องขอสงครามด้านประธานาธิบดีปูตินกล่าวว่า พวกเขาจะยอมกินหญ้าแต่จะไม่ยอมทิ้งอาวุธนิวเคลียร์

รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพิจารณาทุกทางเลือก แต่จะเลือกทางใดต้องรับฟังความเห็นจากประเทศที่เกี่ยวข้องก่อน แม้โอกาสเกิดสงครามจะน้อยมาก แต่ไม่อาจสรุปว่าจะไม่เกิด การซ้อมรบของเกาหลีใต้วันนี้คือคำเตือนดังกล่าว

ในเวลา 2 เดือน เกาหลีเหนือยั่วยุด้วยการ 1) ทดสอบขีปนาวุธฮวาซอง-14 2) ขู่ยิงเกาะกวม (ให้ตกรอบเกาะกวม) 3) ยิงขีปนาวุธข้ามฮอกไกโด 4) ล่าสุดคือทดสอบจุดระเบิดนิวเคลียร์ นี่คือหลักฐานว่าเรื่องยังไม่จบ

วันนี้ (3 ก.ย.) เกาหลีเหนือประกาศประสบความสำเร็จในการทดสอบระเบิดไฮโดรเจน พร้อมกับความสำเร็จการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปเมื่อกรกฎาคม เป็นคำพูดที่คุกคามสหรัฐฯ โดยตรง

รัฐบาลอาเบะร้อนตัวเมื่อขีปนาวุธพิสัยกลางบินข้ามน่านฟ้าญี่ปุ่นเหนือฮอกไกโด แต่เรื่องทำนองนี้ไม่ใช่เหตุเกิดความคาดหมาย เพราะหลายปีที่ผ่านมาเกาหลีเหนือทำเช่นนี้เรื่อยมาเมื่อสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้ซ้อมรบร่วม

ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับเกาหลีเหนือช่วงกรกฎาคมถึงก่อนกลางสิงหาคม สะท้อนเส้นต้องห้าม (red line) ของประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้เข้าใจเป้าหมาย นโยบายที่แท้จริงของประเทศเหล่านี้ และช่วยวิเคราะห์อนาคต

บทความนี้วิเคราะห์โดยสร้างฉากทัศน์ (scenario) วิเคราะห์เหตุการณ์จำลองหลากหลายแบบ ว่าหากเกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าและยิงขีปนาวุธใส่เกาะกวม จะเกิดสถานการณ์ใดบ้าง เป็นผลดีผลเสียอย่างไร

กวม (Guam) หรือเกาะกวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา หลายบางอาจได้ยินชื่อผ่านข่าวต่างประเทศ พูดถึงฐานทัพสหรัฐฯ บนเกาะแห่งนี้ ในอีกแง่หนึ่งกวมเป็นเมืองที่เจริญ เป็นศูนย์เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว มีประวัติศาสตร์ย้อนหลัง 4,000 ปี แต่ละปีมีคนไปเที่ยวหลายล้านคน มีเรื่องราวน่าสนใจหลายแง่มุม 

ขณะนี้ค่อนข้างชัดแล้วว่าสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นพร้อมใช้กำลัง หากเกาหลีเหนือไม่ถอย มี 2 ทางที่เป็นไปได้คือตอบโต้หลังเกาหลีเหนือโจมตี หรือไม่ก็ชิงลงมือก่อน คาดว่าดาวโจนส์วันศุกร์จะอ่อนตัวต่อเนื่องเป็นวันที่ 4  

หลังจากสื่อเปิดเผยข้อมูลลับว่าขีปนาวุธเกาหลีเหนือสามารถบรรจุหัวรบนิวเคลียร์แล้ว ทรัมป์เตือนว่าเกาหลีเหนืออาจเผชิญการตอบโต้อย่างรุนแรง ฝ่ายเกาหลีเหนือไม่รอช้า “เกทับ” ด้วยการประกาศว่ากำลังวางแผนยิงใส่รอบเกาะกวม สิ่งที่ต้องติดตามคือ รัฐบาลทรัมป์จะโต้กลับอย่างไร เกาหลีเหนือจะยิงจริงหรือไม่

รายงานลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุชัดว่าเกาหลีเหนือมีขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์แล้ว สามารถโจมตีแผ่นดินแม่อเมริกา ด้านประธานาธิบดีทรัมป์เตือนเกาหลีเหนือว่าอาจเผชิญการตอบโต้อย่างรุนแรง อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ถ้ายึดตามหลักคิดสหรัฐฯ บัดนี้เกาหลีเหนือพร้อมถูกโจมตีทุกเมื่อแล้ว 

ปลายปี 2015 รัฐบาลปาร์ค กึน-เฮ บรรลุข้อตกลงกับญี่ปุ่น เป็นข้อตกลงสุดท้ายและแก้ไม่ได้  แต่ข้อตกลงนี้ฝ่ายหญิงบำเรอไม่เห็นด้วย จึงต่อต้านเรื่อยมา รัฐบาลเกาหลีใต้ชุดใหม่ของ มุน แจ-อิน จึงขอทบทวนและอาจเจรจาใหม่ ประเด็นหญิงบำเรอที่ผ่านมาแล้ว 70-80 ปีจึงกลายเป็นประเด็นที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นต่อไป แต่จะเป็นอย่างไรนั้นจำต้องติดตามต่อไป

ประเทศจิบูตีกลายเป็นที่ตั้งฐานทัพต่างแดนแห่งแรกของจีน แสดงให้เห็นว่าจีนตั้งเป้าที่จะส่งกองเรือรบมาไกลถึงแอฟริกา ดูแลเส้นทางเดินเรือและพลเมืองของตนในแถบนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหม (OBOR) ที่จีนจะร่วมมือกับเอเชีย แอฟริกาและยุโรป ในอนาคตจะเห็นทหารจีนปรากฏตัวตลอดเส้นทางสายไหม บทบาททางทหารของจีนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ไม่ว่าเกาหลีเหนือมีอาวุธนิวเคลียร์จริงหรือไม่ ยิงถึงแผ่นดินอเมริกาหรือเปล่า รัฐบาลสหรัฐชุดแล้วชุดเล่าพยายามย้ำแล้วย้ำอีกให้พลเมืองอเมริกันเห็นว่าภัยคุกคามด้วยนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือเป็นเรื่องจริง จึงต้องพยายามทุกอย่างเพื่อสกัดกั้น ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้วผู้นำเกาหลีเหนือกับบริวารไม่ต้องการสงคราม ที่ต้องการจริงๆ คือความอยู่รอดของพวกเขา แต่ที่รัฐบาลสหรัฐต้องโหมภัยเกาหลีเหนือเพราะมีผลประโยชน์อื่นๆ ที่สำคัญกว่ามาก

