28 พฤษภาคม 2013
ชาญชัย
สรุปสถานการณ์: (อัพเดท 28 พ.ค. 21.00 น.)
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์
อัล อัสซาด กับฝ่ายต่อต้านที่ดำเนินมากกว่า 2 ปีแล้วดำเนินต่อไป
ข้อมูลบางแหล่งอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 8 หมื่นคน (บางแห่งมากกว่านี้) ล่าสุดสหรัฐฯ
กับรัสเซียกำลังร่วมมือหาทางออกด้วยการเจรจาอีกครั้ง ในขณะเดียวกันกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) เพิ่งประกาศยกเลิกการคว่ำบาตรเรื่องการขายหรือส่งมอบอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้าน
ไม่ทันที่ชาติสมาชิกอียูจะเริ่มส่งมอบอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้าน รัฐบาลรัสเซียก็ออกมาประกาศว่าอาจขายขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานที่มีสมรถนะสูงแก่รัฐบาลซีเรีย
คืบหน้าล่าสุด: (อัพเดท 28 พ.ค. 21.00 น.)
เมื่อวาน (วันที่ 27) ที่ประชุมสหภาพยุโรปได้ข้อสรุปนโยบายคว่ำบาตรต่อรัฐบาลซีเรียอันเนื่องจากความขัดแย้งในประเทศดังกล่าว
ข้อสรุปคืออียูคงการคว่ำบาตรเดิมทุกประกาศ ยกเว้นยกเลิกการคว่ำบาตรเรื่องการขายอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้าน
โดยชาติสมาชิกอียู่แต่ละประเทศจะเป็นผู้ตัดสินด้วยตนเองว่า จะขาย จัดหา ส่งอุปกรณ์ทางการทหารแก่แนวร่วมฝ่ายต่อต้าน
Syrian National Coalition for Opposition เท่านั้น
อาวุธเหล่านี้จะต้องใช้เพื่อการปกป้องพลเรือน และประเทศที่ขายอาวุธจะต้องมีระบบป้องกันไม่ให้อาวุธเหล่านั้นถูกนำไปใช้ในทางอื่น
(Council declaration on Syria, 3241st FOREIGN AFFAIRS Council meeting Brussels, 27 May 2013)
นายวิลเลียม
เฮก รมว.กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษกล่าวว่า อังกฤษเห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางการเมือง
ทางการทูต แต่การยกเลิกเรื่องการห้ามสนับสนุนอาวุธเป็น
“ส่วนหนึ่งที่ช่วยวิถีทางการทูต” เป็นการส่งสัญญาณแก่รัฐบาลอัสซาดว่า
อียูจริงจังที่จะแก้ปัญหาด้วยการเจรจา
(Syria conflict: EU considers amending arms embargo, BBC, 27
May 2013)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซีย
Sergei Ryabkov กล่าวว่ารัสเซียจะไม่ยกเลิกแผนขายขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน
S-300 แก่รัฐบาลซีเรีย แม้ว่าชาติตะวันตกจะพยายามห้าม
และกล่าวโทษว่าการที่อียูยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเรื่องการขายอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้านเหมือนกับการ
“โยนดุ้นฟืนเข้ากองไฟ” และเห็นว่า S-300 “จะเป็นตัวถ่วงดุล
และยับยั้งพวกหัวรุนแรง” ที่มองหาโอกาสให้คนนอกเข้าแทรกแซง ทั้งนี้รัฐบาลรัสเซียยังไม่กำหนดว่าจะส่งมอบอาวุธดังกล่าวเมื่อไร
“เพียงแต่จะไม่ยกเลิก” แผนขายอาวุธเท่านั้น
(Russia says missile systems for Syria will deter
intervention, Reuters, 28 May 2013)
วิเคราะห์: (อัพเดท 29 พ.ค. 8.30 น.)
ในหมู่ชาติสมาชิกอียูมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการสนับสนุนให้ฝ่ายต่อต้านมีอาวุธทันสมัย
อังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นแกนนำสองประเทศในอียูที่สนับสนุนเรื่องการให้อาวุธแก่ฝ่ายต่อต้าน
ที่ผ่านมาติดเรื่องมติของอียูที่ห้ามสนับสนุนฝ่ายต่อต้านด้วยอาวุธ
การให้อาวุธมีเหตุผลหลายอย่าง เหตุผลล่าสุดที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษอ้างคือเพื่อทำให้รัฐบาลอัสซาดเห็นว่าอียูสนับสนุนฝ่ายต่อต้านอย่างจริงจัง
โดยอิงกับเรื่องการเจรจาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในซีเรียที่สหรัฐฯ
กับรัสเซียเป็นหัวเรือใหญ่ซึ่งคาดว่าจะประชุมได้ในราวกลางเดือนหน้า
แต่เพียงหนึ่งวันให้หลัง รัฐบาลรัสเซียก็ออกมาตอบโต้นโยบายของอียูด้วยการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่า
รัสเซียจะไม่ยกเลิกแผนขายขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน S-300 แก่รัฐบาลซีเรีย
และพูดเป็นนัยว่าเป็นการตอบโต้ที่อียูยอมให้ชาติสมาชิกขายอาวุธทันสมัยแก่ฝ่ายต่อต้าน
เรื่องการขายขีปนาวุธ
S-300 เป็นข่าวมาพักหนึ่งแล้ว ที่ผ่านมาชาติตะวันตกกับอิสราเอลพยายามยับยั้ง
เพราะขีปนาวุธดังกล่าวมีสมรรถนะสูงมาก สูงที่สุดที่รัฐบาลรัสเซียขายให้กับมิตรประเทศของตน
สถานการณ์ดังกล่าว
จึงเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างสนับสนุนพวกของตน
หากวิเคราะห์ให้ลึกกว่านี้ ขีปนาวุธ S-300
ไม่ช่วยให้ฝ่ายรัฐบาลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในการต่อกรกับฝ่ายต่อต้าน
เพราะฝ่ายต่อต้านไม่มีเครื่องบินรบ แต่หากรัฐบาลซีเรียมีขีปนาวุธ S-300 จะส่งผลกระทบสำคัญต่อ
แผนการจัดตั้งเขตห้ามบิน (No-fly-zone) ที่ฝ่ายต่อต่อต้านกับประเทศเพื่อนบ้านซีเรียหลายประเทศเรียกร้องมาตลอด
อีกทั้งทำให้อากาศยานทั้งเครื่องบินรบ เครื่องบินพลเรือนในย่านนั้นตกเป็นเป้าทันที
เพราะขีปนาวุธดังกล่าวสามารถยิงอากาศยานที่ไกลออกไปถึง 100 กิโลเมตร
สูงสุดที่ระดับ 100,000 ฟุต (ขึ้นกับรุ่นด้วย)
อีกเหตุผลหนึ่งคือจะกระทบต่อการโจมตีทางอากาศจากประเทศอื่นๆ เช่น กรณีเครื่องบินรบอิสราเอลโจมตีฐานที่มั่น โจมตีรถลำเลียงของซีเรียที่ฝ่ายอิสราเอลอ้างว่ากำลังส่งมอบอาวุธแก่ฮิซบุลลอฮ์ ไม่ว่าอิสราเอลจะอ้างอย่างไรนั่นเป็นการโจมตีในดินแดนอธิปไตยของซีเรีย ผลกระทบอีกกรณีหนึ่งคือรัฐบาลโอบามาประกาศว่าจะไม่ยอมให้อาวุธเคมีของรัฐบาลซีเรียตกอยู่ในมือของพวกผู้ก่อการร้าย คำกล่าวดังกล่าวมีความเป็นไปได้ว่าอาจชิงโจมตีคลังอาวุธเหล่านั้น ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าสหรัฐฯ ได้ส่งหน่วยรบพิเศษมาประจำที่ตุรกี ปฏิบัติการจู่โจมจากสหรัฐฯ หรืออิสราเอลจะมีความเสี่ยงมากขึ้น
ดังนั้น ขีปนาวุธ S-300 จึงไม่ส่งผลโดยตรงต่อการรบกับฝ่ายต่อต้าน แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ที่คิดจะใช้กำลังอากาศกับซีเรีย
