รอบวันสถานการณ์โลก ตุลาคม 2022
จันทร์ 31 ตุลาคม
การเมืองอิสราเอลที่ไร้เอกภาพ ต้องเลือกตั้งรอบที่ 5 ใน 4 ปี :
หลังรัฐบาลอิสราเอลที่ประกอบด้วยหลายฝ่าย รวมทั้งตัวแทนอาหรับ
เป็นรัฐบาลได้เพียงปีเดียว รัฐบาลเบนเน็ตต์ประกาศยุบสภา
นำสู่การเลือกตั้งในวันพรุ่งนี้ (1 พ.ย.)
คำถามสำคัญคือจะเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายขวา พวกไซออนนิสต์กลับมาเป็นแกนนำรัฐบาลอีกรอบหรือไม่
เนทันยาฮูจะได้กลับมาเป็นนายกฯ อีกรอบหรือไม่ แม้มีคดีทุจริตติดตัว มีข่าวฉาวมาอย่างยาวนาน
วิเคราะห์
:
1) การเมืองอิสราเอลแม้มีพรรคไซออนนิสต์เป็นขั้วใหญ่ขั้วหนึ่ง
แต่ยังประกอบด้วยพรรคอื่นๆ แนวทางอื่นๆ อีกมาก (ถึงขนาดจัดตั้งรัฐบาลได้เหมือนกัน)
ยิวอิสราเอลไม่ใช่ไซออนิสต์เสมอไป (ไซออนนิสต์เป็นแนวทางหนึ่งเท่านั้น) ประกอบกับสมัยรัฐบาลเนทันยาฮูมีข่าวทุจริตหนาหู
จึง “สูญเสียความนิยม” ยิวหลายคนที่ครั้งหนึ่งเลือกพรรคแนวทาง ultra-Orthodox หันไปเลือกพรรคสายกลางมากขึ้น
2)
บัดนี้รัฐบาลรวมพรรคเล็กของเบนเน็ตต์ไปต่อไม่ได้ พิสูจน์อีกครั้งว่า
“แตกต่างกันมากเกินไป” เมื่อรัฐบาลยก “ประเด็นสำคัญ” ขึ้นมาก็เข้ากันไม่ได้ จนต้องยุบสภา เลือกตั้งใหม่อีกรอบ คนอิสราเอลกลับมาสู่วังวนเดิมว่าจะเลือก
“ขั้วไหน” มีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งคู่ ถ้ามองแง่บวกคือทุกพรรคทุกสายอยู่ในกระบวนการประชาธิปไตย
พวกไซออนนิสต์ก็ไม่เว้น ในอีกด้านคือพรรคการเมืองอิสราเอลมีหลากหลายมากและขาดเอกภาพ
เป็นเหตุผลว่าพรุ่งนี้คนอิสราเอลต้องเข้าคูหาเลือกตั้งรอบที่ 5 ใน 4 ปี
------------------
สมัชชาสหประชาชาติลงมติท่วมท้นขอให้อิสราเอลปลดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมด (The Jerusalem Post)
ด้วยคะแนน 152 ต่อ 5 และไม่ออกเสียง 24 ประเทศ ประเทศที่คัดค้านคือแคนาดา อิสราเอล Micronesia, Palau และสหรัฐฯ อีก 24
ประเทศที่งดออกเสียงส่วนใหญ่เป็นสมาชิกอียู
วิเคราะห์ :
1) เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าอิสราเอลมีอาวุธนิวเคลียร์
ที่ผ่านมาอิสราเอลใช้วิธีไม่ยอมรับพร้อมกับไม่ปฏิเสธ (nondeclaratory
policy) คาดว่าปัจจุบันอิสราเอลน่าจะมีนิวเคลียร์ราว 100 หัวรบ และยังพัฒนาระบบปล่อยอย่างต่อเนื่อง
2) แม้ข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติไม่มีผลบังคับใช้
แต่เท่ากับนานาชาติได้รับรู้และประณามการประจำการอาวุธนิวเคลียร์ของอิสราเอล
3)
สุดท้ายคือ ไม่ว่านานาชาติจะพูดอย่างไร อิสราเอลก็ยังมีอาวุธนิวเคลียร์และยังพัฒนาต่อไป
ระบบนำทางเรือโดรน (โดรนที่เป็นเรือ) ที่โจมตีเรือรัสเซียในไครเมียเมื่อ 3 วันก่อนประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ผลิตจากแคนาดา (Al Jazeera)
กระทรวงกลาโหมรัสเซียเผยศัตรูใช้เรือโดรน 16 ลำโจมตีพร้อมกัน โดรนเหล่านี้ใช้เส้นทางขนส่งธัญพืชก่อนหันหน้าสู่ท่าเรือรัสเซีย
(เป็นเส้นทางที่ตกลงกันไว้ว่าเรือขนส่งสินค้าจะปลอดภัยเพื่อขนธัญพืชออกจากยูเครน)
และได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยรบพิเศษอังกฤษ
#สงครามยูเครน #โดรน
อาทิตย์ 30 ตุลาคม
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ 2022 (2)
เขตที่แข่งขันดุเดือดมากที่สุดคืออินโด-แปซิฟิกและกำลังขยายเป็นทั้งโลก
แข่งขันวางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ใน 10
ปีนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุดห้วงเวลาชี้อนาคต
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/252395/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/252344/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2022/11/US-National-Security-Strategy-2022-2.html
ศุกร์ 28 ตุลาคม
เมื่อวาน (27) อิรักได้รัฐบาลใหม่แล้ว หลังเลือกตั้ง 1 ปีเต็ม (Al Arabiya)
Mohammed Shia al-Sudani เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่
วิเคราะห์ : ที่น่าสนใจคือพรรคของอัล-ซาดาร์ที่ได้คะแนนมากสุดไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาล
ต้นเหตุสำคัญมาจากการแตกแยกของพวกชีอะห์ด้วยกันเอง การไม่ยอมรับอัล-ซาดาร์
หรืออาจมองว่ากลุ่มต่างๆ เกรงว่าหากอัล-ซาดาร์ได้อำนาจจริงจะรวบอำนาจไว้หมด
(เพราะกลุ่มนี้เข้มแข็ง)
#อิรักวันนี้
ปูตินชี้ว่ามกุฎราชกุมาร มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ยึดนโยบายสร้างสมดุลตลาดน้ำมัน รัสเซียกำลังเร่งสร้างมิตรภาพกับซาอุฯ (Arab News)
เห็นด้วยหากซาอุฯ จะเข้าร่วมกลุ่ม BRICS
วิเคราะห์ : เป็นไปได้ว่านโยบายซาอุฯ
กำลังเปลี่ยนแปลง อาจถอยห่างจากการเป็นพันธมิตรสหรัฐฯ ที่มีมายาวนาน ควรติดตามดูความชัดเจน
#ซาอุวันนี้
ผู้นำฝรั่งเศสเผยยุโรปควรออกกฎหมายซื้อใช้รถของยุโรป (Politico)