นักวิชาการบางคนพูดถึงการปิดล้อมคู่ (dual containment) หมายถึงการปิดล้อมจีนกับรัสเซีย บทความนี้พูดถึงการปิดล้อมจีนกับเกาหลีเหนือในแง่ว่ารัฐบาลสหรัฐเพิ่มแรงกดดันปิดล้อมเกาหลีเหนือโดยยืมมือจีน และเท่ากับเป็นการเร่งโดดเดี่ยวจีนไปในตัว  ในทางปฏิบัติหมายความว่านับจากนี้รัฐบาลสหรัฐจะลงโทษจีนอย่างไรก็ได้ เช่น คว่ำบาตรสินค้า ขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ด้วยเหตุผลเดียวคือเกาหลีเหนือทดสอบนิวเคลียร์ ขีปนาวุธ

จากข้อมูลที่ปรากฏต่อสาธารณะไม่อาจสรุปได้ว่าอะไรคือเหตุผลเบื้องหลังที่เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธครั้งล่าสุด สิ่งที่เห็นคือรัฐบาลเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นประท้วงอย่างรุนแรง ชี้ว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงจวนตัว เป็นข้ออ้างสำหรับเกาหลีใต้ที่กำลังติดตั้งระบบ THAAD ขั้วสหรัฐฯ ได้รุกคืบหน้าอีกขั้น เห็นได้ชัดว่าจีนเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ประเทศที่เกี่ยวข้องกับคาบสมุทรเกาหลีจะพัฒนาและสะสมอาวุธมากขึ้น

ในช่วงหาเสียงทรัมป์อ้างเหตุผลสารพัดเพื่อชี้ว่าสหรัฐไม่ควรประจำการทหารในเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นต่อไป พร้อมให้ 2 ประเทศนี้มีอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเอง ไม่ถึงเดือนหลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ท่าทีเปลี่ยนเป็นตรงข้าม กลับมาให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรดังเดิม ตามหลักนโยบายที่ไม่ต่างจากประธานาธิบดีคนอื่นๆ ไม่ว่าจะมาจากพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครท

ในการเยือนมิตรประเทศในแถบอเมริกากลาง ไช่อิงเหวิน (Tsai Ing-wen) ประธานาธิบดีไต้หวันได้แวะพักสหรัฐ เกิดวิวาทะเรื่องนโยบายจีนเดียวอีกครั้ง มีคำถามว่าผู้นำไต้หวันจะสามารถทำอะไรที่เซอร์ไพรส์วงการทูตได้อีกหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ถ้าพิจารณาองค์รวม ไต้หวันเป็นฝ่ายตั้งรับและถอยร่นในสมรภูมิการทูต และคงไม่กล้าทำอะไรที่จีนรับไม่ได้

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2016
โฉมหน้าความงาม โฉมหน้าสังคมนิยมจีน
เมื่อสิ้นยุคประธานเหมา จีนเปิดประเทศต้อนรับการลงทุน การสัมพันธ์กับต่างชาติ ค่านิยมความงามแบบตะวันตกเริ่มเข้ามา จีนกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ด้านความงามของโลก สตรีจีนใช้จ่ายเพื่อความงามมากกว่าหลายประเทศจนน่าตกใจ บ่งบอกความเป็นพวกวัตถุนิยม กำลังถอยห่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ โฉมหน้าความงามของสาวจีนสะท้อนโฉมหน้าสังคมนิยมจีนในปัจจุบันและอนาคต

ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์เสนอให้ทบทวนนโยบายจีนเดียว หวังใช้เป็นเครื่องมือเจรจาแก้ปัญหาการค้าจีน  ฝ่ายจีนแสดงท่าทีแข็งกร้าวชี้ว่าเกี่ยวข้องกับอธิปไตยไต้หวัน เป็นเรื่องที่ยอมให้ไม่ได้ ถ้าพิจารณาให้ถ่องแท้รัฐบาลจีนได้ละเมิดนโยบายจีนเดียวมานานแล้ว ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐมีความชอบธรรมที่จะละเมิดหรือยกเลิก แต่จะได้ผลดีหรือผลเสียมากกว่า เพราะต้องคำนึงปัจจัยไต้หวันและอื่นๆ

นโยบายจีนเดียว (one-China policy) ถูกอ้างว่าเป็นหนึ่งในรากฐานความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ที่ย้อนหลังถึงปี 1972 เมื่อ 2 รัฐบาลจับมือกันต้านสหภาพโซเวียต เป็นความสำเร็จทางการทูตครั้งใหญ่ในยุคนั้น ผู้นำโลกเสรีสามารถจับมือกับคอมมิวนิสต์จีน แต่บริบทโลกเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันไม่มีสหภาพโซเวียตอีกแล้ว รัสเซียในปัจจุบันมีสัมพันธ์ใกล้ชิดจีน ส่วนสหรัฐฯ แสดงท่าทีไม่เป็นมิตรต่อจีนมากขึ้น ชัดเจนขึ้น อะไรคือคุณค่าแท้ของนโยบายจีนเดียวในปัจจุบันและอนาคต

เพื่อผลประโยชน์ต่อต้านโซเวียตรัสเซียในสมัยสงครามเย็น รัฐบาลสหรัฐจึงตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน เป็นเหตุให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่นานาชาติไม่ยอมรับว่าเป็นประเทศ ผู้นำไต้หวันทุกยุคทุกสมัยจึงพยายามดิ้นรนแสดงความเป็นตัวตน เทคนิคที่ประธานาธิบดีไช่ทำครั้งนี้คือติดต่อพูดคุยกับว่าที่ผู้นำประธานาธิบดีสหรัฐ กลายเป็นประเด็นให้วิพากษ์ ซึ่งแท้จริงแล้วมีความสำคัญต่อไต้หวันมากกว่านั้น

