ยุโรป

ยุโรป 

ติดต่อพูดคุยสอบถามได้ที่ไลน์ ck09105
บทความเรียงจากใหม่ลงเก่า อ่านบทความคลิกที่ชื่อเรื่อง ...

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2024

ไม่ว่าสงครามยูเครนจะจบปีนี้หรือปีหน้า ที่สุดแล้วน่าจะมีคำตอบว่าฝ่ายประชาธิปไตยหรือฝ่ายอำนาจนิยมชนะ ตามที่รัฐบาลโลกเสรีเอ่ยถึงเรื่อยมา

สงครามยูเครนแสดงขีดความสามารถของกองทัพรัสเซียให้ชาวโลกรับรู้ โดยเฉพาะพวกนาโตว่ากองทัพรัสเซียไม่อ่อนแออย่างที่คิด

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2023
ไม่ว่าจะมองจากมุมอธิปไตยยูเครน ความต้องการของรัสเซีย หรือศึกของฝ่ายประชาธิปไตย ล้วนชี้ว่ายูเครนยังต้องเป็นสมรภูมิของสงครามต่อไป

หากมอราวีแยตสกีชนะเลือกตั้งได้เป็นนายกฯ ต่ออีกสมัย ความสัมพันธ์กับยูเครนจะดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อ ข้อพิพาทเรื่องสินค้าเกษตรที่มีอยู่จะจางหายอย่างรวดเร็ว สงครามยูเครนดำเนินต่อไป

ควรสรุปว่าอนาคตยูเครนไม่อยู่ในมือของคนยูเครนอีกต่อไป ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะรัฐบาลเซเลนสกีตัดสินใจทำสงครามแทนยอมรับข้อเสนอวางตัวเป็นกลางของรัสเซีย

หลักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเยอรมนีในบริบทโลก
หลายปีต่อจากนี้เยอรมนีจะตั้งงบกลาโหมให้ได้เฉลี่ย 2% ของ GDP จำต้องปรับขึ้นมากเพื่อพัฒนากองทัพรับมือสถานการณ์ มีความรับผิดชอบต่อยุโรปและโลก

โอกาสที่รัสเซียจะกดปุ่มนิวเคลียร์จากศึกยูเครน
แม้สถานการณ์สุ่มเสี่ยงเกิดสงครามนิวเคลียร์ หากคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลรัฐบาลที่รับผิดชอบพลเมืองย่อมไม่ปล่อยให้เกิดหายนะ ไม่ว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือสังคมนิยม

ภายใต้แนวคิดชาติยุโรปจำต้องติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศของตนแฝงด้วยผลประโยชน์ของประเทศหลัก ยังถูกครอบงำด้วยอิทธิพลสหรัฐไม่มากก็น้อย

ศึกยูเครนนำสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 หรือไม่
ทั้งรัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียและประเทศต่างๆ ล้วนตระหนักผลเสียของสงครามโลก คำถามคือทำไมคนทั้งโลกต้องรับผลเสียจากความขัดแย้งของมหาอำนาจ การตัดสินใจของคนไม่กี่หยิบมือ

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2022

โลกเสี่ยงสงครามนิวเคลียร์ตั้งแต่ก่อนเกิดศึกยูเครนแล้ว สงครามยูเครนเพิ่มความเสี่ยงให้สูงขึ้นอีก แต่รัสเซียจะ “กดปุ่ม” หรือไม่ยังคงยึดหลักการเดิม

ภายใต้คำประกาศขอยืนหยัดสู้เคียงข้างยูเครน นาโตรวมตัวเข้มแข็ง มีคำถามว่ายูเครนจะชนะศึกได้อย่างไร กำลังสู้ศึกเพื่ออนาคตลูกหลานใคร

อีกหลายปีข้างหน้าเมื่อหวนมองสงครามยูเครนน่าจะได้คำตอบว่าเป็นเพียงฉากหนึ่งของการช่วงชิงระหว่างมหาอำนาจ เหมือนนิยายเรื่องเก่าที่นำมาแสดงใหม่ สหรัฐกับรัสเซียยังคงอยู่ส่วนยูเครนกลายเป็นซาก

สงครามยูเครนเป็นแค่ชนวนของการจัดระเบียบโลก ขึ้นกับความต้องการของมหาอำนาจ ความเป็นไปของประเทศยูเครนไม่ขึ้นอยู่กับคนยูเครนอีกต่อไป

ไม่ว่าจะอธิบายต้นเหตุศึกยูเครนด้วยแนวทางใด ชาติมหาอำนาจมั่นคงมั่งคั่งขึ้นบนความสูญเสียของยูเครน ยูเครนเป็นแค่เหยื่อที่ต้องถูกทำลาย

การใช้อาวุธนิวเคลียร์ส่งผลเสียหายร้ายแรงไม่เฉพาะต่อคนที่โดนแรงระบาดกับกัมมันตรังสีเท่านั้น ต้องมองผลกระทบที่จะตามมาอันเนื่องประชาคมโลกไม่อยากให้ใช้นิวเคลียร์

แนวคิดกำจัดปูตินยุติศึกยูเครนผลิกโฉมรัสเซีย
แนวคิดกำจัดผู้นำฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ยาพิษสมัยใหม่ไร้รสไร้กลิ่น ขนาดเพียงเม็ดฝุ่นฆ่าคนได้แล้ว มีกระแสชวนให้คิดลอบสังหารประธานาธิบดีปูติน มีเหตุผลรองรับ

ตรวจสอบสัมพันธ์จีน-รัสเซียผ่านศึกยูเครน
รัฐบาลจีนยึดผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งไม่ต่างจากรัสเซียหรือสหรัฐ แต่จีนกับรัสเซียมีนโยบายที่ไปด้วยกันได้มากกว่า ข้อนี้สะท้อนความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศผ่านศึกยูเครนด้วย