ประธานาธิบดีมาครงเห็นว่าควรออกกฎหมาย
(Buy European Act) หลังรัฐบาลไบเดนลดภาษีรถ EV ที่ผลิตในอเมริกาเหนือ กีดกันรถต่างชาติ
วิเคราะห์ : เรื่องนี้ผมได้นำเสนอแล้ว
ควรติดตามเพราะรัฐบาลสหรัฐฯ กำลังล้มระเบียบการค้าเสรีแบบเดิม (ระเบียบการค้าเสรีที่สหรัฐฯ
ตั้งขึ้นมาเองและตอนนี้กำลังจะล้มด้วยตัวเอง)
#การค้าเสรี
ปูตินชี้แจงรัสเซียไม่ใช้นิวเคลียร์ (และอื่นๆ) -
วิเคราะห์ : ผมวิเคราะห์สั้นๆ
ว่าเหตุที่รัฐบาลตะวันตกพยายามพูดว่ารัสเซียเตรียมใช้นิวเคลียร์ 1) เพื่อชี้ว่ารัสเซียกำลังรบแพ้ในยูเครน (จึงต้องใช้นิวเคลียร์) เป็นการให้กำลังใจคนยูเครนให้รบต่อไปจนเหลือทหารคนสุดท้าย
(ตามที่ไบเดนประกาศ) 2) ให้คนยุโรปสนับสนุนการรบ
ตอนนี้คนยุโรปประท้วงหนักและจะหนักมากขึ้น ไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามมากขึ้น
จึงต้องหาเหตุผลว่าสมควรรบต่อรัสเซียกำลังแพ้ 3) เป็นการสร้างภาพให้ปูตินดูน่ากลัวโหดร้าย
... ตั้งแต่มีนิวเคลียร์ในโลกนี้เพิ่งใช้นิวเคลียร์ถล่มคนจริงๆ แค่ 2 ลูก 4) อาจมีแผนใช้ dirty bomb เพื่อเป็นเหตุให้นานาชาติต้องคว่ำบาตรรัสเซีย
เข้าแผนของอเมริกาที่ไม่ส่งทหารเข้ารบแต่ใช้วิธีคว่ำบาตรปิดล้อมรัสเซีย ...
อ่านคำชี้แจงของปูติน ...
http://en.kremlin.ru/events/president/transcripts/69695
พฤหัส 27 ตุลาคม
ทรัมป์เผยรอผลการเลือกตั้งกลางเทอมเพื่อตัดสินใจลงเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกสมัย (The Age)
ช่วงนี้ทรัมป์เดินสายปราศรัยหาเสียงของพรรครีพับลิกัน
วิเคราะห์ : ทรัมป์เกิดมิถุนายน
2489 กว่าจะถึงเลือกตั้งประธานาธิบดีตอนนั้นอายุ 78 ปี
ทรัมป์หาเสียงเล่นประเด็นสินค้าแพง น้ำมันแพง และ
“just weeks away from winter” 555
#เลือกตั้งกลางเทอม #ทรัมป์
3) บรรษัทน้ำมันสหรัฐฯ ผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์
สหรัฐฯ เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันชนิดต่างๆ ถึง 11.4
ล้านบาร์เรลต่อวัน แบ่งเป็นน้ำมันดิบ 5.1 (เป็นสถิติสูงสุด) และน้ำมันผ่านการกลั่นอีก
6.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
บรรษัทน้ำมันสหรัฐฯ
เร่งผลิตและส่งออกอย่างเต็มที่ในช่วงนี้ Energy Information Administration
เผยว่าเป็นผลจากเทคโนโลยี shale gas กับ shale
oil
วิเคราะห์ :
คนอเมริกันต้องซื้อใช้พลังงานในราคาตลาดโลก
แม้ประเทศตัวเองเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก
การคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียส่งผลดีต่อบรรษัทน้ำมันสหรัฐฯ โดยตรงทั้งเรื่องขายได้ราคาดีและขายได้มากขึ้น
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
อ่าน
http://www.chanchaivision.com/2022/10/EU-divided-price-cap.html
คาดตลาดหุ้นอเมริกาบวก 25% ถ้าพรรครีพับลิกันชนะเลือกตั้งกลางเทอม (Markets Insider)
ผลตามมาคือรัฐบาลไบเดนจะชะลอกดดันเศรษฐกิจ และจะลดเงินอัดฉีดเท่ากับช่วยลดเงินเฟ้อด้วย
(เงินเฟ้อส่วนหนึ่งมาจากการใช้งบประมาณรัฐ)
วิเคราะห์ : กระแสชี้ว่าพรรคไบเดนจะแพ้
อยู่ที่แพ้มากแพ้น้อยเท่านั้น ดอลลาร์จะอ่อนตัว
#ทิศทางหุ้น
พุธ 26 ตุลาคม
ดอลลาร์อ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ตลาดลดคาดการณ์ Fed ขึ้นดอกเบี้ย 75 bps (Bloomberg)
ราคาสินทรัพย์อื่นๆ พากันปรับขึ้นสวนดอลลาร์
#ค่าเงินดอลลาร์วันนี้
เงินเฟ้อออสเตรเลียสูงสุดในรอบ 32 ปี รัฐบาลทุ่มงบ 7,500 ล้านดอลลาร์ช่วยเหลือการดูแลเด็กเล็ก (The Age)
ตอนนี้รัฐบาลกำลังหาทางลดค่าครองชีพประชาชน
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
อังคาร 25 ตุลาคม
ผู้นำฝรั่งเศสเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ เจรจาสันติภาพยูเครน
ประธานาธิบดีมาครงกล่าวว่าสหรัฐฯ
ขายก๊าซในราคาแพงกว่าที่เราเคยซื้อ 3-4 เท่า
วิเคราะห์ : สังเกตมาครงเอ่ยถึงสหรัฐฯ สงครามยูเครนจะยุติหรือไม่ขึ้นกับสหรัฐฯ ผู้สนับสนุนรายใหญ่
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
รู้ไหมยุโรปซื้อก๊าซในราคาแพงกว่าอเมริกา 5 เท่า ราคาที่สหรัฐฯ เฉลี่ย 5 ดอลลาร์ต่อ MMBTU ส่วนยุโรป 25 (oilpricedotcom)
ทั้งนี้เพราะสหรัฐฯ สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลจนอุปทานล้นตลาด
วิเคราะห์ : แต่เดิมยุโรปซื้อก๊าซจากรัสเซียในราคาถูก
จันทร์ 24 ตุลาคม
ถ้าสงครามยูเครนยุติ เยอรมนีจะซื้อพลังงานจากรัสเซียอีกหรือไม่
ความตั้งใจของรัฐบาลสหรัฐฯ
กับพวกคือให้สงครามยูเครนเป็นเหตุผลความชอบธรรมที่จะคว่ำบาตรรัสเซีย
ประกาศตั้งแต่แรกว่ากองทัพนาโตจะไม่ปะทะกับกองทัพรัสเซียโดยตรง
#สงครามยูเครน #จัดระเบียบโลก
http://www.chanchaivision.com/2022/10/Can-Russian-gas-resume-after-Ukraine-war.html
อาทิตย์ 23 ตุลาคม
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ 2022 (1)
