เป็นไปได้ว่าเฟส 3 ของรัสเซียคือลากสงครามให้ยาวไปถึงฤดูหนาว (ฤดูหนาวยุโรปคือเดือนธันวาคม-ต้นมีนาคม) เพื่อให้ผลกระทบสงครามไฮบริดเกิดแรงสุดกับฝ่ายตรงข้าม
บทความนี้ผู้เขียนวิเคราะห์และแสดงความเห็นส่วนตัวดังนี้
การรบเฟส 1 :
กองทัพรัสเซียบุกเข้ายูเครนเมื่อ 24
กุมภาพันธ์ ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาเริ่มมีการเจรจาหยุดยิง เกิดการเจรจาหลายรอบ
ปลายเดือนมีนาคมได้ข้อสรุปว่ายูเครนจะไม่เข้าร่วมนาโต
ทั้งนี้ยูเครนจะได้รับประกันความมั่นคง โดยทำเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
มีผู้ค้ำประกันหลายชาติ เช่น อังกฤษ จีน สหรัฐฯ ตุรเคีย ฝรั่งเศส แต่จะมีผลบังคับใช้จริงเมื่อยูเครนผ่านประชามติเรื่องดังกล่าว
และรัฐสภาของทั้ง 2 ประเทศรับรอง
ส่วนประเด็นสถานะของไครเมียกับรัฐ
Luhansk People's Republic และ Donetsk People's Republic จะต้องหารือต่อไป
ความเป็นกลางของยูเครนยังรวมถึงไม่มีอาวุธนิวเคลียร์
ไม่เป็นที่ตั้งฐานทัพของต่างชาติ ไม่เข้ากลุ่มร่วมมือทางทหารกับกลุ่มใดๆ
ผลการเจรจารอบนี้ส่อแววว่าสงครามอาจยุติ
แต่แล้วรัฐบาลเซเลนสกีเปลี่ยนท่าทีไม่ยอมรับเงื่อนไขที่วางไว้เมื่อปลายเดือนมีนาคม
เป็นอันจบสิ้นเฟส 1
การรบเฟส 2 :
เนื่องจากการเจรจาปลายเดือนมีนาล้มเหลว
สงครามจึงดำเนินต่ออีกราว 6 เดือน กองทัพรัสเซียค่อยๆ ยึดครองพื้นที่ เข้ากวาดล้างกองกำลังที่เหลืออยู่ในพื้นที่
ทั้ง 2 ฝ่ายผลัดกันรุกรบ
รวมความแล้ว 7 เดือนหลังกองทัพรัสเซียบุกยูเครนได้ยึดครองพื้นที่บางส่วนแถบภาคตะวันออกกับภายใต้ยูเครน
รัสเซียเริ่มกระบวนการผนวกดินแดนยูเครนบางส่วนเป็นของตน
ผลการหยั่งเสียงล่าสุดประชากร 98% ของโดเนตสค์ (Donetsk) 98% ลูฮันสค์ (Luhansk) 93% จากซาโปริซเซีย (Zaporozhye)
และ 87% เคอร์ซอน (Kherson) สนับสนุนการรวมกับรัสเซีย
ท้ายที่สุด 4
เขตเหล่านี้จะเป็นของรัสเซีย เหมือนที่รัสเซียผนวกไครเมียเมื่อปี 2014 สังเกตว่าประวัติศาสตร์กำลังซ้ำร้อย
Vyacheslav Volodin โฆษกรัฐสภารัสเซียกล่าวว่ารัสเซียจะไม่เจรจากับผู้ก่อการร้าย รัฐบาลปูตินตีตราว่ารัฐบาลยูเครนเป็นผู้ก่อการ้ายหลังก่อเหตุวินาศกรรมสะพานข้ามไครเมีย
วิเคราะห์ : ตีความได้ว่ารัฐบาลเซเลนสกีต้องจากไป เกิดรัฐบาลใหม่ที่วางตัวเป็นกลางเพื่อยุติศึก
ส่วนจะคืนดินแดนที่ยึดครองหรือไม่ขึ้นอยู่การเจรจา – ปูตินอาจไม่คืนแล้ว
#สงครามยูเครน
วิเคราะห์ :
1. เมื่อเจรจาไม่สำเร็จก็ต้องรบต่อไป
ความเข้าใจที่สำคัญคือเดือนแรกที่เกิดสงคราม
การเจรจาก็เริ่มเกิดแล้ว และมีการเจรจาทั้งแบบเปิดเผยกับปิดลับหลายรอบ แต่เมื่อการเจรจาไม่ได้ข้อยุติ
การรบย่อมต้องดำเนินต่อไป รัฐบาลเซเลนสกีประกาศขอทำสงครามต่อ
มั่นใจว่าจะได้ชัยชนะ พร้อมกับที่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกให้อาวุธเครื่องกระสุน
งบประมาณสนับสนุนเป็นระยะ
เป้าหมายของรัสเซียที่ประกาศตั้งแต่ต้นว่ายูเครนต้องไม่เข้าร่วมนาโตเป็นอันล้มเหลวด้วย
2.