รัฐบาลสหรัฐภายใต้ประธานาธิบดีโอบามารุกคืบเข้ามาพัวพันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นเป็นตอน “ข้อเสนอโครงสร้างเครือความมั่นคงเอเชียแปซิฟิก” เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ตั้งชื่อให้ฟังดูเป็นกลางว่า “ปรับสมดุล” เมื่อวิเคราะห์แล้วคือความต้องการเข้ามาจัดระเบียบภูมิภาคอย่างครอบคลุมทุกด้าน เป็นช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ ทั้งอาเซียน จีนและอีกหลายประเทศต้อง “ปรับสมดุล” เช่นกัน

หลังผ่านประวัติศาสตร์อันขมขื่นของการเป็นอาณานิคมทั้งทางตรงทางอ้อมนับร้อยปี สิ่งที่เกาหลีใต้ต้องการมากที่สุดคือความเป็นอิสระและความสงบ ในการนี้จะต้องให้เกาหลีเหนืออยู่ในความสงบ การทดสอบนิวเคลียร์ ขีปนาวุธพิสัยไกลของเกาหลีเหนือล้วนเป็นเหตุบั่นทอน จึงต้องพยายามให้เกาหลีเหนือนิ่งมากที่สุด ถ้า “แช่แข็ง” เกาหลีเหนือได้จะเป็นการดีที่สุด เป็นผลดีต่อเกาหลีใต้ จีน การคงอยู่ของระบอบเกาหลีเหนือ คงแต่คนเกาหลีเหนือที่ยังต้องอยู่ในสภาพทุกข์ยากต่อไป

จีนเป็นคู่ค้ารายสำคัญเพียงรายเดียวของเกาหลีเหนือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ความช่วยเหลือจากจีนเป็นเหมือนเลือดหล่อเลี้ยงระบอบเกาหลีเหนือ เป็นตัวบ่งชี้ความสำคัญของจีน หลายฝ่ายวิพากษ์ว่าจีนเป็นต้นเหตุให้เกาหลีเหนือเดินหน้าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เหตุผลข้อนี้มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ความจริงที่ลึกกว่าคือประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐ ต่างหวังให้เกาหลีเหนืออยู่ในสภาพปัจจุบัน ด้วยเหตุผลแรงจูงใจที่ต่างกัน สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีจึงดำเนินไปด้วยผลจากทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่เฉพาะจีนเท่านั้น

ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนหรือหรือไม่ เป็นอีกครั้งที่เกาหลีเหนือใช้ “ยุทธศาสตร์การทูตนิวเคลียร์” เพื่อหวังประโยชน์ที่ต้องการ ประเด็นที่ลึกกว่านั้นคือบ่งชี้ว่าขีดความสามารถนิวเคลียร์ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับ รัฐบาลจีนต้องขบคิดว่าจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร หาไม่แล้วจะมีการทดลองครั้งหน้าแน่นอน สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลียังไม่นิ่ง มีผลต่อการเผชิญหน้าของชาติมหาอำนาจ

รัฐบาลอาเบะกับรัฐบาลปาร์คบรรลุร่างข้อตกลงแก้ไขข้อพิพาทเรื่อง หญิงบำเรอแนวโน้มความสัมพันธ์ทวิภาคีจะดีขึ้น เกิดคำถามว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะกระทำเช่นนี้กับประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาหญิงบำเรอหรือไม่ นำสู่การวิเคราะห์ว่าอะไรคือเหตุผลเบื้องหลังของข้อตกลง เพื่อต้านจีนใช่หรือไม่ นักการเมืองญี่ปุ่นยังเป็นพวกทหารนิยมใช่หรือไม่ คำตอบเหล่านี้จะนำสู่การคาดการณ์การเผชิญหน้าระหว่างจีนกับขั้วสหรัฐในอนาคตอันใกล้นี้
--------------------------

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2015

7 พฤศจิกายน 2015 เป็นวันประวัติศาสตร์เมื่อ 2 ประธานาธิบดีจีนกับไต้หวันพบปะพูดคุยอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เป็นความสำเร็จหลังความพยายามหลายปีของประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว แต่เส้นทางการรวมชาติในทางการเมืองยังต้องอาศัยเวลาอีกนาน ในระหว่างนี้เป็นเวลาแห่งการรวมทางมิติเศรษฐกิจที่เข้มข้นขึ้นทุกขณะ ส่วนในระยะยาวคือการรวมกันด้วยสายเลือด ดังนั้น ไม่ว่าในทางการเมืองระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไร จีนกับไต้หวันผนวกเข้าหากันมากขึ้นทุกที

ท่าทีของชินโซ อาเบะตั้งแต่ก่อนเป็นนายกฯ สมัยแรก จนถึงการหาเสียงเป็นนายกฯ สมัยปัจจุบันเมื่อปลายปี 2012 ล้วนเป็นท่าทีของฝ่ายขวา เช่น ปฏิเสธเรื่องหญิงบำเรอ การรุกรานจากญี่ปุ่น ขณะบริหารประเทศในยามนี้นายกฯ อาเบะได้ผ่อนคลายท่าที แต่เกิดข้อสงสัยว่าปากกับใจนั้นตรงกันหรือไม่ เพราะการแสดงออกยังไม่ชัดเจน ซ้ำยังขัดแย้งในบางประเด็น ทั้งหมดบ่งชี้ว่าหลักคิดของฝ่ายขวามีอิทธิพลไม่น้อย

            “หญิงบำเรอ” คือ สตรีที่ถูกบังคับให้มาปรนเปรอความสุขทางเพศแก่ทหารของกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสตรีจากหลายประเทศที่กองทัพญี่ปุ่นยาตราทัพไปถึง ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลีกับจีน
            ข้อเขียน “โลกไม่ลืม “หญิงบำเรอ” (comfort women)” ให้ความเข้าใจพื้นฐาน เหตุการณ์ในอดีต เพื่อนำสู่การเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกที่เอ่ยถึงเรื่องนี้ หญิงบำเรอเกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นๆ เช่น การเยือนศาลเจ้ายาสุกุนิ การปรับแก้ตำราเรียน การสังหารหมู่นานกิง การปรับเปลี่ยนนโยบายความมั่นคงของรัฐบาลอาเบะ พัวพันถึงยุทธศาสตร์สหรัฐฯ นำเสนอท่าทีของประเทศต่างๆ กลยุทธ์ เทคนิคของแต่ละประเทศทั้งฝ่ายรุกกับตั้งรับ จนถึงการวิเคราะห์องค์รวมให้เห็นภาพทั้งหมด เกี่ยวข้องกับประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกโดยตรง 

