รอบวันสถานการณ์โลก กุมภาพันธ์ 2023


... ร่วมพูดคุยติดตามข่าวสารสำคัญได้ที่ ห้องไลน์ สถานการณ์โลก

https://line.me/ti/g2/gJydU7mfnBww2eG9biRFbdMp5b8yPWp7q1U2nA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

http://www.chanchaivision.com/2023/02/world-now-2.html



อังคาร 28 กุมภาพันธ์


วันนี้ (28) พบรถถัง Leopard แถว Bakhmut 


วิเคราะห์ : เป็น Leopard แต่เจ้าของอาจไม่ใช่เยอรมนีโดยตรง มาอยู่ที่แนวหน้าด้วยนะ กำลังรบกันดุเดือด

เหล่านักเศรษฐศาสตร์คาดเศรษฐกิจอเมริกาจะไม่ถดถอยเร็วอย่างที่คิดไว้ตอนแรก (CBS News)

ผลสำรวจของ National Association for Business Economics นักเศรษฐศาสตร์ 58% ยังคิดว่าเศรษฐกิจจะถดถอยในปีนี้แต่ช้ากว่าที่เคยคาดไว้ เศรษฐกิจยังแข็งแกร่งแม้ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว 8 รอบ

วิเคราะห์ :

            1) ภาพรวมเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง จึงกดเงินเฟ้อลงไม่มาก เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก และอาจรักษาดอกเบี้ยสูงกว่า 5% ตลอดปีนี้

            2) หลายคนจะฝากเงินในรูปดอลลาร์เพื่อกินดอกเบี้ย

#ดอกเบี้ยสูง #ดอลลาร์แข็ง

จันทร์ 27 กุมภาพันธ์

เป็นอันว่าผมได้เขียนครบ 4 บทตลอดเดือนกุมภา ... เดือนหน้าเขียนต่อเพราะมีประเด็นใหม่ๆ เข้ามา ... รออ่านกันนะครับ ...

ปฐมบทศึกยูเครน ยุทธศาสตร์นาโตขยายตัว

ไม่ว่าจะอธิบายต้นเหตุศึกยูเครนด้วยแนวทางใด ชาติมหาอำนาจมั่นคงมั่งคั่งขึ้นบนความสูญเสียของยูเครน ยูเครนเป็นแค่เหยื่อที่ต้องถูกทำลาย

http://www.chanchaivision.com/2023/02/Red-Line-Ukraine.html

ศึกยูเครนครบ 1 ปียุติได้หรือยัง

สงครามยูเครนเป็นแค่ชนวนของการจัดระเบียบโลก ขึ้นกับความต้องการของมหาอำนาจ ความเป็นไปของประเทศยูเครนไม่ขึ้นอยู่กับคนยูเครนอีกต่อไป

http://www.chanchaivision.com/2023/02/Russia-Ukraine-1-Year.html

ยูเครนสงครามตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม

อีกหลายปีข้างหน้าเมื่อหวนมองสงครามยูเครนน่าจะได้คำตอบว่าเป็นเพียงฉากหนึ่งของการช่วงชิงระหว่างมหาอำนาจ เหมือนนิยายเรื่องเก่าที่นำมาแสดงใหม่ สหรัฐกับรัสเซียยังคงอยู่ส่วนยูเครนกลายเป็นซาก

http://www.chanchaivision.com/2023/02/Ukraine-Russia-NATO.html

ศึกยูเครนครบปีไบเดนให้สู้ต่อแต่อย่างไรเรียกว่าชนะ

ภายใต้คำประกาศขอยืนหยัดสู้เคียงข้างยูเครน นาโตรวมตัวเข้มแข็ง มีคำถามว่ายูเครนจะชนะศึกได้อย่างไร กำลังสู้ศึกเพื่ออนาคตลูกหลานใคร

http://www.chanchaivision.com/2023/02/Ukraine-will-win-or-not.html

เสาร์ 25 กุมภาพันธ์

ส่วนหนึ่งของบทความฉบับวันอาทิตย์ ....

“เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า M1 Abrams รถถังประจัญบานหลักของสหรัฐมีชื่อเสียงก้องโลก ผ่านสมรภูมิจริงมาแล้วหลายแห่ง ข้อมูลจาก The Military Balance 2022 ระบุว่า ปัจจุบันสหรัฐมีรถถัง M1 ในประจำการ 2,645 คัน และมีในคลังสำรองอีก 3,450 คัน แต่จนบัดนี้ยังไม่ชัดว่าจะส่งมอบรถถังนี้แก่ยูเครน ซ้ำยังเคยมีข่าวจะส่งมอบรถถังที่ผลิตใหม่ ทำไมต้องผลิตใหม่ในเมื่อในคลังสำรองมีกว่า 3 พันคัน”

ศุกร์ 24 กุมภาพันธ์

สเปนกับฟินแลนด์จะส่งมอบรถถัง Leopard แก่ยูเครน (Politico)

สเปนจะให้ Leopard 2 จำนวน 10 คัน ฟินแลนด์ให้ 3 คัน

วิเคราะห์ :

            1) สถานการณ์การให้รถถังประจัญบานแก่ยูเครนยังสับสน ข้อมูลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และให้แบบกระปิดกระปรอย ไม่ใช่ได้มาทีเดียวหลายร้อยคัน

            2) รู้ไหม ปัจจุบันสหรัฐฯ มีรถถัง M1 ในประจำการ 2,645 คัน และมีในคลังสำรองอีก 3,450 คัน ทำไมรัฐบาลไบเดนไม่นำรถถัง M1 ที่มีอยู่มากมายให้คลังสำรองแก่ยูเครน

24 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

-------------------------

ทางการรัสเซียระบุปี 2022 จีดีพีหดตัว 2.1% ขณะที่ปี 2021 เศรษฐกิจโต 5.6% (Business Insider)

วิเคราะห์ :

            1) ปีที่แล้วเป็นปีแห่งความปั่นป่วนวุ่นวาย จีดีพีจึงหายไปมาก ปีนี้จะสะท้อนว่าหลังผ่านความปั่นป่วนเป็นอย่างไร

            2) งบกลาโหมจะมีผลมากในปีนี้

            สงครามดำเนินต่อไป ทุกเหล่าทัพเร่งสร้างอาวุธใหม่ ผลิตกระสุนป้อนสนามรบจำนวนมาก กองทัพหลายแสนนายที่กำลังอยู่ในสนามรบ ทั้งหมดล้วนใช้งบประมาณ จะมีผลต่อเศรษฐกิจมากแค่ไหน

คนอเมริกันสนับสนุนทำสงครามยูเครนต่อ (The Hill)

ผลโพล Fox News ระบุคนอเมริกัน 50% เห็นด้วยที่จะสนับสนุนยูเครนทำสงครามนานเท่าที่ต้องการ (“as long as it takes”) 46% เห็นว่าควรจำกัดเวลา

66% ของพวกที่สนับสนุนพรรคเดโมแครทเห็นด้วยที่จะสนับสนุนต่อไปเรื่อยๆ 61% ของพวกรีพับลิกันเห็นว่าควรมีขีดจำกัด ล่าสุดสหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือแก่ยูเครนรวม 75,000 ล้านดอลลาร์

วิเคราะห์ : เห็นชัดว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่เห็นด้วยกับสงครามยูเครน ต่างกันที่ควรสนับสนุนนานแค่ไหน

พุธ 22 กุมภาพันธ์


การแบ่งขั้วทางการเงินเป็นอีกประเด็นสำคัญในยุคสงครามเย็นใหม่ที่กำลังก่อตัวและรุนแรงยิ่งขึ้น ....

