รอบวันสถานการณ์โลก พฤศจิกายน 2022

รอบวันสถานการณ์โลก พฤศจิกายน 2022


... ร่วมพูดคุยติดตามข่าวสารสำคัญได้ที่ ห้องไลน์ สถานการณ์โลก

https://line.me/ti/g2/gJydU7mfnBww2eG9biRFbdMp5b8yPWp7q1U2nA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

http://www.chanchaivision.com/2022/10/world-now-10.html


พุธ 30 พฤศจิกายน

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ คาดจีนจะมีนิวเคลียร์ 1,500 หัวรบภายในปี 2035 (CNN)

ปัจจุบันจีนมีราว 400 หัวรบ สหรัฐฯ มี 5,500 หัวรบ

วิเคราะห์ : การที่ฝ่ายสหรัฐฯ คาดการณ์เช่นนี้ อาจเพราะต้องการสร้างให้ภัยคุกคามจีนน่ากลัว (เหมือนที่บอกว่าจีนจะบุกไต้หวันภายในปี 2027) เป็นข้ออ้างใช้งบประมาณมหาศาล ที่แน่นอนคือยุทธศาสตร์ด้านนิวเคลียร์สหรัฐฯ ประกาศจะรื้อสร้างอาวุธนิวเคลียร์ทั้งระบบ คงความเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์โลกที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศชัดจะไม่ยอมให้ประเทศใดเหนือกว่าตนด้านอาวุธนิวเคลียร์

#นิวเคลียร์จีน

นาโตประกาศให้อาวุธแก่ยูเครนเพิ่มอีกและซ่อมระบบพลังงานไฟฟ้า (BBC)

ล่าสุดยังขาดพลังงานอีก 30%

วิเคราะห์ : สุดท้ายเครือข่ายไฟฟ้าดั้งเดิมคงพังหมด ที่เหลืออยู่จะเป็นระบบพลังงานฉุกเฉิน เป็นแบบเล็กๆ ที่นาโตให้ และจะเป็นเช่นนี้ตราบเท่าที่สงครามดำเนินต่อไป

#สงครามยูเครน #winteriscoming

ยุโรปผ่านพ้นฤดูหนาวปีนี้ได้เพราะกักตุนก๊าซมาพอแล้ว แต่ปีหน้าประเด็นนี้จะกลับมาอีก (CNBC)

Francesco Starace จาก Enel เผยปีนี้รัสเซียลดการส่งออกก๊าซแก่อียู 50% แต่เนื่องจากอียูเก็บตุนก๊าซมากพอจึงผ่านพ้นฤดูหนาวปีนี้ได้ ประเด็นคือหากปีหน้าอียูลดการนำเข้าก๊าซอีก (จนเหลือศูนย์) จะหาแหล่งก๊าซทดแทนได้ทันหรือไม่

วิเคราะห์ :

            1) บ้านเรือนยุโรปหลายประเทศใช้ก๊าซเป็นแหล่งพลังงาน ใช้กับเครื่องทำความร้อน ทำน้ำอุ่น ก๊าซจึงเป็นเรื่องสำคัญ มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่คนประชาชน

            2) ปีนี้อียูยังนำเข้าก๊าซรัสเซียและส่วนหนึ่งเก็บกักในคลังสำรอง เป็นเหตุผลที่ว่ามีพอใช้ถึงต้นปีหน้า (ช่วงฤดูหนาวที่ต้องใช้เครื่องทำความร้อนมาก)

            3) ปัญหาระยะยาวมี 2 เรื่องคือปริมาณกับราคา

            Francesco Starace จาก Enel ตั้งคำถามเรื่องก๊าซมีพอใช้สำหรับฤดูหนาวปีหน้าหรือไม่ หากเมื่อถึงตอนนั้นไม่อาจนำเข้าก๊าซจากรัสเซีย อีกประเด็นที่ต้องเอ่ยถึงคือราคาก๊าซที่แพงขึ้นเป็นเท่าตัว

            ปัญหาเรื่องราคาจะกระทบต่อประเทศยุโรปหนักเบาต่างกัน บางประเทศแก้ปัญหาได้ดีกว่าบางประเทศ บางประเทศเศรษฐกิจเข้มแข็งกว่าอีกประเทศ สุดท้ายประเทศที่อ่อนแอจะประสบปัญหาแรงสุด

            นี่คือยุทธการสู้ศึกด้วยความเหน็บหนาวที่รัสเซียกำลังใช้ ทหารรัสเซียจะนอนนั่งจิบกาแฟร้องเพลงในบังเกอร์อุ่นๆ ให้อีกฝั่งทนหนาวไป 3-4 เดือน

            และต้องไม่ลืมว่ายุโรปเป็นฝ่าย “ไม่ซื้อ” พลังงานรัสเซีย ตามนโยบายของรัฐบาลไบเดน

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

อ่าน ...

เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน

เมื่อต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากการคว่ำบาตรน้ำมันก๊าซธรรมชาติรัสเซีย วิธีแก้คือระงับหรือชะลอคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียออกไปก่อน ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐกับเงินเฟ้อโลกจะลดลง เศรษฐกิจฟื้นตัวทันที

http://www.chanchaivision.com/2022/06/Biden-great-inflation.html

อังคาร 29 พฤศจิกายน

ประท้วงอิหร่านเสียชีวิตกว่า 300 แล้ว (Al Arabiya)

นายพลจัตวา Amirali Hajizadeh แห่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามเผยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 300 จากการประท้วงที่เริ่มตั้งแต่ 16 กันยายน จำนวนนี้รวมทุกฝ่าย ด้าน Iran Human Rights ระบุว่ามีอย่างน้อย 416 ราย

วิเคราะห์ : ประท้วงกว่า 3 เดือนยังดำเนินต่อไป

เตือนปีหน้าเศรษฐกิจอเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอย (MarketWatch)

Beth Ann Bovino จาก S&P Global Ratings คาดจีดีพีสหรัฐฯ จะติดลบ 0.8% เหตุผลหลักส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยภายนอก สงครามยูเครน ปัญหาซับพลายเชน  

วิเคราะห์ : ไม่เพียงอเมริกาเท่านั้น อียูกับอีกหลายประเทศถดถอยแน่นอน

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

จันทร์ 28 พฤศจิกายน

ช่วงนี้น้ำมันดิบลดลงต่อเนื่อง ล่าสุด WTI เหลือ 74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

เหมาะกับการขับรถเดินทางท่องเที่ยวครับ


รัฐบาลสหรัฐฯ ทำลายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์กับซับพลายเชนของโลก (Global Times)

He Weiwen จาก China Society for World Trade Organization Studies ชี้การเลือกปฏิบัติกับการอุดหนุนอุตสาหกรรมตนเองตาม Inflation Reduction Act และนโยบายอื่นๆ ทำลายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์กับซับพลายเชนของโลก ละเมิดกติกาองค์การค้าโลก

วิเคราะห์ : รัฐบาลไบเดนประกาศว่าสหรัฐฯ ยึดมั่นระบบโลกที่ยึดถือกติกา พูดให้ถูกคือรัฐบาลสหรัฐฯ ยึดถือกติกาที่ตนเป็นผู้สร้าง ในเวลาต่อมาหากตนเสียประโยชน์จากกติกาเดิมก็จะละเมิด (ยกเลิก) ของเก่าและสร้างของใหม่ขึ้นแทน พร้อมให้บอกให้นานาชาติยึดถือกติกาใหม่นี้

อุตสาหกรรมรถ EV กำลังเป็นประเด็นที่รัฐบาลสหรัฐฯ อุดหนุนโรงงานรถของตนพร้อมกับกีดกันรถประเทศอื่นๆ แม้เป็นรถจากยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น คำว่า “พันธมิตร” หมายถึงอย่างไรกันแน่

ทรัมป์พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าจะ “อภัยโทษ” คนที่ทำผิดเหตุบุกรัฐสภา 6 มกราคม หากเขาชนะเลือกตั้ง (Huff Post)

วิเคราะห์ : ฟังดูคุ้นๆ ทำผิด (แม้มีคนตาย) ไม่ต้องรับโทษถ้าเป็นคดีการเมือง ทรัมป์ลืมพูดต่อว่าศาลกำลังไต่สวนว่าตัวเขาเองทำผิดด้วยหรือไม่ที่ไปยุยงปลุกปั่น 

คนจีนจับกลุ่มประท้วงรัฐบาลในหลายเมือง หวังให้คลายล็อกดาวน์ (Bloomberg)

นักศึกษาเรียกร้องให้ประธานาธิบดีสีลาออก

วิเคราะห์ : Bloomberg พูดไปถึงการชุมนุมเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 … อะไรจะขนาดนั้น

เป็นเรื่องชั่งน้ำหนักระหว่างปัญหาปากท้องการใช้ชีวิตกับการล้มป่วยเสียชีวิต ยอดเสียชีวิตของสหรัฐฯ อยู่ที่ 1.1 ล้านคน  หากจีนเปิดประเทศเต็มตัวอาจเสียชีวิตมากถึง 4 เท่าของสหรัฐฯ ถ้าเทียบตามจำนวนประชากร (หมายถึงให้ 4 ล้านคนตายเพื่อ 1,400 ล้านคน)

            ข่าวนี้น่าจะเป็นลบต่อตลาดหุ้น

วันนี้แทบทุกสื่อเล่นข่าวนี้


อาทิตย์ 27 พฤศจิกายน

หายนะจากสงครามนิวเคลียร์และข่าวรัสเซียจะใช้นิวเคลียร์

การใช้อาวุธนิวเคลียร์ส่งผลเสียหายร้ายแรงไม่เฉพาะต่อคนที่โดนแรงระบาดกับกัมมันตรังสีเท่านั้น ต้องมองผลกระทบที่จะตามมาอันเนื่องประชาคมโลกไม่อยากให้ใช้นิวเคลียร์

            สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/271612/#&gid=a14a4385&pid=5

            บทความของผมจะอยู่หน้า 5

            หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่

https://www.thaipost.net/columnist-people/271518/

            หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม

 http://www.chanchaivision.com/2022/12/No-indication-Russia-will-use-nukes.html

เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์


พฤหัส 25 พฤศจิกายน

ราคาสินค้าผู้บริโภคญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายนเพิ่มอีก 3.6% ทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงอีก (Kyodo News)

พุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี สินค้าที่โดนกระทบหนักคือหมวดพลังงานกับอาหาร

วิเคราะห์ : บริบทแต่ละประเทศแตกต่าง บางประเทศปัญหาเงินเฟ้อคลายตัว แต่ญี่ปุ่นยังหนักขึ้น

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

พุธ 24 พฤศจิกายน

โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีชี้รัสเซียไม่อาจชนะศึกได้มากกว่านี้อีกแล้ว (DW)

การทำลายโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ขอให้กองทัพรัสเซียทั้งหมดถอนทัพออกจากยูเครน เข้ากระบวนเจรจาสันติภาพ

วิเคราะห์ : หลายสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลยูเครนและชาติตะวันตกเรียกร้องให้เปิดเจรจาอีกครั้ง ต้องเข้าใจก่อนว่าเคยเจรจามาแล้วหลายรอบ (ไม่นับเจรจาทางลับที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ) รัฐบาลปูตินวางเงื่อนไขชัดเจน อยู่ที่ว่าฝ่ายยูเครนจะรับได้หรือไม่ อีกข้อคือสถานการณ์ตอนนี้ต่างจากเดิม รัสเซียผนวกดินแดนยูเครนบางส่วนแล้ว เงื่อนไขสันติภาพน่าจะต่างจากเดิม บัดนี้เข้าสู่หน้าหนาว (วันนี้กรุงเคียฟ ติดลบ 1 องศาเซลเซียส) เป็นโอกาสที่ได้นั่งจิบกาแฟ ผิงไฟ และคิดว่าจะให้ศึกยูเครนจบอย่างไร


#
สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
....

ความหนาวเริ่มแผลงฤทธิ์ ทำเก้าอี้เซเลนสกีร้อน :

ประธานาธิบดีเซเลนสกีร้องขอให้คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติห้ามรัสเซียโจมตีเครื่องสร้างพื้นฐานพลเรือน หลังเมื่อวานรัสเซียยิงขีปนาวุธเข้าใส่ 70 ลูก ไฟดับ ประชาชนอยู่ในความมืดและเหน็บหนาว ชี้ว่ารัสเซียกำลัง “ใช้ความหนาวเป็นอาวุธ” (Channel News Asia)

วิเคราะห์ : รัฐบาลเซเลนสกีแสดง “ความไม่รู้” หรือ “แกล้งไม่รู้อีกแล้ว”

            1) เซเลนสกีพยายามพูดว่ารัสเซียโจมตีโครงสร้างพื้นฐานพลเรือน ความจริงคือโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า คลังน้ำมัน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่เป้าหมายทำลายเมื่อเกิดสงคราม สงครามในอดีตไม่ว่าจะสงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี สงครามอ่าวเปอร์เซีย ล้วนทำลายทุกอย่างเพื่อให้ศัตรูแพ้

            ก่อนหน้านี้เซเลนสกีประกาศว่ากองทัพยูเครนพร้อมรบ ระบบป้องกันภัยทางอากาศดีเยี่ยม ได้รับอาวุธจากมิตรประเทศมากมาย ขีปนาวุธรัสเซียเก่าแก่ไร้ประสิทธิภาพ .... มาบัดนี้ดูเหมือนว่าต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่

            ความจริงคือ ยูเครนอาจสกัดได้หลายลูก และหลายลูกตกหล่นเองกลางทาง แต่ย่อมมีส่วนหนึ่งที่ยิงเข้าเป้า

            2) เรื่องเซเลนสกีควรรู้ตั้งแต่ก่อนทำสงครามกับรัสเซีย คือจะมีคนบาดเจ็บล้มตาย บ้านเมืองพังทลาย ข้อมูลกองทัพสหรัฐฯ ระบุว่าทหารยูเครนบาดเจ็บเสียชีวิตแล้ว 6 หมื่นราย พลเรือนยูเครนบาดเจ็บเสียชีวิต 4 หมื่นคน ยิ่งรบต่อไปจำนวนคนบาดเจ็บล้มตายย่อมต้องเพิ่มขึ้นอีก ยิ่งรบยิ่งพัง

            เซเลนสกีที่เดิมเป็นดาวตลก ถ้าไม่เข้าใจคำว่าสงครามก็มีนายทหาร มีกระทรวงกลาโหมที่เข้าใจเรื่องพวกนี้ เป็นตัวอย่างรัฐบาลแปลกๆ ที่ทำเรื่องแปลกๆ

            ประเทศยูเครนไม่เหมือนเดิมและจะไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยฝีมือรัฐบาลเซเลนสกี

24 พฤศจิกายน 2022

ชาญชัย คุ้มปัญญา

อ่าน ---

สงครามยูเครนเฟส 3 ยืมดาบศัตรูฟันศัตรู

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

http://www.chanchaivision.com/2022/09/Ukraine-hybrid-war-phase-3.html

พุธ 23 พฤศจิกายน

พรรค Taiwan People's Party (TPP) พรรคทางเลือกที่ 3 ของไต้หวัน (Channel News Asia)

ชูนโยบายไม่สนับสนุนประกาศเอกราชและไม่สนับสนุนรวมชาติกับจีน

วิเคราะห์ : หลายปีที่ผ่านมาการเมืองไต้หวันแบ่งเป็น 2 ขั้วใหญ่ คือขั้วอิงจีนกับต่อต้านจีน ประชาชนคนไต้หวันจึงแตกแยกอย่างรุนแรง ปรากฏการณ์ของพรรคทางเลือกที่ 3 จึงเกิดขึ้น ชูนโยบายไม่สุดโต่งทางใดทางหนึ่ง

            คำถามสำคัญคือ ทางเลือกที่ 3 ตอบโจทย์อื่นๆ หรือไม่ เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การซื้อเสียงซึ่งเกิดขึ้นไม่น้อยในไต้หวัน หรือเป็นเพียงการสร้างภาพอีกภาพหนึ่งเท่านั้น

#พรรคทางเลือกที่ 3 #ไต้หวันวันนี้

คำว่าพันธมิตร มิตรประเทศหมายถึงอย่างไรกันแน่ :

ประเทศมอลโดวา (Moldova) แบมือขอความเชื่อเหลือจากเพื่อนบ้าน ฝรั่งเศส เยอรมนีและโรมาเนียเสนอความช่วยเหลือ 160 ล้านดอลลาร์ (DW)

วิเคราะห์ :

            1) มอลโดวาอยู่ในยุโรปตะวันออกดำเนินนโยบายแนวทางเดียวกับสหรัฐฯ นาโต ไม่ซื้อใช้พลังงานรัสเซีย ต้องซื้อใช้พลังงานผ่านช่องทางใหม่ที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่า ส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจการเมือง #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน ถึงขั้นต้องเปิดรับความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้าน โครงสร้างพลังงานที่เชื่อมโยงกัน แต่บริบท ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจต่างกัน มอลโดวาเป็นอีกประเทศที่ “กระเทือนอย่างหนัก” ไปต่อยาก

            2) OECD คาดปีหน้าผลกระทบจากการคว่ำบาตรรัสเซียจะสำแดงฤทธิ์ต่อยุโรปอย่างแรง ความปั่นป่วนวุ่นวายภายในยุโรปจะลากยาวไปถึงปีหน้า

            3) คำถามสำคัญคือจะคงโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่เช่นนี้ต่อไป หรือจะฟื้นฟูอย่างไร อย่างน้อยต้องดีเทียบเท่ากับก่อนคว่ำบาตรรัสเซีย แต่ละประเทศจะต้อง “จ่ายราคา” เพื่อเล่นงานรัสเซียตามนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ กับนาโตมากแค่ไหน คำว่าพันธมิตร มิตรประเทศหมายถึงอย่างไรกันแน่

23 พฤศจิกายน 2022
ชาญชัย คุ้มปัญญา
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

อ่านรายละเอียดบทความ ... http://www.chanchaivision.com/2022/10/EU-divided-price-cap.html

ทางการอิหร่านจับกุมคนต่างชาติ 40 คนข้อหาร่วมประท้วงต่อต้านรัฐบาล (CNBC)

Iran Human Rights แถลงว่าอย่างน้อย 378 คนเสียชีวิตด้วยเหตุประท้วง

วิเคราะห์ : 2 เดือนแล้วที่การชุมนุมประท้วงรัฐบาลดำเนินต่อเนื่องในหลายเมือง รัฐบาลอิหร่านชี้ต่างชาติแทรกแซงกิจการภายใน ผู้ประท้วงหลายรายถูกพิพากษาลงโทษประหารชีวิต อีกกว่าพันคนรับโทษลดหลั่นลงมา

#ประท้วงอิหร่าน #อิหร่านวันนี้

อังคาร 22 พฤศจิกายน

สมัชชารัฐสภานาโต (NATO Parliamentary Assembly) มีข้อมติเรียกร้องให้ชาติสมาชิกประกาศรัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย (RT)

เป็นภัยต่อยุโรปโดยตรง ขอให้สมาชิกส่งอาวุธแก่ยูเครนเพิ่มเติม ข้อมตินี้ไม่มีผลบังคับ