หญิงบำเรอคือสตรีหลายประเทศที่ถูกบังคับให้มาปรนเปรอความสุขทางเพศแก่ทหารญี่ปุ่น เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องราวของหญิงบำเรอถูกนำมาตีแผ่จากฝ่ายเกาหลีใต้ จีน กลายเป็นประเด็นโจมตีรัฐบาลฝ่ายขวาญี่ปุ่น เชื่อมโยงกับนโยบายความมั่นคงที่ญี่ปุ่นต้องการมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาค เชื่อมโยงกับความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2

ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ชี้ว่าในปัจจุบันและอนาคตสหรัฐกับจีนยังเป็นตัวแสดงหลักในภูมิภาคเอเชียแปซิก ความมั่นคงของภูมิภาคจึงขึ้นกับความสัมพันธ์ของมหาอำนาจ พร้อมกับที่ประเทศต่างๆ เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจมากขึ้น การแข่งขันตามกติกาสากลเป็นแนวทางที่ควรเลือก ข้อพิพาทต่างๆ ควรจัดการควบคุมไม่ให้บานปลาย สันติวิธีคือหนทางที่ดีกว่าการใช้กำลัง

อาศัยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่บนผืนแผ่นดินติดกัน นโยบายของประธานาธิบดีปูตินกับจีนคือการเชื่อมต่อเศรษฐกิจของ 2 ฝ่ายเข้าด้วยกัน เกิดโครงข่ายเชื่อมโยงประเทศในย่านนี้เข้าด้วยกัน เศรษฐกิจของบรรดาประเทศต่างๆ สามารถติดต่อเชื่อมโยงโดยธรรมชาติ ผลประโยชน์ที่ได้ไม่เฉพาะจีนหรือรัสเซียเท่านั้น นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นชาติใดทุนประเทศใดที่ตั้งบริษัทในกลุ่มประเทศเหล่านี้ต่างได้ประโยชน์ทั้งสิ้น สุดท้ายจึงแข่งขันด้วยประสิทธิภาพ มีผลต่อระเบียบเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ร่วมเฉลิมฉลองงานครบรอบ 70 ปีฉลองชัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่รัสเซียเป็นการแสดงออกถึงสัมพันธภาพอันใกล้ชิดระหว่างจีน-รัสเซียในระยะนี้ สวนทางกับฝ่ายตะวันตกที่บรรดาผู้นำประเทศไม่มาร่วมหลายปีแล้ว คำถามสำคัญคือพฤติกรรมเช่นนี้แสดงถึงการแบ่งขั้วหรือไม่ โลกกำลังเข้าสู่การแบ่งขั้ว-เลือกข้างอย่างรุนแรงอีกครั้งหรือไม่ แน่นอนว่าบริบทปัจจุบันแตกต่างจากอดีต แต่มหาอำนาจยังคงเข้าพัวพันในประเทศอื่นๆ 

หลังการหารือระหว่างรัฐบาลโอบามากับอาเบะอยู่นานนับปี ในที่สุดความสัมพันธ์ความมั่นคงทางทหารก็ปรากฎหลักฐานชัดเจนอีกครั้งด้วยแผนความร่วมมือด้านความมั่นคงฉบับใหม่ชื่อว่า “แผนความร่วมมือป้องกันประเทศสหรัฐ-ญี่ปุ่นด้านความมั่นคง” บัดนี้ “กองกำลังป้องกันตนเอง” ญี่ปุ่นมีเป้าหมายออกไปปฏิบัติการทั่วโลกร่วมกับกองทัพอเมริกัน บางคนอาจตั้งคำถามว่าพื้นที่หรือสมรภูมิใดจะเป็นแห่งแรกที่กองทัพญี่ปุ่นจะออกไป “ป้องกันตนเองร่วม”

            การวิพากษ์ Pivot to Asia หรือยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียสามารถทำได้หลายรูปแบบ มองในหลายแง่มุม งานเขียนชิ้นนี้ชี้จุดอ่อนของยุทธศาสตร์ผ่านประเด็นความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ เป็นความขัดแย้งจากผลพวงของประวัติศาสตร์ กลายเป็นรอยร้าวที่ยากจะแก้ไขภายใต้บริบทปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยอมให้กันไม่ได้ ต้องตอบสนองความคาดหวังจากการเมืองภายในของแต่ละประเทศ เกิดการแก้เกมแบบชิงไหวชิงพริบ นำสู่คำตอบว่าทำไมยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียจึงอ่อนกำลัง ไม่ได้ผลตามเป้าหมาย ในอนาคตจะต้องปรับแก้ยุทธศาสตร์หากรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการหวังผลอย่างจริงจัง ประเด็นสำคัญอยู่ที่จะต้องหาพันธมิตรเพิ่ม หรือทำให้ประเทศเหล่านั้นถอยห่างจากจีนมากขึ้น ซึ่งในกรอบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็มีเพียงไม่กี่ประเทศดังปรากฏบนแผนที่

ในการประชุมสุดยอด ‘เอเชีย-แอฟริกา 2015’ ตรงกับครบรอบ 70 ปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายกฯ อาเบะเอ่ยคำว่า “ญี่ปุ่น ด้วยความรู้สึกสำนึกผิดอย่างยิ่ง (deep remorse) ต่อสงครามในอดีต แทนคำว่า ขอโทษด้วยความจริงใจ” (heartfelt apology) ที่อดีตนายกฯ คนก่อนๆ เคยใช้  ปัญหาใหญ่ของประเด็นนี้อยู่ที่ผู้มีอำนาจในญี่ปุ่นที่แสดงท่าที ถ้อยคำ ไม่เสมอต้นเสมอปลายบางครั้งถึงกับขัดแย้งอย่างชัดเจน ก่อให้เกิดคำถามต่อท่าทีภายในส่วนลึกของท่าน
----------------------------