นับจากนี้จะไม่แบ่งนโยบายต่างประเทศกับในประเทศอีกต่อไป
หากจะให้สหรัฐมั่งคั่งต้องกำกับระเบียบระหว่างประเทศให้สหรัฐได้ประโยชน์สูงสุด
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/247637/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/247558/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
เพื่อนๆ
สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
ศุกร์ 21 ตุลาคม
ทำไมยุโรปต้องทน ยอมให้เศรษฐกิจพังเพื่อต้านรัสเซีย
บัดนี้ไม่ใครปฏิเสธแล้วว่าสงครามยูเครนสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
ที่ควรเข้าใจคือบางประเทศทนได้ดีกว่า บางประเทศเศรษฐกิจสังคมจะพังพินาศก่อน
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
http://www.chanchaivision.com/2022/10/EU-divided-price-cap.html
พฤหัส 20 ตุลาคม
ปีนี้จีนลดนำเข้า LNG คาดว่าอาจลดลง 14% ลดแรงกดดันราคาก๊าซ (oilpricedotcom)
หลายเดือนที่ผ่านมาจีน “ขายต่อ” LNG แก่ยุโรป เพราะใช้น้อยลง
วิเคราะห์ : เดาได้เลยว่าจีนซื้อจากใคร สรุปว่าทั้งอินเดียกับจีนทำเหมือนกัน
พุธ 19 ตุลาคม
ด่วน เงินเฟ้ออียูพุ่งไม่หยุด ล่าสุดเงินเฟ้อเดือนกันยา 10.9% แล้ว (DW)
เทียบกับเงินเฟ้อเดือนสิงหาอยู่ที่ 10.1%
ถ้าคิดเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 9.9% เพิ่มจากเดือนสิงหาที่ 9.1%
เฉพาะอังกฤษเงินเฟ้อเดือนกันยา 10.1% สูงสุดในรอบ 40 ปี
หลายประเทศเร่งออกมาตรการช่วยเหลือบริษัท SME อุดหนุนราคาพลังงาน
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
ที่ฝรั่งเศส ส่วนที่ปั่นป่วนสุดคือระบบขนส่งทั่วประเทศมีปัญหา คนกว่าแสนชุมนุมประท้วงรัฐบาล ร้องขอเงินเดือนเพิ่ม สู้ค่าครองชีพพุ่ง (EuroNews)
กลุ่มที่ประท้วงมากสุดคือพนักงานขนส่ง ครู
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข การประท้วงรุนแรงมากขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งทะยาน
ล่าสุดเงินเฟ้อเดือนสิงหาอยู่ที่ 6.6% ปั้มน้ำมันราว 25% ที่มีปัญหาน้ำมันไม่พอ ทางการเร่งให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
ราว 1 สัปดาห์หลังการโจมตีอย่างหนัก ชุมชนหมู่บ้านทั่วยูเครน 1,162 แห่งไฟดับ (BBC)
ประธานาธิบดีเซเลนสกีกล่าวว่าสถานีไฟฟ้า 30%
เสียหาย บางส่วนของกรุงเคียฟไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาไม่ไหล
ทางการประกาศให้ชาวบ้านรับมือฤดูหนาว
#สงครามยูเครน #winteriscoming
อังคาร 18 ตุลาคม
ฝรั่งเศสประท้วงไม่หยุด เรียกร้องเงินเดือนสู้เงินเฟ้อ
ผลจากการที่รัฐบาลสหรัฐฯ
กับพวกคว่ำบาตรรัสเซียเป็นจุดเริ่มของเงินเฟ้อโลก ฝรั่งเศสเป็นอีกประเทศที่ได้ผลกระทบรุนแรง
ล่าสุดวันนี้ (18) รถไฟหลายสายปิดให้บริการ โรงเรียนบางแห่งปิดสอน
คนงานโรงกลั่นประท้วงทำให้ปั๊มน้ำมันหลายแห่งไม่มีน้ำมัน
เพราะพนักงานเรียกร้องขอเงินเดือน บำนาญและสวัสดิการเพิ่ม ตอนนี้เงินเฟ้อฝรั่งเศสสูงเกิน
6% (RT)
วิเคราะห์ : คนยากคนจน
ผู้มีรายได้น้อยคือผู้ได้รับผลกระทบเร็วสุดและแรงสุด เมื่อสินค้าขึ้นราคาพวกเขาเรียกร้องขอเงินเดือนเพิ่มทันที
เพราะรายได้มีแค่พอใช้เท่านั้น ดังนั้นตราบใดที่รายได้ไม่พอรายจ่ายพวกเขาจะประท้วงรัฐบาลต่อไป
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
จันทร์ 17 ตุลาคม
สหรัฐฯ เตือนอิหร่านหลังข่าวรัสเซียใช้โดรนพิฆาตของอิหร่าน (The National News)
สหรัฐฯ
อาจคว่ำบาตรอิหร่านจากเรื่องนี้
วิเคราะห์ : ทุกวันนี้อิหร่านโดนมาตรการคว่ำบาตรหนักอยู่แล้ว
และยังไม่เห็นวี่แววที่สหรัฐฯ จะหยุดคว่ำบาตรอิหร่าน
#สงครามยูเครน #โดรนพิฆาต
รัสเซียถล่มยูเครนด้วยโดรนพิฆาตของอิหร่าน (Bloomberg)
วิเคราะห์ : หลายประเทศคงเตรียมขอซื้อจากอิหร่าน
#สงครามยูเครน
เกาหลีใต้เตรียมยกเลิกบัตรประชาชน ใช้เลขโทรศัพท์แทน
โทรศัพท์ประจำตัวจะเป็นเหมือนกุญแจเพื่อเข้าเว็บไซต์ต่างๆ
ใช้บริการของรัฐ ฝากถอนเงิน
วิเคราะห์ : แต่เดิมเราใช้บัตรประชาชนเป็นเครื่องยืนยันตัวตน
ต่อไปจะใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็นเลขส่วนตัวเหมือนเลขบัตรประชาชนแทน ทุกวันนี้หลายอย่างแสดงตัวตนด้วยการสแกนผ่านโทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว
เป็นยุคดิจิทัลที่พัฒนาอีกขั้น
อาทิตย์ 16 ตุลาคม
แนวคิดญี่ปุ่นมีอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง
การมีอาวุธนิวเคลียร์ยังเป็นเครื่องมือป้องปรามสงครามใหญ่ได้ดี
ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่คิดเช่นนี้
นี่ยังไม่รวมแนวคิดญี่ปุ่นอยากกลับมาเป็นชาติมหาอำนาจอีกครั้ง
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/243295/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/243106/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2022/10/Japan-and-Nuclear-weapon.html
