... ร่วมพูดคุยติดตามข่าวสารสำคัญได้ที่ ห้องไลน์ “สถานการณ์โลก”
อังคาร 31 มกราคม
ตลกร้ายเรื่องยูเครนอยากได้ F-16s :
ไบเดนกล่าวเมื่อวันจันทร์ (30) ว่าสหรัฐฯ จะไม่มอบ F-16 ตามคำร้องขอจากยูเครน (The
Moscow Times)
วิเคราะห์ :
1)
ทันทีที่ได้ข้อสรุปเรื่องการส่งรถถังประจัญบานแก่ยูเครน
ประธานาธิบดีเซเลนสกีร้องขอเครื่องบินขับไล่ตะวันตกกับขีปนาวุธพิสัยไกล
2)
โอลาฟ โชลซ์ นายกฯ เยอรมันออกตัวทันทีว่าไม่เห็นด้วยที่จะมอบเครื่องบินขับไล่แก่ยูเครน ล่าสุดไบเดนพูดทำนองเดียวกัน
3)
ถ้ายึดแนวคิดที่ว่าเซเลนสกีเป็น “หุ่นเชิด” ของรัฐบาลสหรัฐฯ ดังที่เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกล่าวไว้
การที่ผู้นำหุ่นเชิดร้องขอเครื่องบินอย่างจริงจังย่อมต้องมาจาก “คำสั่ง” ของรัฐบาลไบเดน....
จึงเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ไบเดนปฏิเสธไม่ให้ตามที่ร้องขอ เป็นไปได้หรือไม่ว่าการที่เยอรมนีกับสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยในตอนนี้ อาจจะ
“ซ้ำรอย” เหมือนกรณีรถถัง นั่นคือต้องเกิดประเด็นขัดแย้ง โต้แย้งไปมาก่อน ....
จนสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าเยอรมนีจะส่ง Leopard 2 และสหรัฐฯ ส่ง M1 Abrams
พูดแบบเข้าใจง่ายคือ “ละครฉากหนึ่ง” เท่านั้นเอง
4)
Colin Kahl รมช.กลาโหมสหรัฐฯ พูดถูกว่าเหตุที่สหรัฐฯ
ไม่อยากส่งรถถัง M1 Abrams ให้ยูเครนเพราะ
“ยูเครนซ่อมไม่ได้ บำรุงรักษาไม่เป็น ไม่สามารถบริหารจัดการรถถังแบบนี้” กรณีเครื่องบินขับไล่ก็เช่นกัน เครื่องบินรบที่มีนักบินคนเดียวแต่จำต้องใช้ช่างผู้มีฝีมือหลายคน
ไม่เพียงนักบินที่ต้องฝึกรบให้ชำนาญนานหลายเดือน ช่างก็เช่นกัน เครื่องบินขับไล่ปัจจุบันเป็นอาวุธไฮเทค
เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีกลไกซับซ้อน จำต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจซ่อม ...
ถามว่ายูเครนมีช่างฝีมือเหล่านี้หรือไม่ ถามว่าต้องฝึกกี่เดือนจึงจะมีฝีมือมากพอ
5) หรือว่าทั้งนักบินกับช่างล้วนเป็น “ทหารรับจ้าง พวกรับจ้าง” ....
นี่ก็เป็นเรื่องตลกร้ายเหมือนกัน
แนวคิดนี้จะถูกต้องหรือไม่ อีกไม่นานจะได้คำตอบ
-------------------
อ้างอิง :
Biden
Rejects F-16s for Ukraine as Russia Claims Advances. (2023, January 30). The
Moscow Times. Retrieved from https://www.themoscowtimes.com/2023/01/31/biden-rejects-f-16s-for-ukraine-as-russia-claims-advances-a80083
จันทร์ 30 มกราคม
นาโตเอเชียกำลังมา เลขานาโตร้องกระชับร่วมมือชาติเอเชีย :
Jens Stoltenberg เลขาธิการนาโตชี้ว่านาโตกับเกาหลีใต้ต้องร่วมมือกันต้านจีนที่กำลังก้าวขึ้นมา
รวมถึงภัยคุกคามอื่นๆ ทั่วโลก ย้ำว่าต้องขยายกรอบความร่วมมือ ไม่จำกัดที่ภูมิภาคตนเอง
(Yonhap)
วิเคราะห์ :
1) แนวคิดสร้างนาโตเอเชียไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว แนวคิดนาโตที่กำลังก่อตัวคือนาโตที่เดิมเน้นชาติสมาชิก
2 ฝั่งแอตแลนติกกลายเป็นนาโตที่รวมพันธมิตรสหรัฐฯ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
.... ตามแนวคิดที่ว่าแท้จริงแล้ว นาโตคือพันธมิตรด้านการทหารที่มีรัฐบาลสหรัฐฯ
เป็นแกนนำ
2) ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป้าหมายสำคัญของนาโตเอเชีย
ต้องย้ำเตือนก่อนว่าทั้งญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ต่างเป็นพันธมิตรแนบแน่นทางทหารของสหรัฐฯ
ระดับที่มีฐานทัพสหรัฐฯ มีทหารอเมริกันหลายหมื่นจนถึงแสนประจำการอยู่ใน 2 ประเทศนี้ ดังนั้นถ้าใช้แนวคิดว่ารัฐบาลสหรัฐฯ เป็นแกนนำนาโตอยู่แล้ว
ตอนนี้คือการนำพันธมิตรทางทหารในเอเชียเข้าร่วมนาโตอย่างเป็นทางการนั่นเอง
3) ขั้วสหรัฐฯ กับขั้วฝั่งตรงข้าม
เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ารัฐบาลสหรัฐฯ
พยายามแบ่งขั้วเป็นพวกตนกับพวกตรงข้าม จีนกับรัสเซียคือแกนนำขั้วฝั่งตรงข้าม เรื่องนี้นับว่าจะชัดขึ้น
เป็นปรปักษ์มากขึ้น .... เหลือแต่รอวันที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะ “ประกาศ” เปลี่ยนจีนจาก “ชาติคู่แข่ง”
มาเป็น “ศัตรู” เท่านั้น
อ่าน ....
รายงานยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ
แม้ไม่เหมือนองค์กรนาโต
เครือข่ายความมั่นของสหรัฐในอินโด-แปซิฟิกมีอยู่จริง อยู่ร่วมกับประเทศต่างๆ
ทั้งระดับทวิภาคี พหุภาคี แต่หลายประเทศร่วมมือมหาอำนาจอื่นด้วยเป็นโครงสร้างความมั่นคงภูมิภาคที่ซับซ้อน
http://www.chanchaivision.com/2019/07/US-Indo-Pacific-Strategy.html
ยูเครนได้รถถังประจัญบาน ตอนนี้ขอเพิ่ม F-16 ขีปนาวุธพิสัยไกล
หลังการเจรจาต่อรองหลายสัปดาห์ ข้อมูลล่าสุดรัฐบาลไบเดนจะส่งรถถัง M1 Abrams จำนวน 30 คันแก่ยูเครน
เยอรมนีส่งรถถัง Leopard 2 เข้าสนามรบ 14 คัน และยอมให้ประเทศอื่นๆ ส่ง Leopard 2 แก่ยูเครน ข้อเรียกร้องใหม่คือขอเครื่องบินขับไล่ตะวันตก ขีปนาวุธพิสัยไกล
(Fox news)
ล่าสุด โอลาฟ โชลซ์ นายกฯ
เยอรมันไม่เห็นด้วยที่จะมอบเครื่องบินขับไล่แก่ยูเครน (BBC)
วิเคราะห์ :
1) หลายสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ
กับเยอรมนีเกี่ยงกันเรื่องส่งรถถังประจัญบานของตนเข้าสู่สนามรบ ฝ่ายสหรัฐฯ
พยายามกดดันให้เยอรมนีส่งรถถัง Leopard แก่ยูเครน
แต่กลับไม่ยอมส่งรถถัง M1 Abrams ของตนเข้าสนามรบ
ตอนนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้วว่าจะให้แน่นอน แต่ยูเครนจะได้เมื่อไหร่ยังไม่ชัดเจน
อาจเป็น 3 เดือน 5 เดือน ....