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2014
นายกฯอาเบะยุบสภา คุมเกมการเมือง เดินหน้าตีความรัฐธรรมนูญใหม่
การที่รัฐบาลอาเบะยุบสภา แสวงหาความชอบธรรมทางการเมืองอีกครั้ง ก็เพราะคาดการณ์ล่วงหน้าแล้วว่าพรรคร่วมของตนจะได้มาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป และคราวนี้จะกลับมาด้วยความชอบธรรมกว่าเดิม เป็นวิธีใช้ประโยชน์จากการใช้สิทธิ์ 1 คน 1 เสียงของระบอบประชาธิปไตยตะวันตก ที่ประชาชนต้องเลือกตั้งแบบ “เหมารวม”


สมาชิกเอเปกประกาศว่า FTAAP จะยอมรับแนวทางเขตการค้าเสรีแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น TPP RCEP เท่ากับชี้ว่าที่ประชุมเอเปกปฏิเสธว่า TPP คือมาตรฐานเขตการค้าเสรีของภูมิภาค ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงให้เหตุผลว่าเขตการค้าเสรีอื่นๆ ที่กำลังเจรจาทั้งหมด ทั้งในระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี ล้วนสนับสนุนเป้าหมายของ FTAAP 

การประชุมผู้นำจีน-สหรัฐในปีนี้ จะเป็นอีกครั้งที่ผู้นำจีนประกาศจุดยืนต่อประชาคมโลก ว่าตนต้องการสันติภาพ ต้องการเป็นมิตรกับทุกประเทศ ส่วนรัฐบาลโอบามาไม่ว่าจะพูดกับจีนอย่างไร ยังคงเดินหน้าตามแผนเสริมกำลังรบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กองกำลังอีกส่วนที่กำลังปฏิบัติการโจมตีกองกำลังรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) ก็ยังคงเดินหน้าต่อ เช่นเดียวกับงานจารกรรมประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเทศทั้งหลายต้องระวังที่จะไม่ก้าวข้ามเส้นต้องห้ามของจีน จีนยังต้องการเป็นมิตรในระยะนี้

ออสเตรเลียเป็นอีกประเทศที่เข้าร่วมต่อต้าน IS ทำให้ IS ประกาศให้พลพรรคของตนสังหารชาวออสเตรเลียได้ทุกคน สังคมออสเตรเลียจึงระวังตัวต่อภัยก่อการร้ายในประเทศ จากความระวังกลายเป็นความระแวงต่อชาวมุสลิมทุกคนในประเทศ กลายเป็นว่ามุสลิมออสเตรเลียถูกดูหมิ่นคุกคาม สังคมออสเตรเลียขณะนี้กำลังต่อสู้ในสมรภูมิทางอุดมการณ์กับ IS เป็นภาวะที่ทุกคนอยู่ในสมรภูมินี้ 

วิพากษ์นโยบายความมั่นคงของสหรัฐต่ออัฟกานิสถานหลังสิ้นปี2014
ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศแล้วว่า ภายในสิ้นปี 2014 สหรัฐจะยุติภารกิจรบ พร้อมกับถอนกำลังส่วนใหญ่ ให้เหลือเพียง 9,800 นาย และจะถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานภายในปี 2016 ทำให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลคาบูลในอนาคตจะมีความมั่นคงหรือไม่ สหรัฐประสบความสำเร็จในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายหรือ ในเมื่อฐานที่มั่นตอลีบันยังอยู่ พวกอัลกออิดะห์ขยายตัว กระจายตัวไปหลายประเทศ

ถ้ามองว่าการติดตั้งแท่นขุดเจาะเป็นเรื่องของ “การละเมิดอธิปไตย” จะกลายเป็นโจทย์ยาก แต่ถ้ามองว่าความขัดแย้งรอบนี้มีต้นเหตุจาก “แท่นขุดเจาะ” จะกลายเป็นโจทย์ว่าย และหากมองว่าเป็นเรื่องการช่วงชิงอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคนั้นเป็นโจทย์ซับซ้อน ประเทศที่เกี่ยวข้องควรระมัดระวังผลต่อมุมมองของประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

สถานการณ์ตึงเครียดในทะเลจีนใต้จำต้องมองกรอบที่กว้างกว่าอาเซียน เกี่ยวข้องกับท่าทีของสหรัฐกับญี่ปุ่น ที่รัฐบาลอาเบะเพิ่งประกาศต้องการแสดงภาวะผู้นำเหนือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีนคงต้องการเตือนอาเซียนว่าอาเซียนควรร่วมมือกับจีน อยู่ร่วมกับจีนอย่างฉันท์มิตรมากกว่าที่จะเข้าพวกกับสหรัฐ ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในแนวทางต่อต้านยุทธศาสตร์ Pivot to Asia

การปรับความสัมพันธ์ใดๆ ต้องใช้วิธีการ “ให้อภัย” แก่กันและกัน เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างได้เริ่มต้นกันใหม่ด้วยความสัมพันธ์อันดี แต่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีความซับซ้อนกว่านั้น เพราะผู้นำประเทศต้องดำเนินนโยบายภายใต้ประชาชนของตนที่มีหลากหลายความคิดเห็น

ในด้านหนึ่งประธานาธิบดีโอบามาได้เตือนนายกฯ อาเบะว่าไม่ควรก่อความตึงเครียด ควรเจรจาและสร้างความไว้วางใจมากกว่า แต่ในอีกด้านหนึ่งประธานาธิบดีโอบามาช่วยเบี่ยงเบนพฤติกรรมการรุกคืบของญี่ปุ่น เช่น การเพิ่มงบประมาณกลาโหม การจัดตั้งหน่วยนาวิกโยธิน การปรับยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติให้ญี่ปุ่นแสดงบทบาทเชิงรุกมากขึ้น การแก้ไขตำราเรียนและการเรียนการสอนที่อ้างว่าหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ และเกาะด็อกโด/ทาเคชิมา เป็นดินแดนของญี่ปุ่น