อีกเหตุผลหนึ่งคือจะกระทบต่อการโจมตีทางอากาศจากประเทศอื่นๆ เช่น กรณีเครื่องบินรบอิสราเอลโจมตีฐานที่มั่น โจมตีรถลำเลียงของซีเรียที่ฝ่ายอิสราเอลอ้างว่ากำลังส่งมอบอาวุธแก่ฮิซบุลลอฮ์ ไม่ว่าอิสราเอลจะอ้างอย่างไรนั่นเป็นการโจมตีในดินแดนอธิปไตยของซีเรีย ผลกระทบอีกกรณีหนึ่งคือรัฐบาลโอบามาประกาศว่าจะไม่ยอมให้อาวุธเคมีของรัฐบาลซีเรียตกอยู่ในมือของพวกผู้ก่อการร้าย คำกล่าวดังกล่าวมีความเป็นไปได้ว่าอาจชิงโจมตีคลังอาวุธเหล่านั้น ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าสหรัฐฯ ได้ส่งหน่วยรบพิเศษมาประจำที่ตุรกี ปฏิบัติการจู่โจมจากสหรัฐฯ หรืออิสราเอลจะมีความเสี่ยงมากขึ้น
ดังนั้น ขีปนาวุธ S-300 จึงไม่ส่งผลโดยตรงต่อการรบกับฝ่ายต่อต้าน แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ที่คิดจะใช้กำลังอากาศกับซีเรีย
หากมองในแง่บวก
คือ การตอบโต้ของรัสเซียทำให้ชาติสมาชิกอียูที่ระงับแผนขายอาวุธทันสมัยแก่ฝ่ายต่อต้าน
ทำให้ไฟสงครามไม่โหมรุนแรงกว่าเดิม (จินตนาการว่าทั้งสองฝ่ายต่างใช้อาวุธอำนาจทำลายสูงเข้าห้ำหั่นกัน)
มองในแง่ลบคือ เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นตอกย้ำความคิดที่ว่าความขัดแย้งในซีเรียคงไม่ยุติง่ายๆ
----------------------
บทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง:
เขตปลอดภัยกับเขตห้ามบินมีความหมายแตกต่างกัน
บทวิเคราะห์นี้จะอธิบาย คำสองคำดังกล่าวพร้อมวิเคราะห์ความแตกต่าง
ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
2. เกาะติดประเด็นร้อน “ความขัดแย้งในประเทศซีเรีย”(2)
(อัพเดท 30 พ.ค. 17.40 น.) สองสามวันก่อนอียูอนุมัติให้ชาติสมาชิกสามารถขายอาวุธทันสมัยแก่ฝ่ายต่อต้าน
รัฐบาลรัสเซียจึงออกมาตอบโต้ด้วยการประกาศว่าไม่ได้ระงับแผนขายขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน
S-300 แก่ทางการซีเรีย มาวันนี้ประธานาธิบดีซีเรียบอกว่าได้รับขีปนาวุธ
S-300 ชุดแรกแล้ว
ข่าวการใช้อาวุธเคมีซารินในซีเรียกลายเป็นเรื่องจริง
แต่ยังสับสนว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้ ที่ผ่านมาซารินทำให้ผู้คนเสียชีวิตบาดเจ็บไม่มาก
แต่กลับมีผลทางการเมืองระหว่างประเทศอย่างมากทั้งต่อซีเรียและชาติมหาอำนาจอย่างอเมริกา
(อัพเดท 14 มิ.ย. 13.30 น.)
สถานการณ์ความขัดแย้งในซีเรียเริ่มเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญแล้ว
เนื่องจากประธานาธิบดีบารัก โอบามาอนุมัติสนับสนุนอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้าน
หลังจากมีข้อสรุปแล้วว่ารัฐบาลอัสซาดได้ใช้อาวุธเคมีโจมตีฝ่ายต่อต้าน
(อัพเดท 24 ก.ค. 8.30 น.) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
เปิดเผยแผนช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก เพื่อให้ฝ่ายบริหาร
สมาชิกสภาครองเกรสใช้ประกอบการตัดสินใจ
แต่ดูเหมือนว่าไม่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งในซีเรียแต่อย่างไร
(อัพเดท 23 ส.ค. 20.50 น.)
ข่าวการใช้อาวุธเคมีล่าสุดในซีเรีย มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ทำให้หลายประเทศเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติเข้าตรวจสอบ
ในขณะที่ประธานาธิบดีโอบามากล่าวอย่างชัดเจนว่าสหรัฐฯ
จะไม่แทรกแซงซีเรียด้วยกำลังทหาร
-------------------