สรุปสถานการณ์: (อัพเดท 22 เม.ษ. 12.40 น.) ผู้นำ
10 ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะประชุมสุดยอดที่กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายนนี้
คาดว่าหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จะหยิบยกขึ้นพูดคือกรณีโรฮิงญา มุสลิมในเมียนมาร์
ที่ผ่านมารัฐบาลเมียนมาร์ยอมรับว่ามีปัญหาเรื่องดังกล่าว แต่ยังถือว่าเป็นกิจการภายใน
อดีตเลขาธิการอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เคยเตือนว่าประเด็นโรฮิงญาอาจสั่นคลอนเสถียรภาพของ
‘ภูมิภาคนั้น’ (หมายถึงอาเซียน) ถ้าประชาคมนานาชาติ
รวมทั้ง ‘อาเซียน’ ไม่ดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพทันท่วงที
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
มาร์ตี นาตาเลกาวา เคยหยิบยกประเด็นโรฮิงญาเข้าสู่ที่ประชุมองค์การความร่วมมืออิสลาม
(OIC) เมื่อเดือนสิงหาคม 2012 ที่ประชุมเห็นว่าความรุนแรงที่กระทำต่อโรฮิงญานั้น
“เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ”
รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
มาร์ตี นาตาเลกาวา ยังกล่าวอีกว่า
“วิธีการที่รัฐบาลเมียนมาร์ปฏิบัติต่อมุสลิมโรฮิงญาไม่สอดคล้องกับความพยายามที่จะเป็นประชาธิปไตย
พฤติกรรมการเลือกที่รักมักที่ชังไม่ว่าจะต่อศาสนาหรือชาติพันธุ์ล้วนเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้”
คืบหน้าล่าสุด: (อัพเดท 22 เม.ษ. 12.40 น.)
วันนี้ (22 เมษายน) Human Right Watch เปิดเผยรายงานให้ข้อสรุปชัดเจนว่า
การข่มเหงขับไล่ชาวโรฮิงญาในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2012 เป็นการกระทำโดยเจตนาจากความร่วมมือของเจ้าหน้าที่รัฐบาล
ผู้นำชุมชน และพระสงฆ์ ทำให้ชาวโรฮิงญาหลายคนเสียชีวิตและนับหมื่นคนต้องอพยพออกจากพื้นที่กลายเป็นผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่อาศัย
ฟิล
โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชีย กล่าวว่า “รัฐบาลพม่าทำการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา
และจนบัดนี้ก็ยังดำเนินการอยู่ ด้วยการขัดขวางกีดกันความช่วยเหลือต่างๆ”
ที่ให้กับโรฮิงญา” “รัฐบาลจำต้องหยุดการละเมิดและจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ
มิฉะนั้น จะต้องรับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอนาคตต่อชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนา”
รายงานระบุว่า ในเหตุความรุนแรงแรงตั้งแต่มิถุนายน 2012 เจ้าหน้าที่รัฐบาลทำลายมัสยิด
ขัดขวางความช่วยเหลือที่จะส่งให้แก่มุสลิมที่ถูกขับไล่ออกจากถิ่นที่อยู่อาศัย และในวันที่ 23 ตุลาคม 2012 หลังจากการประชุมหลายเดือนและการประกาศสนับสนุนการกวาดล้างโรฮิงญา
กลุ่มชาวอาระกัน (หรือยะไข่) โจมตีชุมชนมุสลิมพร้อมกัน 9 เมือง
ทำการกวาดล้างในหลายหมู่บ้าน สังหารพลเรือน ในขณะที่ทหารตำรวจยืนดูเฉยๆ หรือให้ความช่วยเหลือโจมตีโรฮิงญา
วิเคราะห์: (อัพเดท 22 เม.ษ. 12.40 น.)
เรื่องชาวโรฮิงญาถูกข่มเหงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว
ย้อนหลังได้นับสิบปีที่ชาวโรฮิงญานับหมื่นนับแสนถูกข่มเหง ต้องอพยพย้ายถิ่นกลายเป็นผู้ไร้บ้าน (นอกจากเป็นผู้ไร้รัฐ) ในระยะหลังเป็นได้รับการเผยแพร่มากขึ้นทั้งจากสื่อในและนอกประเทศ
ข่าวโรฮิงญาในราวกลางปีที่แล้ว
และข่าวความรุนแรงที่กระทำต่อมุสลิมในเมียนมาร์ปีนี้ ทำให้ประเด็นดังกล่าวอยู่ในความสนใจต่อเนื่อง
การที่
Human Right Watch เปิดเผยรายงานล่าสุดก่อนประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพียงไม่กี่วัน
ให้ข้อสรุปว่าการข่มเหงชาวโรฮิงญา มุสลิมในเมียนมาร์เป็นความร่วมมือหลายฝ่าย เป็นการจัดตั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้อง
ทำให้กระแสดังกล่าวถูกจุดขึ้นมาอีกครั้ง ครั้งนี้เจ้าภาพคือประเทศบรูไน และอาเซียนให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าว
ทั้งหมดเป็นปัจจัยร่วมที่สนับสนุนว่ากรณีโรฮิงญา
มุสลิมในเมียนมาร์จะเป็นประเด็นที่ต้องหยิบยกมาพูดคุย
ต้องติดตามว่ารัฐบาลเมียนมาร์จะรับมือเรื่องดังกล่าวอย่างไร
แต่นานาชาติโดยเฉพาะอาเซียนจะตอบสนองอย่างไร
22 เมษายน 2013
ชาญชัย คุ้มปัญญา
----------------------
บรรณานุกรม:
1. ASEAN, THE ROHINGYAS AND MYANMAR’S RESPONSIBILITY TO
PROTECT, AP R2P Brief, Vol. 2 No.9 (2012), http://www.r2pasiapacific.org/documents/R2P%20Ideas%20in%20Brief%20ASEAN%20The%20Rohingyas%20and%20Myanmars%20R2P.pdf
2. Plight of the Rohingya: ASEAN Credibility Again at Stake,
19 NOVEMBER 2012, http://www.fairobserver.com/article/plight-rohingya-asean-credibility-again-stake
3. Burma: End ‘Ethnic Cleansing’ of Rohingya Muslims, Human
Right Watch, 22 April 2013, http://www.hrw.org/news/2013/04/22/burma-end-ethnic-cleansing-rohingya-muslims
-----------------