สารบัญเกาะติดประเด็นร้อน เมษายน 2013

            “เกาะติดประเด็นร้อน” มุ่งสรุป รวบรวมเนื้อหาสำคัญของข่าวหรือประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจ เป็นข่าวพาดหัวที่สื่อกำลังนำเสนออย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญของเรื่อง และอัพเดทสถานการณ์ล่าสุด
            ผู้อ่านทุกท่านสามารถรับแจ้งการอัพเดท “เกาะติดประเด็นร้อน” ได้ผ่าน Facebook ของผมที่ สถานการณ์โลก ชาญชัย และ Twitter ที่ chanchaiCK
---------------------

เกาะติดประเด็นร้อน“ความขัดแย้งในประเทศซีเรีย” (15)
(อัพเดท 10 ก.ย. 20.00 น.) รัสเซียเสนอให้หน่วยงานระหว่างประเทศเข้าควบคุมอาวุธเคมีของซีเรีย ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการตอบรับจากรัฐบาลโอบามา รัฐสภาอเมริกันขอพิจารณารายละเอียดข้อเสนอ ล่าสุด ฝรั่งเศสจะเสนอร่างมติแก่คณะมนตรีความมั่นคง เป็นระเบียบ แนวทางการควบคุมอาวุธเคมีซีเรีย จากท่าทีของประธานาธิบดีโอบามา รัสเซีย ซีเรีย จนล่าสุดคือฝรั่งเศส เชื่อว่าคณะมนตรีฯ จะมีข้อมติดังกล่าว ผลคือเมื่อหน่วยงานระหว่างประเทศเข้าควบคุมอาวุธเคมีซีเรียแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่คองเกรสต้องพิจารณาเรื่องการโจมตีซีเรียอีก (เว้นแต่ว่าในอนาคตจะมีประเด็นใหม่)
(อัพเดท 8 ก.ย. 21.50 น.) อเมริกากับรัสเซียเสริมกองทัพอย่างต่อเนื่อง อียูเรียกร้องให้รอการพิสูจน์การใช้อาวุธเคมีจากสหประชาชาติ สัปดาห์รัฐสภาอเมริกันพิจารณาญัตติโจมตีซีเรีย

(อัพเดท 4 ก.ย. 1.15 น.) สถานการณ์ขณะนี้คือประธานาธิบดีโอบามากำลังรวบรวมให้ได้เสียงข้างมาก เพียงพอที่รัฐสภาจะประกาศโจมตีซีเรีย โดยไม่รอผลการตรวจสอบหลักฐานจากเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ หากเป็นเช่นนั้นจริง การโจมตีน่าจะเกิดขึ้นภายในสัปดาห์หน้า หลังการอภิปรายและรัฐสภาลงมติ

(อัพเดท 1 ก.ย. 20.40 น.) ประธานาธิบดีโอบามาร้องขอให้รัฐสภาอภิปรายเพื่อลงมติโจมตีซีเรีย สัญญาณการโจมตีเปลี่ยนจาก “ชัดเจน” มาเป็นจุดเดิมคืออาจโจมตีหรือไม่โจมตีก็เป็นได้ และมีแนวโน้มว่าหากเป็นการโจมตีคงต้องรออีกเป็นสัปดาห์

(อัพเดท 30 ส.ค. 10.25 น.) ณ วันนี้ยังมีโอกาสที่สหรัฐฯ จะโจมตีหรือไม่โจมตีซีเรียก็ได้ แม้ว่าอังกฤษจะถอนตัวออกจากการโจมตี เพราะรัฐบาลโอบามาเตรียมใจแต่ต้นแล้ว 

เกาะติดประเด็นร้อน “ความขัดแย้งในประเทศซีเรีย”(10)
(อัพเดท 29 ส.ค. 18.30 น.) ณ วันนี้ยังมีโอกาสที่สหรัฐฯ จะโจมตีหรือไม่โจมตีซีเรียก็ได้ ตลาดเงินตลาดทุนกำลังรอดูสัญญาณ เพื่อทิศทางที่ชัดเจนกว่านี้ การถอนตัวของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติกับการประกาศพร้อมโจมตีของกองทัพฝรั่งเศสคือสัญญาณล่าสุด

เกาะติดประเด็นร้อน“ความขัดแย้งในประเทศซีเรีย” (9)
(อัพเดท 28 ส.ค. 17.30 น.) กระแสข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศล้วนชี้ว่าอเมริกากำลังเตรียมการโจมตี ล่าสุดทางการรัสเซียเริ่มอพยพคนของตนออกจากซีเรีย การวิเคราะห์ผลยุทธการต่อตลาดทุน ราคาน้ำมัน ควรแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงก่อนโจมตี ช่วงระหว่างโจมตี และช่วงหลังโจมตี