ความก้าวหน้าระบบโอนเงิน SPFS ของรัสเซีย

SPFS เป็น “ระบบส่งข้อความทางการเงิน” หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือระบบโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินที่รัสเซียเป็นเจ้าของ เป็นอีกทางเลือกนอกจากใช้ระบบ SWIFT ที่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกมีอิทธิพลควบคุม

http://www.chanchaivision.com/2023/02/SPFS.html

อังคาร 21 กุมภาพันธ์

ด่วน เพิ่งออกวันนี้ สำหรับท่านที่สนใจ นโยบายจีนด้านความมั่นโลก ...

"เอกสารแนวคิดริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก"

Full text: The Global Security Initiative Concept Paper

https://english.news.cn/20230221/75375646823e4060832c760e00a1ec19/c.html

รัสเซียจะโจมตีโปแลนด์ “เป็นเป้าหมายต่อไป" (Newsweek)

Mateusz Morawiecki นายกรัฐมนตรีโปแลนด์กล่าวว่า รัสเซียจะโจมตีโปแลนด์ “เป็นเป้าหมายต่อไป" ดังนั้นตอนนี้ต้องช่วยยูเครนสกัดรัสเซียให้จงได้ ปัจจุบันมีทหารอเมริกัน 11,000 ประจำการที่นี่

หนี้ครัวเรือนสหรัฐฯ พุ่งสูงสู่ระดับวิกฤตเศรษฐกิจ 2008 แล้ว (Fox Business)

แต่ละครัวเรือนเป็นหนี้เฉลี่ย 142,860 ดอลลาร์ (ข้อมูลสิ้นปี 2022) ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยสูง

            Jill Gonzalez จาก WalletHub กล่าวว่าตอนนี้ระดับหนี้ถึงขั้นสุดแล้ว ครอบครัวอเมริกันรับภาระหนี้มากกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว รับภาวะเศรษฐกิจแย่กว่านี้ไม่ได้อีก เฉพาะหนี้อสังหาฯ ทั้งประเทศสูงถึง 290,000 ล้านดอลลาร์ เป็นหนี้ประเภทนี้เฉลี่ยครอบครัวละ $100,667 ดอลลาร์

            ไม่แปลกใจที่คนเป็นหนี้บัตรเครดิตมากขึ้น และน่าเป็นห่วงเพราะดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูงถึง 19.14%

วิเคราะห์ : น่าสังเกตว่าคนว่างงานต่ำมาก ตลาดแรงงานแข็งแกร่ง ค่าจ้างเพิ่มสูงกว่าเงินเฟ้อ แต่โดยรวมแล้วหนี้ครัวเรือนยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นเหตุผลที่ปล่อยให้เศรษฐกิจถดถอยแรงๆ ไม่ได้ ขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ ก็ไม่ได้

            ภาพการจ้างงานที่ดูดี รายได้เพิ่ม แต่กู้มากขึ้น-เป็นหนี้หนักขึ้น

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน #ยิ่งรบยิ่งพัง

จันทร์ 20 กุมภาพันธ์

ยูเครนรบมา 1 ปีเยอรมนีสูญเสีย 106,700 ล้านดอลลาร์ (100,000 ล้านยูโร) (Sputnik News)

Marcel Fratzscher จาก German Institute for Economic Research (DIW Berlin) รายงานว่าสงครามยูเครนและความสูญเสียอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ราคาพลังงาน รวมแล้วถึง 106,700 ล้านดอลลาร์ (100,000 ล้านยูโร) เกือบ 2.5% ของจีดีพีและชี้ว่ายอดดังกล่าวอาจสูงขึ้นในปีถัดไป

วิเคราะห์ : “สงครามเป็นของแพง”

นาโตกำลังเปลี่ยนแผนศึกยูเครน?? :

Ben Wallace รมต.กลาโหมอังกฤษเผย หลังจากหลายประเทศรับปากจะมอบรถถังให้ยูเครน ตอนนี้พบว่าไม่พร้อม ต้องซ่อมก่อนส่งซึ่งกินเวลานาน (RT)

รถถังที่มีอยู่จำนวนมากไม่อยู่ในสภาพพร้อมรบ และการฝึกทหารยูเครนสำคัญมาก ส่วนเรื่องกระสุนร่อยหรอไม่อยู่ในสภาพพร้อมทำศึกที่ต้องใช้จำนวนมาก

วิเคราะห์ :

            1) ลืมข้อมูลเรื่องรถถังให้หมด

            ก่อนหน้านี้มีข้อมูลเรื่องรถถังที่จะส่งมอบให้ยูเครน เช่น M-1, Challenger 2 และ Leopard 1 กับ 2 ปรากฏว่าเอาเข้าจริงข้อมูลเปลี่ยนใหม่หมด เช่น ตอนแรกที่ให้ Leopard 2 กลายเป็น Leopard 1 และกลายเป็นว่า Leopard 1 เป็นของเก่าเก็บหลายสิบปี ต้องซ่อมบำรุงใหม่ทั้งคัน

            สรุปสั้นๆ คือ ลืมข้อมูลเรื่องรถถังให้หมด รอส่งมอบจริงเท่านั้น

            2) กระสุนหมด ผลิตน้อยไม่พอใช้

            สมรภูมิยูเครนแห่งเดียวทำให้คลังกระสุนนาโตร่อยหรอ หลายประเทศไม่อยากส่งให้อีก รมต. Ben Wallace เป็นคนล่าสุดที่ออกมาพูดเช่นนี้ น่าคิดว่าสภาพเช่นนี้นาโตจะรบต่อได้หรือ ... เพราะยิงๆ แล้ว “กระสุนหมด” แค่นี้ก็รู้แล้วว่า “แพ้ เพราะกระสุนไม่พอใช้” เป็นประเด็นน่าติดตาม

            3) เปลี่ยนแผน ????

