“One
World 05-03-57 สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
ทำไมรัสเซียถึงต้องแทรกแซงไครเมีย ?”
เนชั่น
แชนเนล วันที่ 5 มีนาคม 2014, http://www.nationchannel.com/main/programs/One_World/20140305/378397610/#
1. คำถาม
การที่รัสเซียบุกไครเมียถือเป็นการละเมิดอธิปไตยหรือไม่
ประธานาธิบดีบารัก
โอบามากับนาโต กล่าวหาว่าการที่รัสเซียส่งทหารเข้าควบคุมไครเมีย เป็นการละเมิดอธิปไตย
แต่ทางการรัสเซียอ้างว่า เป็นการปกป้องพลเรือนเชื้อสายรัสเซีย และมีเอกสารว่านายวิคเตอร์
ยานูโควิช ประธานาธิบดียูเครน ขอให้รัสเซียเข้าแทรกแซง
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สามารถถกเถียงกันได้
เนื่องจากไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีเหตุร้ายรุนแรงในไครเมีย
อีกทั้งเกิดคำถามว่าทำไมประธานาธิบดียานูโควิชจึงไม่อาศัยกำลังเจ้าหน้าที่ของยูเครน
รัสเซียอ้างว่าต้องเข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องพลเรือนยูเครนเชื้อสายรัสเซีย
แต่เหตุผลลึกๆ คือ ยูเครนตั้งอยู่ในจุดภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ มีพรมแดนติดรัสเซีย
และเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือรัสเซีย เป็นที่ตั้งของกองเรือทะเลดำ (Black
Sea Fleet) ที่เซวาสโตโพล (Sevastopol)
ที่รัสเซียขอเช่าพื้นที่จากยูเครน
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
องค์การนาโตพยายามดึงยูเครนเข้ามาเป็นพวก ในขณะที่รัสเซียพยายามขัดขวางเต็มที่
หากยูเครนใกล้ชิดกับชาติตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ
ในอนาคตยูเครนน่าจะถูกดึงเข้าเป็นสมาชิกนาโต เมื่อยูเครนกลายเป็นสมาชิกนาโต
ย่อมเปิดโอกาสให้กองทัพเรือนาโตมาป้วนเปี้ยนใกล้ฐานทัพเรือรัสเซียที่ไครเมีย และที่สำคัญคือ
เมื่อยูเครนเป็นสมาชิกนาโต
ยูเครนอาจไม่ยอมให้รัสเซียเช่าฐานทัพเรือที่ไครเมียอีกต่อไป
ซึ่งจะกระทบต่อพลังอำนาจทางทะเล กระทบต่อความมั่นคงทางทหารของรัสเซีย
อีกทั้งนาโตอาจวางกองกำลังในยูเครนที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย
3. คำถาม มีการมองว่าสหรัฐฯ
เป็นผู้ร้ายในเหตุการณ์นี้
การอธิบายเรื่องนี้ควรกลับไปมองว่า
ประเทศยูเครนในปัจจุบัน สามารถแบ่งง่ายๆ ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ยูเครนตะวันตกกับยูเครนตะวันออก
พลเมืองยูเครนตะวันตก
ต้องการมีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ในขณะที่ยูเครนตะวันออก
ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายรัสเซีย ต้องการใกล้ชิดกับรัสเซีย
การที่ประชาชนยูเครนแยกออกเป็น
2 ฝ่าย ทำให้การเมืองยูเครนแยกออกเป็น 2 ฝ่ายด้วย รัฐบาลของนายวิคเตอร์ ยานูโควิช
อยู่ฝ่ายรัสเซีย ในขณะที่พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ใกล้ชิดกับชาติตะวันตก
สหรัฐฯ
นาโต จะยึดว่ากองกำลังรัสเซียที่บุกไครเมีย เป็นการละเมิดอธิปไตย
ส่วนทางการรัสเซียจะอ้างว่า
เข้าไปปกป้องคนเชื้อสายรัสเซียในยูเครน และประธานาธิบดียูเครน นายวิคเตอร์
ยานูโควิช เป็นคนร้องขอให้รัสเซียแทรกแซง
ทั้งสหรัฐฯ
กับรัสเซียอยากได้ยูเครนเข้ามาเป็นพวก ดังเหตุผลเรื่องจุดยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
4. เป็นสงครามเย็นครั้งใหม่หรือไม่
ในทางวิชาการ
เวลาพูดถึงยุคสงครามเย็น หมายถึง ยุคการแข่งขันช่วงชิง ยุคการต่อสู้ระหว่าง 2 ค่าย
ที่มีอุดมการณ์การเมืองแตกต่างกัน คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพวกเสรีนิยมประชาธิปไตย
ที่มีสหรัฐฯ เป็นแกนนำ กับอีกฝ่ายคือค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ที่มีอดีตสหภาพโซเวียต หรือรัสเซียในปัจจุบันเป็นแกนนำ
แต่ในขณะนี้
รัสเซียไม่เป็นสังคมนิยมอีกแล้ว ดังนั้น จึงไม่ควรเรียกกว่าสงครามเย็น
ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ
หรือชาติตะวันตกกับรัสเซียในปัจจุบัน เป็นเรื่องของการแข่งขันระหว่าง 2
ชาติมหาอำนาจ ที่ต่างก็ช่วงชิงผลประโยชน์ ที่ชาติตะวันตก
ต้องการให้ยูเครนมาอยู่ฝั่งเดียวกับพวกตน
ในขณะที่รัสเซียก็พยายามยื้อให้ยูเครนอยู่กับรัสเซียเหมือนกัน
5. คาดการณ์อนาคต สถานการณ์จะยืดเยื้อหรือไม่
คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างเร็วปลายเดือนนี้
หรือต้องข้ามไปต้นเดือนหน้า
เนื่องจากต้องรอให้เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ศึกษาสถานการณ์การเงินการคลังของยูเครนก่อน
ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในการกลางเดือนนี้ เพื่อชาติตะวันตกจะได้ประเมินเรื่องความช่วยเหลือ
หากคิดจะยื่นมือเข้าช่วยเหลืออย่างจริงจัง เป็นเรื่องที่ต้องประเมินผลได้ผลเสีย
จากนั้นนาโตจะต้องประชุม
เพื่อกำหนดท่าทีร่วมกัน ว่าจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้อย่างไร
แล้วค่อยเจรจากับรัสเซียอีกครั้ง
ขณะนี้
รัสเซียอยู่ในฐานะได้เปรียบ เพราะอย่างน้อยได้ควบคุมไครเมียแล้ว และพร้อมที่จะใช้กำลังบุกเข้ายูเครนตะวันออก
ในขณะที่นาโตกับสหรัฐฯ
ประกาศว่ารัสเซียละเมิดอธิปไตยยูเครน แต่ลังเลใจที่จะตอบโต้ด้วยการใช้กำลังทหาร
ข้อเสนอของรัสเซีย คือ ให้มีการจัดเลือกตั้งประธานาธิบดี คือใช้การเลือกตั้งเป็นตัวตัดสินว่าคนยูเครนอยากได้รัฐบาลที่ใกล้ชิดตะวันตกหรือรัสเซีย
เป็นเรื่องที่ฝ่ายตะวันตกจะต้องประเมินผลได้ผลเสีย
เพื่อให้เสียหน้าน้อยที่สุด
5 มีนาคม 2014
ชาญชัย คุ้มปัญญา