เพื่อนๆ
สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
ศุกร์ 14 ตุลาคม
อิรักได้ประธานาธิบดีคนใหม่แล้ว หลังสิ้นเลือกตั้งกว่าปี (BBC)
ประธานาธิบดีคนใหม่ Abdul Latif Rashid เป็นนักการเมืองชาวเคิร์ด จากนั้นแต่งตั้งนาย Mohammed Shia
al-Sudani เป็นนายกฯ คนใหม่สายชีอะห์ จากนี้อีกราว 1 เดือนจะตั้งคณะรัฐมนตรี
คนอิรักมองทั้งแง่บวกแง่ลบต่อสถานการณ์การเมืองล่าสุด
บางคนอยากเห็นบ้านเมืองสงบทำมาค้าขายต่อไป
สภาพสังคมอิรักขณะนี้เต็มด้วยกลุ่มแก๊งค์ กองกำลังติดอาวุธต่างๆ บ้านเมืองไม่มีความปลอดภัย
ในทางกลับกันบางคนอยากต่อสู้ทางการเมืองต่อไปเพื่อบรรลุเป้าหมายกลุ่ม
ชาวบ้านบางคนเห็นว่าเป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว นับจากกองทัพสหรัฐฯ กับพันธมิตรโค่นล้มระบอบซัดดัมเมื่อปี 2003 สถานการณ์บ้านเมืองไม่สงบสุขเลย
บทความที่ผมเขียนเมื่อปี 2013 ยังใช้การได้ดี --- อ่าน “อิรักกับประชาธิปไตยในความเปลี่ยนแปลง”
10 ปีที่กองทัพสหรัฐฯ บุกโค่นล้มระบอบซัดดัม
ช่วยสถาปนารัฐประชาธิปไตยอิรัก
พบว่าจนบัดนี้อิรักยังไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
กลายเป็นรัฐล้มเหลวที่ประกอบด้วยหลายกลุ่มอำนาจที่พยายามแย่งชิงผลประโยชน์
ก่อให้เกิดคำถามมากมายว่าอิรักในวันนี้ดีกว่ายุคซัดดัมหรือไม่
อะไรคือการปกครองที่ดี
#ประชาธิปไตยล้มเหลว #ประชาธิปไตยล้มเหลวนำสู่รัฐล้มเหลว
http://www.chanchaivision.com/2013/12/Iraq-Democracy-in-Transition-131221.html
ซาอุฯ สุดทน แฉต้นเหตุไบเดนขอให้โอเปกเพิ่มกำลังการผลิต หวังน้ำมันลดราคาเอาใจคนอเมริกันเพื่อชนะเลือกตั้งกลางเทอม
รัฐบาลซาอุ แถลงว่าที่ไบเดนต้องการคือให้โอเปกเลื่อนการลดกำลังผลิตออกไป
1 เดือน แต่โอเปกเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตตามกลไกการตลาด การเลื่อนออกไปจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ
(Fox News)
วิเคราะห์ :
1)
ไบเดนตั้งใจบิดเบือนกลไกตลาดน้ำมันโลก
หวังให้กลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันยอมจ่ายราคายเสียประโยชน์เพื่อให้พรรคเดโมแครทชนะเลือกตั้ง
เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลผู้พยายามอ้างว่าเป็นผู้นำโลกเสรีกลับทำสิ่งที่ขัดกับทุนนิยมเสรีเสียเองเพื่อประโยชน์ของบางคนบางกลุ่มเท่านั้น
2)
เมื่อโอเปกขัดขืนรัฐบาลไบเดนกับนักการเมืองอเมริกันบางคนก็ประกาศหาทางเล่นงานโอเปกจากเหตุการณ์นี้
เช่น ไม่ขายอาวุธแก่ซาอุฯ ตีความต่างๆ นานา เช่น โอเปกทิ้งสหรัฐฯ
ไปจับมือกับรัสเซียแทน ซึ่งความจริงไม่ส่งผลรุนแรงถึงขั้นนั้น
3)
อันที่จริงแล้วสิ่งที่ไบเดนทำไม่ใช่เรื่องแปลก
ถ้ามองย้อนอดีตจะพบว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ว่าจะพรรคเดโมแครทหรือรีพับลิกันจะทำเช่นนี้
ออกนโยบายลดแลกแจกแถมในช่วงเลือกตั้งกลางเทอม คะแนนนิยมยิ่งน้อยยิ่งต้องออกนโยบายดังกล่าวมากขึ้น
#เลือกตั้งกลางเทอม
พฤหัส 13 ตุลาคม
ด่วน ปูตินประกาศมุ่งตลาดพลังงานเอเชีย เนื่องจากเป็นเขตเศรษฐกิจโตเร็ว เป็นภูมิภาคสำคัญของโลก (TASS)
หวังผสานความร่วมมือระหว่างองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้
(SCO) อาเซียนและสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) ส่งเสริมให้ภูมิภาคพัฒนา อยู่ดีมีสุข
วิเคราะห์ :
1) ปูตินพูดหลายครั้งแล้วว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญยิ่งกว่ายุโรป
ศูนย์กลางอำนาจโลกกำลังขยับมาที่นี่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ
2)
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า SCO มีจีนเป็นแกนนำ
ส่วน EAEU มีรัสเซียเป็นแกนนำ
3)
เป็นไปได้ว่ารัฐบาลรัสเซียอาจร่วมมือด้านพลังงานเป็นพิเศษกับชาติอาเซียนบางประเทศ
เช่น อินโดนีเซีย เพราะมีแหล่งพลังงาน รัสเซียลงทุนด้านพลังงานที่นี่
และมีข่าวอินโดฯ จะซื้อน้ำมันรัสเซียในราคามิตรภาพ
4) อีกประเด็นที่ควรพูดถึงคือ รัสเซียจะแสดงบทบาทในอินโด-แปซิฟิกมากขึ้นในทุกด้าน
อินโด-แปซิฟิกเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ชาติมหาอำนาจทั้งหมดจะมารวมตัวกันที่นี่
(คิดต่อเอาเอง)
ปูตินเสนอขายก๊าซผ่านท่อ Nord Stream 2 และช่องทางใหม่ผ่านตุรกี (DW)
ด้านรัฐบาลเยอรมันยืนยันไม่ซื้อก๊าซรัสเซียผ่านท่อ
Nord Stream 2
ไม่พึ่งหวังพลังงานจากรัสเซียอีกแล้ว
วิเคราะห์ :
1) ท่อ Nord Stream 2 เป็นโครงการร่วมทุนเอกชนหลายประเทศ
โดยเฉพาะเยอรมนีกับรัสเซีย เป็นโครงการใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จ (แต่ยังไม่เปิดใช้งาน)
เป็นโครงการที่ต่อจาก Nord Stream 1 แต่เมื่อเยอรมันได้รัฐบาลใหม่คือรัฐบาลโชลซ์และเกิดสงครามยูเครน