(อัพเดท 27 ส.ค. 20.30 น.) นานาชาติพุ่งเป้าให้ความสำคัญกับการใช้อาวุธเคมีที่ชานกรุงดามัสกัส เจ้าหน้าที่สหประชาชาติกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ แต่สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศสเชื่อว่าเป็นฝีมือของรัฐบาลอัสซาด และกำลังพิจารณาใช้กำลังทหารในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ตลาดทุนตลาดเงินติดลบถ้วนหน้า

(อัพเดท 26 ส.ค. 6.30 น.) สถานการณ์ซีเรียร้อนแรงต่อเนื่อง รัฐบาลอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศสปักใจเชื่อว่ารัฐบาลซีเรียคือผู้ใช้อาวุธเคมี สามมหาอำนาจกำลังหาทางให้นานาชาติร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เรือรบสหรัฐฯ ได้รับคำสั่งให้เตรียมพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ ล่าสุดเจ้าหน้าที่สหประชาชาติจะเข้าตรวจสอบอาวุธเคมีในวันจันทร์นี้ ภายหลังที่รัฐบาลซีเรียยอมเข้าตรวจสอบจุดต้องสงสัย ในขณะที่บางคนเชื่อว่าสถานการณ์มาถึงจุดที่สายเกินแก้แล้ว

(อัพเดท 23 ส.ค. 20.50 น.) ข่าวการใช้อาวุธเคมีล่าสุดในซีเรีย มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ทำให้หลายประเทศเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติเข้าตรวจสอบ ในขณะที่ประธานาธิบดีโอบามากล่าวอย่างชัดเจนว่าสหรัฐฯ จะไม่แทรกแซงซีเรียด้วยกำลังทหาร

(อัพเดท 21 ส.ค.23.50 น.) หลังการชุมนุมต่อเนื่องไม่กี่วัน กลุ่มภราดรภาพมุสลิมประกาศยุติการชุมนุม หลายประเทศตำหนิที่รัฐบาลปราบปรามด้วยความรุนแรง ในขณะที่นายกรัฐมนตรีตุรกีชี้ว่าอิสราเอลอยู่เบื้องหลังการโค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี

(อัพเดท 17 ส.ค.13.10 น.) แม้ถูกทางการสลายการชุมนุม แต่กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีไม่ยอมถอย ประกาศชุมนุมใหญ่ในวันศุกร์ (16 ส.ค.) การชุมนุมลงเอยด้วยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกราวร้อยคน กลุ่มภราดรภาพมุสลิมยืนยันชุมนุมต่อเนื่องต่อไป

(อัพเดท 15 ส.ค. 13.00 น.) หลังจากรัฐบาลเฉพาะกาลของนายอัดลี มานซูร์มีคำสั่งให้ทหารตำรวจสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยังปักหลักชุมนุมยืดเยื้อ วันนี้เจ้าหน้าที่ได้เริ่มปฏิบัติการสลายการชุมนุมแล้ว ด้านภราดรภาพมุสลิม กับกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีมอร์ซี ประกาศเรียกร้องให้ประชาชนอียิปต์ทั่วประเทศออกจากบ้านเพื่อชุมนุมต่อต้านโดยด่วน

(อัพเดท 28 ก.ค. 10.40 น.) พลเอกอับดุล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ผู้บัญชาทางสูงสุดอียิปต์ ผู้นำทหารยึดอำนาจอดีตประธานาธิบดีมอร์ซี ประกาศเรียกร้องให้ประชาชนอียิปต์ทั่วประเทศพร้อมใจกันชุมนุมในวันศุกร์เพื่อแสดงพลังสนับสนุนการยึดอำนาจอดีตประธานาธิบดีมอร์ซี ด้านแกนนำกลุ่มภราดรภาพมุสลิมยืนยันไม่ร่วมการเจรจาสมานฉันท์ ล่าสุดดูเหมือนว่าทางการมีแผนสลายการชุมนุมเพื่อหยุดการชุมนุมที่ยืดเยื้อไม่จบสิ้น

(อัพเดท 24 ก.ค. 8.30 น.) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยแผนช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก เพื่อให้ฝ่ายบริหาร สมาชิกสภาครองเกรสใช้ประกอบการตัดสินใจ แต่ดูเหมือนว่าไม่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งในซีเรียแต่อย่างไร