            เป็นไปได้ว่านาโตอาจกำลังเปลี่ยนแผน แทนการส่งรถถังและอาวุธให้ยูเครน อาจ “เปลี่ยนแผน” คาดว่าอีกไม่กี่วันจะประกาศ

20 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-------------------------

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน #ยิ่งรบยิ่งพัง

Viktor Orban นายกฯ ฮังการีกล่าวว่าถ้าอียูอยากรบให้รบกับเงินเฟ้อดีกว่า (RT)

มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียไม่สามารถหยุดรัสเซียแต่สร้างเงินเฟ้อที่ตอนนี้กำลังทำร้ายเศรษฐกิจอียู ย้ำว่าต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากการคว่ำบาตรรัสเซีย มาตรการที่อียูหวังทำลายรัสเซียตอนนี้กำลังทำร้ายตัวเอง “คาดว่าจะสงครามจะยืดยื้อออกไป”

วิเคราะห์ : ฟังนายกฯ Viktor Orban คนเดียวได้คำตอบชัดเจนทุกประเด็น

อาทิตย์ 19 กุมภาพันธ์

The Observer กับผมและอีกหลายสำนักข่าวใจตรงกัน คือ ต้องนำเสนอประเด็นนี้ ...

เดิมผมวางแผนจะให้ประเด็นนี้เป็นบทความตอนที่ 4 ตอนสุดท้ายของซีรีย์เดือนกุมภา ตีพิมพ์อาทิตย์ 26 .... แต่ตอนนี้ซีรีย์ของผมขยายเป็น 6 ตอนแล้ว 5555 … เท่ากับว่าประเด็นนี้จะตีพิมพ์กลางเดือนมีนา ... โอ้ ไม่น้า........ 

Newsweek ไม่น่านำเสนออย่างนี้เลย เพราะ Bakhmut กำลังตกอยู่ในวงล้อมกองทัพรัสเซีย

เดือนหน้าฝ่ายยูเครนคงโดนกวาดเกลี้ยงหมดเมือง

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจ

รายงานประจำปีของ Munich Security Conference 

ที่กำลังประชุมกันอยู่ แม้ยูเครนเป็นเรื่องใหญ่สุด แต่เนื้อหานำเสนอหลายประเด็น ...

https://d3mbhodo1l6ikf.cloudfront.net/2023/Munich%20Security%20Report%202023/MunichSecurityReport2023_Re_vision.pdf

ยูเครนสงครามตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม

อีกหลายปีข้างหน้าเมื่อหวนมองสงครามยูเครนน่าจะได้คำตอบว่าเป็นเพียงฉากหนึ่งของการช่วงชิงระหว่างมหาอำนาจ เหมือนนิยายเรื่องเก่าที่นำมาแสดงใหม่ สหรัฐกับรัสเซียยังคงอยู่ส่วนยูเครนกลายเป็นซาก

            สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/327001/#&gid=a14a4385&pid=5

            บทความของผมจะอยู่หน้า 5

            คลิกอ่านแบบเว็บไซต์ได้ที่

https://www.thaipost.net/columnist-people/326892/

            หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม

http://www.chanchaivision.com/2023/02/Ukraine-Russia-NATO.html

เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์

เสาร์ 18 กุมภาพันธ์

Jens Stoltenberg เลขาธิการนาโตชี้หากรัสเซียชนะศึกยูเครนจะส่งผลต่อเอเชีย-แปซิฟิก (CNBC)

เลขาธิการนาโตกล่าวว่าศึกยูเครนมีผลต่อความคิดของจีน ส่งผลต่อนโยบายจีน อะไรที่เกิดกับยุโรปจะมีผลต่อเอเชีย และอะไรที่เกิดขึ้นกับเอเชียจะมีผลต่อยุโรปเช่นกัน ตอนนี้นาโตกำลังยกระดับความร่วมมือกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ “การก้าวขึ้นมาของจีนมีผลต่อความมั่นคง ผลประโยชน์ของเราและคุณค่าที่เรายึดถือ”

วิเคราะห์ :

            1) ชัยชนะของรัสเซียกับการก้าวขึ้นมาของจีน

            ถ้อยคำของเลขาธิการนาโตแสดงความวิตกหากรัสเซียชนะกับการก้าวขึ้นมาของจีน รัสเซียจะชนะศึกยูเครนหรือไม่เป็นเรื่องต้องติดตามต่อไป ส่วนการก้าวขึ้นมาของจีนเป็นที่ค่อนข้างแน่นอน ดังนั้นการเผชิญหน้าในอนาคตจะเด่นชัดยิ่งขึ้น

            2) ศึกยูเครนมองได้หลายกรอบ กรอบใหญ่ที่สุดคือการแข่งขันระหว่างขั้ว การจัดระเบียบโลก

            ถ้อยคำของเลขาธิการนาโตบ่งบอกมุมมองนี้อย่างชัดเจน ไม่ได้มองแค่รัสเซียกับนาโต แต่มองไปที่จีน และเชื่อมโยงทั้งโลก

            3) นาโตที่รวมพันธมิตรเอเชีย

            อนาคตหนีไม่พ้นที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะรวมพันธมิตรเอเชียเข้ากับยุโรป หรือพูดอีกอย่างคือรวมพันธมิตรทางทหารทั้งโลก ไม่ว่าจะทำเป็นนาโต-2 นาโตเอเชีย หรือนาโตเดียวที่รวมทั้งหมด รวมความแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ตั้งเป้ากระชับพันธมิตรทางทหารที่ตนเป็นแกนนำให้ร่วมมือใกล้ชิดขึ้นอีก โดยอ้างภัยคุกคามจากทั้งรัสเซียกับจีน

            4) ฝ่ายประชาธิปไตยแพ้ไม่ได้

            (ส่วนหนึ่งของบทความฉบับวันอาทิตย์นี้) “ด้วยการที่รัฐบาลสหรัฐกับพวกประกาศว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม เป็นอีกเหตุผลที่แพ้ไม่ได้”

            ถ้าแพ้ที่ยุโรปเพียงที่เดียวหมายถึงสหรัฐฯ สูญเสียความเป็นเจ้า ในทำนองเดียวกันหากแพ้ที่เอเชีย-แปซิฟิกแก่จีนจะเท่ากับว่าสหรัฐฯ สูญเสียความเป็นเจ้าเช่นกัน นี่คือสิ่งสำคัญที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยอมไม่ได้และพยายามเชื่อมโยงว่าเป็นการต่อสู้ระหว่าง “ฝ่ายประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม”

            ศึกยูเครนคงต้องดำเนินต่อไปเพราะแพ้ไม่ได้

18 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

-----------------

ศุกร์ 17 กุมภาพันธ์

รัฐบาล Yoon Suk Yeol ตีตรา “เกาหลีเหนือเป็นศัตรู” ครั้งแรกในรอบ 6 ปี (Yonhap)

Defense White Paper 2022 ฉบับล่าสุดของเกาหลีใต้ประกาศชัดย้ำนโยบายประเทศต้องเข้มแข็งจึงจะมีสันติภาพ

วิเคราะห์ :

            1) ที่ผ่านมาเกาหลีใต้เคยประกาศความเป็นปรปักษ์กับเกาหลีเหนือหลายครั้งขึ้นและขึ้นกับรัฐบาลชุดนั้นว่าดำเนินนโยบายแบบใด ความสัมพันธ์ 2 เกาหลีจึงมีช่วงหวานชื่นสลับกับตึงเครียด