เป้าหมายเฟส 2 คือผนวกดินแดน
เมื่อการเจรจาไม่ได้ข้อยุติ
สงครามย่อมต้องดำเนินต่อไป ทั้งยูเครนกับรัสเซียต่างสู้ไม่ถอย คราวนี้รัสเซียดำเนินเฟส
2 คือ ผนวกดินแดน 4 เขตมาเป็นของตน เรื่องนี้ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่สงครามคือสงครามการยึดครองพื้นที่อีกฝ่ายเป็นเรื่องปกติ
การเสียชีวิตล้มตายย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อนี้ทั้งปูตินกับเซเลนสกีรับรู้ตั้งแต่ต้นว่าผลของสงครามเป็นอย่างไร
สังเกตว่าฝ่ายนาโตประกาศตั้งแต่ต้นว่าจะไม่ส่งทหารเข้าปะทะโดยตรง
เพื่อหลีกเลี่ยงทหารนาโตบาดเจ็บล้มตายนั่นเอง สงครามยูเครนจึงสังหารเฉพาะคนยูเครนกับรัสเซียนับหมื่นนับแสน
การประกาศรัฐบาลเซเลนสกีเป็นรัฐบาลก่อการร้าย (หลังเหตุวินาศกรรมสะพานไครเมีย 9 ตุลา) กลายเป็นข้ออ้างของรัสเซียเพื่อยกระดับการต่อสู้ คราวนี้ประกาศเป้าหมายชัดว่ารัฐบาลเซเลนสกีต้องไม่อยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นไปได้ว่าหมายถึงรัฐบาลยูเครนชุดใหม่ต้องเป็นกลาง ไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตซึ่งเป็นเส้นต้องห้ามดั้งเดิม (red line) ทั้งยังหมายความว่ารัสเซียจะสู้ศึกกับยูเครนแบบยืดเยื้อด้วย
3. ความย้อนแย้งของรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวก
รัฐบาลสหรัฐฯ
กับพวกแสดงท่าทีสนับสนุนไต้หวันมีอิสระที่จะเลือกทางเดินของตนเอง ซึ่งหมายถึงประกาศเอกราช
แบ่งแยกดินแดนออกจากจีน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน (และรัฐบาลสหรัฐฯ
ยอมรับหลักจีนเดียว) เป็นผลจากสงครามกลางเมืองระหว่างคอมมิวนิสต์จีนกับจีนคณะชาติ
แต่เมื่อ 4 เขตยูเครนทำประชามติแยกตัวออกจากยูเครนและรวมกับรัสเซีย
รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกกับแสดงอาการต่อต้าน ชี้ว่าไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง
จะเห็นความย้อนแย้งของตรรกะที่รัฐบาลสหรัฐฯ
กับพวกใช้
4.