รัฐบาลอิตาลีชุดใหม่นายกฯรากฐานฟาสซิสต์
ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเผด็จการฟาสซิสต์หรือสายใดๆ คนอิตาเลียนคาดหวังเหมือนกันคือขอให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น อยู่ดีมีสุข การที่ทุกพรรคทุกสายล้วนเคยเป็นรัฐบาลเป็นหลักฐานในตัวเอง

สงครามยูเครนเฟส 3 ยืมดาบศัตรูฟันศัตรู
เป็นไปได้ว่าเฟส 3 ของรัสเซียคือลากสงครามให้ยาวไปถึงฤดูหนาว (ฤดูหนาวยุโรปคือเดือนธันวาคม-ต้นมีนาคม) เพื่อให้ผลกระทบสงครามไฮบริดเกิดแรงสุดกับฝ่ายตรงข้าม

สงครามไฮบริดกับระเบียบโลกใหม่ในมุมมองรัสเซีย
สงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องระหว่างยูเครนกับรัสเซีย แต่เป็นการต่อสู้แข่งขันระหว่างมหาอำนาจ เงินเฟ้อที่เกิดกับทุกประเทศ สินค้าขึ้นราคาแพงทั้งแผ่นดินเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม

6 เดือนสมรภูมิยูเครนสงครามดำเนินต่อไป
ยูเครนเป็นแค่เหยื่อเพื่อนำสู่การต่อสู้ระหว่างขั้วสหรัฐกับรัสเซีย ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐคือมุ่งทำลายเศรษฐกิจสังคมรัสเซีย ตอกย้ำการแบ่งขั้ว

สงครามยูเครนกระชับสัมพันธ์รัสเซีย-เกาหลีเหนือ
ทั้งเกาหลีเหนือกับรัสเซียต่างสามารถอาศัยกันและกัน ใช้ไพ่ของอีกประเทศเป็นเครื่องมือต่อรองฝ่ายตรงข้าม ความสัมพันธ์นี้อาจดังไกลไปถึงสมรภูมิยูเครน อียู

ต้นเหตุเงินเฟ้อหลักมาจากการที่สหรัฐพิมพ์เงินออกมาใช้มหาศาล ระเบียบโลกใหม่ควรยึดหลักว่าประเทศใดสร้างผลผลิตได้มากแค่ไหนก็ควรจะพิมพ์เงินใช้มากแค่นั้น 

2 ประเด็นสำคัญที่ไบเดนเผชิญในสมรภูมิยูเครน
การศึกในยูเครนไม่ใช่เรื่องที่อยากเลิกก็เลิกได้ทันที เพราะสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญยิ่งกว่าความเป็นไปของยูเครนที่มหาอำนาจไม่อาจสูญเสีย

สวีเดนเลือกข้าง ขอเข้าร่วมนาโต
การเลือกข้างก่อให้เกิดคำถามว่าคือการเปลี่ยนปรปักษ์ให้กลายเป็นศัตรูจริงๆ ใช่หรือไม่ ทำอย่างไรรัสเซียจึงจะวางใจแม้สวีเดนเลือกข้าง

อนาคตเลอเปนกับเสรีประชาธิปไตยฝรั่งเศส
ครั้งหนึ่งคนฝรั่งเศสจำนวนมากเห็นว่าคนอย่างเลอเปนน่ารังเกียจ แต่บัดนี้พิสูจน์แล้วว่าพวกขวาจัดนี่แหละที่สังคมยอมรับมากขึ้นและอาจได้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส

การก้าวขึ้นมาของเลอเปนกับพรรค National Rally
เลอเปนเป็นพวกที่ถอยห่างจากหลักเสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนฝรั่งเศส จนสามารถเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในวันอาทิตย์นี้

สงครามยูเครนถูกตีความว่าเป็นความขัดแย้งระดับภูมิภาค ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับทรราชย์ แต่เยอรมันมองภาพที่ลึกกว่านั้น นั่นคือยุโรปที่เยอรมันมีบทบาทสำคัญ

ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียขยับเข้าเป้าหมายที่ต้องการ น่าติดตามว่าเมื่อไหร่ประธานาธิบดีเซเลนสกีจะตื่นจากความฝัน ทำไมไม่ตื่นจากความฝันลมๆ แล้งๆ เสียที

เมื่อสงครามยูเครนกำลังลามมาที่อิหร่าน
ด้วยความที่รัฐบาลสหรัฐต้องการเข้าควบคุมการซื้อขายน้ำมันก๊าซธรรมชาติของชาติพันธมิตรกับพวก จึงหวังใช้อิหร่านเป็นเครื่องมือ ดึงอิหร่านเข้าสู่สงครามเย็นใหม่

รัสเซียบุกยูเครนละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อโต้แย้งคือการบุกเข้าไปเป็นการป้องกันตัวเอง เป็นแนวทางเดียวกับที่รัฐบาลหลายประเทศใช้

คำถามที่ไม่ตลกคือทำไมเซเลนสกีปล่อยให้เกิดสงครามและทำไมไม่รีบหยุดสงคราม คำว่า “ขอวางตัวเป็นกลาง” ไม่เป็นสมาชิกนาโตพูดยากมากเลยหรือ

ยูเครนเหยื่อการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ
ชาติมหาอำนาจมั่นคงมั่งคั่งขึ้นบนความสูญเสียของยูเครน เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายประเทศ เป็นอุทาหรณ์แก่ประเทศอื่นๆ ที่เหลือ

เรื่อง Nord Stream 2 ที่มากกว่าท่อส่งก๊าซ
Nord Stream 2 คืออีกครั้งที่เยอรมันพยายามเป็นอิสระและรัฐบาลสหรัฐขัดขวาง ยูเครนเป็นตัวละครล่าสุดที่ถูกดึงเข้ามาใช้ สถานการณ์ยิ่งยืดเยื้อเท่ากับโลกต้องซื้อใช้พลังงานแพงนานขึ้น