            2) สมุดปกขาวตีตราด้วยว่าญี่ปุ่นเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิด (“close neighbor”) ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นก็เช่นกันที่มีช่วงหวานชื่นสลับกับตึงเครียด ขึ้นกับบริบทและนโยบายของเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามให้ 2 ประเทศมีสัมพันธ์ที่ดี ร่วมกันสกัดเกาหลีเหนือ จีน

            3) เกาหลีเหนือสะสมพลูโตเนียมได้แล้ว 70 กิโลกรัม ระเบิดนิวเคลียร์ 1 ลูกใช้พลูโตเนียมราว 6 กิโลกรัม และมี highly enriched uranium (HEU) จำนวนหนึ่งที่อาจสร้างนิวเคลียร์ได้ 1 ลูก

            4) เกาหลีเหนือทดสอบเชื้อเพลิงแข็งต่อเนื่อง แต่สมุดปกขาวไม่ระบุชัดว่าขีปนาวุธข้ามทวีป Hwasong-17 ติดหัวรบนิวเคลียร์ “ใช้การได้จริง” หรือยัง ไม่ฟันธงว่าเกาหลีเหนือมี ICBM atmospheric reentry technology

            หลายปีแล้วที่เกาหลีเหนืออ้างว่าตนมีอาวุธนิวเคลียร์แล้ว แต่ประเด็น ICBM ที่ใช้การได้จริงยังเป็นที่ถกเถียง

            5) สมุดปกขาวกลาโหมล่าสุดกำลังบ่งชี้ว่ารัฐบาล Yoon Suk Yeol จะเพิ่มงบกลาโหม ปรับสัมพันธ์ทางทหารกับญี่ปุ่น เป็นแนวร่วม 3 ประเทศ (Triangle- เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ) ในอนาคตอาจร่วมมือกับนาโตอย่างใกล้ชิด (เลขาธิการนาโตเพิ่งเยือนไม่นาน)

            การพัฒนากองทัพ พัฒนาขีปนาวุธเกาหลีใต้ก่อให้เกิดคำถามว่าเพื่อต้านเกาหลีเหนือ หรือต้านจีนกันแน่ นี่คือคำถามที่เกาหลีใต้จะเจอ

17 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

------------------------------

พฤหัส 16 กุมภาพันธ์

ปูตินกับไบเดนจะกล่าวสุนทรพจน์ครบ 1 ปีสงครามยูเครน .... พูดวันเดียวกันซะด้วย 21 กุมภา

ยูเครนประเทศที่อยู่ในเครื่องจองจำ :

UN ร้องขอรับบริจาค 5,600 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อหาอาหาร สิ่งของบรรเทาทุกข์แก่คนยูเครน 15.3 ล้านคน และอีก 4 ล้านกว่าคนที่ลี้ภัยในต่างแดน (DW)

วิเคราะห์ ผลจากการทำสงครามกับรัสเซีย ระบบเศรษฐกิจพังทลาย เสียหายมหาศาล นับวันประเทศมีแต่จะกลายเป็นเศษซาก คนตายทุกวัน ที่เหลือ 20 ล้านคนอยู่ได้ด้วยอาหารจากสหประชาชาติ รัฐบาลเซเลนสกียืนยันสู้ต่อไปเพื่อปกป้องเสรีประชาธิปไตยยุโรป

เตือนเฝ้าระวัง ไข้หวัดนกกลับมาอีกครั้ง :

WHO รายงานพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 21 ประเทศทั้งอเมริกา ยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ตั้งแต่  25 พฤศจิกายนปีก่อนถึงมกราคมมีผู้ติดเชื้ออย่างน้อย 868 คน ป่วยร้ายแรง 457 รายหรือ 53% เป็นสายพันธุ์ H5N1 กว่า 60 ประเทศใช้มาตรการกำจัดสัตว์ปีกหากพบเชื้อแพร่ระบาด (New Strait Times)

วิเคราะห์ : พบการติดเชื้อไข้หวัดนกทุกปี ต่างกันที่บางปีระบาดมากบางปีน้อย ควรติดตามสถานการณ์

#ไข้หวัดนก # H5N1

พุธ 15 กุมภาพันธ์

เข้าใจกันใหม่ Fed ยังจริงจังกับเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% หรือไม่ :

ตอนนี้เงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องน่ากังวลร้ายแรงอีกแล้ว และ Fed ไม่คิดใช้ยาแรงเพื่อกดเงินเฟ้อด้วย สิ่งที่จะทำต่อไปคือให้เงินเฟ้อค่อยๆ ลดลงหรือประคองให้อยู่ในระดับนี้ อาจขึ้นดอกเบี้ย 25 bp อีกครั้งหรือหลายครั้ง แต่จะไม่ใช้ยาแรงแน่นอน soft landing เป็นไปได้และ Fed รับได้

            เงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ เดือนมกราคมขึ้น 0.5% เป็น 6.4% (CNBC)

วิเคราะห์ :

            1) Fed คิดว่าคุมเงินเฟ้อได้แล้ว

            ความเข้าใจสำคัญประการแรกคือ ตอนนี้ Fed คิดว่าคุมเงินเฟ้อได้แล้ว หมายถึงสามารถสกัดไม่ให้เงินเฟ้อพุ่งแรงเป็นเลขสองหลัก สังเกต “คำว่าคุมได้” ไม่ได้หมายถึงให้เหลือ 2%

            2) สถานการณ์ตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาด

            เงินเฟ้อ CPI มกราคมขึ้น 0.5% สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ Dow Jones คาดว่าจะขึ้น 0.4% จุดสังเกตคือพวกนักเศรษฐศาสตร์คาดอยู่แล้วว่าจะขึ้นเล็กน้อย และคำนวณถูก (ในความหมายใกล้เคียงมาก) ห่างจากคาดเพียง 0.1% (คาด 0.4% ขึ้นจริง 0.5%)

            3) ทำไมไม่ขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ เพราะ “ตั้งใจ” ให้เป็นเช่นนั้น

            คำถามย้อนกลับคือ ถ้า Fed ต้องการลดเงินเฟ้อเร็วย่อมทำได้ แต่ที่ผ่านมา “ไม่ทำ” แสดงว่า Fed “ตั้งใจ” ให้เป็นเช่นนี้

            4) Fed ยังจริงจังกับเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% หรือ

            ตั้งแต่ต้น Fed ย้ำนักย้ำหนาว่าจะกดเงินเฟ้อเหลือ 2% กว่า แต่หากพิจารณาถ้อยคำและสถานการณ์ให้ดี จะพบว่า “เป้าหมายอาจคงอยู่ แต่จะเป็นไปอย่างช้าๆ”