วิเคราะห์ : แม้ข้อมติไม่มีผลบังคับใช้แต่ได้ประกาศท่าทีชัดเจน เป็นไปได้ว่าวันข้างข้างบางประเทศอาจประกาศรัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย ผลที่ตามมาคือรัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะคว่ำบาตรรัสเซียด้วยเหตุผลนี้ เท่ากับว่าแม้ศึกยูเครนยุติแต่การคว่ำบาตรรัสเซีย เช่น ไม่ซื้อน้ำมัน ไม่ทำธุรกรรมการเงินกับรัสเซียจะดำเนินต่อไป รวมทั้งการยึดทรัพย์สินรัสเซียจำนวนมหาศาล ให้สังเกตว่าการคว่ำบาตรรัสเซียที่เกิดขึ้นทันทีที่รัสเซียบุกยูเครนและดำเนินเช่นนี้เรื่อยมา

            ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีเซเลนสกีเรียกร้องให้นานาชาติประกาศรัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย แต่ตอนนั้นรัฐบาลไบเดนไม่เห็นด้วย ข้อมติสมัชชารัฐสภานาโตนี้เอื้อให้รัฐบาลสหรัฐฯ ที่เป็นสมาชิกนาโตมีโอกาสประกาศรัสเซียเป็นรัฐก่อการร้ายมากขึ้น

            เป็นส่วนหนึ่งของสงครามไฮบริด

# สงครามยูเครน #สงครามไฮบริด

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ โทษรัสเซียต้นเหตุทำให้ค่าอาหารฉลองวัน Thanksgiving แพงขึ้น 20% (Fox News)

โรคระบาดที่เกิดกับไก่งวงเป็นอีกปัจจัย

คำชี้แจงของกระทรวงเกษตรสอดคล้องกับประธานาธิบดีไบเดนที่กล่าวว่าปูตินเป็นต้นเหตุทำให้ราคาอาหารกับพลังงานพุ่ง

วิเคราะห์ : คำชี้แจงของรัฐบาลไบเดนผิด ด้วยเหตุผลดังนี้

            1) ราคาพลังงานกับอาหารสูงขึ้นเกิดจากการไม่ซื้อใช้ของรัสเซีย

            ราคาพลังงานกับอาหารสูงขึ้น เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกประกาศห้ามนานาชาติซื้อใช้พลังงานรัสเซีย การคว่ำบาตรธนาคารรัสเซียทำให้ไม่สามารถซื้อขายสินค้ารัสเซีย (หรือยากมาก) นานาชาติจึงซื้อปุ๋ย สินค้าเกษตรรัสเซียไม่ได้ ปุ๋ยเป็นต้นทุนของสินค้าเกษตรทุกชนิด เป็นต้นทุนอาหารสัตว์ (นำปุ๋ยไปปลูกพืชอาหารสัตว์)

            2) โลกไม่ขาดแคลนพลังงาน อุปทานมีเพียงพอสำหรับอุปสงค์ แต่ที่ราคาน้ำมันแพงเพราะผู้ซื้อฝั่งยุโรปที่ทำตามนโยบายรัฐบางสหรัฐฯ กับพวก ต้องเปลี่ยนผู้ซื้อผู้ขายกะทันหัน ระบบโครงสร้างพลังงานไม่รองรับ (เช่น เดิมได้ก๊าซรัสเซียที่ส่งมาทางต่อ ตอนนี้เปลี่ยนเป็นเรือบรรทุกก๊าซจากประเทศอื่น แต่ท่าเรือที่รองรับการถ่ายก๊าซมีน้อย ไม่พอใช้)

            3) รัฐบาลสหรัฐฯ และทุกประเทศต้องดูแลประชาชน ดูแลชีวิตความเป็นอยู่

            การต่อสู้แข่งขันระหว่างมหาอำนาจเป็นเรื่องปกติ “ดำเนินเรื่อยมาอยู่ที่ประชาชนจะรับรู้หรือเข้าใจมากน้อย” รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกสามารถเลือกใช้หลายวิธี แต่วิธีที่ใช้ตอนนี้กระทบต่อการอยู่ดีมีสุขของประชาชนอย่างชัดเจนรุนแรง

            จึงเป็นเรื่องแปลกที่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกเลือกวิธีที่ทำร้ายพลเมืองตนเอง (ยังไม่พูดถึงที่กระทบต่อพลเมืองโลก)

            4) ต้องหาวิธีการใหม่หรือไม่

            สมัชชาสหประชาชาติพยายามกดดันรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกเปิดทางให้นานาชาติสามารถซื้อปุ๋ยรัสเซีย เพราะกระทบพลเมืองโลก (สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน) รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกยอมรับเรื่องนี้ สุดท้ายขึ้นกับว่าฝ่ายสหรัฐฯ จะยอมเปิดทางให้หรือไม่ และใช้แนวทางอื่นๆ คว่ำบาตรปิดล้อมรัสเซีย

            วันฉลอง Thanksgiving ราคาไก่งวงเป็นแค่เหตุการณ์เล็กๆ ที่สร้างความรับรู้ ความจริงแล้วสินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดินในขณะนี้ต้นเหตุมาจากการแข่งขันช่วงชิงระหว่างมหาอำนาจ

22 พฤศจิกายน 2022

ชาญชัย คุ้มปัญญา

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

อ่านรายละเอียดบทความ ...

http://www.chanchaivision.com/2022/10/EU-divided-price-cap.html

จันทร์ 21 พฤศจิกายน

จีนซื้อพลังงานรัสเซียเกือบ 60,000 ล้านดอลลาร์แล้วนับจากกองทัพรัสเซียบุกยูเครน (Bloomberg)

จีนซื้อทั้งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆ เทียบกับปีก่อนที่ซื้อ 35,000 ล้านดอลลาร์

วิเคราะห์ : คาดว่าจีนซื้อในราคาพิเศษ และส่วนหนึ่งขายต่อ เช่น ขายก๊าซธรรมชาติแก่ยุโรปอีกทอด

เมื่อวาน (20) IAEA รายงานโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ Zaporizhzhia และพื้นที่โดยรอบโดนถล่มอย่างแรง เกิดระเบิด 12 ครั้ง (Fox News, Bloomberg)

อาคารและเครื่องมือของโรงไฟฟ้าเสียหาย แต่ไม่เสียหายรุนแรง ทั้งรัสเซียกับยูเครนต่างโทษอีกฝ่ายเป็นคนก่อเหตุ ปัจจุบันรัสเซียควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้

วิเคราะห์ : พื้นที่ส่วนนี้เป็นเขตปลอดสงคราม จากนี้ไปคงมีการตรวจสอบว่าใครลงมือ ใช้อาวุธชนิดใด 


อาทิตย์ 20 พฤศจิกายน

สี จิ้นผิงประกาศไต้หวันคือเส้นต้องห้ามแรก

กองทัพสหรัฐเหนือกว่าแต่พร้อมที่จะสูญเสียเพื่อไต้หวันหรือไม่ หาก 2 มหาอำนาจรบกันจริงย่อมส่งผลต่อระเบียบโลกใหม่ที่จะตามมา หมากไต้หวันเพียงตัวเดียวอาจเปลี่ยนระบบโลก

            สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/266969/#&gid=a14a4385&pid=5

            บทความของผมจะอยู่หน้า 5

            หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่

https://www.thaipost.net/columnist-people/266904/

            หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม

 

เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์

เสาร์ 19 พฤศจิกายน

มาฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปกันเพื่อนๆ ....

เศรษฐกิจถดถอยรอบนี้รัฐบาลเป็นผู้ก่อ :

            (ข้อมูลตอนนี้ส่วนใหญ่นำมาจากสื่อ DW https://www.youtube.com/watch?v=cD3o6tqP9pI)

            ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าไม่สามารถเทียบเศรษฐกิจถดถอย 2008 กับปีปัจจุบัน การจะเข้าใจต้องเข้าใจที่มาของปัญหาก่อน

1. ปัญหาเศรษฐกิจรอบนี้มาจาก 3 เหตุการณ์หลัก

            1.1 โควิด-19

            ซับพลายเชนมีปัญหาเมื่อเปิดประเทศอีกครั้ง การระบาดลดลง ผู้คนใช้ชีวิตตามปกติ ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สินค้าขาดแคลน นโยบาย zero Covid ของจีนทำให้จีนยังเผชิญปัญหานี้อยู่

            1.2การคว่ำบาตรจีน

            รัฐบาลสหรัฐฯ พยามยามปิดกั้นสินค้าไฮเทคไม่ให้เข้าถึงจีน เช่น หมวดเซมิคอนดักเตอร์ ซ้ำเติมซับพลายเชนให้มีปัญหาหนักกว่าเดิม สินค้าที่ต้องใช้ชิป ใช้แผงวงจรเกิดปัญหาขาดแคลนทันที สังเกตว่าการซื้อรถใหม่ต้องใช้เวลาสั่งจองนานกว่าปกติ

            1.3 การคว่ำบาตรัสเซีย

            1.3.1 รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกคว่ำบาตรไม่ซื้อใช้พลังงานรัสเซีย อันที่จริงแล้วอียูนำเข้าก๊าซธรรมชาติรัสเซียเพียง 39.2% ของปริมาณก๊าซที่ใช้ แต่ที่เป็นปัญหาเพราะต้องหาผู้ขายใหม่กะทันหัน ทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้นทันที

            1.3.2 การส่งออกธัญพืช

            สงครามยูเครนทำให้การส่งออกธัญพืชรัสเซียกับยูเครนมีปัญหา โดยเฉพาะสินค้าบางตัว เช่น ข้าวสาลี ผลคือทำให้ราคาหมวดอาหารถีบตัวสูงขึ้น