สหรัฐฯ ต้องการให้ยุโรปซื้อพลังงานจากตน
รัฐบาลสหรัฐฯ เหมือนเซลส์แมนกำลังใช้พลังอำนาจทุกอย่างที่ตนมีเพื่อกดดันให้ยุโรปซื้อก๊าซธรรมชาติจากตนด้วยสารพัดเหตุผลทั้งด้านความมั่นคงกับเรื่องเงินๆ ทองๆ

ยูเครนกระตุ้นสงครามเย็นใหม่ในยุโรป
ยูเครนเป็นพื้นที่กันชนระหว่าง 2 มหาอำนาจ ตอนนี้กำลังถูกใช้โหมกระแสสงครามเย็นใหม่ในยุโรป เป็นวิธีกระชับอำนาจที่รัฐบาลสหรัฐแทบทุกชุดทำเช่นนี้เรื่อยมา

วิพากษ์ยุทธศาสตร์นาโตขยายตัว
ข้อวิพากษ์ทั้งหมดนำสู่คำถามว่ายุทธศาสตร์นาโตขยายตัวมีไว้เพื่อสันติภาพ เคารพอธิปไตยของกันและกันหรือเป็นเครื่องมือที่บางประเทศใช้ขยายอำนาจอิทธิพล

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2021
พรรคแรงงานอังกฤษในความเปลี่ยนแปลง
อังกฤษชาติต้นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พรรค Labour Party ที่ยึดแนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตยอยู่คู่การปกครองประเทศนี้มากว่าศตวรรษแล้ว พร้อมกับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา

วาระ NATO 2030 และข้อวิพากษ์
NATO 2030 ประกอบด้วยความคิดริเริ่ม แผนพัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมเป็นเอกภาพรับมือการแข่งขันยุคใหม่ที่รุนแรงขึ้นทั่วโลก แต่แผนกับการปฏิบัติจริงจะสอดคล้องแค่ไหนเป็นเรื่องน่าติดตาม

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2020
ถ้ายึดว่ากองทัพสหรัฐในต่างแดนมีเพื่อรักษาผลประโยชน์อเมริกา ขนาดกองทัพจะเล็กหรือใหญ่ จะส่งไปจุดใด ล้วนอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ทั้งสิ้น

สังคมเยอรมันถกแถลงเรื่องอาวุธนิวเคลียร์เรื่อยมา แต่จนทุกวันนี้อาวุธนิวเคลียร์สหรัฐยังประจำการที่นี่และอาจอยู่อีกนาน เพราะเป็นความสัมพันธ์อันซับซ้อน ผลประโยชน์มหาศาล
ความจริงที่ซ่อนอยู่เหตุทรัมป์คิดถอนทหารจากเยอรมนี

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2019
อียูต้องการรัสเซียที่เข้มแข็งมากพอที่จะต้านสหรัฐและเป็นมิตรกับตน แม้อีกด้านอียูเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงกับสหรัฐ เป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ไม่ว่ายุโรปจริงใจหรือเล่นเกม โครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่าน การคว่ำบาตร การทำการค้ากับอิหร่านจะเป็นเรื่องที่ยึดโยงกับยุโรปอีกนาน สะท้อนบทบาท ท่าทีของยุโรปในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

กระแสกลัวรัสเซียเป็นทัศนคติ การรับรู้ของผู้ที่มองรัสเซียเป็นภัยซึ่งอาจเป็นจริงหรือเกินจริง ในยุคทรัมป์กระแสกลัวรัสเซียถูกผูกเข้ากับการเมืองภายในอเมริกาเพื่อชี้ว่าทรัมป์คือหุ่นเชิดของรัสเซีย

นาโตเป็นตัวอย่างองค์การระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงยาวนานถึง 70 ปี แต่นาโตปัจจุบันไม่เป็นเอกภาพดังเดิม เป็นอีกตัวอย่างแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอันซับซ้อน การบั่นทอนต่อสู้กันภายใน

การลงมติรอบนี้ลงเอยด้วยสภาไม่รับรองร่างข้อตกลงแยกตัวฉบับล่าสุด พร้อมกับมติขยายเวลาออกจากอียู แม้น่าจะได้เวลาเพิ่มแต่คำถามที่เป็นปัญหายังรอคำตอบ พร้อมกับความไม่แน่นอนหลังออกจากอียู

เมื่อสังคมคิดต่างจึงตัดสินด้วยการทำประชามติ แต่กลับไม่นำผลประชามติไปใช้ กลายเป็นความขัดแย้งหลายระดับ และกำลังค้างอยู่เช่นนี้ จนกว่าได้ทางออกที่ลงตัว

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2018
เมื่อเสื้อกั๊กเหลืองเห็นว่าฝรั่งเศสต้องปฏิวัติอีกครั้ง
แม้รัฐบาลมาครงออกมาตรการช่วยเหลือคนจนหลายข้อ พวกเสื้อกั๊กเหลืองบางส่วนเห็นว่าต้องชุมนุมต่อ เพราะเป้าหมายคือสร้างการเมืองใหม่ที่ส่งเสริมการกระจายรายได้ ต่อต้านความเหลื่อมล้ำ

การชุมนุมที่ปะทุจากเหตุขึ้นภาษีน้ำมัน เหตุผลที่ลึกกว่าคือสะท้อนความไม่พอใจรัฐบาลที่เก็บกด เป็นวันแห่งความโกรธแค้นของคนเหล่านี้ต่อระบอบการเมืองของประเทศ