            เมื่อสองวันก่อน Patrick Harker ประธาน Fed สาขาฟิดาเดลเฟียเผยว่าตอนนี้ควบคุมเงินเฟ้อได้ดีขึ้นแล้ว สกัดเศรษฐกิจถดถอยได้หรือเกิดแบบ soft landing โดยต้องคงดอกเบี้ยที่ 5% ขึ้นไป หรือขึ้นอีก 25 bp - ข้อสังเกตคือ Harker รู้สึกผ่อนคลาย “ไม่กังวลเงินเฟ้อ แม้ยังไม่ถึงเป้า 2%” ทั้งยังพูดเป็นนัยว่าจะคงดอกเบี้ย 5% แบบยาวๆ (ตอนนี้ดอกเบี้ยอเมริกาอยู่ 4% กว่าใกล้ 5%)

            5) สรุป ตอนนี้เงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอีกแล้ว Fed ไม่คิดใช้ยาแรงเพื่อกดเงินเฟ้อด้วย สิ่งที่จะทำต่อไปคือให้เงินเฟ้อค่อยๆ ลดลงหรือประคองให้อยู่ในระดับนี้ อาจขึ้นดอกเบี้ย 25 bp อีกครั้งหรือหลายครั้ง แต่จะไม่ใช้ยาแรงแน่นอน soft landing เป็นไปได้และ Fed รับได้

15 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

--------------------

อังคาร 14 กุมภาพันธ์

สหรัฐฯ ต่อต้านสินค้าจีนแต่ยอมรับแบตฯ จีน เป็นผลประโยชน์ล้วนๆ :

บริษัทฟอร์ดประกาศลงทุน 3,500 ล้านดอลลาร์ สร้างแบตเตอรีรถ EV ที่ Michigan ผลิตแบตฯ ราคาถูก ด้วยเทคโนโลยีใหม่จากจีน (lithium iron phosphate batteries (LFP)) โดยบริษัทลงทุนเองทั้งหมดและควบคุมทุกกระบวนการด้วยตัวเอง คาดว่าในอนาคตจะสามารถพัฒนาต่อยอดจากแบตฯ จีนนี้ ช่วยให้อเมริกามีรถ EV มากขึ้นในราคาต่ำลง คาดว่าจะได้รับเครดิตอุดหนุนจากรัฐบาลถึงครึ่งหนึ่งของยอดสูงสุด 7,500 ดอลลาร์ ตามกฎหมาย Inflation Reduction Act (CNBC)

            ฟอร์ดมีแบตฯ รถ EV ของตัวเองแต่ต้นทุนสูงกว่าของจีน คนอเมริกันบางส่วนต่อต้านการใช้เทคโนโลยีแบตฯ จีน ชี้ว่าเป็นการส่งเสริมต่างชาติแทนส่งเสริมสินค้าภายในประเทศ (แม้ราคาแพงกว่า) (Fox Business)

วิเคราะห์ :

            1) ไม่มีปัญหากับรัฐบาลในอนาคต

            รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังยกระดับปิดล้อมจีน กรณีนี้บริษัทฟอร์ดชี้แจงว่าไม่มีปัญหาในอนาคตแน่นอน เพราะเป็นการซื้อลิขสิทธิ์และผลิตในประเทศทั้งกระบวนการ

            2) คาดรัฐบาลไบเดนจะไม่ถอยเรื่องอุดหนุนรถ EV คำว่าการค้าเสรีไม่มีจริง

            โครงการของฟอร์ดชี้ให้เข้าใจว่าไบเดนเอาจริงกับโครงการอุดหนุนรถ EV แม้พันธมิตรอียู เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ต่อต้านอย่างหนัก (แต่ก็ทำอะไรไม่ได้) รัฐบาลสหรัฐฯ จะโอบอุ้มอุตสาหกรรมนี้ซึ่งเป็นอนาคตของยานยนต์ในประเทศ คำว่าการค้าเสรีไม่มีจริง คำว่า “เสรี” คือเสรีภายใต้ข้อตกลงเท่านั้น

            3) คำว่า “การค้าเสรีใหม่” คือการเลือกปฏิบัติ

            รัฐบาลไบเดนประกาศหลัก การค้าเสรีใหม่” เน้นซื้อขายลงทุนในกลุ่มพวกเดียวกัน เป็นการเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่ง กรณีแบตฯ จีนเป็นตัวอย่างเลือกปฏิบัติเช่นกันที่รัฐบาลสหรัฐฯ กีดกันต่อต้านสินค้าจีนบางอย่าง แต่ยอมรับแบตฯ จีน เป็นเรื่องคำนวณผลประโยชน์ล้วนๆ

            คำว่า “การค้าเสรี” ของอเมริกาหมายถึงการค้าที่ตนได้ประโยชน์มากพอ

14 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

-------------

#การค้าเสรีใหม่ #แบตเตอรีรถEV


จันทร์ 13 กุมภาพันธ์

ทิศทางเศรษฐกิจใหม่ สหรัฐฯ กับอียูไม่ถดถอยหรือแค่ soft landing :

            วันนี้ (13) มีข่าวดีชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กับอียูกำลังดีขึ้น อาจไม่ถดถอยอย่างคาด

            ข่าวแรกคือ Patrick Harker ประธาน Fed สาขาฟิดาเดลเฟียเผยว่าตอนนี้ควบคุมเงินเฟ้อได้ดีขึ้นแล้ว สกัดเศรษฐกิจถดถอยได้หรือเกิดแบบ soft landing โดยต้องคงดอกเบี้ยที่ 5% ขึ้นไป หรือขึ้นอีก 25 bp (Bloomberg)

            ข่าวที่สองคือ ผลทบทวนภาวะเศรษฐกิจล่าสุด คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คาดว่าปีนี้อียูจะโตเกือบ 1% เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว ต่อจากนี้จะไม่เฟ้อแรงแต่ยังคงอัตราระดับ 5% ด้านอัตราว่างงานต่ำมากแค่ 6.1% สามารถหลีกเลี่ยง technical recession ปัจจัยหลักมาจากราคาก๊าซธรรมชาติที่อ่อนตัวแล้ว (DW)

            อย่างไรก็ตาม สงครามยูเครนยังเป็นปัจจัยเสี่ยง

วิเคราะห์ :

            1) สรุปสั้นๆ คือเงินเฟ้อสหรัฐฯ กับอียูผ่านจุดสูงสุดแล้ว การควบคุมเงินเฟ้อได้ผล ต้นเหตุสำคัญจากราคาพลังงานที่อ่อนตัว (ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน) รัฐบาลค่อนข้างมั่นใจว่าคุมเศรษฐกิจอยู่จะไม่ถอยถอยหรือถดถอยรุนแรงแน่นอน

            2) ตอกย้ำข้อมูลก่อนหน้านี้

            ข่าวดีวันนี้ตอกย้ำข่าวดีเมื่อเดือนก่อน ที่ระบุว่า “เศรษฐกิจยุโรปไม่เลวร้ายอย่างที่คิด หลังราคาน้ำมันอ่อนตัว และช่วงนี้ไม่หนาวมาก” (Wall Street Journal) และข่าว “คริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้นำ IMF ชี้ว่าสหรัฐฯ อาจไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือถ้าจะเกิดก็จะเป็นแบบอ่อนมาก จะเห็นว่าตลาดจ้างงานยังแข็งแกร่ง ความต้องการผู้บริโภคยังสูง คาดว่า GDP สหรัฐฯ ปีนี้โต 1%” (TASS)