2. มาลงที่ตัวเลขเงินเฟ้อ เฟ้อทั้งโลก

            ปัญหา 3 ข้อข้างต้นก่อให้เงินเฟ้อพุ่ง สังเกตว่าเงินเฟ้อเริ่มต้นที่หมวดพลังงานกับอาหารเป็นหลัก ที่สำคัญคือเกิดภาวะเงินเฟ้อทั้งโลก (ไม่ใช่ที่ยูเครนหรือยุโรปเท่านั้น) บางประเทศสูงอย่างที่ไม่เคยประสบในรอบ 4 ทศวรรษ

            ต้องย้ำว่าเงินเฟ้อรอบใหม่กระทบต่อคนทั่วไปทั้งโลก เพราะราคาพลังงานกับอาหารซึ่งเป็นสินค้าจำเป็นพุ่งพรวด ในช่วงแรกนี้คนไม่ตกงานแต่รายได้ไม่พอรายจ่าย (หรือรายจ่ายเพิ่มขึ้น) สังเกตว่าค่าไฟเพิ่ม ค่าอาหารเพิ่ม

            ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า 2 เรื่องที่กำลังจะเกิดคือเศรษฐกิจโตช้ากับสินค้าแพง ตอนนี้ต้องทำความเข้าใจต่อว่าเศรษฐกิจแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน หากจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อจะส่งผลให้เศรษฐกิจยิ่งโตช้าหรือถดถอย บางประเทศจึงไม่ขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงแบบที่สหรัฐฯ ทำ

            ผู้เชี่ยวชาญยังตั้งข้อสังเกตว่าต้องรออย่างน้อย 6 เดือนจึงจะรู้ว่ามาตรการการเงิน (ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ) จะได้ผลจริงแค่ไหน (การพิจารณาตัวเลขตอนนี้อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง) สรุปสั้นๆ คือ ต้องรอปีหน้าจึงจะตอบได้ว่าขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อได้จริงแค่ไหน และต้องดูรายประเทศด้วย

            จีนยังส่งออกมากขึ้นแต่โดยรวมแล้วเศรษฐกิจโตช้าลง การบริโภคภายในลดลง 10% เมื่อเทียบกับก่อนเกิดโควิด-19 ความหวังที่จะเห็นจีนเป็นเครื่องกระตุ้นเศรษฐกิจโลกำริบหรี่ ดูเหมือนรัฐบาลสี จิ้นผิงวางนโยบายให้เป็นเช่นนั้น

            ท้ายที่สุดผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การคว่ำบาตรรัสเซียกับกีดกันไม่ให้จีนเข้าถึงสินค้าไฮเทค คือต้นเหตุปัญหาที่รัฐบาลก่อและประชาชนต้องจ่ายราคาในขณะนี้

19 พฤศจิกายน 2022

ชาญชัย คุ้มปัญญา
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

อ่านรายละเอียดบทความ ...

http://www.chanchaivision.com/2022/10/EU-divided-price-cap.html

ศุกร์ 18 พฤศจิกายน

เซเลนสกีพูดเอง 10 ล้านคนไม่มีไฟ้ฟ้าใช้ (The Guardian)

วิเคราะห์ : ผมบอกตั้งนานแล้วให้เตรียมฟืนกับเตาถ่าน

วันนี้ เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (Yonhap)

วิเคราะห์ : ถ้าพี่คิมอยากดังแซง APEC ต้องหัวนิวเคลียร์ครับท่าน เชื่อผม

ภาพทั้งหมดถ่ายที่ไทย งาน APEC (Xinhua)

จุดเด่นของ APEC คือ talk shop มางานเดียวเจอผู้นำหลายประเทศ


หิมะแรกที่กรุงเคียฟ (AP)

วิเคราะห์ : ใครว่ายูเครนไม่หนาว ... เดี๋ยวรู้

พฤหัส 17 พฤศจิกายน

นางคริสตาลินา จอร์เจียวา (Kristalina Georgieva) ผอ. IMF ชี้สงครามยูเครน “เป็นปัจจัยลบที่ร้ายแรงสุด” ต่อเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ (CNBC)

วิเคราะห์ : ต้องมองสถานการณ์ยูเครนเป็นสงครามไฮบริด ไม่ใช่เรื่องการรบทางทหารเท่านั้น มีสงครามเศรษฐกิจร่วมด้วย ก่อปัญหาต่อทุกประเทศทั่วโลก สร้างปัญหาต่อหลายพันล้านคน บางประเทศที่เศรษฐกิจเข้มแข็งจะทนได้ดีกว่า ส่วนประเทศที่เศรษฐกิจอ่อนแออยู่แล้วอาจถึงขั้นล่มสลาย เช่น ศรีลังกา

#สงครามไฮบริด #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

อ่าน ---

สงครามไฮบริดกับระเบียบโลกใหม่ในมุมมองรัสเซีย

สงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องระหว่างยูเครนกับรัสเซีย แต่เป็นการต่อสู้แข่งขันระหว่างมหาอำนาจ เงินเฟ้อที่เกิดกับทุกประเทศ สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดินเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม

http://www.chanchaivision.com/2022/09/Russia-modern-multipolar-world.html

พุธ 16 พฤศจิกายน

ประกาศแล้ว ทรัมป์ลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยหน้า (Huff Post)

ย้ำคำขวัญเดิม ‘make America great again’

วิเคราะห์ : ก่อนหน้านี้ทรัมป์ประกาศว่าตนจะลงเลือกตั้งอีกครั้ง (เป็นครั้งที่ 3) หากรีพับลิกันชนะเลือกตั้งกลางเทอม ล่าสุดรีพับลิกันได้ ส.ส. 219 เสียงเกินกึ่งหนึ่งแล้ว

เลือกตั้ง 2 ปีที่แล้วไบเดนเป็นผู้ชนะ ทรัมป์ชี้ว่าที่ตนแพ้เพราะโดนโกง เลือกตั้งอเมริกาโกงอย่างเป็นระบบ จนบัดนี้ทรัมป์ยังยืนยันว่าที่ตนแพ้เพราะโดนโกง

ปีนี้ทรัมป์อายุ 76 ปี เมื่อลงเลือกตั้งอีกครั้งจะมีอายุ 78 ปี

อ่าน ... เลือกตั้งอเมริกาโกงเป็นระบบ?

http://www.chanchaivision.com/2021/10/US-democracy-under-attack.html

รัฐบาลโปแลนด์ยังไม่สรุปว่าใครยิงขีปนาวุธใส่ตน พร้อมปกป้องประเทศตัวเอง (CNBC)

ขีปนาวุธดังกล่าวยิงลึกเข้าไปในประเทศถึง 24 กม. เป็นช่วงเดียวกับที่รัสเซียยิงขีปนาวุธชุดใหญ่โจมตีระบบไฟฟ้ายูเครน รัฐบาลโปแลนด์ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

วิเคราะห์ : คงเคลียร์กันแล้ว รัสเซียไม่ตั้งใจยิงเข้าโปแลนด์

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยขีปนาวุธรัสเซียตกใส่โปแลนด์ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (AP)

ขีปนาวุธตกใส่เมือง Przewodów ติดชายแดนยูเครน ตอนนี้กำลังประชุมฉุกเฉิน หลังรัสเซียยิงขีปนาวุธชุดใหญ่โจมตีโรงไฟฟ้ายูเครนหลายจุด

โรงไฟฟ้า สถานีจ่ายไฟฟ้าของยูเครนเสียหายราว 40%
เจ้าหน้าที่ยูเครนเผยว่ากรุงเคียฟเกือบครึ่งเมืองไฟดับ กระทบชาวบ้านหลายล้านคน

#สงครามยูเครน #winteriscoming

(Strikes put Ukraine in darkness; missiles cross into Poland. (2022, November 15). AP. Retrieved from https://apnews.com/article/russia-ukraine-war-zelenskyy-kherson-9202c032cf3a5c22761ee71b52ff9d52)

#สงครามยูเครน #winteriscoming

อังคาร 15 พฤศจิกายน

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพิ่มยอดส่งออกด้วยน้ำมันรัสเซีย :

            สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า เรือบรรทุกน้ำมันที่ขนน้ำมันดิบรัสเซียจำนวน 700,000 บาร์เรลเข้าเทียบท่าที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นช่องทางขายน้ำมันใหม่ของรัสเซีย (Bloomberg)

            น้ำมันดิบรัสเซีย 700,000 บาร์เรลถูกส่งเข้าโรงกลั่นที่รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าของ (Abu Dhabi National Oil Co.’s Ruwais)

            วิเคราะห์ : นับจากที่อียูลดเลิกนำเข้าพลังงานรัสเซีย รัฐบาลหลายประเทศต้องวิ่งวุ่นหาผู้ขายรายใหม่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นหนึ่งในประเทศที่เนื้อหอมมากที่สุด ถ้าคิดเล่นๆ ว่ารัฐอาหรับแห่งนี้นำ 700,000 บาร์เรลนี้มาใช้เอง และส่งออกน้ำมันของตนอีก 700,000 บาร์เรล เช่นนี้พวกอียูย่อมซื้อได้อย่างสบายใจเพราะซื้อใช้น้ำมันอาหรับแท้ๆ ไม่ได้ทำผิดนโยบายที่กำหนดแต่อย่างไร

            (แน่นอนว่ารัฐอาหรับแห่งนี้ไม่เก็บ 700,000 บาร์เรลไว้เฉยๆ)

            วิธีการของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เหนือกว่าอินเดียกับตุรเคียที่นำเข้าและส่งออกน้ำมันรัสเซียโดยตรง