(อัพเดท 11 ก.ค. 23.10 น.) รัฐบาลเฉพาะกาลเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น และได้รับการสนับสนุนจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่สถานการณ์ยังไม่น่าไว้ใจเนื่องจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมนัดชุมนุมใหญ่ในวันศุกร์นี้

(อัพเดท 9 ก.ค. 8.20 น.) ยังไม่มีข้อสรุปว่าใครควรนายกรัฐมนตรีรักษาการ ในขณะที่เกิดการปะทะอย่างหนักเมื่อเช้ามืดวันจันทร์ มีผู้เสียชีวิตราว 50 คน พรรคการเมืองบางพรรคถอนตัวออกจากแผนสมานฉันท์ของกองทัพอียิปต์

(อัพเดท 8 ก.ค. 9.10 น.) หลังการโค่นล้มรัฐบาลมอร์ซี สถานการณ์การเมืองอียิปต์ยังครุกรุ่น ยังไม่มีข้อสรุปว่าใครจะเป็นนายกฯ รักษาการณ์ ทั้งฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านต่างชุมนุมแสดงพลังของตนอย่างต่อเนื่อง ด้านราคาน้ำมันไม่มีทีท่าว่าจะลดลง

(อัพเดท 4 ก.ค. 10.30 น.) ข้อเสนอประนีประนอมของมอร์ซีเป็นหมัน กองทัพทำการัฐประหารแล้ว แต่การรัฐประหารเป็นเพียงการเริ่มต้นใหม่เท่านั้น ยังไร้ร่องรอยของอดีตปธน. กลุ่มผู้จงรักภักดีได้ปะทะกับทหารมีผู้เสียชีวิตนับสิบคน

(อัพเดท 4 ก.ค. 1.30 น.) ประธานาธิบดีมอร์ซีเสนอทางประนีประนอม จัดตั้งรัฐบาลผสม ปรับแก้รัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่มีคำตอบจากฝ่ายต่อต้าน BBC รายงานข่าวล่าสุดว่า ทหารอียิปต์ได้เข้าประจำการตามจุดสำคัญๆ ในกรุงไคโร หลังเลยกำหนดเส้นตายมาแล้ว ประชาชนอียิปต์รอฟังแถลงการณ์ทางทีวี

(อัพเดท 3 ก.ค. 8.30 น.) ประธานาธิบดีมอร์ซียืนยันไม่ยอมรับคำขาดของกองทัพ พร้อมด้วยผู้จงรักภักดีอีกนับล้านคน แหล่งข่าวชี้ว่ากองทัพมีแผนเข้าแทรกแซง จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว วันนี้จะเป็นวันที่ครบเส้นตาย 48 ชั่วโมง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI พุ่งทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

(อัพเดท 2 ก.ค. 12.00 น.) หลังการชุมนุมใหญ่เพียง 2 วัน ฝ่ายกองทัพอียิปต์ประกาศยื่นคำขาดให้รัฐบาลประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีตอบสนองความต้องการของฝ่ายต่อต้านที่ชุมนุมทั่วประเทศนับล้านคน ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลมีจำนวนนับล้านเช่นกัน ด้านประธานาธิบดีมอร์ซีประกาศไม่ยอมรับคำขาดของกองทัพ

(อัพเดท 1 ก.ค. 16.30 น.) ในขณะที่สถานการณ์ทะเลจีนใต้หรือทะเลฟิลิปปินส์ยังมีเหตุระหองระแหงระหว่างจีนกับชาติสมาชิกอาเซียนบางประเทศ ในที่ประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน (AMM) จีนได้มีส่วนร่วมและถือโอกาสประกาศวิสัยทัศน์สร้างเขตเศรษฐกิจที่รวมอาเซียนกับจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน เทียบกับได้กับการสร้างสหภาพยุโรปหรือยูโรโซน

เกาะติดประเด็นร้อน “การชุมนุมประท้วงประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ดมอร์ซี แห่งอียิปต์”
(อัพเดท 30 มิ.ย. 8.00 น.) ตลอด 1 ปีที่ผ่านมานับจากประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีบริหารประเทศ มีการชุมนุมประท้วงน้อยใหญ่เกิดขึ้นหลายครั้ง ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่ฝ่ายต่อต้านเตรียมการมาอย่างดี หวังเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ในขณะที่ยังมีประชาชนอีกไม่ที่สนับสนุนรัฐบาล