มีแนวโน้มว่าจะได้แบบกระปริดกระปรอย ไม่ใช่เข้าสนามรบพร้อมกัน 300 คัน
2)
มีข่าวว่าสหรัฐฯ จะไม่ส่ง M1 Abrams ที่ตนใช้อยู่
แต่จะ “ผลิตรุ่นใหม่” เพื่อมอบให้ยูเครน น่าติดตามว่าจะเป็นอย่างไร ความจริงแล้วสหรัฐฯ มี M1 Abrams จำนวนมาก และจำนวนมากอยู่ในคลังเก็บหลายประเทศ
3)
ผมตั้งข้อสังเกตว่าการที่นายกฯ เยอรมันไม่เห็นด้วยที่จะให้เครื่องบินขับไล่ของตนแก่ยูเครนในตอนนี้
อาจเป็นการจะ “ซ้ำรอย” เหมือนกรณีรถถัง นั่นคือต้องเกิดประเด็นขัดแย้ง โต้แย้งไปมาก่อน
.... จนสุดท้ายรัฐบาลโชลซ์จำต้องส่งให้ยูเครน
4) Colin
Kahl รมช.กลาโหมสหรัฐฯ พูดถูกว่าเหตุที่สหรัฐฯ ไม่อยากส่งรถถัง M1 Abrams ให้ยูเครนเพราะ “ยูเครนซ่อมไม่ได้
บำรุงรักษาไม่เป็น ไม่สามารถบริหารจัดการรถถังแบบนี้”
เรื่องที่ควรเข้าใจคือเครื่องบินรบไอพ่นลำหนึ่งที่มีนักบินคนเดียวแต่จำต้องใช้ช่างผู้มีฝีมือหลายคน
ไม่เพียงนักบินที่ต้องฝึกรบให้ชำนาญนานหลายเดือน ช่างก็เช่นกัน เช่นเดียวกับรถถังประจัญบานที่เป็นอาวุธไฮเทค
เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีกลไกซับซ้อน จำต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจซ่อม
ไม่สามารถส่งอู่ซ่อมรถยนต์ ...
ถามว่ายูเครนมีช่างฝีมือเหล่านี้หรือไม่ ถามว่าต้องฝึกกี่เดือนจึงจะมีฝีมือมากพอ
5)
ความจริงที่ต้องยอมรับคือที่ผ่านมากองทัพยูเครนรบด้วยอาวุธที่ด้อยกว่า
ล้าสมัยกว่า ทหารส่วนหนึ่งอาจไม่ชำนาญศึกมากพอ ทั้งๆ ที่ประเทศนี้กำลังพังพินาศ #ยิ่งรบยิ่งพัง ตายนับหมื่นนับแสน เพื่อปกป้องเสรีประชาธิปไตยตะวันตก บรรดาชาติตะวันตกที่
“ได้รับการปกป้อง” จากยูเครนกลับส่งความช่วยเหลือแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป”
นี่คือประเด็นน่าคิด
Mateusz Morawiecki นายกฯ
โปแลนด์กล่าวโทษเยอรมันที่ลังเลใจ “เป็นทัศนคติที่รับไม่ได้ สงครามผ่านไปเกือบปีแล้ว
ประชาชนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ตายทุกวัน” (DW)
วิเคราะห์ : ถ้ามหาอำนาจผู้มีกำลังรบแข็งแกร่งอันดับหนึ่งของโลกไม่ลังเลใจ
ส่งสุดยอดรถถัง เครื่องบินรบของตนให้ยูเครน ป่านนี้ยูเครนคงชนะศึกไปแล้ว
ไม่ต้องยืดเยื้ออยู่อย่างนี้ หรือว่ามีแผนอื่น มีแผนตั้งใจให้สงครามยูเครนเฟส 3 นี้ยืดเยื้อ ...
6)
ยูเครนใกล้ชนะ?
เซเลนสกีพูดแทบทุกสัปดาห์ว่ายูเครนกำลังชนะ
ฝ่ายตะวันตกโหมข่าวรัสเซียมีปัญหาการเสริมอาวุธ ทหารใหม่หายาก คำถามคือรถถัง M1 Abrams Leopard 2 ที่จะส่งไปรบในยูเครนจะช่วยให้ชนะรัสเซียเบ็ดเสร็จหรือไม่
หรือจะมีข่าวสุดยอดรถถังตะวันตกถูกทำลายหรือโดนรัสเซียยึด ...
สงครามยูเครนดำเนินต่อไป #ยิ่งรบยิ่งพัง
-------------------
อ้างอิง
:
(Ukraine
renews calls for US F-16s, German fighter jets after countries reverse decision
on sending tanks. (2023, January 29). Fox News. Retrieved from https://www.foxnews.com/world/ukraine-renews-calls-german-fighter-jets-countries-decision-tanks)
(German
chancellor says he won't send fighter jets to Ukraine. (2023, January 29). BBC.
Retrieved from https://www.bbc.com/news/world-europe-64446937)
อาทิตย์ 29 มกราคม
Global Risk Report 2023: มหันตภัยโลก
ความเป็นไปของธรรมชาติสัมพันธ์กับความมั่นคงแห่งชาติ การหยุดโลกร้อนกับการอยู่เย็นเป็นสุขเป็นเรื่องเดียวกันสามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่
https://www.thaipost.net/e-pub-news/312309/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5อ่านแบบเว็บไซต์ที่ หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2023/02/Global-Risk-Report-2023.html
ศุกร์ 27 มกราคม
กลิ่นสงครามไต้หวันแรงขึ้นเรื่อยๆ :
ส.ส.สหรัฐฯ
Tom Tiffany กับสมาชิกอื่นอีก 18 คนยื่นคำร้องขอให้รัฐบาลยอมรับไต้หวันเป็นประเทศ
เห็นว่านโยบายจีนเดียวล้าสมัยแล้ว (Taipei Times)
ให้เหตุผลว่าถ้าไต้หวันเป็นประเทศจะสามารถเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ
ช่วยเศรษฐกิจไต้หวัน
วิเคราะห์ :
1)
สงสัยจังท่าน ส.ส. ไม่ทราบว่าหรือว่าการให้ไต้หวันประกาศเอกราชจะเป็นจุดเริ่มสงคราม
“ประกาศเอกราชคือประกาศทำสงครามกับจีน”
2) เหตุผลหลักที่จีนจะทำสงครามกับไต้หวันคือไต้หวันประกาศเอกราช
3)
สุดท้ายสงครามไต้หวันจะเกิดหรือไม่ ขึ้นกับรัฐบาลไต้หวัน พวกนักการเมืองไต้หวัน
จะทำเรื่องแปลกๆ แบบเซเลนสกีหรือไม่
4)
นักการทหารสหรัฐฯ หลายคนคาดว่าสงครามไต้หวันจะเกิดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
อ่าน
...