การปล่อยให้นาโตแตกไม่ใช่เรื่องที่ผู้นำประเทศจะตัดสินใจได้โดยลำพัง แม้มีความขัดแย้งมากบ้างน้อยบ้าง ไม่มีฝ่ายใดปล่อยให้นาโตแตก เพราะต่างได้ผลประโยชน์มากมายจากนาโต

ระเบียบโลกเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ประเด็นอยู่ที่ทำอย่างไรจะเรียนรู้เท่าทันและได้ประโยชน์ อียูกำลังใช้โอกาสช่วงนี้ถอยห่างจากรัฐบาลสหรัฐ กำหนดวาระของตนเอง เป็นตัวแปรสำคัญของโลกอนาคต

หากเยอรมันหรืออียูตั้งใจอยู่ร่วมกับประเทศอื่นๆ อย่างสงบ แก้ปัญหาด้วยสันติวิธีจริงๆ มุ่งการค้าพหุภาคีตามกติกา ให้โลกเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน เช่นนี้สมควรเป็นประเทศหรือกลุ่มภาคีที่น่าสนับสนุน

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2017
รัสเซียในยุคปูติน บอดี้การ์ดระดับโลก
ปูตินสั่งถอนทหารกลับประเทศเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าระบอบของอัสซาดจะคงอยู่ต่อไป ภารกิจในฐานะบอดี้การ์ดส่วนตัวสำเร็จลุล่วง เป็นผลงานชิ้นโบแดงที่โลกจะกล่าวถึงอีกนาน

ในที่ประชุมสุดยอดนาโตเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์กับนายกฯ แมร์เคิลยังคงปะทะกันด้วยคำพูดเรื่องสมาชิกนาโต้ต้องเพิ่มงบประมาณกลาโหม ช่วยสหรัฐฯ ลดขาดดุลการค้า ผู้นำเยอรมนีฉวยโอกาสแสดงภาวะผู้นำต่อยุโรป (อียู) ส่วนผู้นำอเมริกาแสดงตัวเป็นผู้นำนาโต ในขณะที่ประเด็นระหว่างประเทศยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้ง 2 ผู้นำต่างเก็บคะแนนนิยมเข้าตัวเอง นี่คือผลรูปธรรมจากวิวาทะ 2 ผู้นำคนละฝากฝั่งแอตแลนติก

ความเป็นประชานิยมเป็นความหวังของพลเมืองฝรั่งเศสหลายคน หลายนโยบายแสดงถึงการไม่ยึดติดแนวทางเดิม ต่อต้านระบอบอำนาจที่ขัดขวางความเจริญรุ่งเรือง การเลือกตั้งปีนี้เห็นชัดว่ากระแสประชานิยมกำลังก้าวขึ้นมา ในอีกด้านหนึ่งการต่อต้านโลกาภิวัตน์เป็นการกล่าวอ้างเกินจริง การถอนตัวจากนาโตอาจบั่นทอนความมั่นคงมากกว่าเดิม การต่อต้านมุสลิมเห็นได้ชัดว่าประชาธิปไตยกำลังถดถอย เลอเปนทำทุกอย่างเพื่อให้ชนะเลือกตั้งเท่านั้น ไม่สนใจผลเสียที่จะตามมา


นายกฯ แมร์เคิลพบประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้นำ 2 ประเทศยืนยันสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติก พร้อมกับแสดงจุดยืนแตกต่างหลายข้อดังที่ทรัมป์จุดประเด็นไว้ น่าติดตามว่าความสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติกจะดีขึ้นหรือเสื่อมลงกว่าเดิม สหรัฐในยุคทรัมป์จะโดดเดี่ยวตัวเองมากกว่าเดิมหรือไม่ เป็นประโยชน์หรือโทษมากกว่า และเป็นเครื่องชี้ว่าทรัมป์มีความสามารถบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ดีเพียงใด

ไม่ถึงเดือนหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ได้คำตอบชัดแล้วว่ารัฐบาลทรัมป์ไม่ขอถอนตัวออกจากนาโตตามคำขู่ตั้งแต่ช่วงหาเสียง ประเทศสำคัญๆ ในยุโรปแสดงท่าทีต่อต้านก่อการร้ายที่แตกต่างจากสหรัฐ Pax Americana อ่อนแอลงชัดเจน รัสเซียกลายเป็นประเทศสำคัญที่สหรัฐจะต้องดึงมาเป็นหุ้นส่วนหากคิดจะปิดล้อมจีน รุกคืบตะวันออกกลางอย่างจริงจัง

คำว่านาโตล้าสมัยเป็นคำพูดที่บิดเบือน เพราะนาโตปรับปรุงเรื่อยมา แต่ที่ล้าสมัยเป็นเพราะไม่ตรงตามความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ เป็นโจทย์ที่นาโตฝั่งยุโรปต้องหาคำตอบว่าควรพึ่งพาสหรัฐหรือควรเป็นอิสระมากขึ้น แต่เนื่องจากสมาชิกปัจจุบันแตกต่างหลากหลาย ไม่อาจให้คำตอบง่ายๆ และไม่ตรงความต้องการสหรัฐเต็มร้อย ที่สุดแล้วนาโตน่าจะคงอยู่ต่อไป เพราะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายมากกว่า

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2015
ด้วยรักจากปูตินถึงโอบามา การปิดล้อมและการโต้กลับ (Ookbee)
ความตึงเครียดจากสถานการณ์ยูเครนที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2013 จนนำสู่การเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจรัสเซียกับฝ่ายสหรัฐฯ อย่างชัดเจน สหรัฐฯ กับพันธมิตรโดยเฉพาะอียูร่วมออกมาตรคว่ำบาตรรัสเซียหลายรอบ
ข้อเขียนชิ้นนี้อธิบายนโยบายของสหรัฐฯ ต่อรัสเซียเพื่ออธิบายเหตุผลที่มาที่ไปของนโยบายปิดล้อมรัสเซีย การตอบโต้จากรัฐบาลปูติน นำสู่การวิเคราะห์องค์รวม ชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์เชิงลึกของสหรัฐฯ ความพยายามจัดระเบียบโลกผ่านวิธีการต่างๆ จุดอ่อนของยุทธศาสตร์ปิดล้อม พลังอำนาจที่ถดถอยของสหรัฐฯ พร้อมกับคาดการณ์อนาคต