            อาจตีความว่า 3 ประเทศนี้ไม่เกรงกลัวรัฐบาลสหรัฐฯ หรือไม่ก็สหรัฐฯ ทำเป็นหลับตาข้างหนึ่งเพื่อให้อียูซื้อน้ำมันก๊าซธรรมชาติรัสเซียผ่านประเทศเหล่านี้

            ความจริงคือนับจากรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกไม่ซื้อใช้พลังงานรัสเซีย มีข้อสรุปว่ารัสเซียขายได้เงินมากขึ้นทั้งๆ ที่ขายน้อยกว่าเดิม เหตุเพราะขายได้ในราคาสูงนั่นเอง สรุปสั้นๆ ว่ารัสเซียได้กำไรงาม

15 พฤศจิกายน 2022
ชาญชัย คุ้มปัญญา

อ้างอิง : Russia Delivers First Crude Cargo to UAE’s Ruwais Refinery. (2022, November 14). Bloomberg. Retrieved from https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-11-14/russia-delivers-first-crude-cargo-to-uae-s-ruwais-refinery

ข้อกังวลของรัฐบาลไบเดน (The White House)

            1.สิทธิมนุษยชนจีน

            ประธานาธิบดีไบเดนกังวลประเด็นซินเกียง ธิเบต ฮ่องกงและสิทธิมนุษยชนอื่นๆ

            2. ความก้าวร้าวต่อไต้หวัน

            ยืนยันยึดมั่นนโยบายจีนเดียว (one China policy) ไม่คิดให้สถานการณ์ไต้หวันเปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ไม่ว่าจะโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โลกได้รับประโยชน์หากช่องแคบไต้หวันมีสันติและเสถียรภาพ ไม่เห็นด้วยที่จีนแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อไต้หวัน

            3. ไม่ยึดเศรษฐกิจการตลาด

            ประธานาธิบดีไบเดนชี้ว่าจีนไม่ยึดเศรษฐกิจการตลาด (non-market economic practices) ส่งผลเสียต่อแรงงานอเมริกันกับครอบครัวและอีกมากมายทั่วโลก

            4. ความเสี่ยงใช้นิวเคลียร์

            ทั้งคู่ไม่เห็นด้วยกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในยูเครน พฤติกรรมยั่วยุของเกาหลีเหนือ สหรัฐฯ จะป้องกันพันธมิตรของตนในอินโด- แปซิฟิก

สหรัฐฯ ยังคงกีดกันสินค้าจีน (Global Times)

            การกีดกันสินค้าจีนด้วยการขึ้นภาษี 20-30% ที่เริ่มในสมัยรัฐบาลทรัมป์ยังคงสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน นอกจากรัฐบาลไบเดนไม่ยกเลิกแล้วยังออกมาตรการกีดกันสินค้าเทคโนโลยี การส่งออกเทคโนโลยีสู่จีนแรงกว่าเดิม เหล่านี้เป็นหลักฐานมาตรการที่รัฐบาลสหรัฐฯ (ทั้งจากพรรครีพับลิกันกับเดโมแครท) ยังคงปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจและหนักข้อมากขึ้น

            ชาติตะวันตกมักพร่ำสอนว่าการค้าเสรีก่อประโยชน์ต่อโลกต่อทุกประเทศมากที่สุด แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ ละทิ้งหลักการค้าเสรีแบบดั้งเดิม (หลักการค้าเสรีไม่สนใจว่าเป็นประเทศนั้นปกครองด้วยประชาธิปไตยตามแบบตะวันตกหรือไม่) เริ่มเอ่ยถึงหลักการค้าเสรีแบบใหม่ที่เน้นค้าขายกับพวกเดียวกันทางการเมือง กลับสู่โลกระบบแบ่งขั้ว ชวนให้สงสัยว่าการค้าเสรีใหม่ที่รัฐบาลสหรัฐฯ เอ่ยหมายถึงอย่างไรกันแน่ 

เสรีภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนแบบจีน (Xinhua)

            รัฐบาลจีนเห็นว่าเสรีภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งพื้นที่ที่มนุษย์แสวงหา คนจีนก็เช่นกัน โดยจีนมีระบอบประชาธิปไตยแบบของตนเองเหมือนที่สหรัฐฯ มีประชาธิปไตยแบบของตนซึ่งเหมาะสมกับบริบทแต่ละประเทศ

            ประชาธิปไตยจีนตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง พัฒนาการประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สะท้อนความต้องการของประชาชน จีนภาคภูมิใจกับประชาธิปไตยของตน

เส้นต้องห้ามเส้นแรกของจีน (Xinhua)

            ประธานาธิบดีสีย้ำว่าประเด็นไต้หวันเป็นผลประโยชน์สำคัญยิ่งของจีน สัมพันธ์กับความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ อย่างล้ำลึก เป็นเส้นต้องห้ามแนวแรก (first red line) ที่สหรัฐฯ ต้องไม่ล่วงล้ำ ไต้หวันเป็นเรื่องภายในของจีน คนจีนหวังรวมชาติจีนเป็นหนึ่ง พิทักษ์บูรณภาพแห่งดินแดน คนจีนจะไม่ยอมเรื่องนี้ให้ใครเด็ดขาด

            จีนหวังให้ 2 ฝั่งช่องแคบไต้หวันมีสันติภาพและเสถียรภาพ แนวคิดไต้หวันเป็นไทเป็นศัตรูเหมือนน้ำกับไฟที่อยู่ร่วมกันไม่ได้ หวังว่าคำพูดและการกระทำของสหรัฐฯ จะตรงกันดังที่ยึดมั่นนโยบายจีนเดียวและแถลงการณ์ร่วม 3 ฉบับ

จันทร์ 14 พฤศจิกายน

ด่วนๆ อันนี้สิข่าวดีจริง เศรษฐกิจไทยจะฟื้นสู่ระดับก่อนโควิด-19 ในปีหน้า (Channel News Asia)

รัฐบาลตั้งข้อหา “ก่อกบฏ” ต่อประชาชนอีก 750 คน (France24)

ตัดสินประหารชีวิตแล้ว 1 รายเพราะวางเพลิงเผาอาคารรัฐ ปลุกปั่นสร้างความไม่สงบ สร้างข่าวลือมุ่งทำลายความมั่นคงของชาติ เป็นศัตรูต่อพระเจ้า (an enemy of God)

วิเคราะห์ : การชุมนุมยังดำเนินต่อเนื่องแม้ผู้ชุมนุมนับหมื่นถูกทางการควบคุมตัว รัฐบาลชี้ว่าต่างชาติแทรกแซง

#ประท้วงอิหร่าน #อิหร่านวันนี้

Jeremy Hunt รมต.คลังคนใหม่ชี้รัฐบาลต้องแก้ปัญหาด้วยการขึ้นภาษี ลดการใช้จ่าย (CNBC)

วิเคราะห์ : จำได้ไหมรัฐบาลชุดก่อน Liz Truss เข้าบริหารประเทศปุ๊บเสนอลดภาษีคนรวยทันที กลายเป็นรัฐบาลอังกฤษที่อายุสั้นสุดๆ แปลกแต่จริงรัฐบาลใหม่ทำตรงกันข้ามทั้งๆ ที่คือขั้วการเมืองเดิมนั่นแหละ คำถามคือจะขึ้นภาษีกับใคร เพราะตอนนี้ชาวบ้านประท้วงสินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน รายได้ไม่พอรายจ่าย สหภาพแรงงานจี้ของรัฐบาลขึ้นค่าแรง ปัญหานี้จะลากยาวถึงปีหน้าแน่นอน .... ยังมีอีกหลายตอน

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

อาทิตย์ 13 พฤศจิกายน

Weather in January

January, like December, is a freezing cold winter month in KievUkraine, with temperature in the range of an average high of -2°C (28.4°F) and an average low of -6.3°C (20.7°F).

Temperature

January is the coldest month, with an average high-temperature of -2°C (28.4°F) and an average low-temperature of -6.3°C (20.7°F).

https://www.weather-atlas.com/en/ukraine/kiev-weather-january

ผลคะแนนเลือกตั้งกลางเทอมล่าสุด เดโมแครทนำสภาบน ส่วนรีพับลิกันยังนำสภาล่าง


แนวคิดกำจัดปูตินยุติศึกยูเครนผลิกโฉมรัสเซีย

แนวคิดกำจัดผู้นำฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ยาพิษสมัยใหม่ไร้รสไร้กลิ่น ขนาดเพียงเม็ดฝุ่นฆ่าคนได้แล้ว มีกระแสชวนให้คิดลอบสังหารประธานาธิบดีปูติน มีเหตุผลรองรับ

            สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/261756/#&gid=a14a4385&pid=5

            บทความของผมจะอยู่หน้า 5

            หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่

https://www.thaipost.net/columnist-people/261647/

            หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม

 http://www.chanchaivision.com/2022/11/Eliminate-Putin.html

            เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์

นาทีที่ (7) @สถานการณ์โลก ชาญชัย …

ใครยังไม่ดู รีบดูด่วนก่อนคลิปถูกลบ 5555 ... นั่นมันคลิปอะไร

https://youtu.be/DKEyTqOU-JM

เสาร์ 12 พฤศจิกายน

ชัดแล้ว สงครามเฟส 3 ปล่อยให้ยูเครนเหน็บหนาว

รัฐบาลเซเลนสกีขาดทั้งทรัพยากรกับเงิน ในขณะที่รัสเซียมีพร้อม แผนของรัสเซียตอนนี้คือยืดการรบให้เข้าฤดูหนาว โดยยึดแม่น้ำ Dnieper เป็นพรมแดนชั่วคราว (ส่วนหนึ่ง) กองทัพรัสเซียจะตั้งมั่นในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำนี้ (Pravda)