การ
“ปั่น” คนไต้หวันให้เป็นศัตรูกับจีนนั้นมีจริง
เป็นภัยคุกคามที่บั่นทอนความสงบสุขการอยู่ดีกินดีในยามนี้และในอนาคต สุดท้ายจึงอยู่ที่คนไต้หวันจะรู้ทันนักการเมืองหรือไม่
http://www.chanchaivision.com/2022/08/Chinese-drills-2022.html
พฤหัส 26 มกราคม
ตามสเต็ป เซเลนสกีขอขีปนาวุธพิสัยไกล (long-range missiles) กับเครื่องบินรบตะวันตกหลังสหรัฐฯ กับเยอรมนีสัญญาว่าจะส่งรถถังประจัญบานให้ยูเครน (France24)
วิเคราะห์ :
1)
ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกไม่เห็นด้วยกับการมอบขีปนาวุธพิสัยไกลแก่ยูเครน
เพราะจะเป็นการยิงเข้าสู่ประเทศรัสเซียโดยตรงและอาจยิงเข้าลึกนับร้อยนับพันกิโลเมตร
2) เซเลนสกีได้เผยความจริงแล้วว่าแท้จริงแล้วยูเครนต้องการประจำการขีปนาวุธพิสัยไกลของตะวันตก
(อาจไม่ต้องถึงขั้นยิงไกลเป็นพันกิโลเมตร แค่ 4-500 กิโลเมตรก็พอ)
หากขีปนาวุธดังกล่าวติดหัวรบนิวเคลียร์จะคุกคามรัสเซียอย่างร้ายแรง
เป็นเหตุผลตั้งแต่ต้นว่าทำไมรัสเซียจึงคัดค้านยูเครนเป็นสมาชิกนาโต
ต้องการให้ยูเครนเป็นกลาง แต่เซเลนสกีไม่ยอมและรัฐบาลสหรัฐฯ
กับพวกให้การสนับสนุนเต็มที่
3) สังเกตให้ดีตอนนี้กองทัพยูเครนมีศักยภาพการรบสูงขึ้นมาก
ตั้งแต่ได้รับระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศ Patriot ซึ่งเป็นระบบที่ดีที่สุดของสหรัฐฯ
กำลังได้รับรถถัง M1 Abrams Leopard 2 รถถังชื่อก้องของสหรัฐฯ กับเยอรมนี ทั้งคู่เป็นรถถังหลักของนาโต ขั้นต่อไปที่ตอนนี้เซเลนสกีร้องขอคือเครื่องรบที่เป็นของชาติตะวันไม่ว่าจะเป็นของสหรัฐฯ
ของอียู รวมความแล้วเป็นสงครามเต็มรูปแบบ เอาอาวุธชั้นเลิศของแต่ละประเทศเข้าสู้
4) ข้อสรุปที่แน่ๆ อีกข้อคือศึกยูเครนดำเนินต่อไป
รถถัง M1 Abrams Leopard 2 น่าจะได้เข้าสู่สนามรบ
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน #ยิ่งรบยิ่งพัง
พุธ 25 มกราคม
อินเดียกับญี่ปุ่นร่วมซ้อมรบทางอากาศเพื่อต้านจีน (The Asahi Shimbun)
ในการนี้อินเดียส่ง Sukhoi-30 เข้าร่วมซ้อมรบ ช่วยให้ญี่ปุ่นเข้าใจเครื่องบินชนิดนี้ที่จีนใช้อยู่ด้วยมากขึ้น
วิเคราะห์ : แม้อินเดียเป็นสมาชิก
BRICs เป็นยี่ปั๊วน้ำมันรัสเซีย แต่ไม่ได้หมายความว่าอินเดียจะอยู่ฝ่ายตรงข้ามอเมริการ้อยเปอร์เซ็นต์
... อันที่จริงสหรัฐฯ ซ้อมรบกับอินเดียด้วย
เงินเฟ้อออสเตรเลียทำสถิติใหม่สูงสุดในรอบ 32 ปี (CNBC)
เงินเฟ้อไตรมาส
4 ปีก่อนอยู่ที่
7.8% #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
วิเคราะห์ : เงินเฟ้อแต่ละประเทศไม่ได้ไปทิศทางเดียวกันทั้งหมด
บางประเทศลดลง บางประเทศเพิ่มขึ้น สัปดาห์ก่อนญี่ปุ่นรายงานเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดในรอบ
40 ปี 3-4 วันก่อนปากีสถานเงินเฟ้อกว่า
30% จับตาดูปากีสถานว่าจะเป็นอย่างศรีลังกา เลบานอน สปป.ลาว หรือไม่
อังคาร 24 มกราคม
ขาดข่าวสารที่ถูกต้องกับสังคมข่าวปลอม :
สังคมแตกแยกเป็นขั้วมักจะมีปัญหาข่าวปลอมแพร่ระบาด ผู้คนไม่เชื่อถือข้อมูล
ไม่เชื่อถือระบบการเมือง กลุ่มสุดโต่งหัวรุนแรงผุดขึ้นมาพร้อมข่าวปลอม
พรรคการเมืองทั้งแบบขวาจัดซ้ายจัดได้รับความนิยม เทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยผลิตและกระจายข่าวปลอม
การตัดต่อภาพและเสียงเพื่อสร้างเรื่องเท็จ
บางกรณีสังคมแตกแยกเพราะการแข่งขันทางการเมืองโดยแท้ พวกชนชั้นนำสร้างความแตกแยกนี้ บางกรณีถึงขึ้นกลายเป็นปมที่ยากจะแก้ไข ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะส่งเสริมให้เกิดความแตกแยก
ต่างฝ่ายต่างมีกลุ่มหัวรุนแรงของตน เกิดความรุนแรงทางการเมือง เกิดอาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชัง
(hate crimes) ขั้นรุนแรงที่สุดคือเกิดสงครามกลางเมือง
อ้างอิง : World
Economic Forum, Global Risk Report 2023.
วิเคราะห์ : เรื่องที่พูดในห้องเราปรากฏใน
World Economic Forum ทันสมัยไม่เบาเลยเรา ...