ยูเครนเป็นประเทศที่น้อยคนจะรู้จัก เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต เริ่มเป็นรัฐอธิปไตยหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ตั้งแต่ปลายปี 2013 เกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่บานปลายจนรัสเซียส่งกองกำลังเข้ายึดไครเมีย และเกิดสงครามกลางเมืองขนาดย่อมในฝั่งตะวันออกของประเทศ แต่ความสำคัญของสถานการณ์ยูเครนในขณะนี้คือการเผชิญหน้า ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจ 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือรัสเซีย อีกฝ่ายคือสหรัฐฯ กับพันธมิตรอียู การเผชิญหน้าครั้งนี้อาจรุนแรงยืดเยื้อกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากรัฐบาลรัสเซียสู้ไม่ถอย

เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง พื้นที่ที่เป็นปัญหาในขณะนี้เป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ เท่านั้น เป็นไปได้ว่ารัฐบาลโอบามาเห็นว่าจำต้องให้ความช่วยเหลือกองทัพยูเครนล้อมกรอบฝ่ายต่อต้านต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์บ่อนทำลายรัสเซีย คาดว่าจะต้องดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดัชนีราคาน้ำมันน่าจะเป็นตัวสะท้อนชี้ความขัดแย้งนี้

ตอนที่กองกำลังไร้สังกัดเข้าควบคุมไครเมีย สื่อนานาชาติหลายสำนักแสดงภาพถ่ายอย่างชัดเจนถึงการมีตัวตน แต่สถานการณ์ยูเครนตะวันออกในขณะนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิง เกิดข้อสงสัยว่ามีกองกำลังรัสเซียอยู่จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในเชิงทฤษฎีมีความเป็นไปได้ว่ารัสเซียให้การสนับสนุน โดยเฉพาะด้านกระสุน กำลังบำรุง กลยุทธ์การรบ และการข่าวแก่ฝ่ายต่อต้านอย่างลับๆ

พรรคซีริซากลายเป็นพรรคฝ่ายซ้ายหน้าใหม่ที่ชนะการเลือกตั้งกวาดที่นั่งในสภาเกือบครึ่ง ได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศเป็นครั้งแรก ในช่วงหาเสียงอเล็กซิส ซีปราส หัวหน้าพรรคและขณะนี้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประกาศต้องการระงับมาตรการรัดเข็มขัด หลังชาวกรีกต้องทนทุกข์กับมาตรการดังกล่าวเกือบ 5 ปี แต่ยังไม่เห็นวี่แววว่ารัฐบาลจะสามารถแก้วิกฤต รัฐบาลซีปราสกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับทรอยกา ทางเลือกที่เป็นไปได้มี 3 ทาง แต่สุดท้ายจะเป็นทางใดเป็นเรื่องที่ควรติดตาม

เรื่องที่ต้องระวังยิ่งยวดคือกลายเป็นสงครามระหว่างมุสลิมกับคนที่ไม่ใช่มุสลิม ในระบอบประชาธิปไตยพลเมืองที่เป็นพวกยิวหรือมุสลิมต่างเป็นส่วนหนึ่งของ “บ้าน” หลังใหญ่ที่ชื่อว่าประเทศ บ้านที่อยู่ร่วมกันอย่างปรองดองเท่านั้นที่คนในบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ใช่เพื่อบางคนบางกลุ่มแต่เพื่อทุกคนที่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันนี้

ในช่วงปี 2000-07 รัฐบาลใช้เงินกู้จำนวนมหาศาล เศรษฐกิจเติบโตชั่วคราว จีดีพีเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 4.5 อัตราว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 7 ในปี 2008 แต่พบว่าการเก็บภาษีไม่ได้เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน ฐานะเศรษฐกิจของกลุ่มคนยากจนไม่ดีกว่าเดิมมากนัก หนี้สินภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การทุจริตคอร์รัปชันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาพบว่าเป็นต้นเหตุสำคัญพาประเทศสู่วิกฤต

การปล่อยให้ ชาร์ลีเอบโด ล้อเลียนซ้ำเป็นการยั่วยุหรือไม่
เมื่อพูดถึงการสกัดกั้นการแผ่ขยายของกลุ่มก่อการร้าย คำตอบคือ ต้องไม่ปล่อยให้ผู้ก่อการร้ายมีเงื่อนไขที่จะก่อเหตุ เราไม่อาจป้องกันเหตุก่อการร้ายทั้งหมด จึงต้องมุ่งลดความเสี่ยง จำกัดขอบเขตความสูญเสีย เสรีนิยมแบบตะวันตกมีข้อดีที่ให้เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่มีปัญหาเรื่องเสรีภาพที่ขัดแย้งกับความศรัทธาในศาสนา รัฐบาลที่ยึดมั่นในเสรีนิยมเช่นนี้จำต้องบริหารจัดการให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ไม่ใช่เอาน้ำมันราดกองไฟ เพราะจะก่อให้เกิดคำถามข้อสงสัยตามมาอีกหลายข้อ