วิเคราะห์ :

            1) รัสเซียเริ่มโจมตีโรงไฟฟ้า สถานีจ่ายไฟทั่วประเทศยูเครน หลังเหตุวินาศกรรมสะพานไครเมีย 9 ตุลา ทำให้ยูเครนขาดแคลนทั้งพลังงาน น้ำประปา และสิ่งต่างๆ ยูเครนในยามสงครามไม่สามารถฟื้นฟูสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาโดยง่าย (บริษัทปิดตัว คนยูเครนอพยพออกจากประเทศกว่า 14 ล้านคน – จะไปหาช่างที่ไหน) สัปดาห์ที่ผ่านมามีหลักฐานเพิ่มเติมว่ากองทัพรัสเซียใช้แผนให้ยูเครนเผชิญความหนาวเหน็บ การถอนทหารออกจากฝั่งตะวันตกของเมืองเคอร์ซอน (Kherson) เป็นส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าว การถอนทัพพร้อมพลเรือนยูเครนที่ขออยู่ฝั่งรัสเซียจึงไม่ใช่ชัยชนะตามที่รัฐบาลยูเครนหรือชาติตะวันตกกล่าวอ้าง



            2) ดังที่ทราบกันทั่วไปว่าที่ยูเครนอยู่ได้เพราะความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ และพวก ไม่ว่าจะอาวุธหรือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย

            มีข้อมูลว่าปีหน้ารัฐบาลเซเลนสกีจะขอเงินช่วยเหลือจากต่างชาติ 38,000 ล้านดอลลาร์ และอีก 17,000 ล้านดอลลาร์เพื่อบูรณประเทศ

            ไม่รู้ว่าเฉพาะฤดูหนาวปลายปีนี้ต่อต้นปีหน้า ยูเครนต้องของบประมาณเท่าใด

            ล่าสุดเหลือเพียงรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ยังยอมควักเงินจ่าย (เพราะอเมริกาพิมพ์เงินได้ไม่อั้น) และต้องรอดูว่าเลือกตั้งกลางเทอมจะมีผลต่อการสงครามยูเครนอย่างไร

            ในขณะที่บางประเทศช่วยเป็นพิธี ท่ามกลางการประท้วงของประชาชนที่บ่นว่าสินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดิน ชาติยุโรปหลายประเทศกำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจเช่นกัน

            ถ้ามองว่านี่คือสงครามไฮบริดหรือสงครามตัวแทน รัฐบาลปูตินกำลังใช้สงครามยูเครนเล่นงานรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวก อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลบางประเทศ ต้องคิดใหม่ทำใหม่

            แต่ยังเป็นการเร็วเกินไปหากคิดว่าฝ่ายสหรัฐฯ หรือรัสเซียจะยอมแพ้ง่ายๆ สงครามยูเครนจะสู้ต่อไป พร้อมกับการจัดระเบียบโลกใหม่

12 พฤศจิกายน 2022

ชาญชัย คุ้มปัญญา

อ่าน ---

สงครามยูเครนเฟส 3 ยืมดาบศัตรูฟันศัตรู

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

http://www.chanchaivision.com/2022/09/Ukraine-hybrid-war-phase-3.html

ผลนับคะแนนเลือกตั้งกลางเทอมล่าสุด 

ที่นั่งสภาบนตอนนี้เท่ากัน ส่วนสภาล่างมีแนวโน้มว่ารีพับลิกันจะชนะ

พฤหัส 10 พฤศจิกายน

ล่าสุด Mark Milley หัวหน้าคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ ประเมินว่ากว่า 2 แสนรายบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากสงครามยูเครน (BBC)

เป็นทหารรัสเซีย 1 แสนราย ที่เหลือคือฝ่ายยูเครน ส่วนพลเรือนเสียบาดเจ็บหรือชีวิต 40,000 คน

วิเคราะห์ : ด้านรัฐบาลรัสเซียระบุตัวเลขต่ำกว่านี้มาก

พุธ 9 พฤศจิกายน

อียูหารือกรณีรัฐบาลไบเดนอุดหนุนอุตสาหกรรมรถ EV เป็นเหตุให้รถอียูสู้ไม่ได้ (CNBC)

ไบเดนตั้งเป้าอุดหนุนถึง 369,000 ล้านดอลลาร์ อียูมองว่าเป็นการกีดกันการค้าอย่างหนึ่ง ละเมิดระเบียบ WTO
วิเคราะห์ : รัฐบาลไบเดนประกาศยุทธศาสตร์เน้นค้าขายกับพวกเดียวกัน (เพื่อเล่นงานฝ่ายตรงข้าม) แต่กรณีรถ EV เป็นตัวอย่างรัฐบาลสหรัฐฯ เล่นงานทุกประเทศ ไม่เว้นพันธมิตร คำว่าพันธมิตรหมายถึงอย่างไรกันแน่ มองอีกด้านคือสหรัฐฯ กำลังเอาตัวรอด จึงต้องอุ้มรถ EV ซึ่งเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ สรุปว่าเรื่องนี้อีกยาว
อินเดียกับรัสเซียกำลังหารือผลิตอาวุธร่วมกัน (DW)

วิเคราะห์ :

            1) ความร่วมมือนี้มีหลายปีแล้ว ตัวอย่างอาวุธที่โด่งดังมากคือขีปนาวุธ BrahMos และอินเดียได้พัฒนาต่อยอด หลายประเทศสนใจซื้อขีปนาวุธนี้จากอินเดีย รวมทั้งไทย

            2) ท่าทีของอินเดียน่าสนใจมาก อินเดียร่วมมือกับสหรัฐฯ พร้อมๆ กับรัสเซีย แต่กรณียูเครนอินเดียวโอนเอียงอยู่ฝ่ายรัสเซีย กำลังเป็นพ่อค้าคนกลางพลังงานรัสเซีย (ก่อนสงครามยูเครนอินเดียนำเข้าน้ำมันเพียง 2% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด ตอนนี้กลายเป็น 23%)

            3) รู้เปล่าตำราตะวันตกจะยกย่องว่าอินเดียเป็นชาติประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดของโลก (ประชากรเยอะสุด) แต่ต่อไปคงไม่พูดทำนองนั้นอีก

ปีนี้ยอดขายออนไลน์เกาหลีใต้ยังดีต่อเนื่อง

เฉพาะซื้อจากเว็บไซต์ต่างประเทศเพิ่มจาก 1,000 ล้านดอลลาร์เป็น 4,500 ล้านดอลลาร์ 41% ซื้อจากเว็บอเมริกา (CNBC)

#ขายของออนไลน์

อังคาร 8 พฤศจิกายน

ประธานาธิบดีไบเดนกล่าวแสดงความยินดีต่อเนทันยาฮู ย้ำร่วมมือกันต่อไป (Al Arabiya)

ไบเดนกล่าวว่าเลือกตั้งอิสราเอลโปร่งใสและยุติธรรม

วิเคราะห์ : รัฐบาลเนทันยาฮูมาและไปตามระบบการเลือกตั้ง แม้จะเลือกตั้งถี่ 4 ปีเลือกตั้งถึง 5 ครั้งสะท้อนการเมืองอิสราเอลที่รัฐบาลประกอบด้วยหลายพรรค ไม่สามารถจับขั้วแน่น มักยุบสภาบ่อย อย่างไรก็ตาม เลือกตั้งรอบล่าสุดพรรคสายไซออนิสต์ได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นมาก อาจเป็นเหตุให้รัฐบาลอยู่ยาว ทั้งนี้ควรติดตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่ส่อแววว่าจะเป็นแบบไซออนิสต์เข้มข้นกว่าปกติ

#เลือกตั้งอิสราเอล #เนทันยาฮู

การติดต่อสื่อสารทางลับระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับรัสเซียตลอดเวลา

Jake Sullivan ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ได้ติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย หวังลดความเสี่ยงที่สงครามยูเครนจะกลายเป็นสงครามนิเคลียร์ (The Jerusalem Post)

วิเคราะห์ : “ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ” (National Security Advisor) เป็นตำแหน่งที่มีเพียงคนเดียว เป็น 1 ใน 5 คนที่ใกล้ชิดประธานาธิบดีสหรัฐฯ มากที่สุด ต้องรายงานสถานการณ์โลกแก่ประธานาธิบดีทุกวัน รับผิดชอบด้านความมั่นคงโดยตรง

เรื่องที่บางคนอาจไม่ทราบคือมีการติดต่อสื่อสารทางลับระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับรัสเซียตลอดเวลา (รวมทั้งผู้นำประเทศสำคัญอื่นๆ) เพียงแต่ไม่ปรากฏเป็นข่าว เป็นการหารือทางลับ นี่คือเหตุผลอีกข้อที่ชี้ว่าโอกาสเกิดสงครามนิวเคลียร์น้อยมากๆ แม้เป็นนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ

ผมได้อธิบายอย่างละเอียดว่าทำไมโอกาสเกิดสงครามนิวเคลียร์จึงน้อยมากๆ

เหตุผลที่โลกไม่เกิดสงครามนิวเคลียร์

http://www.chanchaivision.com/2020/09/Nuclear-War-Impossible.html

ล่าสุดรัสเซียส่งออกน้ำมันทางเรือ 3.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน (Al Arabiya)

เป็นยอดสูงสุดใน 5 เดือน (นับจากมิถุนายนเป็นต้นมา) เป้าหมายมุ่งสู่ตลาดเอเชีย ในขณะที่อียู อังกฤษเริ่มกำหนดเพดานน้ำมันรัสเซีย เพื่อกดราคาให้ต่ำ

