เกาะติดประเด็นร้อน “หลังการโค่นล้มโมฮัมเหม็ด มอร์ซีแห่งอียิปต์ และรัฐบาลเฉพาะกาลของอัดลี มานซูร์” (1)
สรุปสถานการณ์: (อัพเดท 8 ก.ค. 9.10 น.) หลังพ้นคำขาด 48 ชั่วโมงของกองทัพ พลเอกอับเดล ฟาตาห์ อัล ซาซี (Abdul Fatah al-Sisi) ผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ประกาศ ระงับใช้รัฐธรรมนูญ
แต่งตั้งนายอัดลี มานซูร์ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการณ์
ส่วนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีถูกทหารควบคุมตัว
ผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายยังคงชุมนุมต่อเนื่อง ประเด็นที่ให้ความสนใจคือการเลือกนายกรัฐมนตรีรักษาการณ์ที่ยังหาคำตอบไม่ได้
คืบหน้าล่าสุด: (อัพเดท 8 ก.ค. 9.10 น.)
เมื่อวาน (7 ก.ค.) ประชาชนทั้งฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านอดีตปธน.มอร์ซี ยังคงชุมนุมกันต่อไป
มีผู้เข้าร่วมหลายหมื่นคนในหลายจุดทั่วไประเทศ ฝ่ายสนับสนุนมอร์ซีประกาศเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร
เห็นว่าปธน.มอร์ซีมาจากการเลือกตั้งอย่างชอบธรรม จะชุมนุมเพื่อ “ปกป้องการปฏิวัติ”
ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนการยึดอำนาจเห็นว่าอำนาจที่แท้จริงต้องมาจากเจตนารมณ์ของประชาชน
เหตุการณ์ความวุ่นวายที่ผ่านมาทั้งกลุ่มฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านล้วนมีผู้ใช้อาวุธด้วยกันทั้งสิ้น
ด้านการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลยังเป็นปัญหา เนื่องจากประธานาธิบดีรักษาการณ์สั่งระงับการแต่งตั้งนายโมฮัมเหม็ด
เอลบาราเดขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการณ์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่านายเอลบราเดจะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งดังกล่าว
เนื่องจากบางกลุ่มไม่สนับสนุน
Mohamad
Elmasry อาจารย์มหาวิทยาลัย American University of Cairo ให้ความเห็นว่าชาวอียิปต์ไม่นิยมนายเอลบาราเด
“แม้ว่าชาติตะวันตกจะรู้จักเขาดี” ทั้งฝ่ายฝ่ายสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีมอร์ซีหรือฝ่ายสนับสนุนรัฐประหารต่างไม่นิยม
Mohammed
al-Nashar แกนนำคนหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมกล่าวว่านายเอลบาราเดเป็น “คนของชาติตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของต่างชาติมากกว่าผลประโยชน์ของคนอียิปต์”
แต่ไหนแต่ไรเขาต่อต้านอิสลาม สนับสนุนการรัฐประหารอย่างออกนอกหน้า
ทั้งหมดนี้เท่ากับ “นำประเทศอียิปต์กลับสู่ยุคมูบารัคอีก”
Amr Mekki สมาชิกของ Salafi Islamists กล่าวว่ามีคนวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มภราดรภาพมุสลิม
นักเคลื่อนไหวอิสลามตัดสินใจโดยไม่ปรึกษากับกลุ่มอื่นๆ แต่ในขณะนี้ฝ่ายต่อต้านประธานาธิบดีมอร์ซีก็กระทำเช่นเดียวกัน
เพียงแต่ใช้คนละวิธีเท่านั้น การรัฐประหารไม่ใช่วิถีประชาธิปไตย
เมื่อวันอาทิตย์ (7 ก.ค.) กองกำลังไม่ทราบฝ่ายโจมตีจุดตรวจ 4 ชุดที่เมือง Sheikh Zuweid ในคาบสมุทคซีนายใกล้พรมแดนอียิปต์กับอิสราเอลและฉนวนกาซา เกิดการโจมตีลักษณะนี้หลายครั้งตั้งแต่ประธานาธิบดีมอร์ซีถูกยึดอำนาจ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเหตุโจมตีเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมืองในอียิปต์หรือไม่