จันทร์ 23 มกราคม
วิกฤตค่าครองชีพยังไม่จบ :
วิกฤตค่าครองชีพ
ปัญหาค่าครองชีพมีอยู่แล้ว ผลจากโรคระบาดโควิด-19 เงินเฟ้อพุ่ง
หมวดอาหารกับพลังงานแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว ราว 30
ประเทศระงับส่งออกสินค้าบางตัวเพื่อสกัดการขึ้นราคา ปัญหาสินค้าแพงจะแรงสุดในอีก 2
ปีข้างหน้าก่อนคลายตัว อาจเป็นต้นเหตุความวุ่นวายในบางประเทศ การเมืองไม่มั่นคง
และหากราคาพลังงานกับอาหารไม่ลดลงจะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยคงระดับสูงอีกนาน
กระทบเป็นลูกโซ่แต่ระบบเศรษฐกิจ แผนงบประมาณ หนี้สินครัวเรือนจะสูงขึ้นต่อไป
คนเกษียณอายุที่กินบำนาญจะพบว่าค่าเงินของตนร่อยหรอ
ปีที่แล้ว (2022) มีการชุมนุมประท้วงน้ำมันแพงถึง
92 ประเทศ บางกรณีรุนแรงมาก มีผู้เสียชีวิต
บางประเทศกระทบต่อความมั่นคงภายในรุนแรง เช่น โซมาเลีย ซูดาน ซูดานใต้และซีเรีย
ส่วนประเทศที่การเมืองไร้เสถียรภาพเพราะอาหารแพง หนี้ท่วมประเทศ ได้แก่ ตูนิเซีย
กานา ปากีสถาน อียิปต์และเลบานอน
อ้างอิง
: World Economic
Forum
เยอรมนีถอยแล้วยอมให้โปแลนด์ส่งรถถัง Leopard 2 ให้ยูเครน (DW)
วิเคราะห์ :
1) 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ
กับเยอรมนีเกี่ยงกันเรื่องส่งรถถังประจัญบานของตนเข้าสู่สนามรบ ฝ่ายสหรัฐฯ
พยายามกดดันให้เยอรมนีส่งรถถัง Leopard แก่ยูเครน แต่กลับไม่ยอมส่งรถถัง
M1 Abrams ของตนให้ยูเครน Robert Habeck รองนายกฯ เยอรมันกล่าวว่า
“ถ้าอเมริกาตัดสินใจส่งรถถังประจัญบานแก่ยูเครนจะช่วยให้เยอมนีตัดสินใจง่ายขึ้น” พูดง่ายๆ คือถ้าส่งของเยอรมันก็ต้องส่งของสหรัฐฯ
ด้วย
2)
Leopard 2 เป็นรถถังชื่อก้องของเยอรมัน
มีใช้ในหลายประเทศ แต่ประเทศเหล่านี้ (เช่นโปแลนด์)
ไม่อาจส่งรถถังดังกล่าวให้ยูเครน เนื่องจากติดข้อตกลงว่าต้องได้รับอนุญาตจากเยอรมนีก่อน
3)
M1 Abrams เป็นรถถังประจัญบานหลักของสหรัฐฯ มีชื่อเสียงก้องโลก
ผ่านสมรภูมิจริงมาแล้วหลายแห่ง สหรัฐฯ มีจำนวนมาก และจำนวนมากอยู่ในคลังเก็บ
แต่จนบัดนี้ยังไม่เอ่ยปากว่าจะส่งมอบรถถังนี้ช่วยยูเครน
4) Colin
Kahl รมช.กลาโหมสหรัฐฯ พูดถูกว่าเหตุที่สหรัฐฯ ไม่อยากส่งรถถัง M1 Abrams ให้ยูเครนเพราะ “ยูเครนซ่อมไม่ได้
บำรุงรักษาไม่เป็น ไม่สามารถบริหารจัดการรถถังแบบนี้”
เรื่องที่ควรเข้าใจคือเครื่องบินรบไอพ่นลำหนึ่งที่มีนักบินคนเดียวแต่จำต้องใช้ช่างผู้มีฝีมือหลายคน
ไม่เพียงนักบินที่ต้องฝึกรบให้ชำนาญ ช่างก็เช่นกัน เช่นเดียวกับรถถังที่เป็นอาวุธไฮเทค
เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีกลไกซับซ้อน จำต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจซ่อม ไม่สามารถซ่อมด้วยอู่ซ่อมรถ ... ถามว่ายูเครนมีช่างฝีมือเหล่านี้หรือไม่ ถามว่าต้องฝึกกี่เดือนจึงจะมีฝีมือมากพอ
....
5)
ตลกร้ายของเรื่องนี้คือ Leopard 2 ไม่ต่างจาก
M1 Abrams
ที่เป็นจักรกลไฮเทคอันซับซ้อน ทั้งๆ ที่ฝ่ายสหรัฐฯ มีเหตุผลไม่ส่งให้ยูเครน
แต่กลับกดดันให้เยอรมนีส่ง .... คำว่าพันธมิตรนาโตหมายถึงอย่างไรกันแน่ น่าสนใจติดตามว่าเมื่อไหร่สหรัฐฯ
จะส่ง M1 Abrams เข้ายูเครน
6)
ความจริงที่ต้องยอมรับคือกองทัพยูเครนรบด้วยอาวุธที่ด้อยกว่า
ล้าสมัยกว่า ทหารส่วนหนึ่งอาจไม่ชำนาญศึกมากพอ ทั้งๆ ที่ประเทศนี้กำลังพังพินาศ #ยิ่งรบยิ่งพัง ตายนับหมื่นนับแสน เพื่อปกป้องเสรีประชาธิปไตยตะวันตกแต่เยอรมนีกับสหรัฐฯ ยังเกี่ยงกันเรื่องส่งมอบอาวุธขั้นเทพ
Mateusz Morawiecki นายกฯ
โปแลนด์กล่าวโทษเยอรมันที่ลังเลใจ “เป็นทัศนคติที่รับไม่ได้ สงครามผ่านไปเกือบปีแล้ว
ประชาชนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ตายทุกวัน” (DW)
วิเคราะห์ : ถ้ามหาอำนาจผู้มีกำลังรบแข็งแกร่งอันดับหนึ่งของโลกไม่ลังเลใจ
ส่งสุดยอดรถถังของตนให้ยูเครน ป่านนี้ยูเครนคงชนะศึกไปแล้ว
ไม่ต้องยืดเยื้ออยู่อย่างนี้ หรือว่ามีแผนอื่น มีแผนตั้งใจให้สงครามยูเครนเฟส 3 นี้ยืดเยื้อ ...
7)
ยูเครนใกล้ชนะ?
ล่าสุดเมื่อวานเซเลนสกีพูดอีกครั้งว่ายูเครนกำลังชนะ ฝ่ายตะวันตกโหมข่าวรัสเซียมีปัญหาการเสริมอาวุธ
ทหารใหม่หายาก คำถามคือ รถถัง Leopard 2 ที่จะส่งไปรบในยูเครนจะช่วยให้ชนะรัสเซียเบ็ดเสร็จหรือไม่
หรือจะมีข่าวสุดยอดรถถัง Leopard 2 ถูกทำลายหรือโดนรัสเซียยึด
... สงครามยูเครนดำเนินต่อไป #ยิ่งรบยิ่งพัง
-------------------
อ้างอิง
: Germany will not
keep Poland from sending tanks to Ukraine. (2023, January 23). DW. Retrieved
from https://www.dw.com/en/ukraine-updates-germany-will-not-keep-poland-from-sending-tanks-to-ukraine/a-64480279
อาทิตย์ 22 มกราคม
Oxfam : ทางรอดของอภิมหาเศรษฐี
หากไม่แก้ความเหลื่อมล้ำจะนำสู่หายนะทางเศรษฐกิจสังคม ร้ายแรงที่สุดคือล้มล้างการทางเมือง ทางออกที่ควรจะเป็นคือเก็บภาษีพวกเศรษฐีพันล้าน
ไม่ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/307614/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
อ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/307504/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