            3) จากข้อมูลล่าสุดทำให้ต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ นั่นคือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ กับอียูไม่ใช่เรื่องน่ากังวลร้ายแรงอีกแล้ว เพียงแต่การฟื้นตัวช้า และเมื่อเศรษฐกิจอเมริกากับอียูไม่เลวร้ายลงอีกน่าจะส่งผลดีช่วยเศรษฐกิจโลก

            4) รวมความแล้ว ต้องปรับมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกใหม่

            5) สงครามยูเครน (สงครามไฮบริด) ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาต่อไป

13 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

--------------------

ศึกยูเครนไม่จบเร็ว :

Yevgeny Prigozhin ผู้นำกองกำลังกลุ่ม Wagner ของรัสเซียเผยอาจต้องรบอีก 18 เดือนถึง 2 ปี (AP)

เป้าหมายคือให้ยูเครนตะวันออกหรือ Donbas ปลอดภัย แต่หากจะยึดฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ Dnieper อาจต้องรบอีกอย่างน้อย 3 ปี

วิเคราะห์ :

            1. เพิ่งวิเคราะห์ว่าศึกยูเครนอาจต้องลากอยากอีกอย่างน้อย 1-2 ปี โดยยึดปัจจัย “นโยบายของรัฐบาลใหม่” ทั้งรัสเซียกับสหรัฐฯ (ทั้งคู่จะมีเลือกตั้งทั่วไปในปี 2024)

อ่าน ... ศึกยูเครนครบ 1 ปียุติได้หรือยัง

http://www.chanchaivision.com/2023/02/Russia-Ukraine-1-Year.html

            2. สงครามลากยาว ค่อยๆ รบกันไป

            จะเห็นว่าความคิดของผู้นำกลุ่ม Wagner สงครามจะไม่จบเร็ว จะรบแบบค่อยเป็นค่อยไป เฉพาะ 1-2 ปีหน้าเน้นรบในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ Dnieper ซึ่งในอนาคตอาจเป็นเส้นแบ่งระหว่างยูเครนตะวันตกกับยูเครนตะวันออก

            หากจะยึดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอาจต้องรบอีก 3 ปี (เว้นแต่เจรจาสงบศึกสำเร็จ)

            3. ศึกยูเครนใกล้จะครบรอบ 1 ปีเต็ม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด กองทัพรัสเซียค่อยๆ รุกคืบกินดินแดน ทั้งฝ่ายสหรัฐฯ กับรัสเซียต่างประกาศว่าจะรบต่อไป

13 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

---------------------

Patrick Harker ประธาน Fed สาขาฟิดาเดลเฟียเผยว่าตอนนี้ควบคุมเงินเฟ้อได้ดีขึ้นแล้ว

สกัดเศรษฐกิจถดถอยได้หรือเกิดแบบ soft landing โดยต้องคงดอกเบี้ยที่ 5% ขึ้นไป หรือเท่ากับขึ้นอีก 25 bp (Bloomberg)

อาทิตย์ 12 กุมภาพันธ์

ศึกยูเครนครบ 1 ปียุติได้หรือยัง

สงครามยูเครนเป็นแค่ชนวนของการจัดระเบียบโลก ขึ้นกับความต้องการของมหาอำนาจ ความเป็นไปของประเทศยูเครนไม่ขึ้นอยู่กับคนยูเครนอีกต่อไป

            คลิกอ่านแบบเว็บไซต์ได้ที่

https://www.thaipost.net/columnist-people/321922/

            หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม

 http://www.chanchaivision.com/2023/02/Russia-Ukraine-1-Year.html

เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์

ศุกร์ 10 กุมภาพันธ์

ประธานาธิบดีมาครงกล่าวว่าพวกผู้นำอียูจะสนับสนุนจนกว่าจะชนะศึก (Politico)

9 กุมภาพันธ์ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอียู เหล่าผู้นำอียูเห็นพ้องที่จะสนับสนุนผู้นำยูเครนรบกับรัสเซียต่อไป

วิเคราะห์ : บันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้ในอนาคต

#สงครามยูเครน

พุธ 8 กุมภาพันธ์

คาดปี 2022 สหรัฐฯ ขาดดุลหนักทำลายสถิติอีกแล้ว (Wall Street Journal)

ตัวเลขนำเข้าสูงถึง 948,100 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12.2% แม้ปีที่ผ่านมาประสบปัญหาจากยูเครน โควิด-19 อย่างไรก็ตามตลาดการจ้างงานยังแข็งแกร่ง ความต้องการแรงงานสูง

วิเคราะห์ : สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าทุกปีและมากขึ้นทุกปีด้วย เดาได้เลยว่าขาดดุลจีนมากขึ้น 

อังคาร 7 กุมภาพันธ์

สหประชาชาติเตือนศึกยูเครนอาจขยายวงกว้างออกไป (Al Jazeera)

Antonio Guterres เลขาธิการ UN เผยสัญญาณสันติภาพหายไป อาจรุนแรงกว่าเดิม นานาชาติต้องให้ความสำคัญ

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

ทำไมสหรัฐฯ มีแผนขึ้นภาษีอลูมิเนียมรัสเซีย 200% ทั้งๆ ที่ตอนนี้แทบไม่ได้นำเข้าเลย :

มีข่าวว่ารัฐบาลไบเดนเตรียมขึ้นภาษีอลูมิเนียมรัสเซีย (และผลิตภัณฑ์จากโลหะนี้) 200% เป็นมาตรการคว่ำบาตรต้อนรับศึกยูเครนครบ 1 ปี  (Bloomberg)

วิเคราะห์ :

            ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกอลูมิเนียมระดับต้นๆ ของโลก จากผู้ส่งออก 5 อันดับแรกได้แก่ แคนาดา รัสเซีย อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และมาเลเซีย (อ้างอิง worldstopexports)

            1) ประเด็นน่าคิดคือทุกวันนี้สหรัฐฯ นำเข้าอลูมิเนียมรัสเซียน้อยมาก (อาจอยู่ที่ 3%) ดังนั้น การกีดกันนี้จึงไม่มีผลต่ออุตสาหกรรมสหรัฐฯ และแทบไม่มีผลต่อการส่งออกของรัสเซีย

            2) คำถามตามมาคือ รัฐบาลไบเดนจะกดดันให้นาโตกับพวก (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) กีดกันด้วยหรือไม่ เหมือนที่ทำกับพลังงานรัสเซีย การให้นาโตกับพวกไม่ซื้ออลูมิเนียมรัสเซียต่างหากที่น่าจะมีผลต่อรัสเซีย

            3) สุดท้ายจะเข้าข่ายการจัดระเบียบโลกของรัฐบาลสหรัฐฯ ในขณะนี้ที่คำว่า “การค้าเสรี” ของสหรัฐฯ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่เน้นซื้อขายลงทุนกับพวกเดียวกัน “หลักทุนนิยมเสรี” ไม่ “เสรี” อย่างอดีตอีกแล้ว