เมื่อวันอาทิตย์ (7 ก.ค.) กองกำลังไม่ทราบฝ่ายโจมตีจุดตรวจ 4 ชุดที่เมือง Sheikh Zuweid ในคาบสมุทคซีนายใกล้พรมแดนอียิปต์กับอิสราเอลและฉนวนกาซา เกิดการโจมตีลักษณะนี้หลายครั้งตั้งแต่ประธานาธิบดีมอร์ซีถูกยึดอำนาจ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเหตุโจมตีเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมืองในอียิปต์หรือไม่
สองสามวันที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างกองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายกับทหารอียิปต์บริเวณคาบสมุทรซีนาย กว่า 10 ครั้ง กองกำลังติดอาวุธได้โจมตีท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ส่งไปให้ประเทศจอร์แดน
เป็นเหตุให้เมื่อวันเสาร์เกิดเหตุท่อระเบิดแต่ขณะนี้ดับไฟได้แล้ว
ในขณะที่จุดตรวจอีกแห่งหนึ่งเจ้าหน้าที่ 5
นายถูกสังหาร คาดว่าเหตุเหล่านี้เกิดจากพวกมุสลิมหัวรุนแรง
วิเคราะห์: (อัพเดท
8 ก.ค. 9.10 น.)
เป็นที่ทราบกันว่านายอัดลี
มานซูร์ ประธานาธิบดีรักษาการณ์ คืออดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีความคุ้นเคยกับบทบาทงานบริหารประเทศ
ในขณะที่ประเทศจำต้องมีผู้นำที่ได้รับการยอมรับทั้งจากประชาชน จากต่างประเทศ
มีความรู้ความสามารถ จึงปรากฏชื่อของนายโมฮัมเหม็ด เอลบาราเด (Mohamed
Elbaradei) ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการณ์
นายเอลบาราเดไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยเหตุผลที่ยังไม่ชัดเจน อาจเป็นเพราะฝ่ายมุสลิมไม่เห็นด้วย
หรือเพราะฝ่ายอื่นๆ หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมชื่อของนายเอลบาราเดจึงถูกนำเสนอ
นายเอลบาราเดคือหนึ่งในแกนนำสำคัญของฝ่ายต่อต้าน
เป็นผู้นำกลุ่ม National Salvation Front และผู้นำพรรค liberal
Al-Dustur party ชาติตะวันตกรู้จักอย่างดีเนื่องจากเคยทำงานในทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
(International Atomic Energy Agency)
สืบหาอาวุธอำนาจทำลายร้ายในแรงอิรัก
อาจต้องใช้เวลาอีกสองสามวันจนกว่าจะได้ตัวนายกรักษาการณ์
แต่หากยังไม่ได้และเวลายืดยาวออกไปเรื่อยๆ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย ประเด็นสำคัญเฉพาะหน้ามีสองเรื่อง
คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้า ในเบื้องต้นจำต้องให้การเมืองสงบก่อน
ดังที่เคยกล่าวแล้วว่า ถ้าวิเคราะห์ภาพกว้าง
จุดเริ่มต้นของการประท้วงรอบนี้เกิดจากสองสาเหตุหลักคือ
เรื่องทางการเมืองกับปัญหาเศรษฐกิจ
ในด้านการเมืองอาจถือว่าฝ่ายต่อต้านได้กุมหัวหาดแห่งชัยชนะแล้ว
แต่เส้นทางอีกยาวไกลเพราะประเทศต้องจัดเลือกตั้ง เลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เหล่านี้มีขั้นตอน เมื่อถึงวันนั้นจะกลายเป็นว่าฝ่ายต่อต้านในปัจจุบันกลายเป็นฝ่ายสนับสนุน
ในขณะที่กลุ่มผู้จงรักภักดีต่อมอร์ซีกลายเป็นฝ่ายต่อต้าน อาจเกิดการชุมนุมประท้วงเหมือนทุกครั้งที่ผ่านเพียงแต่สลับฝ่ายสลับขั้ว