เพื่อนๆ
สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
เสาร์ 21 มกราคม
1-2 ล้านคนทั่วฝรั่งเศสประท้วงรัฐบาลให้เกษียณอายุ 64 ปี (The Local)
รัฐบาลมาครงต้องการยืดอายุรับบำนาญจาก 62
เป็น 64 ปี ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเพราะระบบนำบาญกำลังจะพัง
ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายบำนาญ
วิเคราะห์ :
1) ระเบิดเวลาลูกใหญ่
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าระบบบำนาญกำลังมีปัญหาและปัญหานี้ใหญ่ขึ้นทุกที
สรุปง่ายๆ คือไม่มีเงินจ่ายบำนาญ เพราะคนอายุยืนมากขึ้น (รับบำนาญมากขึ้น รับนานขึ้น
ผู้เสียชีวิตก่อนวัยน้อยลง) หลายคนคาดหวังว่าสามารถใช้ชีวิตยามเกษียณอย่างเป็นสุขด้วยเงินก้อนนี้
เพราะในอดีตนักการเมืองหาเสียงด้วยการชูนโยบายเกษียณอย่างเป็นสุขด้วยบำนาญ โดยไม่สนใจคำทักท้วงของผู้เชี่ยวชาญว่าจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต
2)
แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ
เรื่องของบำนาญเป็นตัวเลข
ทั้งเงินที่เข้ากองบำนาญ เงินที่ต้องจ่ายออกไปแต่ละเดือน สามารถคำนวณว่าอนาคตจะต้องใช้เงินมากน้อยเพียงไร
ดังนั้นไม่อาจปิดบังได้ ทุกคนเห็นตัวเลขเหล่านี้
และได้ข้อสรุปว่าระบบบำนาญกำลังจะพัง (ช้าหรือเร็วเท่านั้น)
รัฐบาลมาครงเข้าใจปัญหานี้อย่างดีและไม่อาจนิ่งเฉยได้
จึงต้องแก้เท่าที่จะทำได้ ด้วยการให้เกษียณงานช้าลงอีก 2 ปี
คือเกษียณเมื่ออายุ 64 ปี กรรมกรฝรั่งเศส (คำว่ากรรมกรหมายถึงผู้ทำงานทุกคน
รวมทั้งสายวิชาชีพ เช่น นักกฎหมาย วิศวะ แพทย์พยาบาล) จึงแห่ออกมาประท้วงเป็นล้านคน
ไม่พอใจที่ต้องทำงานเพิ่มอีก 2 ปี
3)
ทางออกอื่นๆ ล้วนเจ็บปวด
ถ้าไม่ยืดเวลาเกษียณ ทางออกอื่นๆ คือ ลดบำนาญ ขณะทำงานต้องส่งเงินเข้ากองบำนาญมากขึ้น
เก็บภาษีให้หนักขึ้น คำถามคือควรแก้ด้วยวิธีเหล่านี้หรือไม่ในยามที่เศรษฐกิจอ่อนแอ
และคาดว่าจะอ่อนแอตลอดปีนี้ เพราะ #เงินเฟ้อพุ่ง #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
รัฐบาลมาครงหันไปทางไหนเจอแต่ทางตัน
ส่วนนักการเมืองในอดีตที่ชูประเด็นเกษียณอย่างเป็นสุขด้วยบำนาญได้เสวยสุขกันถ้วนหน้าแล้ว
4) อย่ารอแต่ความช่วยเหลือจากรัฐ
ถ้ารัฐมีมาตรการช่วยเหลือสามารถขอรับได้
แต่การปล่อยให้ชีวิตพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐเป็นความคิดผิดร้ายแรง ปัญหาบางอย่างแม้แต่รัฐยังช่วยตัวเองไม่ได้
นี่ยังไม่พูดว่าบางทีรัฐนี่แหละเป็นตัวสร้างปัญหาแก่ประชาชน
-----------------------
#บำนาญ
ศุกร์ 20 มกราคม
อีกเหตุผลที่ควรชี้ว่ายูเครนจะพ่ายศึก :
ตอนนี้ชัดแล้วว่ารัฐบาลสหรัฐฯ
กับเยอรมนีเกี่ยงกันเรื่องส่งรถถังประจัญบานของตนเข้าสู่สนามรบ ฝ่ายสหรัฐฯ พยายามกดดันให้เยอรมนีส่งรถถัง
Leopard แก่ยูเครน แต่กลับไม่ยอมส่งรถถัง M1 Abrams ของตนให้ยูเครน Robert Habeck รองนายกฯ เยอรมันกล่าวว่า “ถ้าอเมริกาตัดสินใจส่งรถถังประจัญบานแก่ยูเครนจะช่วยให้เยอมนีตัดสินใจง่ายขึ้น” (CNN)
วิเคราะห์ :
1) Leopard เป็นรถถังชื่อก้องของเยอรมัน มีใช้ในหลายประเทศ แต่ประเทศเหล่านี้
(เช่นโปแลนด์) ไม่อาจส่งรถถังดังกล่าวให้ยูเครน เนื่องจากติดข้อตกลงว่าต้องได้รับอนุญาตจากเยอรมนีก่อน
2)
M1 Abrams เป็นรถถังประจัญบานหลักของสหรัฐฯ มีชื่อเสียงก้องโลก
ผ่านสมรภูมิจริงมาแล้วหลายแห่ง สหรัฐฯ มีจำนวนมาก และจำนวนมากอยู่ในคลังเก็บ
แต่จนบัดนี้ยังไม่เอ่ยปากว่าจะส่งมอบรถถังนี้ช่วยยูเครน
3) Colin
Kahl รมช.กลาโหมสหรัฐฯ พูดถูกว่าเหตุที่สหรัฐฯ ไม่อยากส่งรถถัง M1 Abrams ให้ยูเครนเพราะ “ยูเครนซ่อมไม่ได้ บำรุงรักษาไม่เป็น
ไม่สามารถบริหารจัดการรถถังแบบนี้” เรื่องที่ควรเข้าใจคือเครื่องบินรบไอพ่นลำหนึ่งที่มีนักบินคนเดียวแต่จำต้องใช้ช่างผู้มีฝีมือหลายคน
ไม่เพียงนักบินที่ต้องฝึกรบให้ชำนาญ ช่างก็เช่นกัน เช่นเดียวกับรถถังที่เป็นอาวุธไฮเทค
เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีกลไกซับซ้อน จำต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจซ่อม ไม่สามารถซ่อมด้วยอู่ซ่อมรถ ... ถามว่ายูเครนมีช่างฝีมือเหล่านี้หรือไม่ ถามว่าต้องฝึกกี่เดือนจึงจะทำงานได้
....
4)
ตลกร้ายของเรื่องนี้คือ Leopard ไม่ต่างจาก M1 Abrams ที่เป็นจักรกลไฮเทคอันซับซ้อน ทั้งๆ
ที่ฝ่ายสหรัฐฯ มีเหตุผลไม่ส่งให้ยูเครน แต่กลับกดดันให้เยอรมนีส่ง .... คำว่าพันธมิตรนาโตหมายถึงอย่างไรกันแน่
5)
ความจริงที่ต้องยอมรับคือกองทัพยูเครนรบด้วยอาวุธที่ด้อยกว่า
ล้าสมัยกว่า ทหารส่วนหนึ่งอาจไม่ชำนาญศึกมากพอ ทั้งๆ ที่ประเทศนี้กำลังพังพินาศ #ยิ่งรบยิ่งพัง ตายนับหมื่นนับแสน เพื่อปกป้องเสรีประชาธิปไตยตะวันตกแต่เยอรมนีกับสหรัฐฯ ยังเกี่ยงกันเรื่องส่งมอบอาวุธขั้นเทพ
ที่ผ่านมาเซเลนสกีกับฝ่ายตะวันตกโหมข่าวใกล้จะชนะรัสเซียแล้ว แต่ตอนนี้ที่เกือบชนะต้องมาติดขัด
.... สุดท้ายอาจแพ้ก็ได้
-------------------
อ้างอิง
: ‘They have us over
a barrel’: Inside the US and German standoff over sending tanks to Ukraine.