            ตามแนวคิดนี้รัฐบาลสหรัฐฯ จะค่อยๆ กดดันให้นานาชาติไม่ติดต่อซื้อขายกับประเทศปรปักษ์ ประเทศที่ “ไม่ใช่พวก” ของตน

7 มกราคม 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

----------------------

#ขึ้นภาษีอลูมิเนียมรัสเซีย #การจัดระเบียบโลก #สงครามไฮบริด

จันทร์ 6 กุมภาพันธ์

อยาตุลเลาะห์คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่านสั่งนิรโทษกรรมและลดโทษแก่ผู้ถูกคุมตัวหลายหมื่นคนจากเหตุชุมนุมในช่วงนี้ (AP)

สื่ออิหร่านย้ำต่างชาติเข้าแทรกแซงการชุมนุม องค์กรสิทธิมนุษยชนคาดมีผู้ถูกจับกุมทั้งสิ้นกว่า 19,600 คน เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 527 ราย

#ประท้วงอิหร่าน #อิหร่านวันนี้

คาดดอกเบี้ยอเมริกาปีนี้สูงสุดช่วงพฤษภา-มิถุนาที่ 5-5.25% ก่อนปรับลด 50 bps ช่วงปลายปี (Market Watch)

ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดว่าดอกเบี้ยจะสูงสุดที่ 6%

อาทิตย์ 5 กุมภาพันธ์

ปฐมบทศึกยูเครน ยุทธศาสตร์นาโตขยายตัว

ไม่ว่าจะอธิบายต้นเหตุศึกยูเครนด้วยแนวทางใด ชาติมหาอำนาจมั่นคงมั่งคั่งขึ้นบนความสูญเสียของยูเครน ยูเครนเป็นแค่เหยื่อที่ต้องถูกทำลาย

            สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/317292/#&gid=a14a4385&pid=4

            บทความของผมจะอยู่หน้า 5

            คลิกอ่านแบบเว็บไซต์ได้ที่

https://www.thaipost.net/columnist-people/317166/

            หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม

 http://www.chanchaivision.com/2023/02/Red-Line-Ukraine.html

เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์

ศุกร์ 3 กุมภาพันธ์

ล่าสุด เยอรมนีจะส่ง Leopard รุ่นเก่าแทน Leopard 2 รถถังชื่อก้องโลก

ถ้ายูเครนรบแพ้ควรโทษนาโตที่ส่งแต่อาวุธรุ่นเก่า รุ่นที่โละแล้วให้ยูเครนไปรบกับมหาอำนาจรัสเซีย เหมือนที่อเมริกาส่ง M-113 ที่ใช้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนามให้ยูเครน

#ยิ่งรบยิ่งพัง

มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียไม่ได้ผล แต่ทำไมสหรัฐฯ ยืนยันให้คว่ำบาตรต่อไป

            Paul Sankey จาก Sankey Research ชี้ว่ามาตรการกดราคาน้ำมันรัสเซียไม่ได้ผลเลย (CNBC)

            นับจาก 5 ธันวาปีที่แล้วกลุ่ม G7 อียู และออสเตรเลียร่วมกันกดราคาน้ำมันรัสเซียไม่เกิน 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หวังสกัดไม่ให้รัสเซียนำกำไรที่ได้ไปใช้ในสงคราม แต่บางประเทศอย่างอินเดีย จีนยังคงซื้อน้ำมันรัสเซียอย่างต่อเนื่อง จีนขายน้ำมันดิบแก่มาเลเซียวันละ 1.5 ล้านบาร์เรลและมาเลเซียก็นำไปขายต่ออีกทอด มีอีกหลายวิธีที่สามารถเลี่ยงมาตรการกดราคาดังกล่าว

วิเคราะห์ :

            1) Paul Sankey เป็นรายล่าสุดที่อออกมาพูดต่อสังคมว่ามาตรการคว่ำบาตรพลังงานที่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกใช้ไม่ได้ผล เป็นข้อสรุปเดิมๆ เหมือนเมื่อหลายเดือนก่อน

            2) คำถามคือทำไมรัฐบาลสหรัฐฯ ยังพยายามบังคับใช้ต่อไป มีหลายเหตุผลคือ

            2.1) สหรัฐฯ สามารถขายน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น

            ผลจากเทคโนโลยี shale gas ทำให้สหรัฐฯ มีก๊าซธรรมชาติเหลือเฟือ แต่ส่งออกไม่ได้ เพราะต้นทุนการขนส่งสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยเฉพาะเทียบกับการขนก๊าซสู่ยุโรปผ่านระบบท่อของรัสเซีย สงครามยูเครนทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ มีข้ออ้างว่ายุโรปต้องเลิกซื้อพลังงานรัสเซียและให้ไปซื้อจากประเทศอื่นๆ ในการนี้ส่วนหนึ่งคือซื้อจากสหรัฐฯ นั่นเอง มีข้อมูลชัดเจนว่าตอนนี้สหรัฐฯ ส่งออกก๊าซได้แล้ว

            2.2) ยุทธศาสตร์ควบคุมประเทศด้วยพลังงาน

            ทุกคนรู้ดีว่าพลังงานเป็นเสมือนเลือดหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจสังคม ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้คือต้องการให้พันธมิตร มิตรประเทศของตนซื้อใช้พลังงานด้วยกันเอง (ห้ามซื้อใช้ของศัตรู) แม้ระบบนี้ยังไม่สมบูรณ์แต่เป็นความพยายามที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้ควบคุมประเทศต่างๆ (ใครแตกแถวจะมีปัญหาซื้อพลังงานยาก)

            2.3) รักษาเปโตรดอลลาร์

            อีกเหตุผลคือเพื่อรักษาเปโตรดอลลาร์ รักษาการใช้สกุลเงินดอลลาร์ที่นับวันจะสั่นคลอน การควบคุมผู้ซื้อผู้ขายนี่แหละคือวิธีการรักษาโตรดอลลาร์

            ดังนั้น แม้ว่าสงครามยูเครนจะทำให้ #เงินเฟ้อพุ่ง #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน รัฐบาลสหรัฐฯ ยืนยันให้คว่ำบาตรพลังงานรัสเซียต่อไป ปล่อยให้ประชากรโลกหลายร้อยล้านคนทุกข์ยากต่อไป

3 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

----------------------------

ฟิลิปปินส์ให้ทหารอเมริกันมาประจำการที่ประเทศมากขึ้น (Politico)

ตามข้อตกลง Enhanced Defense Cooperation Agreement ตามยุทธศาสตร์วางกองกำลังในทะเลจีนใต้ของสหรัฐฯ

วิเคราะห์ : แม้ฟิลิปปินส์เชื่อมสัมพันธ์กับจีนและสหรัฐฯ พร้อมกัน แต่การคงอยู่ของทหารกับอาวุธอเมริกันเสี่ยงนำประเทศเข้าสู่ความขัดแย้ง อีกมุมมองคือจำเป็นต้องทำเช่นนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากอดีตรัฐบาลที่ยอมให้ทหารสหรัฐฯ มาตั้งอยู่ในประเทศตน

อ่าน ....