Nord Stream 2 เป็นส่วนแรกที่โดนคว่ำบาตรตามมาตรการไม่ซื้อพลังงานรัสเซีย
2)
ปูตินน่าจะรู้อยู่แก่ใจแล้วว่ารัฐบาลโชลซ์จะปฏิเสธ ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลรัสเซียพยายามผ่อนปรนช่วยยุโรปให้มีก๊าซเพียงพอแต่ฝ่ายอียูไม่เอาเอง
ดังนั้นหากพลังงานไม่พอใช้จะโทษรัสเซียไม่ได้ ฝ่ายอียู “เลือกเอง” ที่จะเล่นงานรัสเซียด้วยวิธีนี้
(ต้นเหตุ #เงินเฟ้อ #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน)
3)
รัสเซียกำลังพิจารณาให้ตุรเคียเป็นฮับพลังงาน (energy hub) เป็นช่องทางใหม่ให้อียูซื้อผ่านประเทศนี้ (ตุรเคียเป็นสมาชิกนาโต) เลี่ยงการซื้อจากรัสเซียโดยตรง
น่าติดตามว่าจะเกิดหรือไม่
การชุมนุมประท้วง ความวุ่นวายที่เกิดในช่วงนี้เป็นแผนของสหรัฐฯ ไซออนิสต์ (Tehran Times)
อยาตุลเลาะห์ ซัยยิด อาลี คาเมเนอี ผู้นำศาสนาอิหร่านย้ำการชุมนุมประท้วงความวุ่นวายที่เกิดในช่วงนี้เป็นแผนของสหรัฐฯ
ไซออนิสต์ และคนทรยศอิหร่านต่างแดนบางคนที่ช่วยพวกเขา
#สงครามไฮบริด #อิหร่านวันนี้
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ 2022 ฉบับล่าสุดเพิ่งออก ---
https://www.whitehouse.gov/wp-content/uploads/2022/10/Biden-Harris-Administrations-National-Security-Strategy-10.2022.pdf
ประธานาธิบดีมาครงประกาศฝรั่งเศสจะไม่ตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์ถ้ารัสเซียยิงนิวเคลียร์ใส่ยูเครน (Bloomberg)
วิเคราะห์ : ผมพูดเสมอว่าโอกาสเกิดสงครามนิวเคลียร์ล้างโลกน้อยมากๆ ชาติตะวันตกจะไม่ยอมให้ประเทศตนเองเป็นพื้นที่ระเบิดนิวเคลียร์หล่นใส่ .... พูดให้ถูกต้องกว่านี้คือชาติตะวันตกจะไม่ปล่อยให้ประเทศตัวเองเป็นพื้นที่สมรภูมิสงคราม มีแต่ #ยูเครนเท่านั้นที่ต้องเป็นเหยื่อที่ถูกทำลาย
#สงครามนิวเคลียร์ #สงครามนิวเคลียร์ล้างโลก
อ่าน ....
เหตุผลที่โลกไม่เกิดสงครามนิวเคลียร์
http://www.chanchaivision.com/2020/09/Nuclear-War-Impossible.html
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดคืนนี้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยแรงอีกรอบ (CNBC)
ดอกเบี้ยสุดท้ายคือ 4.6%
ในต้นปีหน้า เพื่อกดเงินเฟ้อให้อยู่แถว 2%
วิเคราะห์ : วันนี้อยู่ไตรมาส
4 แล้ว
จุดสำคัญน่าจะอยู่ที่สถานการณ์จะเป็นอย่างไรถ้าดอกเบี้ยสหรัฐฯ อยู่ที่ 4.6%
#ดอกเบี้ยแพง #เศรษฐกิจถดถอย
พุธ 12 ตุลาคม
สื่อ Pravda รายงานว่าการโจมตียูเครนอย่างหนักในช่วงไม่กี่วันนี้ชี้ว่าเป้าหมายใหม่ของรัสเซียคือล้มรัฐบาลเซเลนสกี (Pradva)
Vyacheslav Volodin โฆษกรัฐสภารัสเซียกล่าวว่ารัสเซียจะไม่เจรจากับผู้ก่อการร้าย รัฐบาลปูตินตีตราว่ารัฐบาลยูเครนเป็นผู้ก่อการ้ายหลังก่อเหตุวินาศกรรมสะพานข้ามไครเมีย
วิเคราะห์ : ตีความได้ว่ารัฐบาลเซเลนสกีต้องจากไป เกิดรัฐบาลใหม่ที่วางตัวเป็นกลางเพื่อยุติศึก
ส่วนจะคืนดินแดนที่ยึดครองหรือไม่ขึ้นอยู่การเจรจา – ปูตินอาจไม่คืนแล้ว
การประกาศรัฐบาลเซเลนสกีเป็นรัฐบาลก่อการร้าย
(หลังเหตุวินาศกรรมสะพานไครเมีย 9 ตุลา) กลายเป็นข้ออ้างของรัสเซียเพื่อยกระดับการต่อสู้
คราวนี้ประกาศเป้าหมายชัดว่ารัฐบาลเซเลนสกีต้องไม่อยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นไปได้ว่าหมายถึงรัฐบาลยูเครนชุดใหม่ต้องเป็นกลาง
ไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตซึ่งเป็นเส้นต้องห้ามดั้งเดิม (red line) ทั้งยังหมายความว่ารัสเซียจะสู้ศึกกับยูเครนแบบยืดเยื้อด้วย
อ่านอัพเดทบทความ “สงครามยูเครนเฟส
3 ยืมดาบศัตรูฟันศัตรู” ที่
http://www.chanchaivision.com/2022/09/Ukraine-hybrid-war-phase-3.html
โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีกล่าวว่าต้องเร่งให้นานาชาติช่วยกันกดราคาพลังงานให้กลับไปอยู่ที่ระดับยอมรับได้ (Al Arabiya)
เรื่องนี้ลำพังเยอรมันกับยุโรปทำไม่ได้ ประเทศอื่นต้องร่วมมือเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
วิเคราะห์ :
1)
ย้ำอีกครั้งระดับราคาน้ำมัน WTI ในภาวะปกติ – ก่อนเกิดโควิด-19 อยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ล่าสุดอยู่แถวเกือบ 90
2)
การที่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกประกาศไม่ซื้อพลังงานรัสเซียเป็นต้นเหตุให้ราคาพุ่งในตอนนี้
ต้นเหตุเงินเฟ้อ #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
3)
จะตอบโต้หรือเล่นงานรัสเซียไม่แปลก
ที่แปลกคือใช้นโยบายที่ทำร้ายประชนชนคนเยอรมัน คนอียูและทั่วโลก – คนเยอรมันและทั่วโลกฟังไว้
4)
รู้ป่าว ญี่ปุ่นยังคงเดินหน้าซื้อน้ำมันก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียจากโครงการ
Sakhalin 1 และกำลังเดินหน้าร่วมมือโครงการใหม่ Sakhalin
2 ด้วย (Sakhalin เป็นโครงการผลิตและส่งออกน้ำมันก๊าซธรรมชาติครบวงจรของรัสเซีย