การรบเฟส 3 จัดระเบียบโลกแบบรัสเซีย
ในทางวิชาการเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า
นับจากสิ้นสงครามโลกครั้ง 2 เป็นต้นมา รัฐบาลสหรัฐฯ คือผู้มีอำนาจสูงสุด
ร่วมกันพันธมิตรจัดระเบียบโลกในแบบที่ตนได้ประโยชน์สูงสุด
ระเบียบโลกปัจจุบันไม่ว่าจะด้านการเมืองระหว่างประเทศ ระบบการค้าการเงินโลก ล้วนอยู่ใต้อิทธิพลของรัฐบาลสหรัฐฯ
กับพวกเป็นหลัก
รัสเซียที่ฟื้นตัวในสมัยปูตินพยายามแก้ระเบียบโลกนี้
มีความเป็นไปได้ว่าเป้าหมายการรบต่อจากนี้ หรือการรบเฟส 3 คือการจัดระเบียบโลกในแบบของรัสเซียที่ประธานาธิบดีปูตินเอ่ยถึงหลายครั้ง
การรบปัจจุบันและที่จะเกิดในอนาคตเป็นสงครามไฮบริด
(hybrid way) การที่นาโตไม่ส่งกองทัพรบกับรัสเซียโดยตรง
แต่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกใช้วิธีคว่ำบาตรนั้นนี่คือสงครามไฮบริดนั่นเอง หวังบั่นทอนทำลายเศรษฐกิจสังคมรัสเซีย
บั่นทอนคะแนนนิยมต่อตัวปูติน เพื่อตั้งรัฐบาลชุดใหม่แทนขั้วปูติน เป็นการรบที่ไม่ต้องใช้ทหารเข้ายิงกระสุนใส่กัน
รัฐบาลรัสเซียแก้เกมกลับ เนื่องจากการคว่ำบาตรที่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกใช้ทำให้เงินเฟ้อพุ่ง เศรษฐกิจนานาประเทศสะเทือนหนัก (ไม่เกิดเฉพาะรัสเซียเท่านั้น)
4.1 ฤทธิ์ของสงครามไฮบริดยูเครน สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน เดือนสิงหาที่ผ่านมาผักผลไม้ออสเตรเลียราคาพุ่ง
18.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ร้านอาหารจีนจข้นราคา 20-30% (CNBC)
เงินเฟ้อเดือนสิงหาอยู่ที่ 6.8%
ในขณะที่ก่อนโควิด-19 เงินเฟ้อไม่ถึง 2% ราคาผักเพิ่มขึ้นมากแม้กระทั่งผักทั่วไปอย่างผักกาดหอม
และปัญหาไม่อยู่เฉพาะราคาอาหารแต่สร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ เช่น
ต้องเพิ่มเงินเดือนพนักงาน
วิเคราะห์ :
การคว่ำบาตรรัสเซียเป็นต้นเหตุเงินเฟ้อ สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน
ทุกคนรับรู้ได้ถึงราคาสินค้าที่แพงขึ้นเรื่อยๆ และน่าจะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงปีหน้า
4.2 ชีวิตลำบากท่ามกลางสงครามและความหนาวเย็น
วิเคราะห์ : คาดว่ากองทัพรัสเซียใช้ยุทธวิธีล้อมเมือง
ให้ความหนาว ความขาดแคลนเล่นงานฝ่ายตรงข้าม คาดว่าสงครามไม่จบง่ายๆ
น่าจะลากยาวตลอดฤดูหนาวนี้ (ไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า)
ยกเว้นรัฐบาลเซเลนสกีจะยอมแพ้ซึ่งหมายถึงต้องยอมรับ “เงื่อนไข” ของฝ่ายรัสเซีย และหมายถึง
“นาโตยอมแพ้” นี่คือเหตุผลที่อธิบายว่าอาจต้องลากยาวอีกหลายเดือนเพราะรัฐบาลสหรัฐฯ
ไม่ยอมแพ้
เป็นไปได้ว่าเฟส 3 ของรัสเซียคือลากสงครามให้ยาวไปถึงฤดูหนาว
(ฤดูหนาวยุโรปคือเดือนธันวาคม-ต้นมีนาคม) เพื่อให้ผลกระทบสงครามไฮบริดเกิดแรงสุดกับฝ่ายตรงข้าม
ทั้งยังหมายถึงให้ประชาชนประเทศต่างๆ ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลตนเอง
เรียกร้องให้เลิกคว่ำบาตรรัสเซีย (เท่ากับรัสเซียเป็นฝ่ายชนะ) เป็นการยืมดาบศัตรูฟันศัตรูนั่นเอง
สงครามเฟส 3
จึงอยู่ที่ว่าใครจะอึดกว่า ใครจะทนได้นานกว่า
เพราะทุกประเทศต่างได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น เศรษฐกิจรัสเซียเสียหายหนักเช่นกัน
ท้ายที่สุดแล้วประชาชนอาจเป็นผู้ตัดสินเรียกร้องให้หยุดสงคราม
ร่วมหลายประเทศที่กำลังดำเนินวิถีทางการทูตให้หยุดสงคราม เพราะจะอดตายกันหมดแล้ว
Winter
is coming.
