การชุมนุมประท้วงฮ่องกงไม่ใช่เรื่องใหม่
เคยประท้วงใหญ่มาก่อนและจัดชุมนุมเป็นประจำทุกปี ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่ “จุดติด” แน่นอนว่าแกนนำต้องการความสำเร็จมากกว่าครั้งก่อน
ทางออกอยู่ที่ใด
มีคำกล่าวว่า “ชีวิตต้องสู้” “ปากกัดตีนถีบ” แต่หากสู้แล้วถีบแล้วยังเป็น “สังคมอยู่ยาก” จนแทบรับไม่ได้อีกแล้ว ย่อมเกิดแรงผลักดันให้ก่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง สถานการณ์ที่ฮ่องกงกำลังฉายภาพให้ชาวโลกเห็นและเข้าใจ
1. FULL TEXT: President Donald Trump's Inauguration Speech. (2017, January 20). ABC News. Retrieved from http://abcnews.go.com/Politics/full-text-president-donald-trumps-inauguration-speech/story?id=44915821
Sawyer Bengtson
การชุมนุมประท้วงที่เริ่มจากเหตุกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างฮ่องกงกับจีนจุดกระแสความไม่พอใจต่อผู้บริหารสูงสุดเขตปกครองพิเศษฮ่องกงกับรัฐบาลจีนอีกครั้ง
พร้อมกับเสียงเรียกร้องขอปกครองตนเองมากขึ้น ดังคำขวัญ “สู้เพื่อเสรีภาพ
ยืนเคียงข้างฮ่องกง” (Fight for freedom, stand with Hong Kong!) แกนนำโจชัว หว่องพูดเสมอว่าคนฮ่องกงต้องเป็นผู้ตัดสินอนาคตฮ่องกง
ไม่ใช่โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน
นอกจากข้อเรียกร้องต่างๆ
ร่างกฎหมาย Hong Kong Human Rights and Democracy Act เป็นอีกประเด็นที่ควรจับตา
ตามรายงานข่าวสมาชิกรัฐสภาสหรัฐจำนวนหนึ่งเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเมื่อเดือนมิถุนายน
(ช่วงเริ่มต้นชุมนุม) หลักสำคัญคือต้องการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน
หลักนิติธรรมของฮ่องกงเป็นประจำทุกปี กำหนดให้รัฐบาลพิจารณาเป็นรายปีว่าสมควรให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ฮ่องกงหรือไม่
กำหนดให้ประธานาธิบดีมีอำนาจคว่ำบาตร เช่น ไม่ให้วีซาแก่เจ้าหน้าที่ฮ่องกงผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน
ฝ่ายจีนเห็นว่าแนวคิดกฎหมายดังกล่าวแทรกแซงกิจการภายใน เป็นหลักฐานที่ทางการจีนอ้างว่ากลุ่มผู้ชุมนุมเชื่อมโยงกับฝ่ายการเมืองสหรัฐ
ละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ หากสหรัฐผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวจีนอาจตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรผู้แทนรัฐสภาสหรัฐกับสมาชิกครอบครัว
เช่น ห้ามทำธุรกิจในฮ่องกง ไม่อนุญาตให้เข้าประเทศ
จับตาความเคลื่อนไหวของรัฐบาลทรัมป์ :
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าประธานาธิบดีทรัมป์เป็นคนที่พูดจาโผงผาง
บ่อยครั้งเกินความจริง ถูกบ้างผิดบ้าง แต่หลายครั้งพิสูจน์ว่าทำเรื่องที่เกินคาด
เช่น ประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงภาวะโลกร้อน
ยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเพียงฝ่ายเดียว ทำข้อตกลงการค้าเสรี NAFTA
กับแคนาดาและเม็กซิโกใหม่ด้วยเหตุผลตรงไปตรงมาว่าข้อตกลงเก่าได้ประโยชน์น้อยเกินไป
ต้องการข้อตกลงใหม่ที่สหรัฐได้ประโยชน์มากกว่าเดิม
รัฐบาลสหรัฐทุกยุคทุกสมัยดำเนินนโยบายปิดล้อมจีน
แรงบ้างเบาบ้าง แรงมากขึ้นในชุดรัฐบาลปัจจุบัน สงครามการค้าสหรัฐ-จีนนับวันจะแรงขึ้น
กระทบเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งต่อคนอเมริกัน
แต่ประธานาธิบดีทรัมป์ยืนยันว่าเป็นนโยบายที่ดีและถูกต้อง
ต่อสถานการณ์การชุมนุมประท้วง
แน่นอนว่าท่านประธานาธิบดีไม่ปล่อยโอกาสหลุดลอย
ขอให้จีนปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่างที่ควรกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน (humanely) มิฉะนั้นปัญหาการค้าสหรัฐ-จีนจะดำเนินต่อไป งานหลายล้านตำแหน่งจะหายไปจากประเทศจีน
บริษัทนับพันจะถอนตัว
เป็นคำเตือนและคำขู่
ยืนยันอยู่ฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วง
หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับแกนนำผู้ชุมนุมมีจริง
เป็นที่ประจักษ์ชัด
ถ้ายึดตามหลักนโยบาย