กรณี “ชาร์ลีเอ็บโด” สังคมควรตั้งคำถามว่าผู้ก่อเหตุยิงสังหารกระทำตามหลักอิสลามหรือไม่ หรือว่าเป็นพวกบิดเบือนศาสนา เข้าใจหลักศาสนาผิดพลาด ในอีกด้านหนึ่ง การล้อเลียนโดยอ้างว่าเป็นเรื่องของการใช้เสรีภาพ ไม่ช่วยสร้างสรรค์สังคม เป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความแตกแยก ความเกลียดชัง เพราะเป็นที่รับรู้ทั่วไปอยู่แล้วว่าการลบหลู่อิสลามสร้างความแตกแยกในสังคม เป็นต้นเหตุความรุนแรง สังคมควรส่งเสริมพวกสุดโต่งเหล่านี้หรือไม่
---------------------
ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2014
รูเบิลอ่อนค่า สัมพันธ์ตะวันตกตึงเครียด และการแก้เกมของปูติน(2)
การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 5.5 เป็น 17 ปรับประมาณการเติบโตของจีดีพีจากบวกเป็นติดลบร้อยละ 5 เป็นเรื่องเหลือเชื่อ สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น สหรัฐกับอียูคว่ำบาตรรัสเซีย เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นตัว แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือราคาน้ำมันดิบโลกอ่อนตัว คืออ่อนตัวจากราคาปกติที่ระดับ 90 กว่าต่อดอลลาร์ต่อบาร์เรลมาเป็น 55 ดอลลาร์ต่อบาร์ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ราคาน้ำมันที่อ่อนตัวในลักษณะเช่นนี้ยิ่งเป็นเหตุการณ์ที่เหลือเชื่อ “ผิดปกติ” เป็นต้นเหตุให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่ารุนแรงในขณะนี้

สถานการณ์ในยูเครนสงบเรียบร้อยขึ้น แต่กลายเป็นต้นเหตุทำให้รัสเซียเผชิญหน้ากับสหรัฐและพันธมิตร รัฐบาลปูตินเชื่อว่าหากเดินเกมยืดเยื้อ ประชาชนยูเครนจะออกมาประท้วงคว่ำรัฐบาลโปโรเชนโก ฝ่ายตนจะเป็นผู้ได้ชัย ด้านสหรัฐกับพันธมิตรตอบโต้ด้วยการกดดันคว่ำบาตรรัสเซีย จนค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าอย่างรุนแรง กระทบเศรษฐกิจรัสเซีย

หลังจากที่สหรัฐกับพันธมิตรประกาศคว่ำบาตรรัสเซียหลายระลอก ตั้งแต่รัสเซียบุกไครเมีย จนถึงล่าสุดคือการเชื่อว่าเครื่องบินโดยสารมาเลเซีย เที่ยวบิน MH17 ถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยูเครนยิงตก โดยมีรัสเซียเป็นผู้ให้การหนุนหลัง คราวนี้รัสเซียเป็นฝ่ายประกาศคว่ำบาตรบ้าง โดยมุ่งสินค้าในหมวดเกษตร อาหาร วัตถุดิบ ข้อสังเกตคือการคว่ำบาตรที่ผ่านมาทั้งหมดมีผลในเชิงรูปธรรมน้อย มีเพียงตลาดทุนตลาดเงินที่แสดงการรับรู้มากที่สุด

เมื่อโซเวียตรัสเซียยิงเครื่องบินโดยสารของเกาหลีใต้ รัฐบาลโซเวียตเริ่มด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้ยิง เมื่อจนมุมด้วยหลักฐานจึงกล่าวหาว่าเป็นเครื่องบินจารกรรม ประธานาธิบดีเรแกนประณามว่า “เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” “เป็นพฤติกรรมอันป่าเถื่อน” ส่วนเมื่อสหรัฐยิงเครื่องบินโดยสารของอิหร่าน ประธานาธิบดีเรแกนกล่าวว่า ต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติมาตรฐาน ยิงเพื่อป้องกันตนเอง

แม้ว่าทุกวันนี้จะผ่านพ้นสงครามเย็นมานานแล้ว สิ่งหนึ่งที่สื่อชาติตะวันตกทำอย่างต่อเนื่องนับจากสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน คือ การโฆษณาชวนเชื่อ บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร หลอกหลวงประชาคมโลกอย่างเป็นระบบ ไม่ต่างจากทางการรัสเซียที่ยังใช้การโฆษณาชวนเชื่อเป็นเครื่องมือดังที่กระทำเรื่อยมา วิกฤตยูเครนในขณะนี้เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ต่างฝ่ายต่างพยายามช่วงชิงความได้เปรียบ โดยพยายามเปรียบเปรยให้นึกถึงสงครามเย็น ยุคที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน และพยายามดึงให้ประเทศอื่นๆ อยู่กับฝ่ายของตน

การเลือกตั้งหรือลงประชามติเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ประเทศยูเครนจะก้าวไปข้างหน้า (หรือมีปัญหามากกว่าเดิม) แต่การจะสร้างสังคมประเทศให้มีความสงบสุข ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ยังต้องอาศัยกระบวนการอีกมากมาย ที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม ยินดีจ่ายราคา ไม่ปล่อยให้ความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ ภาษาเป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแบ่งแยก ดึงเป็นฐานเสียง ดำเนินนโยบายต่างประเทศเป็นมิตรกับทั้งรัสเซียและชาติตะวันตก

หลังจากคำนวณผลได้ผลเสียแล้ว ชาติมหาอำนาจเห็นว่าการ “แช่งแข็ง” ความขัดแย้งยูเครน ไครเมีย จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด หากไม่มีเหตุการณ์ยั่วยุใดๆ ที่ร้ายแรงนับจากนี้ไปยูเครนจะสามารถบริหารประเทศภายใต้โครงการปฏิรูปของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดังนั้น การเข้าโครงการ IMF การใช้ระบบเศรษฐกิจที่อิงกลไกตลาดมากอาจเป็นปัจจัยสร้างผลกระทบทางการเมืองภายในยูเครนอีกครั้งในอนาคต

