ไม่ว่ายุโรปจริงใจหรือเล่นเกม
โครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่าน การคว่ำบาตร การทำการค้ากับอิหร่านจะเป็นเรื่องที่ยึดโยงกับยุโรปอีกนาน
สะท้อนบทบาท ท่าทีของยุโรปในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่อต้านอิหร่านกับรัฐบาลอิหร่านอธิบายได้จากหลายจุด
อาจเริ่มต้นที่ปฏิวัติอิหร่าน 1979 หากพูดในกรอบแคบคือความกังวลต่อโครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่าน
รัฐบาลสหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านโดยอ้างประเด็นนี้ แนวคิดเลิกโครงการนิวเคลียร์ (อนุญาตให้ใช้เพื่อสันติเท่านั้น)
แลกกับยุติการคว่ำบาตรจึงเกิดขึ้น เกิดกลุ่มเจรจา P5+1
หรือ E3+3 (ฝ่ายสหภาพยุโรป 3 ประเทศอันได้แก่ สหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศสและเยอรมนี กับสหรัฐ รัสเซียและจีน) จนได้ข้อตกลงนิวเคลียร์
Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) เมื่อกรกฎาคม 2015 โดย P5+1 เป็นคู่สัญญา
บรรณานุกรม :
1. EU Allied with Trump Regime Sanctions on Iran. (2019, July 3). Pravda. Retrieved from http://www.pravdareport.com/world/142488-eu_us_iran/
ประธานาธิบดีโรฮานีถึงกับกล่าวว่าสถานการณ์อิหร่าน “เข้าสู่บทใหม่แล้ว” การยกเลิกคว่ำบาตรเป็นจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ
เป็นยุคทองของอิหร่าน “เป็นโอกาสพัฒนาประเทศ ปรับปรุงสวัสดิการ
สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงแก่ภูมิภาค” ด้วยความหวังฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมจากการขายน้ำมัน
ฟื้นค่าเงิน ลดอัตราเงินเฟ้อ แก้ปัญหาคนว่างงานที่สูงกว่า 3,300,000 คนในขณะนั้น
สหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศสและเยอรมนี (อาจถือว่าในนามอียู/ยุโรป) จึงมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ต้น คาดหวังทั้งเรื่องความมั่นคงภูมิภาคและเป็นโอกาสที่นักธุรกิจอียูจะลงทุนในอิหร่าน
ทรัมป์คว่ำบาตรอิหร่าน เตือนอียู :
สถานการณ์พลิกผันเมื่อทรัมป์จากรีพับลิกันชนะเลือกตั้ง ล้มข้อตกลงนิวเคลียร์เพียงฝ่ายเดียว
พร้อมกับออกมาตรการคว่ำบาตรหลายชุดตามนโยบายกดดันสุดขีด (maximum pressure) หนึ่งใน นโยบายที่รุนแรงสุดคือขู่คว่ำบาตรบริษัทเอกชนทุกชาติที่ทำธุรกิจกับอิหร่าน
และห้ามประเทศใดๆ ซื้อน้ำมันอิหร่านเด็ดขาด แม้กระทั่งประเทศที่เดิมได้รับการผ่อนผัน
หลายประเทศที่เคยได้รับสิทธิพิเศษจึงระงับหรือลดการซื้อทันที
ในอีกด้านหนึ่งรัฐบาลทรัมป์เตือนอียูหากคิดช่วยอิหร่านหลบรอดการคว่ำบาตร
เตือนว่าอาจเป็นเป้าการลงโทษจากสหรัฐเช่นกัน ทำลายความสัมพันธ์ที่มีอยู่ เป็นคำเตือนสั้นๆ
ว่าจะเลือกอยู่ฝ่ายอิหร่านหรือสหรัฐ ทั้งยังเรียกร้องให้ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ด้วย
ถ้ามองจากมุมอียู
ผลประโยชน์ระหว่างสหรัฐกับยุโรป (อียู) นั้นมหาศาล อียูต้องการรักษาสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐเช่นเดียวกับที่ต้องการสัมพันธ์กับอิหร่าน