รัฐบาลเซเลนสกีขาดทั้งทรัพยากรกับเงิน
ในขณะที่รัสเซียมีพร้อม แผนของรัสเซียตอนนี้คือยืดการรบให้เข้าฤดูหนาว โดยยึดแม่น้ำ
Dnieper เป็นพรมแดนชั่วคราว
(ส่วนหนึ่ง) กองทัพรัสเซียจะตั้งมั่นในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำนี้ (Pravda)
1)
รัสเซียเริ่มโจมตีโรงไฟฟ้า สถานีจ่ายไฟทั่วประเทศยูเครน หลังเหตุวินาศกรรมสะพานไครเมีย
9 ตุลา ทำให้ยูเครนขาดแคลนทั้งพลังงาน น้ำประปา และสิ่งต่างๆ ยูเครนในยามสงครามไม่สามารถฟื้นฟูสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาโดยง่าย
(บริษัทปิดตัว คนยูเครนอพยพออกจากประเทศกว่า 14 ล้านคน – จะไปหาช่างที่ไหน)
สัปดาห์ที่ผ่านมามีหลักฐานเพิ่มเติมว่ากองทัพรัสเซียใช้แผนให้ยูเครนเผชิญความหนาวเหน็บ
การถอนทหารออกจากฝั่งตะวันตกของเมืองเคอร์ซอน (Kherson) เป็นส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าว
การถอนทัพพร้อมพลเรือนยูเครนที่ขออยู่ฝั่งรัสเซียจึงไม่ใช่ชัยชนะตามที่รัฐบาลยูเครนหรือชาติตะวันตกกล่าวอ้าง
2)
ดังที่ทราบกันทั่วไปว่าที่ยูเครนอยู่ได้เพราะความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ
และพวก ไม่ว่าจะอาวุธหรือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย
มีข้อมูลว่าปีหน้ารัฐบาลเซเลนสกีจะขอเงินช่วยเหลือจากต่างชาติ 38,000
ล้านดอลลาร์ และอีก 17,000
ล้านดอลลาร์เพื่อบูรณประเทศ
ไม่รู้ว่าเฉพาะฤดูหนาวปลายปีนี้ต่อต้นปีหน้า
ยูเครนต้องของบประมาณเท่าใด
ล่าสุดเหลือเพียงรัฐบาลสหรัฐฯ
ที่ยังยอมควักเงินจ่าย (เพราะอเมริกาพิมพ์เงินได้ไม่อั้น) และต้องรอดูว่าเลือกตั้งกลางเทอมจะมีผลต่อการสงครามยูเครนอย่างไร
ในขณะที่บางประเทศช่วยเป็นพิธี
ท่ามกลางการประท้วงของประชาชนที่บ่นว่าสินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน ชาติยุโรปหลายประเทศกำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจเช่นกัน
ถ้ามองว่านี่คือสงครามไฮบริดหรือสงครามตัวแทน
รัฐบาลปูตินกำลังใช้สงครามยูเครนเล่นงานรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวก อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลบางประเทศ
ต้องคิดใหม่ทำใหม่
แต่ยังเป็นการเร็วเกินไปหากคิดว่าฝ่ายสหรัฐฯ
หรือรัสเซียจะยอมแพ้ง่ายๆ สงครามยูเครนจะสู้ต่อไป พร้อมกับการจัดระเบียบโลกใหม่
ล่าสุด โรงไฟฟ้า สถานีจ่ายไฟฟ้าของยูเครนเสียหายราว
40% เจ้าหน้าที่ยูเครนเผยว่ากรุงเคียฟเกือบครึ่งเมืองไฟดับ กระทบชาวบ้านหลายล้านคน
ประธานาธิบดีเซเลนสกีร้องขอให้คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติห้ามรัสเซียโจมตีเครื่องสร้างพื้นฐานพลเรือน หลังเมื่อวานรัสเซียยิงขีปนาวุธเข้าใส่ 70 ลูก ไฟดับ ประชาชนอยู่ในความมืดและเหน็บหนาว ชี้ว่ารัสเซียกำลัง “ใช้ความหนาวเป็นอาวุธ” (Channel News Asia)