แม้รัฐบาลทรัมป์เคยพูดว่าได้ปรับเปลี่ยนนโยบายยอมรับการปกครองที่แตกต่าง
ดังสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่ง (inauguration address) เมื่อมกราคม
2017 ว่า ‘จะไม่ยัดเยียดวิถีชีวิตของเราแก่ต่างชาติ
แต่จะแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง และกล่าวทำนองนี้อีกใน Arab Islamic American
Summit 2017 ว่ารัฐบาลสหรัฐไม่ให้ความสำคัญต่อความแตกต่างด้านระบอบการปกครอง
ศาสนา
แต่ในหลายกรณีรัฐบาลทรัมป์ยังพูดเรื่องส่งเสริมประชาธิปไตย
ผลักดันให้ประเทศอื่นๆ เป็นประชาธิปไตย
จึงเป็นไปได้ว่าจะผลักดันประชาธิปไตยฮ่องกงด้วย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอดีตรมต.กลาโหม
จิม แมททิส (Jim Mattis) กล่าวว่าการชุมนุมประท้วงฮ่องกงไม่ใช่
“กิจการภายใน” ของจีน ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐควรเข้าแทรกแซง อย่างน้อยให้กำลังใจ
อยู่เคียงข้างผู้ชุมนุม
ด้วยผลงานที่ผ่านมามีความเป็นไปได้ว่าทรัมป์อาจทำสิ่งที่แหวกแนวต่อฮ่องกงก็เป็นได้
ล่าสุด ทรัมป์แสดงท่าทีอ่อนลงต่อสงครามการค้าสหรัฐ-จีน และมีข่าวว่าจีนจะระงับภาษีนำเข้าและกลับมาซื้อสินค้าเกษตรสหรัฐบางรายการ
เช่น ถั่วเหลืองกับสุกร แต่จะมีผลต่อฮ่องกงหรือไม่ยังไม่ชัดเจน
ตลกร้ายฮ่องกง :
ดังที่เคยนำเสนอแล้วว่ารัฐบาลจีนถือว่าปัจจุบันปกครองแบบ
สังคมนิยมประชาธิปไตย (socialist democracy) หมายถึงการปกครองที่ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตประจำวันตามสมควร
สามารถเลือกเรียน เลือกงานทำ เลือกคู่ครอง เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ประกอบธุรกิจส่วนตัวตามกรอบกฎหมาย มีตลาดหุ้นให้ลงทุน ต่างชาติเข้ามาซื้อขาย
แต่อำนาจการปกครองอยู่ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ คอยกำกับควบคุมชี้นำการเมืองเศรษฐกิจสังคม
ฯลฯ
ผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย
เสรีภาพ ขอสิทธิในการปกครองตนเองมากขึ้น
บางคนกล่าวว่าพวกตนต้องการเสรีภาพเหมือนสหรัฐ แต่จะเป็นตลกร้ายหากเมื่อพวกเขาได้ประชาธิปไตยแล้วใช้อำนาจนี้กีดขวางคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่ต้องการเข้ามาทำงาน
ค้าขายที่ฮ่องกง ปิดกั้นการลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่
กีดกันไม่ให้คนจีนซื้อบ้านคอนโดฮ่องกง
กลายเป็นว่าผู้บริหารฮ่องกงยุคประชาธิปไตยใหม่ควบคุมเรื่องเหล่านี้อย่างเข้มงวด
ไม่ต่างจากข้อโจมตีที่ว่ารัฐบาลจีนกำกับควบคุมการค้าการลงทุน ไม่เป็นประชาธิปไตย
ไม่เป็นการค้าเสรีแบบสากล
ดังที่เสนอในบทความก่อนว่าสิ่งที่ผู้ประท้วงต้องการคือลิขิตชีวิตตัวเอง
ระบอบการปกครองที่พวกตนตัดสินอนาคตของตัวเอง
ด้วยความเชื่อว่าเช่นนี้แล้วจะได้สิ่งที่ดีที่สุด
หลักสำคัญที่ต้องยึดคือสิ่งผู้ประท้วงต้องการไม่ใช่ประชาธิปไตย
แต่ต้องการชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่า คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ระบอบเสรีประชาธิปไตยกินไม่ได้
แต่ต้องการประชาธิปไตยถ้าช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น หาไม่แล้วเสรีประชาธิปไตยไม่ก่อประโยชน์อันใด
หรืออาจสรุปว่าการปกครองมีเพื่อการอยู่ดีมีสุขของพลเมืองก็ว่าได้
ดีที่ตลกร้ายฮ่องกงคงไม่เกิด
เพราะรัฐบาลจีนไม่ปล่อยให้ผู้ชุมนุมฮ่องกงได้ทุกสิ่งที่ต้องการ ระหว่าง 1,400 ล้านคนที่ต้องดูแลกับชาวฮ่องกง 7 ล้านกว่าคน
รัฐบาลปักกิ่งย่อมตัดสินใจได้ว่าจะเลือกอะไร ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนพูดเสมอว่าพร้อมจะใช้กำลัง
“จัดการ” ไต้หวันหากประกาศเอกราช หรือจะเทียบเคียงกรณีเทียนอันเหมินก็น่าจะได้ เหล่าแกนนำผู้ชุมนุมรับรู้เป็นอย่างดี
ยังไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ :
การชุมนุมประท้วงฮ่องกงไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยประท้วงใหญ่มาก่อน และจัดชุมนุมเป็นประจำทุกปี
ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่ “จุดติด” บางสัปดาห์มีคนเข้าร่วมนับแสนนับล้าน