(2023, January 18). CNN. Retrieved from https://edition.cnn.com/2023/01/19/politics/us-germany-ukraine-tanks-weapons/index.html
พฤหัส 19 มกราคม
ข่าวลือ รัฐบาลเยอรมันกับสหรัฐฯ เกี่ยงกันเรื่องส่งรถถังของตนเข้าช่วยยูเครน (The Guardian)
The Guardian อ้างข้อมูลจาก Reuters ว่าเยอรมนีจะส่งรถถังที่ตนผลิตไปยูเครนก็ต่อเมื่อสหรัฐฯ จะส่งรถถังที่ตนผลิตเข้าไปด้วย
ในขณะที่ประธานาธิบดีเซเลนสกีร้องขอความช่วยเหลือด่วน ต้องการรถถังประจัญบานเพื่อรบชนะรัสเซีย
วิเคราะห์ :
1) Leopard เป็นรถถังชื่อก้องของเยอรมัน มีใช้ในหลายประเทศ แต่ประเทศเหล่านี้
(เช่นโปแลนด์) ไม่อาจส่งรถถังดังกล่าวให้ยูเครน เพราะติดข้อตกลงว่าต้องได้รับอนุญาตจากเยอรมนีก่อน
2)
M1 Abrams เป็นรถถังประจัญบานหลักของสหรัฐฯ มีชื่อเสียงก้องโลก
ผ่านสมรภูมิจริงมาแล้วหลายแห่ง สหรัฐฯ มีจำนวนมาก และจำนวนมากอยู่ในคลังเก็บ แต่จนบัดนี้ยังไม่เอ่ยปากว่าจะส่งมอบรถถังนี้ช่วยยูเครน
3)
ณ ขณะนี้กลายเป็นว่ากองทัพยูเครนรบด้วยอาวุธที่ด้อยกว่า ล้าสมัยกว่า
ทหารส่วนหนึ่งอาจไม่ชำนาญศึกมากพอ ทั้งๆ ที่ประเทศนี้กำลังพังพินาศ #ยิ่งรบยิ่งพัง ตายนับหมื่นนับแสน เพื่อปกป้องเสรีประชาธิปไตยตะวันตก
แค่รถถังไม่กี่สิบคันยังเกี่ยงกัน
น่าจะพูดว่าจะรีบส่งไปช่วยหลายร้อยคัน เพราะใกล้จะชนะรัสเซียแล้ว ส่งรถถังเข้าไปเผด็จศึกรัสเซียให้สิ้นซาก
-------------------
อ้างอิง : Germany will send tanks to Ukraine if US agrees to do same.
(2023, January 19). The Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/world/live/2023/jan/19/russia-ukraine-war-live-kyiv-investigating-fatal-helicopter-crash-british-polish-and-baltic-defence-ministers-to-meet
พุธ 18 มกราคม
เผยการค้าโลกจะหดตัว 5% หายเศรษฐกิจโลกถูกแยกเป็น 2 ขั้ว :
Ngozi Okonjo-Iweala
ผู้นำองค์การค้าโลก (WTO) เผยการค้าโลกจะหดตัว 5% หายเศรษฐกิจโลกถูกแยกเป็น 2 ขั้ว
เป็นความสูญเสียมหาศาลยิ่งกว่าวิกฤตการเงินที่แล้วมา ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่กับประเทศกำลังพัฒนาจะเสียหายมากสุด
เศรษฐกิจ 2 กลุ่มจะเสียหายถึง 12% จำต้องส่งเสริมความร่วมมือพหุภาคี
เรื่องที่ผู้นำ
WTO เอ่ยถึงคือการแบ่งขั้วระหว่างฝ่ายสหรัฐฯ กับจีน
ในระยะหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ว่าจะพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครทล้วนมีนโยบายกีดกันการค้าจีนและรุนแรงมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น การขึ้นภาษีสินค้าจีนในสมัยทรัมป์ที่ยังคงอยู่ในขณะนี้
การยกระดับกีดกันสินค้าเทคโนโลยีสมัยไบเดน (The National News)
วิเคราะห์ :
1) การที่ผู้นำ WTO ออกมาพูดเรื่องนี้ย่อมชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่อีกไม่นานเศรษฐกิจโลกจะแยกเป็น
2 ขั้ว ตรงตามแนวคิดสงครามเย็นใหม่ที่พูดกันพักหนึ่งแล้ว
2)
ในระยะหลังมีหลักฐานมากมายที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ
ต้องการแบ่งโลกให้เป็น 2 ขั้ว รัฐบาลไบเดนประกาศ “การค้าเสรีใหม่”
ซึ่งโดยความหมายคือสหรัฐฯ จะเน้นค้าขายกับพวกเดียวกัน บ่อนทำลายฝั่งตรงข้ามและกระชับอำนาจในฝ่ายตน
(ฝ่ายตนหมายถึงรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้คุม เป็นผู้วางกฎเกณฑ์ทำบริวารทำตาม)
3)
สงครามยูเครนในขณะนี้คือแผนบ่อนทำลายรัสเซียพร้อมกับแบ่งแยกความเป็นขั้ว
สังเกตว่ารัฐบาลสหรัฐฯ สามารถกระชับอำนาจนาโต มาตรการคว่ำบาตรพลังงานรัสเซียคือแผนทำให้อียูต้องซื้อใช้พลังงานกับประเทศที่เป็นมิตรของอเมริกา
(แม้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ได้ระดับหนึ่ง) ตามหลักการการค้าเสรีใหม่ที่หมายถึงฝ่ายสหรัฐฯ
จะมุ่งค้าขายกับพวกเดียวกัน
------------------
#สงครามเย็นใหม่
อ้างอิง
: World divided into trading
blocs will shrink global economy by 5% in long run, Davos told. (2023, January
18). The National News. Retrieved from https://www.thenationalnews.com/business/economy/2023/01/17/davos-2023-world-divided-into-trading-blocs-will-shrink-global-economy-by-5-in-long-run/
เงื่อนไข soft landing คือเงินเฟ้อลง ดอกเบี้ยไม่ขึ้นแรง (The National News)
เป็นข้อสรุปจาก Ngozi Okonjo-Iweala ผู้นำองค์การค้าโลก (WTO) ทั้งนี้ต้องรอดูปัจจัยสงครามยูเครน
วิเคราะห์ : ทบทวนความจำเป็น
การคว่ำบาตรรัสเซียคือต้นเหตุ #เงินเฟ้อ #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน ที่คนทั้งโลกทุกข์ยากในขณะนี้
ต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากรัฐโดยแท้ คนยากจนคือผู้รับผลกระทบมากสุด
ทางแก้ ...
เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน
http://www.chanchaivision.com/2022/06/Biden-great-inflation.html
อังคาร 17 มกราคม
ต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ เศรษฐกิจอียูอาจไม่ถดถอยหรือถดถอยเพียงเล็กน้อย :
Paolo Gentiloni กรรมการเศรษฐกิจอียูกล่าวว่าเศรษฐกิจกลุ่มยังไม่แน่นอน
แต่มีข่าวดีเข้ามา อาจไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังที่เคยวิเคราะห์ไว้ เนื่องจากราคาพลังงานอ่อนตัว
อัตราเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว ตลาดการจ้างงานยังแข็งแกร่งมาก (DW)
วิเคราะห์ :
1) ข่าวนี้สอดคล้องกับ Wall Street Journal ไม่กี่วันก่อนที่ชี้ว่าเศรษฐกิจยุโรปไม่เลวร้ายอย่างที่คิด
หลังราคาน้ำมันอ่อนตัว และช่วงนี้ไม่หนาวมาก และสอดคล้องกับข่าวเมื่อวันศุกร์ คริสตาลินา
จอร์เจียวา ผู้นำ IMF กล่าวว่าข้อมูลล่าสุดชี้ว่าสหรัฐฯ
อาจไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือถดถอยแบบอ่อนมาก จะเห็นว่าตลาดจ้างงานยังแข็งแกร่ง
ความต้องการผู้บริโภคยังสูง คาดว่า GDP สหรัฐฯ ปีนี้โต 1%
2) จากข้อมูลล่าสุดทำให้ต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ นั่นคือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ กับอียูอาจไม่ถดถอย
หรืออาจถดถอยเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล
จากนี้ไปเศรษฐกิจอเมริกาจะเดินหน้าต่อไป มีแต่โตเร็วหรือโตช้าเท่านั้น
3) ข้อสรุปนี้ต่างจากข้อสรุปที่บอกว่าเศรษฐกิจแย่ เศรษฐกิจอเมริกาจะถดถอยในปีนี้
ดังนั้นจึงมี 2 มุมมอง
4)
อย่างไรก็ตาม ในภาพระดับโลก หากเศรษฐกิจนอกอียูกับสหรัฐฯ ถดถอย
อาจทำให้เศรษฐกิจอเมริกาโตช้าบ้าง
หรือในมุมกลับคือเมื่อเศรษฐกิจอเมริกาเข้มแข็งน่าจะส่งผลดีช่วยเศรษฐกิจโลก
5)
ต้องไม่ลืมว่ายุโรปต่างหากที่ไม่ซื้อพลังงานรัสเซีย รัฐบาลสหรัฐฯ
กับนาโตที่เริ่มสงครามเศรษฐกิจ (สงครามไฮบริด)
ชาญชัย คุ้มปัญญา
--------------------
ปีที่แล้วนาโตส่งมอบรถถังรัสเซียหลายร้อยคันแก่ยูเครน เช่น T-72 กับ M-55Ss (ปรับปรุงจาก T-55) (Forbes)
ตอนนี้กำลังพิจารณาส่งรถถังที่ตะวันตกผลิต เช่น M-1s, Challenger
2s และ Leopard 2s ก่อนหน้านี้รัฐบาลโปแลนด์เสนอส่ง Leopard 14 คัน อังกฤษประกาศแล้วว่าจะส่ง Challenger 2 14 คันเช่นกัน
วิเคราะห์ : คำถามคือ รถถังหลายร้อยคันที่ยูเครนมีและได้มาเพิ่มตอนนี้เหลือเท่าไหร่
ไม่พอใช้ใช่ไหม จึงต้องขอเพิ่มและขอแบบที่ดีกว่าเดิม
Christine Lambrecht รมต.กลาโหมเยอรมันลาออกแล้ว นโยบายต่อยูเครนเปลี่ยน?
หลังกระแสสังคมต่อต้านสงคราม (DW)
วิเคราะห์ :
1) Christine
Lambrecht สังกัดพรรค Social Democrats (SPD) พรรคเดียวกับนายกฯ
โอลาฟ โชลซ์ ชูนโยบายส่งอาวุธหนักให้ยูเครน
การลาออกอาจเป็นจุดเริ่มต้นว่านโยบายโชลซ์จะลดความแข็งกร้าว ในมุมการเมืองในประเทศเป็นวิธีลดแรงกดดันจากประชาชน จากพรรคฝ่ายค้าน Christian
Democratic Union (CDU – พรรคของอดีตนายกฯ แมร์เคิล) แต่ไหนแต่ไรคนเยอมัน คนยุโรปตะวันตกไม่สนับสนุนสงคราม
สังเกตว่ารัฐบาลประชาธิปไตยที่เจริญก้าวหน้าแบบเยอรมันไม่ฟังเสียงประชาชน
2) ในมุมต่างประเทศ รัฐบาลโชลซ์ส่งสัญญาต่อสหรัฐฯ อียู ว่าสมควรแก่เวลาที่จะลดความร้อนแรง
(แต่ไม่ได้หมายความว่าจบสงครามไฮบริด) หากจำได้รัฐบาลสหรัฐฯ
กับพวกส่งอาวุธแก่ยูเครนเริ่มจากอาวุธเบา สู่อาวุธหนักมากขึ้นตามลำดับ ล่าสุดคือจะให้รถถังประจัญบาน
สะท้อนว่ายูเครนต้องพึ่งอาวุธต่างชาติและกองทัพรัสเซียเข้มแข็งกว่าที่สื่อตะวันตกนำเสนอ
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
จันทร์ 16 มกราคม
ต้องเก็บภาษีพวกที่เหลือกินเหลือใช้ :
ในขณะที่เราพูดว่าโลกกำลังเผชิญวิกฤตหลายด้านพร้อมกัน มีผู้อดยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีกหลายสิบล้านคน
(ไม่นับของเดิมที่มีหลายร้อยล้าน) หันไปที่ใดมีแต่คนบ่นว่าของแพง ค่าครองชีพพุ่ง จำนวนคนยากจนสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ
25 ปี แต่ในโลกใบเดียวกันนี้มีอภิมหาเศรษฐีกลุ่มเล็กๆ จำนวนหนึ่งรวยขึ้นและรวยขึ้นมาก
บริษัทของพวกเขาทำกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ไม่แปลกที่ความเหลื่อมล้ำขยายตัว
ทางออกคือต้องเก็บภาษีพวกที่เหลือกินเหลือใช้เหล่านี้
อันจะก่อประโยชน์ต่อระบบการเมืองเศรษฐกิจสังคม ลดความไม่เท่าเทียมทางเพศ ช่วยให้โลกยั่งยืน
ปลดปล่อยจากทาสความจน ดังจะอธิบายต่อไป
อ้างอิง : Oxfam International
https://oi-files-d8-prod.s3.eu-west-2.amazonaws.com/s3fs-public/2023-01/Survival%20of%20the%20richest-Full%20Report.pdf
นายซอรัน มีลาโนวิช (Zoran Milanovic) ประธานาธิบดีโครเอเชียกล่าวว่า “วอชิงตันกับนาโตกำลังทำสงครามตัวแทน (proxy war) โดยอาศัยยูเครน” (TASS)
วิเคราะห์ : ผมได้อธิบายแล้วว่าเป็นสงครามตัวแทนแบบสงครามไฮบริด เป้าหมายรัฐบาลสหรัฐฯ คือทำลายเศรษฐกิจสังคมรัสเซีย จัดระเบียบโลก ทั้งหมดเป็นแผนการที่วางไว้ล่วงหน้า ...