ตั้งอยู่ที่เกาะ Sakhalin ทางเอเชียตะวันออกไกล-ใกล้ญี่ปุ่น) และญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ
Janet Yellen รมต.คลังเผยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไปได้ดีมาก (“doing very well”) ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกผันผวน (CNBC)
เศรษฐกิจอเมริกาลดความร้อนแรง สถานการณ์แรงงานชี้ว่าเศรษฐกิจยังดีอยู่
เงินดอลลาร์เป็น safe haven
วิเคราะห์ : แบบนี้แปลว่าสหรัฐฯ
ต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกหลายรอบใช่ไหม
#ขึ้นดอกเบี้ยเงินเฟ้อขึ้นตาม #ทุกประเทศต้องหาทางออกของตัวเอง
เงินเยนอ่อนค่าไม่หยุด หลุด 146 เยนต่อดอลลาร์ อ่อนตัวมากสุดในรอบ 24 ปี (Kyodo News)
G7 ยืนยันสนับสนุนรัฐบาลเซเลนสกีนานเท่าที่ยูเครนยังรบต่อ (BBC)
ประกาศส่งอาวุธและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ยูเครนต่อไป
ด้านเลขาธิการนาโตขอให้สมาชิกเร่งผลิตอาวุธใหม่หลังจากของเดิมร่อยหรอ
วิเคราะห์ : ผมพูดเสมอยูเครนเป็นแค่เหยื่อที่ต้องถูกทำลาย
#ยูเครนเป็นแค่เหยื่อที่ต้องถูกทำลาย
อังคาร 11 ตุลาคม
ประชาชนแทบทุกคนเป็นส่วนหนึ่งและอยู่ในสงครามไฮบริด
วิเคราะห์
: ดังจะเห็นว่าสงครามไฮบริดไม่ใช่แค่เอารถถังปืนใหญ่มายิงกัน อาจมาในรูปยุยงปลุกปั่นให้คนในสังคมแตกแยกทางความคิดจนถึงขั้นเกิดสงครามกลางเมืองฆ่าฟันกันเอง
(ปล่อยให้ฆ่ากันเองย่อมง่ายกว่าประหยัดกว่าส่งกองทัพไปบุกประเทศเป้าหมาย) แม้กระทั่งอุดหนุนนักการเมืองออกนโยบายที่ไม่เป็นประโยชน์
รวมความแล้วคือการบ่อนทำลายให้ฝ่ายศัตรูอ่อนแอในทุกด้าน
ประชาชนแทบทุกคนเป็นส่วนหนึ่งและอยู่ในสงครามไฮบริดไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
Bank of America ประเมินว่าปีหน้าคนอเมริกันจะตกงานเดือนละ 175,000 คน (CNN)
วิเคราะห์ : เป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแล้วแต่มุมมอง
ที่แน่นอนคือตลอดปีนี้การจ้างงานยังดีอยู่
Jamie Dimon CEO JPMorgan เตือนคราวนี้ชัวร์ อีก 6-9 เดือนเศรษฐกิจอเมริกาเข้าภาวะถดถอย (CNBC)
อย่างไรก็ตาม จะไม่แย่เหมือนปี 2008 และตอนนี้เศรษฐกิจอเมริกายังดีอยู่ ส่วนเศรษฐกิจอียูถดถอยแล้ว
วิเคราะห์ : คำพูดของ Jamie
Dimon วิเคราะห์ได้หลายมุม
1) ที่สุดแล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะถดถอยแบบ
soft landing (จะไม่แย่เหมือนปี 2008 และตอนนี้เศรษฐกิจอเมริกายังดีอยู่)
2) คำถามตามมาคือ ถ้าเป็นแบบ 1) จะต้องให้ถดถอย “ยาวนานแค่ไหน” กว่าเงินเฟ้อจะเหลือแถวๆ 2%
3) จะต้องขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าและนานกว่าที่คาดใช่หรือไม่
ผลกระทบต่อนานาชาติเป็นอย่างไร ตอนนี้อียูก็ถดถอยแล้ว
4) หากข้อ 3) ถูกต้อง
อเมริกาขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด นานาชาติจะต้องยอมทนให้เศรษฐกิจตัวเองพังเพื่อให้อเมริกาความแก้ปัญหาตนเองจนสำเร็จ
ใช่หรือไม่
#Fedมาถูกทางแล้วหรือ #ดอกเบี้ยแพง
#เศรษฐกิจถดถอย
จันทร์ 10 ตุลาคม
หลังสื่อตะวันตก นักวิชาการตะวันตก จนกระทั่งไบเดนออกมาปั่นหลายสัปดาห์ว่ารัสเซียจะใช้นิวเคลียร์ ล่าสุดทำเนียบขาวแถลงว่าถ้อยคำของประธานาธิบดีไบเดนที่พูดเรื่องจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ทำลายล้างโลกนั้น (Armageddon) “ปราศจาก” ข้อมูลข่าวกรองรอบรับ (RT)
วิเคราะห์ : ความเข้าใจของผมที่ติดตามสถานการณ์โลกมากว่า 20 ปีคือ แทบทุกปีจะมีคนออกมาพูดเรื่องสงครามนิวเคลียร์ล้างโลก ... ดีนะที่โลกไม่ถูกทำลายล้างมานับสิบครั้งแล้ว ----#สงครามนิวเคลียร์ #สงครามนิวเคลียร์ล้างโลก
อิหร่านกำลังเผชิญสงครามไฮบริด (Tehran Times)
พลเอก Abdolrahim Mousavi
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอิหร่านกล่าวว่าทหารทุกหน่วยร่วมปกป้องประเทศจากศัตรูที่ตั้งใจบั่นทอนความมั่นคง
ลดทอนพลังอำนาจการป้องกันประเทศ อาวุธร้ายที่ศัตรูใช้คือทำให้คนอิหร่านรู้สึกสิ้นหวัง
ลดทอนความภาคภูมิใจต่อประเทศ ด้วยวิธีนี้เอื้อให้ศัตรูต่างชาติเข้าแทรกแซงอิหร่านได้ง่าย
ทำให้แนวป้องกันอิหร่านอ่อนแอ
Mohamed El-Erian หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาเศรษฐกิจของ Allianz ชี้ว่าจริงๆ แล้วสหรัฐฯ สามารถเลี่ยงเศรษฐกิจถดถอยได้แน่นอน (“totally avoidable”) (The Hill)
และชี้ว่าเงินเฟ้อไม่ใช่ภาวะชั่วคราวอย่างที่
Fed อ้างเรื่อยมา สุดท้าย Fed ต้องฟื้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้กลับคืนมา
วิเคราะห์ :
แนวทางแก้ปัญหาของ Fed ถูกตั้งข้อสงสัยมากขึ้น
#Fedมาถูกทางแล้วหรือ #ดอกเบี้ยแพง
#เศรษฐกิจถดถอย
บางประเทศเกิดปัญหายิ่งขึ้นดอกเบี้ยสินค้ายิ่งแพง (Bloomberg)
ฝ่ายเศรษฐกิจของ Bloomberg คาดว่าสิ้นปีนี้ดอกเบี้ยเฉลี่ยของทั่วโลกจะอยู่ที่ 5.2% จากตอนนี้ที่ 4.7%