มาร์กอส จูเนียร์ฟื้นสัมพันธ์ฟิลิปปินส์-จีน

สัมพันธ์ฟิลิปปินส์-จีนภายใต้รัฐบาลชุดนี้จะเป็นไปด้วยดีแต่ไม่ทิ้งสหรัฐ เพียงแต่รัฐบาลสหรัฐไม่อาจแทรกแซงข้อพิพาททะเลจีนใต้โดยยืมมือมาร์กอส จูเนียร์

http://www.chanchaivision.com/2023/01/Marcos-Jr-China-manage-South-China-Sea.html

กลาโหมยูเครนคาดรัสเซียจะรุกใหญ่ภายในวันที่ 24 ฉลองครบรอบ 1 ปีศึกยูเครน (BBC)

ประธานาธิบดีเซเลนสกีย้ำ “หนทางเดียวที่จะหยุดก่อการร้ายรัสเซียคือต้องเอาชนะด้วยรถถัง เครื่องบินรบ และขีปนาวุธพิสัยไกล”

งบกลาโหมอินเดียคือ 13% ของงบประมาณประจำปีล่าสุด (Defense News)

เฉพาะซื้ออาวุธใหม่ตั้งไว้ถึง 19,870,000 ล้านดอลลาร์สำหรับงบประมาณปี 2023-24 ตามแผนพัฒนากองทัพทันสมัย

วิเคราะห์ : 2 ปีมานี้หลายประเทศเพิ่มงบกลาโหมต่อเนื่อง เช่น สหรัฐฯ จีน รัสเซีย ยุโรปหลายประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ซื้ออาวุธรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดเล็งถึงความตึงเครียดทางการทหาร สงครามยูเครนเป็นตัวอย่างที่รัสเซียมีความพร้อม แต่ชาตินาโตยุโรปหลายประเทศไม่เตรียมพร้อมมากพอ ตั้งอยู่บนฐานคิดว่าจะไม่เกิดสงครามใหญ่ 

พฤหัส 2 กุมภาพันธ์

Jens Stoltenberg เลขาธิการนาโตพูดชัด นาโตกำลังหา “เพื่อน” ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก (The Columbian)

ชี้ว่ากองกำลังนิวเคลียร์จีนกำลังขยายตัว จีนเป็นภัยคุกคามต่อพันธมิตรนาโต และนาโตให้ความสำคัญต่อความมั่นคงทั้งโลกไม่ใช่แค่ภูมิภาคเท่านั้น จีนกับรัสเซียเป็นพวกอำนาจนิยม

วิเคราะห์ : เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเดิมนาโตตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลความมั่นคงทางยุโรป-อเมริกาเป็นหลัก ตอนนี้ขยายความสำคัญมาที่อินโด-แปซิฟิกด้วย เป้าหมายหลักคือต้านจีน

#นาโตเอเชีย #นาโต2

ผู้นำตุรเคียยืนยันต้านสวีเดนเป็นสมาชิกนาโตถ้าสวีเดนอนุญาตเผาคัมภีร์กุรอาน (AP)

ประธานาธิบดีแอร์โดกานยืนยันจะไม่สนับสนุนสวีเดนเป็นสมาชิกนาโตตราบเท่าที่รัฐบาลสวีเดนยังไม่ต่อต้านการเผาคัมภีร์

วิเคราะห์ :

            1) ปีที่แล้วสวีเดนยื่นเรื่องขอเป็นสมาชิกนาโตแต่ยังไม่ผ่านเพราะตุรเคียไม่เห็นด้วย ก่อนหน้านี้อ้างเหตุผลสนับสนุนสวีเดนพวกเคิร์ดที่ต่อต้านรัฐบาลแอร์โดกาน ตอนนี้มีเหตุเพิ่มจากพวกขวาจัดสวีเดนต่อต้านมุสลิม คนสวีเดนเห็นว่าการต่อต้านมุสลิมเป็นสิทธิอันชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย

            2) น่าสนใจหากคิดว่าแท้จริงแล้ว สวีเดนไม่ต้องการเป็นสมาชิกนาโต รัฐบาลแอร์โดกานเป็นตัวช่วย จริงๆ แล้วการเผาคัมภีร์กุรอานเกิดในยุโรปหลายประเทศจากกระแสต่อต้านมุสลิม ไม่สมเหตุผลหากแอร์โดกานนำเรื่องรับสมาชิกนาโตมาสัมพันธ์กับพฤติกรรมคนสวีเดนบางคนที่เป็นคนส่วนน้อยเท่านั้น

2 กุมภาพันธ์ 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา

------------------

พุธ 1 กุมภาพันธ์

ชาวอังกฤษราวครึ่งล้านชุมนุมประท้วง ร้องขอขึ้นค่าแรง (DW)

วันนี้ (1) ทั้งครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่การรถไฟ ข้าราชการพลเรือน จี้รัฐขึ้นค่าแรงเพราะรายได้ไม่พอรายจ่าย ต้นเหตุเพราะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอาหารแพง ค่าไฟแพง ตอนนี้โรงเรียนบางแห่งปิดการสอนบางวิชา การเดินรถไฟมีปัญหา ด้านรัฐบาลชี้ว่าต้องแก้ปัญหาด้วยการเจรจา

วิเคราะห์ : ต้องย้ำว่าเงินเฟ้อรอบนี้เกิดขึ้นเป็นรัฐเป็นต้นเหตุ รัฐบาลเป็นผู้ก่อ เกิดจากรัฐบาลไบเดนกับพวกคว่ำบาตรพลังงาน กระทบการส่งออกปุ๋ย ธัญพืชจากรัสเซีย เกิดผลกระทบลูกโซ่ระดับโลก การแข่งขันช่วงชิงระหว่างมหาอำนาจไม่ใช่เรื่องแปลก แต่รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวก (รวมรัฐบาลอังกฤษ) เลือกใช้วิธีที่ทำร้ายประชาชนตัวเองอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามสถานการณ์เงินเฟ้อยุโรปลดความรุนแรงลงแล้ว แต่จะทำให้ประชาชนพอกินพอใช้หรือไม่ ... ข้อนี้ต้องติดตามต่อไป

บรรษัทน้ำมัน ExxonMobil โกยกำไร 55,700 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปี 2021 ที่ได้ 23,000 ล้านดอลลาร์ (Fox Business)

มีรายได้ 413,700 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปี 2021 ที่ได้ 285.6 ล้านดอลลาร์

ทำสถิติกำไรสูงสุดอันเนื่องจากน้ำมันขึ้นราคาเมื่อปีก่อน (2022)

วิเคราะห์ : น้ำมันแพงเพราะรัฐบาลไบเดนใช้มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย หลายประเทศต้องแย่งหาซื้อพลังงานจากประเทศอื่นแทน

#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน

---------------