(อัพเดท 18 มิ.ย. 10.20 น.) เลือกตั้งอิหร่านดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านคนใหม่หวังเจรจาโครงการนิวเคลียร์ เพื่อให้ต่างชาติยกเลิกการคว่ำบาตร ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือการจัดการเศรษฐกิจภายในที่มีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลมากที่สุด

(อัพเดท 14 มิ.ย. 13.30 น.) สถานการณ์ความขัดแย้งในซีเรียเริ่มเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญแล้ว เนื่องจากประธานาธิบดีบารัก โอบามาอนุมัติสนับสนุนอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้าน หลังจากมีข้อสรุปแล้วว่ารัฐบาลอัสซาดได้ใช้อาวุธเคมีโจมตีฝ่ายต่อต้าน

(อัพเดท 12 มิ.ย. 21.00 น.) อิหร่านกำลังจะเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันศุกร์นี้ การเลือกตั้งครั้งนี้จะได้ประธานาธิบดีคนใหม่แทนคนเดิมที่อยู่ครบ 8 ปีสองสมัยแล้ว อาจเป็นเหตุของการเปลี่ยนแปลงนโยบายประเทศครั้งสำคัญ ส่งผลต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใน ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก และอุปทานน้ำมันโลก ล่าสุดเป็นการขับเคี่ยวระหว่างผู้สมัครสองคนที่มีนโยบายคนละขั้ว

(อัพเดท 5 มิ.ย. 10.30 น.) สถานการณ์ซีเรียยังมีเหตุให้ต้องจับตาต่อเนื่อง สัปดาห์ที่แล้วมีประเด็นว่ารัฐบาลซีเรียได้รับขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน S-300 หรือไม่ วันนี้ประเด็นการใช้อาวุธเคมีกลับมามีความสำคัญอีก เพราะเจ้าหน้าที่สหประชาชาติรายงานว่าค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่ามีการใช้อาวุธเคมีในซีเรีย ด้านฝรั่งเศสยืนยันว่ารัฐบาลซีเรียเป็นผู้ใช้

เกาะติดประเด็นร้อน “ความขัดแย้งในประเทศซีเรีย” (2)
(อัพเดท 30 พ.ค. 17.40 น.) สองสามวันก่อนอียูอนุมัติให้ชาติสมาชิกสามารถขายอาวุธทันสมัยแก่ฝ่ายต่อต้าน รัฐบาลรัสเซียจึงออกมาตอบโต้ด้วยการประกาศว่าไม่ได้ระงับแผนขายขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน S-300 แก่ทางการซีเรีย มาวันนี้ประธานาธิบดีซีเรียบอกว่าได้รับขีปนาวุธ S-300 ชุดแรกแล้ว

(อัพเดท 29 พ.ค. 8.30 น.) อียูอนุมัติให้ชาติสมาชิกสามารถขายอาวุธทันสมัยแก่ฝ่ายต่อต้าน รัฐบาลรัสเซียจึงออกมาตอบโต้ด้วยการประกาศว่าไม่ได้ระงับแผนขายขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน S-300 แก่ทางการซีเรีย ขีปนาวุธ S-300 ไม่ส่งผลโดยตรงต่อการรบกับฝ่ายต่อต้าน แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ที่คิดจะใช้กำลังอากาศกับซีเรีย

(อัพเดท 22 พ.ค. 3.30 น.) หลังเหตุความตึงเครียดระหว่างฟิลิปปินส์กับไต้หวันอันเนื่องจากลูกเรือประมงไต้หวันคนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมขณะทำประมงใกล้หมู่เกาะสแปรตลีย์ สถานการณ์ล่าสุดคือความตึงเครียดระหว่างฟิลิปปินส์กับจีน เมื่อกองเรือประมงพร้อมเรือคุ้มกันได้แล่นเข้าน่านน้ำที่ฟิลิปปินส์อ้างว่าเป็นอธิปไตยของตน

(อัพเดท 15 พ.ค. 17.50 น.) ประธานาธิบดีไต้หวันแสดงความไม่พอใจ เห็นว่าฟิลิปปินส์ไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องและพยายามเบี่ยงประเด็น สั่งระงับจ้างแรงงานฟิลิปปินส์ และกำหนดเส้นตายใหม่อีกครั้ง แต่หลังกำหนดเส้นตายปรากฏว่าฟิลิปปินส์ไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องดังเดิม ทางการไต้หวันจึงประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม

(อัพเดท 15 พ.ค. 8.30 น.) รัฐบาลไต้หวันยื่นคำขาดให้ฟิลิปปินส์ 72 ชั่วโมงเพื่อจับกุมผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของลูกเรือประมงไต้หวัน แต่ผลสรุปหลังกำหนดเส้นตายคือสองฝ่ายจะเจรจากันต่อไป

(อัพเดท 10 พ.ค. 20.30 น.) ทางการฟิลิปปินส์ยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ของตนเป็นผู้ยิงลูกเรือประมงไต้หวัน รู้สึกเสียใจแต่ไม่ขอโทษ รัฐบาลจีนออกโรงเตือนขอให้ประเทศทั้งหลายไม่ทำให้สถานการณ์ยุ่งเหยิงกว่าเดิม

(อัพเดท 9 พ.ค. 9.00 น.) คนนับหมื่นร่วมชุมนุม นายอันวาร์ประกาศเดินหน้าจัดชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ การเมืองมาเลเซียตลอดเดือนนี้ยังไม่นิ่ง

(อัพเดท 8 พ.ค. 9.40 น.) วอชิงตันไม่ยอมอ่อนข้อเพื่อเจรจา พร้อมป้องปรามยืดเยื้อ

(อัพเดท 7 พ.ค. 15.40 น.) จีนส่งกองเรือประมงมุ่งหน้าหมู่เกาะสแปตลีย์ ยืนยันป้องกันกองเรือของตนอย่างเต็มที่

(อัพเดท 6 พ.ค. 10.50 น.) ชัยชนะกับความพ่ายแพ้ของพรรคร่วมรัฐบาลบีเอ็นของมาเลเซีย

(อัพเดท 6 พ.ค. 00.30 น.) ถ้าผลคะแนนพรรคร่วมรัฐบาลไม่ชนะขาด สังคมอาจเกิดภาวะเสถียรภาพสั่นคลอนชั่วขณะ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะห์ประกาศว่าผลการนับคะแนนล่าสุดพรรคร่วมรัฐบาลบีเอ็นได้แล้ว 112 ที่นั่ง ส่วนแนวร่วมฝ่ายค้านได้ 58 ที่นั่ง เหลืออีก 52 ที่นั่งที่ยังอยู่ระหว่างการนับคะแนนซึ่งจะประกาศผลได้ในเช้าวันที่ 6 พ.ค.

(อัพเดท 3 พ.ค.10.10 น.) การเลือกตั้งครั้งนี้นอกจากต้องดู “ผลการเลือกตั้ง” ยังต้องดู “ผลกระทบ” หลังการเลือกตั้งด้วย และหวังว่าจะไม่เกิดเหตุวุ่นวายหลังประกาศ “ผลการเลือกตั้ง”

(อัพเดท 1 พ.ค. 21.20 น.) ข้อมูลล่าสุด นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะได้เป็นรัฐบาลอีกสมัย แต่จะได้เสียงข้างมากในสภาสองในสามหรือไม่ยังเป็นที่สงสัย

(อัพเดท 1 พ.ค. 6.00 น.) หน้าที่เฉพาะหน้าของรัฐบาลอิตาลีชุดใหม่คือเจรจากับยูโรโซนเพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น แทนการรัดเข็มขัดเป็นหลัก ยูโรโซนกำลังเข้าสู่กระบวนการเจรจาอย่างเข้มข้นอีกครั้ง

(อัพเดท 30 เม.ษ. 20.10 น.) วันอาทิตย์นี้เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปของประเทศมาเลเซีย นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่มีความสำคัญเป็นพิเศษกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ เพราะพรรคร่วมฝ่ายค้านหวังชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลที่ครองอำนาจมายาวนานกว่า 5 ทศวรรษหวังได้ชัยชนะแบบท่วมท้นอย่างที่เคยได้รับ ส่วนนักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าหากพรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง หรือไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะขาด ตลาดทุนตลาดเงินมาเลเซียจะเกิดการเทขายทันที

(อัพเดท 25 เม.ษ. 16.50 น.) ผลการประชุมเรื่องข้อพิพาททะเลจีนใต้คือให้เจรจากับจีนต่อไป ฝ่ายไทยเรียกร้องให้อาเซียนมีข้อสรุปก่อนเจรจากับจีนในเดือนสิงหาคมนี้

(อัพเดท 25 เม.ษ. 9.10 น.) ญี่ปุ่นเพิ่มความเข้มงวด เฝ้าระวังการติดเชื้อ หลังพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก H7N9 ที่ไต้หวัน