ณ วันนี้ ฝิ่น กลายเป็นเครื่องผูกพันผู้มีบารมีท้องถิ่น กำลังติดอาวุธ ผู้ก่อการร้ายอย่างตอลีบัน เจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับที่คอร์รัปชันและชาวบ้านหลายล้านคนที่เกี่ยวข้องกับฝิ่น บางคนอาจประณามว่าฝิ่นเป็นยาเสพติด ทำลายสังคม แต่สำหรับชาวอัฟกันจำนวนมากยอมรับการมีอยู่ของฝิ่น เป็นเครื่องค้ำจุนครอบครัว ชุมชน หรือเพื่ออุดมการณ์เป้าหมายที่เห็นว่ายิ่งใหญ่กว่า เป็นปัจจัยกำหนดทิศทางอนาคตของประเทศโดยเฉพาะหลังปี 2014

ประธานาธิบดีการ์ไซไม่ลงนามร่างสนธิสัญญาความมั่นคงเนื่องจากเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ช่วยนำสันติภาพสู่ประเทศอย่างแท้จริง เพราะประเทศได้ผ่านหลังจากการทำสงครามอย่างยาวนานกว่า 10 ปี นับจากเหตุ 9/11 เมื่อปี 2001 ท่านพร้อมที่จะลงนามในร่างสนธิสัญญา ถ้าข้อตกลงดังกล่าวมุ่งสร้างสันติภาพแก่ประเทศ เจรจากับพวกสุดโต่งทุกกลุ่ม เพื่อจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ยุติการทำสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น

ความขัดแย้งจากการเยือนศาลเจ้ายุสากุนิไม่ใช่เรื่องใหม่ อดีตผู้นำญี่ปุ่นหลายท่านที่เคยเยือนศาลเจ้าจะตามมาด้วยการวิวาทะกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น นายกฯ อาเบะเยือนศาลเจ้าก็เพราะได้คิดไตร่ตรองรอบคอบแล้วว่า ได้มากกว่าเสียอาจต้องการชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นภายใต้การบริหารของตนกำลังฟื้นตัว ไม่เกรงกลัวแรงกดดันทางเศรษฐกิจจากจีน ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ กระชับความเป็นพันธมิตร และมั่นใจว่าความขัดแย้งอยู่ภายใต้การควบคุม

สงครามนานกิง สมรภูมิจีน-ญี่ปุ่นในศตวรรษที่21
สงครามทำลายล้างนานกิง เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วเกือบ 8 ทศวรรษ แต่ด้วยการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศอย่างเข้มข้นของจีนกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน เรื่องราวในอดีตจึงถูกรื้อฟื้น ประชาชน 2 ฝ่ายถูกดึงเข้ามามีส่วนร่วม กลายเป็นสมรภูมิทางการเมืองระหว่างประเทศ ที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น สงครามนานกิงในศตวรรษที่ 21

ทุกคนทุกชาติต่างมีความเชื่อศาสนาของตนเอง ทหารญี่ปุ่นหลายคนเข้าทำสงครามด้วยความเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่านี่คือสงครามศักดิ์สิทธิ์ ในขณะที่คนชาติอื่นย่อมมีความคิดเห็นของตนเอง เป็นอีกภาพความจริงของโลกที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งภายในประเทศญี่ปุ่นนั้นก็ใช่ว่าทุกคนจะคิดเห็นตรงกัน ชาวญี่ปุ่นที่ไปสักการะศาลเจ้ายาสุกินิก็ใช่ว่าจะไปด้วยความหมายเดียวกัน หรือมีความรู้สึกที่เข้มข้นตรงกัน 

เป็นครั้งแรกใน 65 ปีที่เจ้าหน้าที่รัฐไต้หวันกับเจ้าหน้าที่รัฐจีนได้ประชุมหารืออย่างเป็นทางการ หลังจาก 2 ฝ่ายได้กระชับความสัมพันธ์ในหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นถกเถียงลึกๆ ยังเป็นเรื่องการรวมชาติ แต่เรื่องเฉพาะหน้าที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์มาโดยตลอด และเห็นว่าควรกระชับความสัมพันธ์ให้มากขึ้นกว่านี้ แม้ว่าไต้หวันจะเป็นผู้ออกหน้าก็ตาม

การประกาศเขตแสดงตนเอื้อประโยชน์ในทางยุทธการหลายด้าน เพิ่มพื้นที่ทั้งการรุก-การรับ เพิ่มพื้นที่ลาดตระเวนสอดแนม เสริมขีดความสามารถของกองทัพเรือ และต่อต้านการกระทำของฝ่ายตรงข้าม และกำลังชี้ให้เห็นว่ากองทัพจีนมีศักยภาพ มีความพร้อมมากพอที่จะดูแล กำกับการบินในเขตแสดงตนดังกล่าว พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับอากาศยานทันสมัยของฝ่ายตรงข้าม

ชาวจีนปัจจุบันยังคงเรียนประวัติศาสตร์ในสมัยที่ถูกต่างชาติยึดเป็นอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคม เกิดคำว่าขี้โรคแห่งเอเชีย ชาวจีนถูกกดขี่ข่มเหง เสียชีวิตนับแสนนับล้าน ประวัติศาสตร์ไม่อาจแก้ไขแต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ หากผู้ปกครองกับผู้ใต้การปกครองต่างบทบาทหน้าที่อย่างถูกต้อง พัฒนาปรับปรุงสังคมให้เข้มแข็งอยู่เสมอ ก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นเอกภาพ

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2012-13
การตอบโต้จากจีนต่อยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติญี่ปุ่น
รัฐบาลจีนตั้งคำถามว่ายุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติญี่ปุ่นมีเพื่อสันติภาพจริงหรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามเดิมๆ ตั้งแต่นายชินโซ อาเบะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ รอบ 2 ที่ลึกกว่านั้นคือสะท้อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงสหรัฐฯ ที่มีต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การตอบโต้จากจีนแท้ที่จริงแล้วคือการตอบโต้ต่อสหรัฐฯ ด้วย

ในอนาคตเชื่อว่าญี่ปุ่นจะต้องเพิ่มกำลังรบและแสดงบทบาทมากขึ้น ด้วยสามเหตุผลหลักคือ เหตุผลด้านความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ อำนาจการรบของจีนที่เพิ่มมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนกำลังรบสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หากสหรัฐฯ เลือกที่จะให้ญี่ปุ่นมีบทบาทมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเชิงนโยบายหรือเชิงยุทธวิธี ณ วันนี้จนถึงอีกหลายทศวรรษจากนี้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นเวทีการประชันกำลังของชาติมหาอำนาจกับอีกหลายประเทศ 

การประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ หรือ ADIZ ของจีนเหนือน่านฟ้าทะเลจีนตะวันออก แม้อาเซียนไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ทำให้ชาติสมาชิกบางประเทศมีความกังวลไม่น้อย เมื่อคิดว่าในวันข้างหน้าจีนจะมีเขตแสดงตนในทะเลจีนใต้ อีกทั้งญี่ปุ่นพยายามดังอาเซียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทางออกที่ดีของเรื่องนี้อยู่ที่การวางแนวปฏิบัติเพื่อลดความหวาดระแวง ป้องกันเหตุร้ายไม่คาดฝัน

รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวโทษเรื่องที่หน่วยข่าวกรองออสเตรเลียดักฟังโทรศัพท์ของประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญของรัฐบาล เรียกร้องการขอโทษและห้ามกระทำเช่นนี้อีก แต่ความจริงแล้วออสเตรเลียน่าจะดักฟังคนอื่นๆ อีกจำนวนมาก และไม่อาจโทษออสเตรเลียแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะต่างฝ่ายต่างมีหน่วยข่าวกรองด้วยกันทั้งสิ้น

เดือนกันยายที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบที่ทางการญี่ปุ่นซื้อเกาะ 3 เกาะของหมู่เกาะเซนกากุ/เตียวหยู ณ วันนี้ทั้งสองประเทศยังยืนยังอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะดังกล่าว พร้อมกับระมัดระวังที่ไม่ยั่วยุให้เกิดเหตุรุนแรงบานปลายด้วยทั้งสองฝ่ายตระหนักผลเสียที่จะเกิดขึ้น แต่อีกมุมหนึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันของทั้งสองประเทศต่างเร่งระดมขยายขีดความสามารถทางการทหาร และผูกโยงกับชาติมหาอำนาจอื่นๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงควรติดตามอย่างใกล้ชิด

รัฐบาลจีนพยายามสร้างความสัมพันธ์กับเวียดนาม ชูประเด็นเศรษฐกิจเป็นตัวนำ เป็นธรรมดาที่ประเทศเล็กกว่ามีอำนาจน้อยกว่าจะต้องกังวลเมื่อจะร่วมมือกับประเทศที่ใหญ่กว่า อีกทั้งความร่วมมือย่อมก่อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายหากได้พิจารณาบนผลประโยชน์ร่วมอย่างเท่าเทียม ได้ศึกษาผลดีผลเสียอย่างรอบคอบ เวียดนามอาจต้องการเวลาเพื่อพิจารณาเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสของจีนที่จะแสดงความจริงใจต่อไป

นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ประกาศข้อเสนอ 7 ยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์จีน- อาเซียน (China-Asean strategic partnership) เป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งของความสัมพันธ์จีน-อาเซียน และน่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ไม่น้อยในอีก 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับชาติสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ

ทางการญี่ปุ่นเปิดตัวเรือรบอิซูโม (Izumo) เรือรบรุ่นใหม่ที่ใหญ่ที่สุดที่ญี่ปุ่นต่อเองนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา กองทัพญี่ปุ่นจัดให้เรือดังกล่าวอยู่ในชั้นเรือพิฆาต แต่สามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จำนวน 9-14 ลำ และอาจบรรทุกเครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุด F-35 จึงมีข้อวิพากษ์ว่าญี่ปุ่นกำลังเสริมกำลังรบขนาดใหญ่หรือไม่ จะกระทบความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างไร

ฟิลิปปินส์กับไต้หวันยุติข้อพิพาทเพื่อผลประโยชน์ระดับประเทศ
เหตุเรือยามฝั่งฟิลิปปินส์ยิงลูกเรือไต้หวันเสียชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ กลายเป็นเรื่องบาดหมางระหว่างสองฝ่าย แต่เนื่องจากผลความบาดหมางทำให้สองฝ่ายเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่ประสงค์เป็นศัตรูกับไต้หวัน สองรัฐบาลจึงหาทางประนีประนอมยุติข้อพาท โดยที่ปัญหาการทำประมงยังไม่ได้รับการแก้ไข 

ทฤษฎีสัจนิยมให้ความสำคัญกับความมั่นคงแห่งชาติมากที่สุด รัฐต้องระแวดระวัง เตรียมการรับมือภัยคุกคามทุกชนิด พร้อมเผชิญหน้าฝ่ายตรงข้าม แต่ภายใต้แนวคิดนี้นโยบายความมั่นคงแห่งชาติเต็มด้วยความหวาดระแวง ความไม่เชื่อใจ กลายเป็นดาบสองคมให้ประเทศเพื่อนบ้านมองด้วยความหวาดระแวง มองอย่างเป็นภัยคุกคามเช่นกัน นโยบายความมั่นแห่งชาติญี่ปุ่นสะท้อนลักษณะดังกล่าวอย่างชัดเจน

ความขัดแย้งระหว่างฟิลิปปินส์กับไต้หวันต่อหมู่เกาะสแปรตลีย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ การค้นหาคำตอบว่า “ทำไมฟิลิปปินส์ยิงเรือประมงไต้หวันในน่านน้ำหมู่เกาะสแปรตลีย์” เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา จะช่วยทำให้เข้าใจว่าเป็นเพราะการอ้างอธิปไตย ความขัดแย้งเรื่องการทำประมง หรือการเมืองระหว่างประเทศอันซับซ้อน คำตอบจากแต่ละแนวทางส่งผลต่อทิศทางการแก้ปัญหา ความเป็นไปในอนาคต

ข้อเรียกร้องของรัฐบาลเปียงยางเหมือนดั่งอยู่คนละโลก
รัฐบาลเกาหลีเหนือยื่นเงื่อนไขหลายข้อสำหรับการเจรจายุติความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เป็นเงื่อนไขที่สร้างบิดเบือนความจริง สร้างความสับสน ยากจะปฏิบัติตาม ความสงบสุขจะคืนสู่คาบสมุทรในไม่ช้า แต่ความตึงเครียดพร้อมจะปะทุใหม่อีกรอบ