อีกด้านหนึ่งคือปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมายาวนานหลายทศวรรษ
และยิ่งซ้ำเติมหนักในยุคของประธานาธิบดีมอร์ซี การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าคือต้องให้กิจกรรมเศรษฐกิจต่างๆ
ทำงานต่อโดยราบรื่น ไม่เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง
แม้เป็นรัฐบาลเฉพาะกาลก็ต้องเร่งคืนความสงบกลับมาโดยเร็ว
ตั้งแต่เกิดเหตุวุ่นวายในอียิปต์
ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกก็ทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ จนน้ำมัน WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าเช้านี้พุ่งทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปัจจัยอียิปต์ที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในขณะนี้เกิดจากสองสาเหตุคือปัญหาการเมืองที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบ
และอาจทวีความรุนแรงมากขึ้น กับการมีกองกำลังติดอาวุธโจมตีท่อส่งน้ำมัน
ก๊าซธรรมชาติ จึงคาดว่าปัจจัยอียิปต์เป็นตัวหนุนให้ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูงต่อไป (ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย)
อนึ่ง
การปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่อียิปต์กับกองกำลังติดอาวุธมีมานานแล้ว
แหล่งข่าวไม่ระบุว่าเป็นสัญชาติใด แต่เกี่ยวโยงกับมุสลิมหัวรุนแรง
ในช่วงรัฐบาลมอร์ซีมีข่าวการปะทะเสมอ และในช่วงนี้มีการปะทะถี่ขึ้น
นับจากการชุมนุมใหญ่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มิ.ย. จนถึงวันนี้ สถานการณ์การเมืองอียิปต์ยัง “ตึงเครียด” การชุมนุมประท้วงของประชาชนทั้งสองฝ่ายเป็นเรื่องเฉพาะหน้าที่สื่อ
รัฐบาลนานาประเทศให้ความสนใจ
7 กรกฎาคม 2013
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
(อัพเดท 4 ก.ค. 10.30 น.) ข้อเสนอประนีประนอมของมอร์ซีเป็นหมัน กองทัพทำการรัฐประหาร
แต่การรัฐประหารเป็นเพียงการเริ่มต้นใหม่เท่านั้น ยังไร้ร่องรอยของอดีตปธน.
กลุ่มผู้จงรักภักดีได้ปะทะกับทหารมีผู้เสียชีวิตนับสิบคน
บรรณานุกรม:
1. Rival protests planned Sunday following Morsi's ouster by
military, Ahram Online, 6 July 2013, http://english.ahram.org.eg/NewsContent/1/64/75888/Egypt/Politics-/Rival-protests-planned-Sunday-following-Morsis-ous.aspx
2. Egypt's New Leaders Retreat From Naming ElBaradei, WSJ, 6
July 2013, http://online.wsj.com/article/SB10001424127887323899704578589362013518612.html
3. ElBaradei not confirmed as Egypt PM, Al Jazeera, 7 July
2013, http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2013/07/201376165715352978.html
4. Egyptian gas pipeline to Jordan blown up, Haaretz/AP, 7
July 2013, http://www.haaretz.com/news/middle-east/egyptian-gas-pipeline-to-jordan-blown-up-1.534269
5. Gunmen attack Sinai checkpoints close to Israel border,
Egypt Independent/Reuters, 7 July 2013, http://www.egyptindependent.com/news/gunmen-attack-sinai-checkpoints-close-israel-border
----------------------