ถ้ามองในแง่ดี คือ กลุ่ม G7 ระมัดระวังไม่ให้สถานการณ์บานปลาย ไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจอย่างรุนแรง แต่ในอีกมุมหนึ่งอาจวิพากษ์ว่ากลุ่ม G7 เกรงว่ามาตรการคว่ำบาตรอย่างจริงจังจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของพวกตน ท้ายที่สุดแล้ว กรณียูเครนที่เป็นตัวอย่างล่าสุดที่เตือนใจองค์การระหว่างประเทศของประเทศเล็กๆ ทั้งหลายว่าจำต้องมีเอกภาพ ไม่สร้างเงื่อนไขให้ชาติมหาอำนาจเข้ามา “แบ่งแยกแล้วปกครอง”

ยูเครนได้รับเอกราชและเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยในสภาพที่ไม่มีการเตรียมตัวใดๆ นำสู่การบริหารประเทศที่ฝ่ายบริหารกับรัฐสภาเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจนโยบายสำคัญๆ โดยปราศจากระบบหรือกลไกควบคุม การล้มเหลวของรัฐบาลมือใหม่สร้างปัญหาเศรษฐกิจการเมืองก่อให้เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วที่ไม่อาจร่วมมือกันเพื่อสร้างชาติ กลายเป็นปัญหาซ้อนปัญหา การปกครองล้มเหลว


วิกฤตยูเครนเป็นมากกว่าเรื่องการเมืองภายในประเทศ การผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย แต่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์สหรัฐต่อรัสเซีย นโยบายขยายสมาชิกสู่ตะวันออกของนาโต อียู และยุทธศาสตร์รัฐกันชนของรัสเซีย การแก้ปัญหายูเครนที่ถูกจุดจึงเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ 

รัฐบาลรักษาการยูเครนดำเนินนโยบายที่อิงฝ่ายชาติตะวันตกอย่างเต็มที่ ใช้ข้ออ้างสารพัดเพื่อดึงให้ชาติตะวันตกเข้ามาปกป้องอธิปไตย ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ แน่นอนว่าชาติตะวันตกได้ประโยชน์จากการนี้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ฝ่ายที่ได้ประโยชน์แน่นอนคือพวกของอดีตนายกฯ ทีโมเชงโก ที่สามารถยืมมือชาติตะวันตกมาอยู่กับพวกตน

รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีปูติน ได้ควบคุมไครเมียและพร้อมส่งกองทัพข้ามพรมแดนไปยังฝั่งยูเครนตะวันออก เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลตะวันตกคาดการณ์มานานแล้ว เพราะในมุมมองของรัสเซียประเทศยูเครนเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านความมั่นคงที่สำคัญ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้จึงเป็นการให้บทเรียนแก่ชาติตะวันตก ว่ารัสเซียจะไม่ยอมปล่อยยูเครนให้อยู่ใต้อิทธิพลฝ่ายตะวันตกอย่างง่ายๆ และควรรู้ว่าอะไรคือ “เส้นต้องห้าม”

ยูเครนตั้งอยู่ในจุดภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ มีพรมแดนติดรัสเซีย และเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือรัสเซีย หากยูเครนเป็นสมาชิกนาโต ยูเครนอาจไม่ยอมให้รัสเซียเช่าฐานทัพเรือที่ไครเมียอีกต่อไป อีกทั้งนาโตอาจวางกองกำลังในยูเครนที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย ขณะนี้ รัสเซียอยู่ในฐานะได้เปรียบ เพราะอย่างน้อยได้ควบคุมไครเมียแล้ว ในขณะที่นาโตลังเลใจที่จะตอบโต้ด้วยการใช้กำลังทหาร

ชาวยุโรปร้อยละ 76 คิดว่าประเทศของตนมีการคอร์รัปชันอย่างกว้างขวาง วิกฤตการเงินเมื่อปี 2008 สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองยุโรป ทำให้สหภาพยุโรปเห็นว่าหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน  การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำต้องอาศัยความร่วมมือจากชาติสมาชิกทั้งหมด และหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จำต้องแก้ไขควบคู่คือปัญหาคอร์รัปชันที่ต้องดำเนินควบคู่กับการพัฒนาด้านอื่นทั้งหมด

ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2012- 13
ภาวะผู้นำของเยอรมนีกับการต่อต้าน NSA
ในยามที่การสอดแนม การจารกรรมจาก NSA กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั่วโลก คุณอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมันได้ประกาศนโยบายต่อต้านการสอดแนมอันเกินกว่าเหตุ ด้วยการริเริ่มและการดำเนินอย่างจริงจัง ทำให้อีกหลายประเทศทั่วโลกต่างเข้ามาประสานพลัง ต่อต้านการสอดแนมจาก NSA และได้เห็นแบบอย่างภาวะผู้นำโลกของเยอรมนีในหลายด้าน

อนาคตแบร์ลุสโกนี อนาคตการเมืองอิตาลี
นายแบร์ลุสโกนี อดีตนายกรัฐมนตรีสี่สมัยของอิตาลี กำลังถูกพิจารณาถอดถอนจากตำแหน่งวุฒิสมาชิก หลังจากที่ศาลสูงพิพากษาว่าเขามีความผิดในคดีฉ้อโกงภาษี เหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นจุดเริ่มให้นายแบร์ลุสโกนีในวัย 76 ปีได้เวลาวางมือทางการเมือง พร้อมกับการเมืองอิตาลีที่กำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กระเทือนทั้งอิตาลีและสหภาพยุโรป