(อัพเดท 24 เม.ษ. 19.50 น.) พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก H7N9 รายแรกนอกประเทศจีนแล้ว

(อัพเดท 24 เม.ษ. 8.30 น.) ยอดผู้ติดเชื้อ 108 คนแล้ว ผู้เสียชีวิต 22 ราย พื้นที่พบผู้ที่ติดเชื้อขยายตัวไปถึงมณฑลซันตง

ข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับชาติสมาชิกอาเซียนคือหนึ่งในประเด็นหารือ คาดว่าไม่คืบหน้า มุ่งรักษาบรรยากาศที่ดีต่อกันไว้

เกาะติดประเด็นร้อน "การตอบโต้ระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯและพันธมิตร” (8)
(อัพเดท 23 เม.ษ. 12.50 น.) สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีเข้าสู่สถานะเจรจาแล้ว เกาหลีเหนือตั้งเงื่อนไขเจรจาว่าประเทศตนไม่ต้องยกเลิกโครงการนิวเคลียร์

Human Right Watch ชี้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลเมียนมาร์เกี่ยวข้องกับการข่มเหงโรฮิงญา มุสลิม ก่อนหน้าประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพียงไม่กี่วัน คาดว่าที่ประชุมต้องหยิบยกเรื่องนี้มาหารือ

(อัพเดท 22 เม.ษ. 7.20 น.) ยอดผู้ติดเชื้อทะลุ 100 คนแล้ว ยังไม่พบหลักฐานเชื้อแพร่จากคนสู่คน

เกาะติดประเด็นร้อน "สถานการณ์แพร่ระบาดของH7N9” (3)
(อัพเดท 19 เม.ษ. 23.00 น.) ประธานาธิบดีจีนสั่งการให้แก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ และยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าเชื้อแพร่สู่คนได้อย่างไร

(อัพเดท 18 เม.ษ. 10.00 น.) สถานการณ์ยังตึงเครียด หลายฝ่ายเรียกร้องเจรจา

เกาะติดประเด็นร้อน "สถานการณ์แพร่ระบาดของH7N9” (2)
(อัพเดท 18 เม.ษ. 12.30 น.) องค์การอนามัยโลกยอมรับว่าไม่ทราบสาเหตุที่มาของผู้ที่ติดเชื้อทั้งหมด ทางการจีนกำลังตรวจสอบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน

(อัพเดท 17 เม.ษ. 12.20 น.) การแพร่ระบาดทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจำนวนผู้ที่เชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและพื้นที่ติดเชื้อที่ขยายวงมากขึ้น

(อัพเดท 16 เม.ษ. 11.30 น.) สถานการณ์ให้ความสำคัญกับการยิงขีปนาวุธพิสัยกลางของเกาหลีเหนือ

(อัพเดท 10 เม.ษ. 13.50 น.) เกาหลีใต้กับสหรัฐฯ เพิ่มระดับการเฝ้าระวังการยิงขีปนาวุธจากเกาหลีเหนือ 

(อัพเดท เม.ษ. 14.10 น.เฝ้าระวังเหตุการณ์ช่วงวันที่ 10-15 เมษายน

(อัพเดท 8 เม.ษ. 11:20 น.) เกาหลีเหนือข่มขู่ไม่หยุด แต่ไม่มีหลักฐานเคลื่อนย้ายกำลัง

(อัพเดท 5 เม.ษ. 8:00 น.) สถานการณ์ตึงเครียดไม่หยุด ล่าสุดกองทัพเกาหลีเหนือได้รับคำสั่งให้พร้อมทำสงครามทุกเมื่อ 

(อัพเดท 4 เม.ษ. 8:00 น.) นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่าการตอบโต้ระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ และพันธมิตรไม่น่าจะนำสู่สงครามเต็มรูปแบบ แต่การตอบโต้รายวันทำให้สถานการณ์ตึงเครียดไม่หยุด

เกาะติดประเด็นร้อน "วิกฤตระบบธนาคารไซปรัส" 
(อัพเดท 29 มี.ค. 15:20 น.)
เรื่องสำคัญอีกหลายเรื่องที่ควรติดตาม เช่น  จะเก็บภาษีเงินฝากกี่เปอร์เซ็นต์ ใช่ร้อยละ 40 หรือไม่ ผลจากมาตรการต่างๆ รวมทั้งการช่วยเหลือจากทรอยกาจะสามารถช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่
            
---------------------------