และคาดว่าปีหน้าจะไปถึงจุดสูงสุดที่ 5.4% จนสามารถสกัดเงินสินค้าขึ้นราคา
(สกัดเงินเฟ้อ) อย่างไรก็ตามบางประเทศเกิดปัญหายิ่งขึ้นดอกเบี้ยสินค้ายิ่งแพง
#ขึ้นดอกเบี้ยเงินเฟ้อขึ้นตาม #ทุกประเทศต้องหาทางออกของตัวเอง
อาทิตย์ 9 ตุลาคม
ตรวจสอบสัมพันธ์จีน-รัสเซียผ่านศึกยูเครน
รัฐบาลจีนยึดผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งไม่ต่างจากรัสเซียหรือสหรัฐ
แต่จีนกับรัสเซียมีนโยบายที่ไปด้วยกันได้มากกว่า ข้อนี้สะท้อนความสัมพันธ์ของ 2
ประเทศผ่านศึกยูเครนด้วย
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/238774/#&gid=a14a4385&pid=6
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
https://www.thaipost.net/columnist-people/238667/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
เพื่อนๆ
สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
เสาร์ 8 ตุลาคม
สภาเยอรมันเดือด ถกกันอย่างเผ็ดร้อนเรื่องพลังงาน นายกฯ โชลซ์โทษอดีตรัฐบาลแมร์เคิลว่าไม่ยอมกระจายซื้อจากหลายแหล่ง ต้นเหตุปัญหาวันนี้ (Bloomberg)
วิเคราะห์ : รัฐบาลโชลซ์คงไม่ได้ไปต่อแล้วหละ
รู้ไหมแนวคิดเรื่องพลังงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันกับชุดก่อน
(แมร์เคิล) ต่างกันมากเลยนะครับ ... แค่เปลี่ยนขั้วการเมืองเท่านั้น คิดแบบไปคนละทิศละทาง
.... ความจริงคือตั้งแต่ทรัมป์ก็อยากให้เยอรมันซื้อก๊าซสหรัฐฯ แต่แมร์เคิลไม่ยอม
... เรื่องนี้ทำสำเร็จในสมัยไบเดนที่เยอรมันได้รัฐบาลใหม่ เยอรมัน (และยุโรป) ต้องซื้อก๊าซในราคาแพงกว่าเดิมหลายเท่า
ความสามารถการแข่งขันลดลง #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
ฟังแนวคิดสมัยรัฐบาลแมร์เคิล
เหตุผลที่ตอนนั้นไม่ซื้อก๊าซสหรัฐฯ ผมได้อธิบายไว้แล้ว ...
อ่าน
มุมมองท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 จากระบบโลก
อียูต้องการรัสเซียที่เข้มแข็งมากพอที่จะต้านสหรัฐและเป็นมิตรกับตน
แม้อีกด้านอียูเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงกับสหรัฐ เป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
#คว่ำบาตรรัสเซีย #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
http://www.chanchaivision.com/2019/12/Nord-Stream-2.html
ศุกร์ 7 ตุลาคม
รัฐบาลไบเดนเคืองหลัง OPEC+ ลดกำลังผลิต 2 ล้านบาร์เรลต่อวันแทนเพิ่มกำลังการผลิตตามที่สหรัฐฯ ต้องการ (CNBC)
วิเคราะห์ : ต้องเข้าใจก่อนว่า OPEC+ ไม่ใช่ OPEC ดังนั้นการตัดสินใจของ OPEC+
จึงไม่อาจถูกครอบงำโดยอิทธิพลสหรัฐฯ ประเด็นน่าคิดคือเป้าหมายของ OPEC คือมุ่งให้โลกมีน้ำมันใช้อย่างพอเพียง ตามกลไกอุปสงค์อุปทาน
ส่งเสริมเสถียรภาพพลังงานโลก แต่รัฐบาลไบเดนกำลังใช้น้ำมันเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศ
ทำให้น้ำมันแพง ต้นตอเงินเฟ้อพุ่ง
อ่าน ---
กลุ่มนอกโอเปก (non-OPEC)
แม้กลุ่มนอกโอเปกเป็นที่รู้จักน้อยกว่ากลุ่มโอเปก
กลุ่มนอกโอเปกมีส่วนช่วยเพิ่มอุปทานน้ำมัน ลดการผูกขาด
กำลังก้าวขึ้นมาเทียบเคียงโอเปกและมีความซับซ้อนภายในกลุ่มนี้
44 ชาติแถบยุโรปยันตุรเคียนัดประชุมสุดยอด (AP)
Alexander De Croo นายกฯ
เบลเยียมอธิบายว่าจะหารือเรื่องยูเครน-รัสเซียอย่างกว้างขวางทุกด้าน
รวมทั้งน้ำมันค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ทำอย่างไรชาติยุโรปจะร่วมมือกัน
โอลาฟ โชลซ์ (Olaf Scholz) นายกฯ เยอรมนีชี้ว่าเป็นโอกาสให้ทุกประเทศได้พูดอย่างที่ต้องการ
ยุโรปในอนาคตคือยุโรปที่ผู้นำประเทศมาพูดคุยสม่ำเสมอ
วิเคราะห์ : แนวคิดของนายฯ
โชลซ์คือการรวมทุกประเทศมาหารือแบบหลวมๆ ส่วนที่เป็นสมาชิกอียูก็ยังคงอยู่ต่อไป
สุดท้ายแล้วอาจเป็นเพียงการหารือเฉพาะกิจ
พฤหัส 6 ตุลาคม
Buzzfeed ตรวจพบสินค้ายอดนิยมในร้านชำอเมริกาที่ราคาเพิ่มมากกว่าเท่าตัวถึง 34 รายการ
https://www.buzzfeed.com/meganeliscomb/grocery-price-inflation-2022
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
ฤทธิ์ของสงครามไฮบริดยูเครน สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน:
เดือนสิงหาที่ผ่านมาผักผลไม้ออสเตรเลียราคาพุ่ง
18.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ร้านอาหารจีนจข้นราคา 20-30% (CNBC)
เงินเฟ้อเดือนสิงหาอยู่ที่ 6.8%
ในขณะที่ก่อนโควิด-19 เงินเฟ้อไม่ถึง 2%
ราคาผักเพิ่มขึ้นมากแม้กระทั่งผักทั่วไปอย่างผักกาดหอม
และปัญหาไม่อยู่เฉพาะราคาอาหารแต่สร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ เช่น
ต้องเพิ่มเงินเดือนพนักงาน
วิเคราะห์ :
การคว่ำบาตรรัสเซียเป็นต้นเหตุเงินเฟ้อ สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน
ทุกคนรับรู้ได้ถึงราคาสินค้าที่แพงขึ้นเรื่อยๆ และน่าจะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงปีหน้า
อ่าน ....