วิเคราะห์ : รัฐบาลเซเลนสกีแสดง “ความไม่รู้” หรือ “แกล้งไม่รู้อีกแล้ว”
1) เซเลนสกีพยายามพูดว่ารัสเซียโจมตีโครงสร้างพื้นฐานพลเรือน ความจริงคือโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า คลังน้ำมัน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่เป้าหมายทำลายเมื่อเกิดสงคราม สงครามในอดีตไม่ว่าจะสงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี สงครามอ่าวเปอร์เซีย ล้วนทำลายทุกอย่างเพื่อให้ศัตรูแพ้
ก่อนหน้านี้เซเลนสกีประกาศว่ากองทัพยูเครนพร้อมรบ ระบบป้องกันภัยทางอากาศดีเยี่ยม ได้รับอาวุธจากมิตรประเทศมากมาย ขีปนาวุธรัสเซียเก่าแก่ไร้ประสิทธิภาพ .... มาบัดนี้ดูเหมือนว่าต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่
ความจริงคือ ยูเครนอาจสกัดได้หลายลูก และหลายลูกตกหล่นเองกลางทาง แต่ย่อมมีส่วนหนึ่งที่ยิงเข้าเป้า
2) เรื่องเซเลนสกีควรรู้ตั้งแต่ก่อนทำสงครามกับรัสเซีย คือจะมีคนบาดเจ็บล้มตาย บ้านเมืองพังทลาย ข้อมูลกองทัพสหรัฐฯ ระบุว่าทหารยูเครนบาดเจ็บเสียชีวิตแล้ว 6 หมื่นราย พลเรือนยูเครนบาดเจ็บเสียชีวิต 4 หมื่นคน ยิ่งรบต่อไปจำนวนคนบาดเจ็บล้มตายย่อมต้องเพิ่มขึ้นอีก ยิ่งรบยิ่งพัง
เซเลนสกีที่เดิมเป็นดาวตลก ถ้าไม่เข้าใจคำว่าสงครามก็มีนายทหาร มีกระทรวงกลาโหมที่เข้าใจเรื่องพวกนี้ เป็นตัวอย่างรัฐบาลแปลกๆ ที่ทำเรื่องแปลกๆ
ประเทศยูเครนไม่เหมือนเดิมและจะไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยฝีมือรัฐบาลเซเลนสกี
4.5 ปูตินคาดศึกยูเครนจะกลายเป็นศึกยืดเยื้อ ไม่คิดจะรุกใหญ่ในช่วงนี้ (The Guardian- อัพเดท 8 ธันวา)
วิเคราะห์ :
1) รัสเซียใช้ยุทธศาสตร์ทำสงครามยืดเยื้อมาหลายเดือนแล้ว
เพื่อลดการสูญเสียทางทหารและหวังผลอื่นๆ
ที่ต้องอาศัยเวลา
2)
สงครามไฮบริด
ดังที่ได้อธิบายแล้วว่าการปะทะทางทหารในยูเครนเป็น
“ส่วนหนึ่ง” ของสงครามไฮบริดเท่านั้น สมรภูมิที่ใหญ่กว่าคือการต่อสู้ทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ
ระหว่างฝ่ายสหรัฐฯ กับฝ่ายรัสเซีย
การจัดระเบียบโลกกำลังดำเนินไปและคาดว่าต้องใช้เวลาอีกนาน
3) มหาอำนาจไม่ยอมแพ้
สังเกตว่ายูเครนยังได้รับการสนับสนุนทั้งอาวุธกับความช่วยเหลืออื่นๆ
ทั้งๆ ที่เห็นชัดว่าที่ยูเครนยังรบต่อได้เพราะแรงสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวก วันใดที่ฝ่ายสหรัฐฯ
เลิกให้อาวุธวันนั้นกองทัพยูเครนต้องรบมือเปล่า
ภายใต้มุมมองสงครามไฮบริด
มหาอำนาจไม่ยอมแพ้เพราะหมายถึงอนาคตของชาติ ผลประโยชน์มหาศาลของพวกเขา
ด้านปูตินไม่ยอมแพ้เช่นกัน
นี่คือการเดิมพันครั้งใหญ่อีกครั้งของชาติมหาอำนาจ ระเบียบโลกใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงในขณะนี้