แต่จะทำอย่างไร
ท่าทีอียูกับอิหร่าน :
ท่ามกลางนโยบายต้านอิหร่านของทรัมป์
ชาติอียูยืนยันคำสัญญาต่ออิหร่าน ประธานาธิบดีเอมมานูแอล มาครง (Emmanuel
Macron) กล่าวว่าฝรั่งเศสจะทำให้อิหร่านได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจตามข้อตกลงนิวเคลียร์
แต่สิ่งที่อิหร่านต้องการไม่ใช่คำหวาน คำสัญญาลมๆ แล้งๆ
อิหร่านต้องการสิ่งที่เป็นรูปธรรมตามคำมั่นสัญญาที่ทำกันไว้
7
กรกฎาคม อิหร่านเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมถึงระดับร้อยละ 4.5 เกินกำหนดที่ตั้งไว้ที่
3.67 หลังครบกำหนดเส้นตาย 60 วันให้ยุโรปใช้ระบบชำระเงินช่องทางใหม่ ยืนยันว่าเป็นยุทธศาสตร์ของตนที่จะทยอยละเมิดข้อตกลงนิวเคลียร์
เพื่อตอบโต้คู่สัญญาที่ไม่รักษาสัญญาก่อน ข้อตกลง JCPOA
เปิดช่องให้ทำเช่นนี้ อิหร่านให้โอกาสแก่ยุโรป 1 ปีแล้วเพื่อแก้ไขสถานการณ์
ต้องตระหนักว่าเหตุผลหลักที่อิหร่านยอมทำข้อตกนิวเคลียร์เพราะหวังยุติมาตรการคว่ำบาตรอันเนื่องจากนิวเคลียร์
รวมถึงการที่บริษัทเอกชนทั่วไปสามารถทำธุรกิจกับอิหร่าน
เมื่อรัฐบาลทรัมป์เลิกข้อตกลงฝ่ายเดียว อียูหาทางออกด้วยการสร้างระบบการชำระเงินใหม่
เพื่อสามารถทำธุรกิจต่อกันโดยไม่ผ่านระบบการเงินโลกที่รัฐบาลสหรัฐมีอิทธิพลควบคุม
(ระบบเดิมที่ชื่อว่า SWIFT)
รัฐบาลอิหร่านประกาศท่าทีอย่างชัดเจนว่าจะยังคงยึดมั่นข้อตกลงนิวเคลียร์ตราบเท่าที่ยุโรปทำตามข้อตกลงด้วย
ความเป็นไปของโครงการนิวเคลียร์อิหร่านจึงขึ้นกับอียูโดยตรง
ระบบชำระเงิน INSTEX
กับหลายมุมมอง :
ปลายเดือนมกราคม
2019 เยอรมัน อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศว่าได้สร้างการชำระเงินกับอิหร่านแล้ว
เป็นระบบธุรกรรมการเงินใหม่ที่รัฐบาลสหรัฐไม่สามารถแทรกแซง ระบนนี้มีชื่อว่า INSTEX
(Instrument in Support of Trade Exchanges)
สำนักงานใหญ่จะตั้งอยู่ในกรุงปารีส บริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมัน
และสหราชอาณาจักรทำหน้าที่ตรวจสอบ
ระบบนี้เริ่มทำงานแล้วแต่ปัญหาอย่างหนึ่งของ INSTEX ในขณะนี้คือ
อนุญาตให้ซื้อขายเฉพาะยาและเวชภัณฑ์ อาหาร สินค้าที่ไม่อยู่ในรายการคว่ำบาตร ฝ่ายยุโรปป้อนคำหวานว่าในอนาคตอาจขยายกลุ่มสินค้า
แต่อิหร่านต้องการมากกว่านั้น
เพราะที่คาดหวังแต่เดิมคือการทำธุรกิจทั่วไปเหมือนนานาประเทศ และต้องนำเข้าน้ำมันอิหร่านทันที
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าแท้จริงแล้วอียู (โดยเฉพาะสหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศสและเยอรมัน) ไม่จริงใจรักษาข้อตกลงนิวเคลียร์
สิ่งที่กำลังทำขณะนี้คือเสแสร้งว่าต้องการให้ข้อตกลงนิวเคลียร์คงอยู่ต่อไปพร้อมกับการคว่ำบาตร
(เท่ากับอิหร่านเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ แต่ไม่ได้อะไรกลับมา)
มีคำถามว่าฝ่ายอียูได้คิดล่วงหน้าหรือได้คำเตือนล่วงหน้าแล้วว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่ยอมให้อิหร่านฟื้นตัว
เป็นที่มาของคำถามว่าอียูตั้งใช้ INSTEX จริง หรือเป็นเพียงฉากละครเพื่อถ่วงเวลา