ปัญหาการปลูกฝิ่นและความท้าทายของรัฐบาลอัฟกานิสถาน
ประเทศอัฟกานิสถานคือประเทศผู้ปลูกฝิ่นรายใหญ่ที่สุดของโลก การแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะพัวพันกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การทหาร และการปลูกฝิ่นมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

โลกจับตาสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี เมื่อเกาหลีเหนือประกาศว่าประเทศอยู่ในภาวะสงคราม แสดงพฤติกรรมเตรียมทำสงคราม เกิดคำถามว่ากำลังจะเกิดสงครามจริงหรือไม่ หรือแท้จริงเป็นเพียงพฤติกรรมยั่วยุเพื่อกระชับอำนาจภายใน การแสดงออกของสหรัฐมีผลอย่างไรต่อสถานการณ์อย่างไร มีเหตุผลที่ซับซ้อนกว่าภาพที่มองเห็นหรือไม่

รัฐบาลจีนชุดใหม่ประกาศหวังสร้างความสัมพันธ์รูปแบบใหม่กับสหรัฐ เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ มองข้ามความขัดแย้ง เป็นการแสดงบทบาทอย่างสร้างสรรค์ของชาติมหาอำนาจจีนที่ต้องการอยู่ร่วมกับชาติมหาอำนาจสหรัฐอย่างสันติ สร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

เวลากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนด้านความมั่นคงมักจะเป็นความขัดแย้งเสียมากกว่าแต่กรณีเกาหลีเหนือเป็นข้อยกเว้น สองมหาอำนาจสามารถร่วมมือกันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐบาลบารัก โอบามาเน้นแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางทูตไม่หวังยกระดับความขัดแย้ง

อำนาจต่อรองของเปียงยางที่ร่อยหรอลงทุกที
อำนาจต่อรองของเปียงยางในยามนี้ร่อยหรอยลงทุกที และคงต้องเป็นเช่นนี้อีก 4 ปีกว่าที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามาจะหมดวาระ

รัฐบาลบังคลาเทศยังไม่มีนโยบายดูแลผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย อีกทั้งประกาศชัดเจนว่าโรฮิงญาไม่มีฐานะเป็นพลเมืองประเทศ

มีการวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่าเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาหวังจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก คือเพื่อสกัดกั้น ปิดล้อม อิทธิพลของจีนต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและต่อโลก

ถ้าเศรษฐกิจจีนดีขึ้นก็ไม่ร้อนแรง หรือถ้าจะถดถอยก็ไม่เป็นแบบ hard landing รัฐบาลจีนพูดคำเดียวว่าขอตัวเองรอดก่อนเป็นดีที่สุด

นายกรัฐมนตรีสายเหยี่ยว’ ภายใต้บริบทโลกปัจจุบันไม่ได้หมายความว่าเตรียมจะทำสงครามกับต่างประเทศหรือจะข่มขู่ก้าวร้าวโดยไม่คำนึงถึงมิติอื่นๆ การแสดงออกทั้งหลายทั้งปวงจะถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขต

เมื่อนโยบายความมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง ความเป็นไปในประเทศจึงยึดมั่นอยู่กับแนวทางเดิมของประเทศ โอกาสที่จะติดต่อทางเศรษฐกิจกับนานาชาติอย่างเปิดเผยเป็นทางการไม่อาจทำได้เพราะประเทศกำลังถูกคว่ำบาตร

Plaza Accord จึงเหมือนยักษ์ที่ขัดขวางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่ให้เติบโตมานานกว่า 20 ปี ผ่านหลายรัฐบาลหลายนายกฯ แต่ยังแก้ไขไม่ได้

ข้อพิพาทระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ส่งผลให้ญี่ปุ่นลดการส่งออกเพียงร้อยละ 2.94 เมื่อเทียบกับปริมาณส่งออกทั้งหมดของญี่ปุ่น

ในภาพรวมเศรษฐกิจจีนเป็นเศรษฐกิจที่รัฐควบคุมต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอำนาจการเมืองระดับบนที่มีระบบคัดเลือกส่งต่ออำนาจอย่างเป็นระบบ

อุดมการณ์คอมมิวนิสต์กำลังจะตายจากพรรคหากไม่รีบด่วนแก้ไข อนาคตอาจยังคงมีรัฐจีนที่มีธงชาติพื้นแดงกับดาวเหลือง ดวง แต่จะไม่เป็นจีนที่เป็นคอมมิวนิสต์อย่างแท้จริง

แนวทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง แต่หลักความมั่นคงยังพูดทำนองเดิม

เขตปลอดภัยกับเขตห้ามบินมีความหมายแตกต่างกัน บทวิเคราะห์นี้จะอธิบาย คำสองคำดังกล่าวพร้อมวิเคราะห์ความแตกต่าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

การประกาศ ADIZ หรือเขตแสดงตนของจีนนำมาซึ่งวิวาทะจากประเทศที่เกี่ยวข้อง บ้างเห็นว่าเขตแสดงตนของจีนผิดจากมาตรฐานสากล บ้างเห็นว่าเป็นการยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง บ้างเห็นว่าจีนต้องการแย่งชิงหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ แต่ความจริงแล้ว ADIZ ไม่มีมาตรฐานสากล สามารถเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการยั่วยุ กรรมสิทธิ์หมู่เกาะยังเป็นข้อถกเถียงอยู่ แต่ผู้นำประเทศของแต่ละรัฐบาลต้องหาทางออกที่เหมาะสม มีปัจจัยการเมืองภายในเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

สัปดาห์นี้กลับมีข่าวสำคัญที่แปลกแตกต่างออกไปและหาได้ยากอย่างยิ่ง นั่นคือ การปรากฏตัวของสุภาพสตรีหมายเลข 1 เกาหลีเหนือ ริ โซลจู (Ri Sol-ju) เคียงคู่กับผู้นำเกาหลีเหนือ

รัฐบาลโอบามาที่มีนโยบายชัดเรื่องหวนคืนเอเชีย การเสริมสร้างกำลังทหารในภูมิภาคนี้ และนโยบายถือจีนเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งที่ดำเนินมาหลายปีแล้ว
------------------------