ดังที่เคยนำเสนอแล้วว่า
ปูตินมองว่าตนเป็นฝ่ายได้เปรียบในฤดูหนาว ดังนั้นการศึกต้องลากยาวออกไปอีกอย่างน้อย
3-4 เดือนแล้วค่อยประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
ให้ติดตามภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะอียู
นี่คือสงครามไฮบริด
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
อ้างอิง :
1. Kremlin announces vote,
paves way to annex part of Ukraine. (2022, September 27). AP. Retrieved
from https://apnews.com/article/russia-ukraine-kyiv-moscow-referendums-1780c30715ce49723629d05c5e2f3238?utm_source=homepage&utm_medium=TopNews&utm_campaign=position_02
2. Lettuce at $8? Inflation in Australia is hurting everyone from restaurant owners to diners. (2022, October 5). CNBC. Retrieved from https://www.cnbc.com/2022/10/05/australia-inflation-rising-food-prices-are-hurting-restaurants-diners.html
3. Russia's new plan: Ukraine will not make it through the winter, it will be exhausted. (2022, November 11). Pravda. Retrieved from https://english.pravda.ru/world/154772-russia_ukraine_new_plan/
4. Russian strikes indicate Moscow aims to change Zelensky's regime. (2022, October 11). Pravda. Retrieved from https://english.pravda.ru/world/154385-russia_zelensky_regime/
5. Strikes put Ukraine in darkness; missiles cross into Poland. (2022, November 15). AP. Retrieved from https://apnews.com/article/russia-ukraine-war-zelenskyy-kherson-9202c032cf3a5c22761ee71b52ff9d52
6. Ukraine ready to accept neutral, non-nuclear status. (2022, March 29). Pravda. Retrieved from https://english.pravda.ru/news/world/150894-russia_ukraine_talks/
7. Ukraine war: Kyiv locals queue for water
after Russian strikes. (2022, November 1). BBC. Retrieved from https://www.bbc.com/news/world-europe-63463697
8. Ukrainians suffer in cold, darkness as president implores UN to punish Russia. (2022, November 24). Channel News Asia. Retrieved from https://www.channelnewsasia.com/world/ukrainians-suffer-cold-darkness-president-implores-un-punish-russia-3096466
9. Vladimir Putin says Russia’s war in Ukraine could be ‘long-term process’. (2022, December 7). The Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/world/2022/dec/07/vladimir-putin-says-russias-war-on-ukraine-could-be-long-term-process
10.