คดีทุจริตกล่าวหามาเรียโนราโคย นายกรัฐมนตรีสเปน
นายมารีโน ราโคย นายกรัฐมนตรีสเปนกับแกนนำพรรคหลายคนกำลังถูกกล่าวหาว่ารับเงินใต้โต๊ะจากบริษัทเอกชนเพื่อแลกกับการได้โครงการก่อสร้างของรัฐ อนุมัติโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่านายกรัฐมนตรีราโคยกับพวกจะถูกตัดสินใจว่าถูกหรือผิด ข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครปฏิเสธคือสเปนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคอร์รัปชันสูง และกลายเป็นต้นเหตุหนึ่งของวิกฤตเศรษฐกิจที่จนถึงวันนี้ยังแก้ไม่ได้

การเมืองอิตาลีมาถึงทางตันเมื่อไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีกับแกนนำพรรคการเมืองพยายามหาทางออก อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือ จัดเลือกตั้งใหม่โดยพรรคใหญ่เสนอนโยบายประนีประนอมที่ผ่านการปรึกษากับพรรคคู่แข่งแล้วว่ายินดีเข้าร่วมรัฐบาลด้วยหากพรรคใหญ่นั้นชนะการเลือกตั้ง

สถานการณ์ไซปรัสคือวิกฤตการเงินที่รัฐบาลไซปรัสกับทรอยกาขัดแย้งในวิธีแก้ไข รัฐบาลพยายามจะแก้โดยไม่ให้กระทบต่อผู้ฝากเงิน พยายามรักษากิจการรับเงินฝากต่างชาติ ในขณะที่ทรอยกาต้องการฉวยโอกาสนี้ปรับโครงสร้างระบบธนาคารไซปรัส ทางออกสุดท้ายยังอยู่ระหว่างการเจรจา

ภาวะชะงักงันทางการเมืองและแนวนโยบายเศรษฐกิจของอิตาลี
สถานการณ์ที่ยากจะจัดตั้งรัฐบาลเป็นภาวะชะงักงันทางการเมืองว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ และหากจัดตั้งได้นโยบายเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร

ฟร็องซัว ออล็องด์ กับความจริงที่ต้องเผชิญ
สภาพที่เศรษฐกิจโตน้อย ขาดดุลมาก อัตราคนว่างงานพุ่งสูง คือความจริงสามข้อแรกที่ประธานาธิบดีออล็องด์ต้องเผชิญ

มาเรียโน ราโคยถูกร้องข้อหาคอร์รัปชั่น
สื่อสเปนตีแผ่เอกสารลับแสดงข้อมูลว่านายกรัฐมนตรีราโคยได้รับเงินลับๆ กว่า 332,000ยูโรช่วงระหว่างปี 1987-2008

คนหนุ่มสาวตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจสเปน
ข้อมูลล่าสุดอัตราคนว่างงานในสเปนมีมากถึงร้อยละ 26 ในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 55.13 คือคนหนุ่มสาวผู้มีอายุระหว่าง16-25 ปี

ก้าวย่างที่ถอยห่างออกจากอียูของเดวิด คาเมรอน
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด คาเมรอน สัญญาจะจัดทำประชามติภายในสิ้นปี

ผลการเลือกตั้งครั้งหน้าจะช่วยคาดเดาว่าอิตาลีจะเป็นตัวปัญหาของกลุ่มอียูโซนรายต่อไปหรือไม่ ยิ่งคิดยิ่งเห็นความสำคัญ

โดยวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับสังคมสเปนโดยรวม ชาวสเปนในแคว้นคาตาโลเนียหรือชาวคาตาลันจึงไม่ค่อยรู้สึกว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศแม่ของตัวเอง

เรื่องนี้อาจเป็นเพียงการช่วงชิงอำนาจการเมืองท้องถิ่น/การเลือกตั้งของแคว้น แต่ตราบใดที่เรื่องยังไม่สงบ ย่อมสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจสเปน ต่อยูโรโซน ไม่มากก็น้อย

รัฐบาลกรีซขอผ่อนคลายมาตรการรัดเข็มขัดออกไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากที่เศรษฐกิจประเทศถดถอยสู่ปีที่ 5 ประชาชนเกือบ 1 ใน 4 อยู่ในภาวะว่างงาน คำถามคือ กลุ่มเจ้าหนี้ troika จะยอมหรือไม่

สิ่งที่เราควรคาดหวังคือมาตรการกระตุ้นมีเพื่อสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจ ส่งผลดีต่อการเมือง สังคมในระยะยาว เป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน แก้ไขปัญหาโดยไม่ทำลายรากฐานสังคม

นายดร้ากี้จึงทำได้เพียงพูดให้เกิด ‘ความเชื่อ’ เพื่อที่จะ ‘หวัง’ หรือ ‘ฝัน’ กันต่อไป แต่ที่สุดแล้ว บรรดาชาติสมาชิกยูโรโซนจะต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

คำพูดของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะกระทำทุกอย่างเพื่อรักษาเสถียรภาพของยูโรโซนได้สร้างความเชื่อมั่น ทำให้ตลาดที่กำลังหวั่นไหว เกิดความมั่นคงในจิตใจขึ้นมาทันที

อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสเปนที่ขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นแรงกดดันให้ ECB ต้องตัดสินใจใช้มาตรการที่เฉียบขาดพอเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนสู่ตลาดเงินยุโรป

ผู้คนจำนวนไม่น้อยทั่วโลกต่างโล่งใจกับข่าวเลือกตั้งกรีซ เพราะพรรค New Democracy ที่ยึดมั่นแนวทางของกลุ่มยูโรโซนได้คะแนนนำเป็นอันดับหนึ่งและเชื่อว่าจะสามารถจัดตั้ง ‘รัฐบาลใหม่

10 มิถุนายน เป็นวันดีของรัฐบาลสเปน เมื่อ 17 ชาติสมาชิกยูโรโซนอนุมัติเงินช่วยเหลือ 100 พันล้านยูโรเพื่ออัดฉีดเข้าไปในธนาคารพาณิชย์หลายแห่งของสเปน
------------------