วิเคราะห์ : การกดราคาพลังงานรัสเซีย เป็นส่วนหนึ่งของสงครามไฮบริดในด้านเศรษฐกิจ เป้าหมายคือทำลายเศรษฐกิจรัสเซีย โดยทหารนาโตจะไม่ปะทะกับทหารรัสเซียโดยตรง ปล่อยให้ทหารยูเครนสู้กับรัสเซีย สงครามยิ่งยืดเยื้อยูเครนยิ่งพัง

#สงครามไฮบริด

อ่าน ---

สงครามไฮบริดกับระเบียบโลกใหม่ในมุมมองรัสเซีย

สงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องระหว่างยูเครนกับรัสเซีย แต่เป็นการต่อสู้แข่งขันระหว่างมหาอำนาจ เงินเฟ้อที่เกิดกับทุกประเทศ สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดินเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม

http://www.chanchaivision.com/2022/09/Russia-modern-multipolar-world.html

ตุรเคียเริ่มจ่ายค่าก๊าซรัสเซียเป็นเงินรูเบิลแล้ว (Al Arabiya)

Fatih Donmez รมต.พลังงานตุรเคียกล่าวว่าต่อไปจะชำระด้วยสกุลเงินของกันและกันมากขึ้น

วิเคราะห์ : ตุรเคียอาจนำเข้าเพื่อขายต่อชาตินาโตอื่นๆ รับเงินยูโร ดอลลาร์ ตุรเคียเป็นสมาชิกนาโตและรัฐบาลสหรัฐฯ ห้ามไม่ได้ หรืออาจทำเป็นหลับตาข้างหนึ่งเพื่อให้อียูซื้อก๊าซรัสเซียผ่านตุรเคีย สรุปว่าตุรเคียได้เนื้อๆ

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

Goldman Sachs คาดต้องรออีกหลายเดือนกว่าจีนจะเปิดประเทศ (CNBC)

เนื่องจากกลุ่มคนสูงวัยฉีดวัคซีนน้อย ยอดเสียชีวิตในฮ่องกงสูงขึ้น

วิเคราะห์ : ตราบใดที่รัฐบาลจีนไม่เปลี่ยนแนวคิด zero-Covid การเปิดประเทศเป็นเรื่องยาก ณ ตอนนี้จีนอยู่ได้ เศรษฐกิจยังไปได้แม้แย่ลง ยอดส่งออกจีนเพิ่มขึ้นตลอด 10 เดือนของปีนี้

อาทิตย์ 6 พฤศจิกายน


แวะมาส่งบทความครับเพื่อนๆ ---

เลือกตั้งกลางเทอม 2022 ฝ่ายประชาธิปไตยแพ้?

ผลโพล AP-NORC ตอกย้ำข้อสรุปประธานาธิบดีไบเดนสอบตก ประชาธิปไตยอเมริกามีปัญหา คนอเมริกันมองแง่ลบต่อการเมือง ทั้งยังชี้ผลเลือกตั้งกลางเทอมอีกด้วย

            สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/257035/#&gid=a14a4385&pid=5

            บทความของผมจะอยู่หน้า 5

            หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่

https://www.thaipost.net/columnist-people/256937/

            หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม

 http://www.chanchaivision.com/2022/11/Who-Win-Midterm-Election-2022.html

เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์

ศุกร์ 4 พฤศจิกายน

เตือนปีหน้าก๊าซยุโรปจะไม่พอใช้หลังจากไม่นำเข้าก๊าซรัสเซีย (Reuters)

สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เตือนต้องแก้ไข “ตอนนี้” เพื่อปีหน้าจะมีก๊าซใช้อย่างเพียงพอ แม้ตอนนี้อียูสำรองก๊าซในถังเก็บได้ 95% แล้ว แต่ IEA ชี้ว่าจำนวนดังกล่าวไม่พอ ความต้องการปีหน้ามีมากกว่านั้น นอกจากนี้ความต้องการของจีนอาจเพิ่มขึ้นถึง 85% อุปทานก๊าซโลกปีหน้าจึงเพิ่มสูงขึ้นมาก

วิเคราะห์ : เดิมยุโรปนำเข้าก๊าซรัสเซียราว 40% ของความต้องการรวม เมื่ออียูไม่ซื้อก๊าซรัสเซียหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ทั้งสหรัฐฯ ตะวันออกกลาง ฯลฯ ปัญหาคือระบบ logistic ไม่พอใช้ การบรรทุกก๊าซด้วยเรือและนำมาขนถ่ายที่ท่าเรือได้ก๊าซน้อยกว่าระบบท่อส่งของรัสเซีย ส่วนที่ตอนนี้สำรองได้ถึง 95% มาจากช่วงที่ยังนำเข้าก๊าซรัสเซียอยู่

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #winteriscoming

พฤหัส 3 พฤศจิกายน

คาดเงินเฟ้อที่สูงลิบจะทำลายเศรษฐกิจรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน (New York Post)

กองทุน Elliott Management เตือนโลกอาจเกิด hyperinflation เป็นอันตรายร้ายแรงในรอบ 8 ทศวรรษ เศรษฐกิจสังคมพังทลาย ดัชนีตลาดหุ้นอาจลง 50%

วิเคราะห์ : เป็นอีกมุมมองหนึ่ง

นายกฯ เยอรมันอธิบายเหตุต้องเยือนจีนเพื่อรักษาการค้า (DW)

โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมันเยือนจีน เป็นผู้นำอียูคนแรกที่เดินทางเยือนหลังสี จิ้นผิงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 3 ให้เหตุผลว่าระเบียบโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว วิธีสัมพันธ์กับจีนต้องปรับเปลี่ยน เยอรมนีหวังขยายความสัมพันธ์กับทุกฝ่าย

Hildegard Müller ประธาน German Automobile Association (VDA) ชี้ว่าการค้ากับจีนเกี่ยวข้องกับการจ้างงานในประเทศจำนวนมาก อีกทั้งเราต้องนำเข้าวัตถุดิบจากจีน

ด้านนักวิเคราะห์บางคนโยงเรื่องนี้กับรัสเซีย ชี้ว่าท้ายที่สุดแล้วเยอรมนีไม่อาจเป็นมิตรกับจีน มองว่ารัสเซียกับจีนเป็นพวกเดียวกัน 

คาดว่าเนทันยาฮูกลับมาเป็นนายกฯ ต่อ ใช้แนวไซออนิสต์แรงกว่าเดิม :

ผลการนับคะแนนกว่า 90% พรรคลีคูตของเนทันยาฮูชนะขาด แต่ที่นักวิเคราะห์ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือการก้าวขึ้นมาของพรรค Otzma Yehudit ที่คาดว่าจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นมาก พรรคนี้กับพรรคลีคูตต่างยึดแนวทางไซออนิสต์ แต่ Otzma Yehudit เข้มข้นมากกว่า เป็นพวกขวาจัด เรื่องนี้จะส่งผลต่อนโยบายรัฐบาลชุดใหม่มากแค่ไหน เป็นเรื่องน่าติดตาม

#เลือกตั้งอิสราเอล #เนทันยาฮู

เงินเฟ้อตุรเคียทำสถิติใหม่ 85.5% สูงสุดในรอบ 24 ปี (Al Arabiya)

แต่รัฐบาลแอร์โดกานลังเลขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ ชี้ว่าเป็นผลเสียมากกว่า

วิเคราะห์ : ปีที่แล้วตุรเคียเงินเฟ้อ 36% สูงสุดในรอบ 19 ปี (Daily Sabah) อัตราเงินเฟ้อประเทศนี้เป็นเลขสองหลักมาตลอด น่าเป็นห่วงอนาคตประเทศนี้

#เงินเฟ้อ #ตุรเคียวันนี้

Galeazzo Bignami ที่จอร์เจีย เมโลนี นายกฯ อิตาลีคนใหม่อยากให้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของเธอ กำลังถูกขุดคุ้ยว่าเป็นนาซี (Euro News)

นายกฯ เมโลนี เป็นหัวหน้าพรรคแนวฟาสซิสต์ สายตรงของมุสโสลินี

วิเคราะห์ : รู้ป่าว ...โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีคนปัจจุบัน เป็นพวกสังคมนิยม เป็นหัวหน้าพรรคพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมัน (SPD)

ล่าสุด ชาวยูเครน 14 ล้านคนได้อพยพออกจากบ้านหนีภัยสงคราม (ABC News)

ข้อมูลยูเอ็นชี้ว่าเป็นการอพยพย้ายถิ่นที่เร็วสุดมากสุดในรอบหลายทศวรรษ

Filippo Grandi จาก U.N. High Commissioner for Refugees คาดยูเครนปีนี้จะเผชิญอากาศหนาวจัด ทางออกคือเลิกทำสงคราม

#สงครามยูเครน

เลือกตั้งกลางเทอม 2022 คนอเมริกันส่วนใหญ่อยู่ “ฝ่ายตรงข้ามประชาธิปไตย” ใช่หรือไม่

            ไบเดนกล่าวว่าทรัมป์มักพูดโกหก หว่านความเกลียดชัง ยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง พวก MAGA Republicans (หมายถึงพวกรีพับลิกันที่สนับสนุนทรัมป์อย่างเข้มข้น) ข่มขู่เจ้าหน้าที่ พฤติกรรมเหล่านี้บั่นทอนประชาธิปไตย