ถ้ามองจากมุมอิหร่าน
การนำเข้าน้ำมันอิหร่าน การที่นักลงทุนยุโรปกลับเข้าไปทำธุรกิจกับอิหร่านอีกครั้งจะเป็นดัชนีสำคัญชี้วัดว่ายุโรปจริงใจหรือไม่
หรืออาจตีความอียูเป็นอิสระจากสหรัฐมากน้อยเพียงไร
ถ้ายึดนโยบายที่ทรัมป์เคยประกาศว่าห้ามบริษัทเอกชนใดๆ
ทั่วโลกทำธุรกิจกับอิหร่าน หาไม่แล้วอาจโดนสหรัฐคว่ำบาตรด้วย ต่อให้มีระบบชำระเงินใหม่จริง
บริษัทเอกชนทุกประเทศทั่วโลกที่ทำธุรกิจกับอิหร่านยังเสี่ยงตกเป็นเป้าการคว่ำบาตรจากรัฐบาลสหรัฐ
เป็นประเด็นที่บริษัทเอกชนจะต้องตัดสินใจเองว่าจะเสี่ยงทำธุรกิจกับอิหร่านหรือไม่
อีกมุมมองหนึ่งคือ
แม้ระบบชำระเงินแบบใหม่ INSTEX จำกัดกรอบว่าเกี่ยวข้องกับการรักษาข้อตกลงนิวเคลียร์
อีกมุมมองคือการริเริ่มวางระบบการเงินใหม่ที่ปลอดอิทธิพลรัฐบาลสหรัฐ เป็นการลดทอนอิทธิพลการเงินการธนาคารโลกที่สหรัฐครองเรื่อยมาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่
2 หรือเริ่มยุคสงครามเย็น
พูดอีกอย่างคือตัดสหรัฐออกจากระบบ
เป็นระบบการเงินใหม่ที่โดดเดี่ยวอเมริกา สหรัฐกำลังโดนเล่นงานด้วยยุทธศาสตร์ปิดล้อม
เป็นไปได้ว่าในอนาคตจะมีอีกหลายประเทศเข้าร่วม
เช่น รัสเซีย จีน อินเดีย และคงจะทยอยตามมาอีก บั่นทอนยุทธศาสตร์ปิดล้อมของสหรัฐที่ใช้กับหลายประเทศ
สั่นคลอนความมั่นคงของระบบธนาคารอเมริกา
จึงเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของอียู
สรุป :
ก่อนหน้านี้ IAEA
รวมทั้งคู่สัญญาข้อตกลงนิวเคลียร์ต่างรับรองว่าอิหร่านปลอดอาวุธนิวเคลียร์ (ก่อนอิหร่านเริ่มละเมิดสัญญาบ้าง)
แต่รัฐบาลทรัมป์ทำลายข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ทำไว้ในสมัยโอบามา ดำเนินนโยบายคว่ำบาตรอย่างหนัก
พร้อมกับขู่นานาชาติ บริษัทเอกชนทั่วโลกให้ร่วมคว่ำบาตรด้วย เป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ
สิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
คำถามคือรัฐบาลอียูคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร
สามารถดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระจากรัฐบาลสหรัฐได้มากน้อยแค่ไหน คำสัญญาที่ให้กับอิหร่านมาจากความจริงใจหรือเป็นเทคนิคเอาตัวรอดไปวันๆ
ของอียู
อียูจะต้องเลือกสหรัฐหรืออิหร่าน
จุดสมดุลอยู่ที่ใด
ล่าสุด อิหร่านให้เวลาแก่ยุโรปเพิ่มอีก
60 วัน (นับจาก 7 กรกฎาคม)
หากอียูยังไม่ทำตามสัญญา อิหร่านจะดำเนินการขั้นต่อไป ทางออกขึ้นอยู่กับอียูเท่านั้น
จะเป็นเวลาที่อียูต้องให้คำตอบอีกครั้ง
14 กรกฎาคม
2019
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก”
ไทยโพสต์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 8274 วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2562)
----------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
นาโตไม่แตกแม้ 2 ฝั่งแอตแลนติกขัดแย้ง
การปล่อยให้นาโตแตกไม่ใช่เรื่องที่ผู้นำประเทศจะตัดสินใจได้โดยลำพัง
แม้มีความขัดแย้งมากบ้างน้อยบ้าง ไม่มีฝ่ายใดปล่อยให้นาโตแตก เพราะต่างได้ผลประโยชน์มากมายจากนาโต
ระเบียบโลกเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา
ประเด็นอยู่ที่ทำอย่างไรจะเรียนรู้เท่าทันและได้ประโยชน์ อียูกำลังใช้โอกาสช่วงนี้ถอยห่างจากรัฐบาลสหรัฐ
กำหนดวาระของตนเอง เป็นตัวแปรสำคัญของโลกอนาคต
1. EU Allied with Trump Regime Sanctions on Iran. (2019, July 3). Pravda. Retrieved from http://www.pravdareport.com/world/142488-eu_us_iran/
2. Germany, France, UK to Set Up EU Channel for Transactions
With Iran - Reports. (2019, January 31). Sputnik News. Retrieved from
https://sputniknews.com/business/201901311071986252-france-germany-britain-iran-transactions/
3. Iran’s uranium enrichment degree reaches 4.5 percent. (2019,
July 8). Tehran Times. Retrieved from https://www.tehrantimes.com/news/437887/Iran-s-uranium-enrichment-degree-reaches-4-5-percent
4. JCPOA goes into force; Rouhani says new chapter opens
with the world. (2015, January 17). Tehran Times. Retrieved from
http://www.tehrantimes.com/index_View.asp?code=252269
5. Macron says France will try to make sure Iran receive
‘economic advantages’ of nuclear deal. (2019, July 2). Tehran Times.
Retrieved from https://www.tehrantimes.com/news/437674/Macron-says-France-will-try-to-make-sure-Iran-receive-economic
6. Reducing nuclear commitments is Iran’s ‘unchangeable
strategy’, Shamkhani tells French envoy. (2019, July 10). Tehran
Times. Retrieved from https://www.tehrantimes.com/news/437972/Reducing-nuclear-commitments-is-Iran-s-unchangeable-strategy
7. Rohani vows to bring moderation to the country. (2013,
May 28). Tehran Times. Retrieved from http://www.tehrantimes.com/politics/108120-rohani-vows-to-bring-moderation-to-the-country-
8. Salehi: EU better launch SPV before it is too late.
(2019, January 27). Tehran Times. Retrieved from
https://www.tehrantimes.com/news/432354/Salehi-EU-better-launch-SPV-before-it-is-too-late
9. Trump warns Europeans not to try to evade Iran sanctions.
(2019, January 28). Al Arabiya. Retrieved from
https://english.alarabiya.net/en/News/world/2019/01/28/Trump-warns-Europeans-not-to-try-to-evade-Iran-sanctions.html
10. US differences with Europe get full airing at Munich
meet. (2019, February 16) The National. Retrieved from https://www.thenational.ae/world/europe/us-differences-with-europe-get-full-airing-at-munich-meet-1.826541
11. Zarif says Iran’s commitment to JCPOA will be
commensurate to Europeans’. (2019, July 3). Tehran
Times. Retrieved from https://www.tehrantimes.com/news/437699/Zarif-says-Iran-s-commitment-to-JCPOA-will-be-commensurate-to
-----------------------------