สัปดาห์ที่มีน้อยยังมีนับหมื่นคน ชุมนุมต่อเนื่องทุกสัปดาห์
ข้อดีของการชุมนุมคือโดยรวมแล้วยังอยู่ในความสงบเรียบร้อย
แม้มีความรุนแรงเกิดขึ้นบ้าง ต้องมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการชุมนุมนับหมื่นนับแสนคน
มีคนหัวร้อนใจร้อน บางจุดบางพื้นที่เกิดสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้
กลุ่มผู้ชุมนุมยังมีกำลังใจดี ทำอย่างมียุทธศาสตร์ มีระบบ แน่นอนว่าแกนนำต้องการความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าการชุมนุมรอบปีก่อนๆ
จะไม่พลาดโอกาสทองของปีนี้
เกิดคำถามว่ารอบนี้จะจบลงเมื่อไร
จบอย่างไร
ณ
ขณะนี้เป็นการยากที่จะคาดการณ์ว่าจะลงเอยที่ใด อาจจะเป็นการประนีประนอมในทางใดทางหนึ่ง
แต่เมื่อไหร่จะถึงวันนั้น เศรษฐกิจพังพินาศกว่านี้หรือไม่
อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ชุมนุมอาจเห็นด้วยกับการต้องสูญเสียเพื่อให้ได้สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า
แล้วปีหน้าจะกลับมาชุมนุมอีกไหมเหมือนที่ทำมาต่อเนื่องมาแล้วหลายปี
เพื่อความสำเร็จที่ก้าวล้ำขึ้นไปอีก
15 กันยายน 2019
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
23 ฉบับที่ 8344 วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ.2562)
-------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ทำไมผู้ประท้วงร้องขอ “ปลดปล่อย” ฮ่องกงจากรัฐบาลจีนมีคำกล่าวว่า “ชีวิตต้องสู้” “ปากกัดตีนถีบ” แต่หากสู้แล้วถีบแล้วยังเป็น “สังคมอยู่ยาก” จนแทบรับไม่ได้อีกแล้ว ย่อมเกิดแรงผลักดันให้ก่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง สถานการณ์ที่ฮ่องกงกำลังฉายภาพให้ชาวโลกเห็นและเข้าใจ
ถ้าอยากเข้าใจนโยบายจีนต่อฮ่องกงจะต้องมองกรอบกว้างด้วย
รัฐบาลจีนปกครองพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล มีประชากรอีกราว 1,400
ล้านคนที่ต้องดูแล หวังให้ฮ่องกงเป็น 1 ประเทศ 2 ระบบที่เป็นแบบอย่างที่ดี
บรรณานุกรม :1. FULL TEXT: President Donald Trump's Inauguration Speech. (2017, January 20). ABC News. Retrieved from http://abcnews.go.com/Politics/full-text-president-donald-trumps-inauguration-speech/story?id=44915821
2. HK protesters call on US to pass Human Rights Act. (2019, September 8). Asia Times.
Retrieved from https://www.asiatimes.com/2019/09/article/hk-protesters-call-on-us-to-pass-human-rights-act/
3. Hong Kong protesters march to US Consulate to call for
help from Trump. (2019,
September 8). CNN. Retrieved from https://edition.cnn.com/2019/09/08/asia/hong-kong-us-protests-0809-intl-hnk/index.html
4. 'Now or never': Hong Kong protesters say they have
nothing to lose. (2019, August 28). Channel News Asia. Retrieved from https://www.channelnewsasia.com/news/asia/hong-kong-protests-nothing-to-lose-protesters-extradition-bill-11847688
5. The White House. (2017, May 21). President Trump’s
Speech to the Arab Islamic American Summit. Retrieved from
https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2017/05/21/president-trumps-speech-arab-islamic-american-summit)
6. Trump links Hong Kong crisis to trade as China military
rallies. (2019, August 15). AFP. Retrieved from https://www.afp.com/en/news/3954/trump-links-hong-kong-crisis-trade-china-military-rallies-doc-1jj6ka3
7. US should side with Hong Kong protesters: Former defence
chief Mattis. (2019, September 10). Channel News Asia. Retrieved from
https://www.channelnewsasia.com/news/asia/jim-mattis-hong-kong-protesters-former-defence-chief-11889046
8. US will never ‘free’ HK, only destabilize China: expert. (2019, September 8). Global Times.
Retrieved from http://www.globaltimes.cn/content/1164002.shtml
-----------------------------