            คำโกหกที่ร้ายแรงที่สุดคือทรัมป์อ้างว่าตัวเขาถูกโกงเลือกตั้งเมื่อปี 2 ปีก่อน ประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าระบบเลือกตั้งอเมริกาไม่ขาวสะอาด ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ไบเดนฉายภาพซ้ำเลือกตั้งประธานาธิบดี 2 ปีก่อนว่าทุกคูหาที่มีปัญหาถูกนับคะแนนใหม่ อาจมีข้อผิดพลาดบ้างแต่ไม่ใช่การโกงอย่างเป็นระบบ ผลเลือกตั้งออกมาเหมือนเดิม แต่ไม่ว่าคณะกรรมการเลือกตั้งกับศาลหลายรัฐได้ทำการตรวจสอบและตัดสินว่าไบเดนชนะเลือกตั้งอย่างขาวสะอาด ทรัมป์ยังไม่ยอมรับอยู่ดี นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์เป็นภัยต่อประชาธิปไตย ไม่ยอมรับกฎหมาย ไม่ยอมรับกระบวนการเลือกตั้ง

            ไบเดนกล่าวว่าตนไม่ได้พูดเพื่อตนเองแต่กำลังพูดถึงอเมริกา อนาคตของชาติ เป็นเรื่องสำคัญที่ปล่อยผ่านไม่ได้ เป็นเรื่องของทุกคนๆ ต่างต้องตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไร ต้องไม่ทนต่อความรุนแรงทางการเมือง พร้อมกับเตือนว่าเราต้องไม่รักประเทศเฉพาะเมื่อฝ่ายเราชนะเลือกตั้ง

            วิเคราะห์ : เนื้อหาคำปราศรัยของประธานาธิบดีไบเดนครั้งนี้ไม่ต่างจากครั้งก่อนๆ ใจความหลักยังชี้ว่าทรัมป์กับพวกไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ตนนั้นคือฝ่ายประชาธิปไตย ลงท้ายด้วยการชักชวนให้ไปเลือกตั้งกลางเทอม

            คำถามคือถ้าพรรครีพับลิกันชนะเลือกตั้งกลางเทอม ได้ ส.ส. ส.ว. มากขึ้น กำลังชี้ว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่อยู่ “ฝ่ายตรงข้ามประชาธิปไตย” ใช่หรือไม่ คำตอบค่อนข้างซับซ้อนเพราะหลายคนอาจเลือกเพราะไม่พอใจสภาพเศรษฐกิจ เห็นว่ารัฐบาลไบเดนไม่เก่ง พรรครีพับลิกันที่เป็นฝ่ายค้านกลายเป็นทางเลือกเดียวที่มีอยู่

3 พฤศจิกายน 2022
ชาญชัย คุ้มปัญญา

อ้างอิง : President Biden Remarks at DNC Event in Washington, D.C. (2022, November 2). C-SPAN. Retrieved from https://www.c-span.org/video/?524007-1/president-biden-delivers-remarks-democracy-midterm-elections


ไม่กี่ชั่วโมงที่แล้ว ประธานาธิบดีไบเดนย้ำทรัมป์เป็นภัยต่อประชาธิปไตย ... ชมวีดีโอฉบับเต็ม

https://www.c-span.org/video/?524007-1/president-biden-delivers-remarks-democracy-midterm-elections

อ่านบทความที่ผมเมื่อ 2 เดือนก่อน ....

ประธานาธิบดีไบเดนกล่าวว่าทรัมปกับพวกที่สนับสนุนเขาเป็นพวกกึ่งเผด็จการ (semi-fascism) เป็นพวกสุดโต่ง (extremist) ไม่ใช่ฝ่ายประชาธิปไตย และเลือกตั้งรอบหน้าทรัมป์อาจกลับมาอีก

http://www.chanchaivision.com/2022/09/Trump-MAGA-Republicans-extremism.html

พุธ 2 พฤศจิกายน

พรรคขวาจัดไซออนิสต์มาแรง คาดได้ที่นั่งมากกว่าทุกครั้ง (The Jerusalem Post)

ผลการนับคะแนนล่าสุด Religious Zionist Party อาจได้ 14 ที่นั่ง (จากเดิม 6) พรรคนี้ยึดแนวทางไซออนิสต์ยิ่งกว่าพรรคลีคูต (Likud) ของเนทันยาฮูที่ได้คะแนนสูงสุด คาดว่า 2 พรรคจับมือร่วมตั้งรัฐบาล

วิเคราะห์ : รัฐบาลชุดก่อนที่นำโดยนายกฯ เบนเน็ตต์ อันประกอบด้วยพรรคเล็กหลายฝ่ายล้มภายในปีเดียว พรรคฝ่ายขวากลับคืนสู่อำนาจ รัฐบาลใหม่มีผลต่อปาเลสไตน์ อิหร่านแน่นอน

#เลือกตั้งอิสราเอล #เนทันยาฮู

ข่าวดี เงินเฟ้ออินโดฯ ลดจาก 5.95% เหลือ 5.71% ในเดือนตุลาคม เนื่องจากราคาอาหารลดลง (The Jakarta Post)


ชาวกรุงเคียฟ 40% ต้องเข้าคิวรับน้ำประปาแล้ว บ้าน 270,000 หลังไม่มีไฟฟ้า (BBC)

วิเคราะห์ : คาดว่ากองทัพรัสเซียใช้ยุทธวิธีล้อมเมือง ให้ความหนาว ความขาดแคลนเล่นงานฝ่ายตรงข้าม คาดว่าสงครามไม่จบง่ายๆ น่าจะลากยาวตลอดฤดูหนาวนี้ (ไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า) ยกเว้นรัฐบาลเซเลนสกีจะยอมแพ้ซึ่งหมายถึงต้องยอมรับ “เงื่อนไข” ของฝ่ายรัสเซีย และหมายถึง “นาโตยอมแพ้” นี่คือเหตุผลที่อธิบายว่าอาจต้องลากยาวอีกหลายเดือนเพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ยอมแพ้

อ่าน ---

สงครามยูเครนเฟส 3 ยืมดาบศัตรูฟันศัตรู

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

http://www.chanchaivision.com/2022/09/Ukraine-hybrid-war-phase-3.html

การชุมนุมประท้วงรัฐบาลอิหร่านดำเนินต่อไป ชูคำขวัญว่า "Woman, Life, Freedom" (BBC)

ล่าสุดนักศึกษาบางกลุ่มประท้วงด้วยการนั่งในมหาวิทยาลัยและตามที่ต่างๆ องค์กรสิทธิมนุษยชนอิหร่าน HRANA เผยตั้งแต่เริ่มประท้วงกว่า 287 รายเสียชีวิตเพราะถูกเจ้าหน้าที่สังหาร 14,160 คนถูกทางการควบคุมตัว ด้านสื่อรัฐบาลเผยว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่ 35 เสียชีวิตจากฝีมือต่างชาติ

#ประท้วงอิหร่าน #อิหร่านวันนี้

Exit polls ชี้ขั้วอดีตนายกฯ เนทันยาฮูมีคะแนนนำ (BBC)

วิเคราะห์ : เป็นการเมืองแบบ 2 ขั้ว เนทันยาฮูในวัย 73 ปี เป็นนายกฯ มา 12 ปีแล้วจะได้อยู่ในอำนาจอีกสมัยหรือไม่ ท่ามกลางคดีทุจริตหลายคดีที่คั่งค้าง ข้อคิดคือขอเพียงเนทันยาฮูสามารถควบคุมอำนาจพรรคใหญ่ได้ ตำแหน่งนายกฯ ไม่หนีไปไหน สลับกับคู่แข่งอีกขั้วเท่านั้นเอง

#เลือกตั้งอิสราเอล #เนทันยาฮู

อังคาร 1 พฤศจิกายน

รู้เปล่า คนอเมริกัน 42% ไม่พอใจสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่ได้จากประเทศตัวเอง พวกที่พอใจมีเพียง 34% อีก 23% เฉยๆ (AP-NORC)

ถามคนอเมริกันตรงๆ ประชาธิปไตยอเมริกากำลังทำงานอย่างดีหรือไม่ 52% ตอบว่าไม่ (ในเชิงแย่) 47% ตอบว่าดี

วิเคราะห์ : อย่างนี้เรียกว่าไม่เป็นประชาธิปไตย 42% ได้หรือไม่ 

IEA คาดหนาวนี้ยุโรปคงไม่มีปัญหา ตุนก๊าซในถังเก็บกว่า 90% แล้ว (CNCB)

ปัญหาเฉพาะหน้าคือประชาชนหลายประเทศประท้วงพลังงานแพง เงินเฟ้อพุ่ง

วิเคราะห์ : ฤดูหนาวนี้ยุโรปอาจมีก๊าซมากพอ แต่ต้องไม่ลืมว่าซื้อมาด้วยราคาสูงลิบ รัฐบาลต้องใช้งบประมาณอุดหนุน ปัญหาระยะยาวคือราคาที่ยุโรปซื้อยังสูงอีกหรือไม่ สูงกว่าเดิมที่ซื้อจากรัสเซียกี่เท่า ปัญหาระยะยาวคือขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงเพียงใด จะกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบหรือไม่

#คว่ำบาตรรัสเซีย #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

เศรษฐกิจจีนอาจฟื้นตัวระดับหนึ่งแต่อนาคตเต็มด้วยความท้าทาย (CNBC)

Mark Jolley จาก CCB International Securities เห็นว่าเศรษฐกิจจีนเข้าสู่จุดที่ไม่อาจโตเร็วอีกแล้ว ด้วยเหตุผล 3 ข้อคือ แนวโน้ม deglobalization ความขัดแย้งจีน-สหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกอ่อนแอ ทั้งยังมีปัญหาภายใน เช่น อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์

Jun Bei Liu จาก Tribeca Investment Partners เห็นว่าปีหน้า (2023) เศรษฐกิจจีนจะไปได้ค่อนข้างดีถ้ายกเลิกมาตรการควบคุมโควิด-19 การบริโภคภายในฟื้นตัว

#เศรษฐกิจจีน

------------------------