สงครามยูเครนเฟส 3 ยืมดาบศัตรูฟันศัตรู
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
http://www.chanchaivision.com/2022/09/Ukraine-hybrid-war-phase-3.html
พุธ 5 ตุลาคม
สหรัฐฯ จะส่งความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนอีก 625 ล้านดอลลาร์ (The National News)
รวมถึงระบบปล่อยจรวด Himars ด้วย ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เพิ่งให้ Himars จำนวน 4 ชุดและปืนใหญ่อัตตาจร 16 ชุดพร้อมกระสุนมากมาย ทำเนียบขาวยืนยันให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องตราบเท่าที่ยูเครนยังสู้ต่อ
นับจากกองทัพรัสเซียบุกยูเครนสหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนถึง
16,800 ล้านดอลลาร์แล้ว (ราว 2,400 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน)
วิเคราะห์ : ถ้ามองว่าเป็นสงครามตัวแทน (proxy
war) รอบนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้จ่ายจำนวนมาก ต่างจากสมัยสงครามอัฟกานิสถานในทศวรรษ
1980 สหรัฐฯ ต้องส่งอาวุธหนักจำนวนมากแก่ยูเครน และมอบให้แบบกะปริดกะปรอย
อ่าน ...
6 เดือนสมรภูมิยูเครนสงครามดำเนินต่อไป
ยูเครนเป็นแค่เหยื่อเพื่อนำสู่การต่อสู้ระหว่างขั้วสหรัฐกับรัสเซีย
ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐคือมุ่งทำลายเศรษฐกิจสังคมรัสเซีย ตอกย้ำการแบ่งขั้ว
#สงครามยูเครน #สงครามตัวแทน
http://www.chanchaivision.com/2022/08/6-months-Ukraine-war.html
เดือนกันยาเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ 6.9% เทียบกับเดือนก่อนที่ 6.3% (Channel News Asia)
วิเคราะห์ : จับตาสถานการณ์เพื่อนบ้านอาเซียน โดยเฉพาะสปป.ลาว เมียนมาและฟิลิปปินส์
อังคาร 4 ตุลาคม
องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency, IEA) คาดยุโรปเสี่ยงขาดก๊าซธรรมชาติในช่วงฤดูหนาวนี้ ขอให้ลดการใช้ก๊าซ 13% โดยให้เครื่องทำความร้อนอุ่นน้อยลง 1 องศา (AP)
อียูเห็นด้วยกับมาตรการลดใช้พลังงานอย่างน้อย 5%
ในช่วงที่คนใช้พลังงานมากสุด
หลายประเทศลดใช้ก๊าซเป็นพลังงานในการผลิตเหล็กและปุ๋ยแล้ว
วิเคราะห์ : เพียงแค่รัฐบาลยุโรปเลิกคว่ำบาตรพลังงานรัสเซียเท่านั้นเอง
... แต่ทำไม่ได้ ???? จึงต้องซื้อแพงแถมหายากไม่พอใช้
เยอรมันเปลี่ยนรัฐบาล ... นโยบายเปลี่ยนไปด้วย
อ่าน
มุมมองท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 จากระบบโลก
อียูต้องการรัสเซียที่เข้มแข็งมากพอที่จะต้านสหรัฐและเป็นมิตรกับตน
แม้อีกด้านอียูเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงกับสหรัฐ เป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
#คว่ำบาตรรัสเซีย #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
อังค์ถัด (UNCTAD) ชี้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยกับลดการใช้จ่ายของชาติร่ำรวยเพื่อแก้เงินเฟ้อเป็นการเสี่ยงที่ไม่รอบคอบ (imprudent gamble) เกิดผลเสียต่อประเทศรายได้ต่ำ (Fox News)
Rebeca Grynspan เลขาธิการอังค์ถัดนำเสนอว่าสามารถปราบเงินเฟ้อด้วยวิธีอื่น
ส่วนวิธีปัจจุบันสร้างผลกระทบตามมาแรงสุดโดยเฉพาะในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา เศรษฐกิจหยุดชะงัก
ปั่นป่วนไร้เสถียรภาพ
วิเคราะห์ : ควรเริ่มเข้าใจที่จุดเริ่มก่อนว่าชาติตะวันตกเป็นผู้สร้างระบบการเงินโลกปัจจุบันและเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากระบบนี้
ดังนั้น การแก้ไขต้องแก้ที่รากปัญหา
นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส (António
Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติเพิ่งกล่าวในในงานประชุมสมัชชาสหประชาชาติประจำปี
2022 ที่ผ่านมาว่า … ต้องปรับเปลี่ยนระบบการเงินโลกที่สร้างโดยประเทศที่ร่ำรวยและเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากระบบการเงินโลก
ต้นเหตุความไม่เท่าเทียม
#ระบบการเงินโลก
อ่าน http://www.chanchaivision.com/2022/09/secretary-general-un.html
เช้านี้เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยกลาง (IRBM) ข้ามเกาะญี่ปุ่น (The Korea Times)
วิเคราะห์
: เป็นอีกครั้งที่เกาหลีเหนือทำเช่นนี้
งานนี้ญี่ปุ่นต้องออกมาเต้นอีกแล้ว
#เกาหลีเหนือวันนี้
จันทร์ 3 ตุลาคม
ทางการอิหร่านเชื่อว่าการเสียชีวิตของ
Ms. Amini
มาจากแผนการวางไว้ เพื่อให้เกิดเหตุวุ่นวาย (Tehran Times)
ยอมรับว่ามีคนหนุ่มสาวเข้าร่วมต่อต้านรัฐบาลเนื่องจากรับข้อมูลบิดเบือน
เบื้องหลังคือรัฐบาลอิสราเอลกับสหรัฐฯ ทางการประเมินว่านับจาก 22
กันยาที่เริ่มชุมนุม บางวันมีผู้ชุมนุมทั่วประเทศถึง 45,000 คน
#อิหร่านวันนี้
อาทิตย์ 2 ตุลาคม
รัฐบาลอิตาลีชุดใหม่นายกฯรากฐานฟาสซิสต์
ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเผด็จการฟาสซิสต์หรือสายใดๆ
คนอิตาเลียนคาดหวังเหมือนกันคือขอให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น อยู่ดีมีสุข
การที่ทุกพรรคทุกสายล้วนเคยเป็นรัฐบาลเป็นหลักฐานในตัวเอง
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/233976/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/233868/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2022/10/Giorgia-Meloni-Fascism-government.html
เพื่อนๆ
สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
-----------------