สรุปสถานการณ์: (อัพเดท 9 เม.ษ. 7.00 น.) สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลียังตกเป็นข่าวรายวัน ทางการเกาหลีเหนือคงใช้วาจา
พฤติกรรมยั่วยุ ก้าวร้าวอย่างต่อเนื่อง
อีกด้านหนึ่ง
มีผู้ให้มุมมองว่าพฤติกรรมรัฐบาลเปียงยางเป็นเพียงการขู่มากกว่า เช่นจากโฆษกทำเนียบขาว
นายเจย์ คาร์นีย์ และล่าสุดคือรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร นายวิลเลียม
เฮก กับนายคิม จังซู หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงของประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ทั้งหมดชี้ว่าเกาหลีเหนือไม่มีการเคลื่อนพลหรือเตรียมตัวทำสงครามแต่อย่างไร
แต่การติดตั้งขีปนาวุธพิสัยกลางมูซูดาน (Musudan) พิสัย 3-4 พันกิโลเมตร ที่ชายฝั่งด้านตะวันออกยังอยู่ในการติดตามอย่างใกล้ชิด
ส่วนเรื่องการทดสอบนิวเคลียร์ทางการเกาหลีใต้ออกมาปฏิเสธแล้วหลังจากที่มีข่าวดังกล่าว
คืบหน้าล่าสุด: (อัพเดท 9 เม.ษ. 14.10 น.)
ทางการเกาหลีเหนือกล่าวว่าสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีตึงเครียดเนื่องจากสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้เตรียมทำสงครามนิวเคลียร์ และทำให้เขตอุตสาหกรรม (เคซอง) กลายเป็นเวทีเผชิญหน้าระหว่างกัน และเกาหลีเหนือได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ที่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์มหาศาล เป็นที่น่าเศร้าใจว่าเขตอุตสาหกรรมที่น่าจะสร้างความสมานฉันท์บัดนี้กลายเป็นพื้นที่เผชิญหน้าระหว่างสองรัฐบาล (Important Steps Declared as Regards Kaesong Industrial Zone, KCNA)
สำนักข่าว Yonhap รายงานข่าวว่าทางการเกาหลีเหนือประกาศเตือนชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเกาหลีใต้ให้รีบหาที่หลบซ่อนหรืออพยพออกจากประเทศ และย้ำกว่าจะทำให้เกาหลีใต้กับสหรัฐฯ กลายเป็น “ทะเลเพลิง” ด้วยการชิงโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก่อน (N. Korea calls on foreigners living in S. Korea to deviseevacuation plans, Yonhap)
ทางการเกาหลีเหนือกล่าวว่าสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีตึงเครียดเนื่องจากสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้เตรียมทำสงครามนิวเคลียร์ และทำให้เขตอุตสาหกรรม (เคซอง) กลายเป็นเวทีเผชิญหน้าระหว่างกัน และเกาหลีเหนือได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ที่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์มหาศาล เป็นที่น่าเศร้าใจว่าเขตอุตสาหกรรมที่น่าจะสร้างความสมานฉันท์บัดนี้กลายเป็นพื้นที่เผชิญหน้าระหว่างสองรัฐบาล (Important Steps Declared as Regards Kaesong Industrial Zone, KCNA)
สำนักข่าว Yonhap รายงานข่าวว่าทางการเกาหลีเหนือประกาศเตือนชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเกาหลีใต้ให้รีบหาที่หลบซ่อนหรืออพยพออกจากประเทศ และย้ำกว่าจะทำให้เกาหลีใต้กับสหรัฐฯ กลายเป็น “ทะเลเพลิง” ด้วยการชิงโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก่อน (N. Korea calls on foreigners living in S. Korea to deviseevacuation plans, Yonhap)
สำนักข่าว Yonhap รายงานว่าวันนี้ (9 เมษายน)
ไม่มีคนงานเกาหลีเหนือเข้ามาทำงานในศูนย์อุตสาหกรรมเคซอง (Kaesong
Industrial Complex) ตามที่ทางการเกาหลีเหนือประกาศเมื่อวานว่าจะถอนคนงานทั้งหมดจากศูนย์อุตสาหกรรม
(N. Korean workers fail to report to work at Kaesong complex, Yonhap)
นายนารุชิเกะ มิชิชีตะ (Narushige Michishita)
อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมและผู้อำนวยการ Security and International
Studies Program ของ Tokyo’s National Graduate Institute
for Policy Studies ให้ข้อมูลว่า ผู้เชี่ยวชาญของญี่ปุ่นหลายคนมีความเชื่อมากขึ้นว่าเกาหลีเหนืออาจมีขีปนาวุธพิสัยกลางโรดอง
(Rodong) [หรือ Nodong] อย่างน้อย 1 ลูกที่บรรจุหัวรบนิวเคลียร์ ขีปนาวุธชนิดนี้มีพิสัย 1,300
กิโลเมตรสามารถยิงใส่ญี่ปุ่นหรือฐานทัพสหรัฐในญี่ปุ่น หากยิงใส่กรุงโตเกียวจะถึงเป้าหมายภายในเวลา 10 นาที เกาหลีเหนือเคยยิงทดสอบตัวขีปนาวุธมาแล้ว 300 ครั้ง ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเกาหลีเหนือยังขาดความรู้อีกมากในเรื่องการใช้อาวุธนิวเคลียร์ (Japan increasingly nervous about North Koreanmissiles, Japan Today)
วิเคราะห์: (อัพเดท 9 เม.ษ. 7.00 น.)
ไม่ว่าเป้าหมายของรัฐบาลเปียงยางคือเพียงแค่ต้องการแสดงออกถึงความเข้มแข็ง
ไม่คิดทำสงครามจริง ไม่คิดชิงลงมือโจมตีก่อนตามคำกล่าวอ้าง การวิเคราะห์ยังคงให้ความสำคัญกับคำตอบว่าที่สุดแล้วเรื่องจะลงเอยอย่างไร
แนวคิดที่ให้เฝ้าระวังเหตุการณ์ช่วงวันที่ 10-15 เมษายน เป็นแนวทางที่น่าสนใจ
เพราะทางการเกาหลีเหนือมักแสดงแสนยานุภาพในโอกาสสำคัญๆ เสมอ วันที่ 15 เป็นเป็นวันครบรอบวันเกิดของอดีตผู้นำคิม
อิลซุง ผู้ก่อตั้งประเทศเกาหลีเหนือ และตรงกับช่วงเวลาที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
นายจอห์น เคอร์รีเยือนเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ รัฐบาลเปียงยางอาจมี “เซอร์ไพรส์”
ไว้รอต้อนรับนายเคอร์รีก็เป็นได้
มีโอกาสเป็นไปได้ที่เกาหลีเหนืออาจยิงขีปนาวุธพิสัยกลาง
หรือพิสัยใกล้หลายชนิดพร้อมๆ กันเป็นจำนวนหลายสิบลูก
เหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเช่นกัน
แต่ทั้งสองเหตุการณ์ไม่ใช่การโจมตีสหรัฐฯ หรือเกาหลีใต้ เป็นเพียงการแสดงแสนยานุภาพและวาทะกรรม
9 เมษายน 2013
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-------------------
บทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง:
-------------