#สงครามไฮบริด #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
อ่าน ---
สงครามไฮบริดกับระเบียบโลกใหม่ในมุมมองรัสเซีย
สงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องระหว่างยูเครนกับรัสเซีย
แต่เป็นการต่อสู้แข่งขันระหว่างมหาอำนาจ เงินเฟ้อที่เกิดกับทุกประเทศ
สินค้าขึ้นราคา แพงทั้งแผ่นดินเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม
http://www.chanchaivision.com/2022/09/Russia-modern-multipolar-world.html
Mohammed Shia’ al-Sudani นายกฯ อิรักเผยจำต้องให้ทหารต่างชาติอยู่ในประเทศต่อไปเพื่อช่วยสู้ ISIS (Rudaw)
รัฐบาลหวังมีสัมพันธ์ดีกับอิหร่านและสหรัฐฯ
พร้อมกัน
วิเคราะห์ : สรุปให้ครับว่าทหารอเมริกันน่าจะอยู่ที่อิรักอีกหลายทศวรรษ
ฐานทัพอเมริกัน กองบัญชาใหญ่ของสหรัฐฯ กับทำเนียบรัฐบาลอิรัก ที่ตั้งกระทรวงต่างๆ
อยู่ในย่านเดียวกัน ประมาณว่าคนละซอย หรืออยู่ฝั่งตรงข้ามถนน .... ทบทวนความจำ สหรัฐฯ
ส่งคืนอธิปไตยแก่อิรักตั้งแต่ปี 2004
ธันวาคม 2022 อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบ 1.137 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นสถิติสูงสุดของปี 2022 (Gulf Times)
SVB International ชี้ว่ามาตรการคว่ำบาตรที่เริ่มตั้งแต่สมัยทรัมป์ไม่ได้ผลเหมือนเก่า
จีนเป็นลูกค้ารายใหญ่สุด
รัฐบาลอังกฤษจะส่งมอบรถถังประจัญบาน Challenger 2 แก่ยูเครน (The Hill)
วิเคราะห์ : Challenger 2 กลายเป็นรถถังประจัญบานแบบแรกที่ชาติตะวันตกส่งให้ยูเครน ส่วนที่เหลือยังเกี่ยงกันอยู่ว่าจะส่งหรือไม่
... สหรัฐฯ น่าจะส่งก่อนนะ มีเยอะด้วย
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน
อาทิตย์ 15 มกราคม
มาร์กอส จูเนียร์ฟื้นสัมพันธ์ฟิลิปปินส์-จีน
สัมพันธ์ฟิลิปปินส์-จีนภายใต้รัฐบาลชุดนี้จะเป็นไปด้วยดีแต่ไม่ทิ้งสหรัฐ
เพียงแต่รัฐบาลสหรัฐไม่อาจแทรกแซงข้อพิพาททะเลจีนใต้โดยยืมมือมาร์กอส จูเนียร์
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/303082/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
อ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/303006/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2023/01/Marcos-Jr-China-manage-South-China-Sea.html
เสาร์ 14 มกราคม
ข่าวดี เศรษฐกิจยุโรปไม่เลวร้ายอย่างที่คิด หลังราคาน้ำมันอ่อนตัว และช่วงนี้ไม่หนาวมาก (Wall Street Journal)
วิเคราะห์ : ข่าวเมื่อวานศุกร์ คริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้นำ IMF กล่าวว่าข้อมูลล่าสุดชี้ว่าสหรัฐฯ อาจไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือถ้าจะเกิดก็จะเป็นแบบอ่อนมาก จะเห็นว่าตลาดจ้างงานยังแข็งแกร่ง ความต้องการผู้บริโภคยังสูง คาดว่า GDP สหรัฐฯ ปีนี้โต 1%
1) จากข้อมูลล่าสุดทำให้ต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่
นั่นคือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่ถดถอย ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้อีก จากนี้ไปเศรษฐกิจอเมริกาจะเดินหน้าต่อไป
มีแต่โตเร็วหรือโตช้าเท่านั้น
2) หากเศรษฐกิจหลายประเทศถดถอยในปีนี้
อาจทำให้เศรษฐกิจอเมริกาโตช้าบ้าง หรือในมุมกลับคือเมื่อเศรษฐกิจอเมริกาเข้มแข็งน่าจะส่งผลดีช่วยเศรษฐกิจโลก
3) ถ้ารวมกับข่าวอียูล่าสุด ทั้ง 2
ข่าวบ่งชี้ว่าไม่ควรกังวลภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงอีกแล้ว ต้องปรับมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกใหม่
4) ต้องไม่ลืมว่ายุโรปต่างหากที่ไม่ซื้อพลังงานรัสเซีย
รัฐบาลสหรัฐฯ กับนาโตที่เริ่มสงครามเศรษฐกิจ (สงครามไฮบริด)
ศุกร์ 13 มกราคม
ชาติตะวันตกส่งอาวุธให้ยูเครนถือว่าเข้าร่วมสงครามแล้วหรือไม่
https://www.youtube.com/watch?v=UbD5JT3OkFw
แน่นอนตอบได้หลายมุมมอง
1) การเมืองระหว่างประเทศมีความคิดที่ซับซ้อน ใช้แนวทางที่ซับซ้อน แผนซับซ้อนทำให้เข้าใจยาก
ถ้าถามใหม่ว่า “จ้างคนวางเพลิง” ผู้จ้างวานมีความผิดด้วยหรือไม่ ... แบบนี้ได้คำตอบแล้ว
2) เยอรมนีเริ่มต้นด้วยการส่งหมวกกันน็อคทหารให้ยูเครน จากนั้นเป็นจรวดประทับบ่า ขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ ล่าสุดมีสมาชิกนาโตจะให้รถถังประจัญบาน ถ้ายึดแนวทางนี้เรื่อยๆ สุดท้ายยูเครนคงได้อาวุธนิวเคลียร์จากผู้ก่อการร้าย รัฐบาลทุกประเทศปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์นี้ .... นี่เป็นการเมืองระหว่างประเทศของชาติประชาธิปไตยตะวันตกเหมือนกัน
3) ที่แน่นอนและยอมรับกันทั่วไปคือ ยูเครนในตอนนี้ไม่สามารถผลิตอาวุธด้วยตัวเอง (ต่างจากรัสเซีย) การยิงจะหยุดทันทีถ้าไม่มีประเทศใดให้อาวุธยูเครน
4) สุดท้ายยูเครนยิ่งรบยิ่งพัง เพื่อพิทักษ์รักษาประชาธิปไตยตะวันตก นี่คือฉากหนึ่งของการเมืองระหว่างประเทศ ณ ตอนนี้
ฟังนักวิชาการตะวันตก .... ยิ่งฟังยิ่งมึนกับตรรกะ
13 มกราคม 2023
ชาญชัย คุ้มปัญญา
พฤหัส 12 มกราคม
ปีที่แล้วคนอังกฤษ 3.2 ล้านโดนตัดไฟเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าไฟฟ้าล่วงหน้า (The Guardian)
ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการระบบชำระเงินที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินล่วงหน้าโดยผูกกับบัตรเครดิต
ระบบนี้จะตัดไฟเร็วเมื่อเห็นว่าลูกค้าไม่มีเงินในบัญชี เสียงเรียกร้องคือให้กลับไปใช้ชำระเงินทีหลังตามเดิม
โปแลนด์เตรียมส่งรถถัง Leopard แก่ยูเครนในนามกลุ่มพันธมิตร (Euro News)
วิเคราะห์ : Leopard เป็นรถถังประจัญบาน ผลิตโดยเยอรมนี มีใช้ในหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มนาโต
คาดว่าจะมีอีกหลายประเทศที่จะส่งรถถังประจัญบานแก่ยูเครน
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา
#แพงทั้งแผ่นดิน
ราคาไข่อเมริกาพุ่งไม่หยุด บางรัฐแพงกว่าปีที่แล้วถึง 64% (Fox Business)
คาดเงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่ารอบหน้า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25 bp (CNBC)
แม้ตัวเลขเงินเฟ้อลดลงเล็กน้อยแต่ตลาดทุนมองบวกว่ากำลังสู่ทิศทางที่ถูกต้อง
อย่างน้อยไม่เฟ้อหนักกว่าเดิม ราคาน้ำมันอ่อนตัวในช่วงนี้ช่วยลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ
เยอรมนีเปิดฉากสู้ศึกการค้าเสรีรถ EV กับอเมริกา (Bloomberg)
โอลาฟ โชลซ์ นายกฯ เยอรมนีเรียกร้องอียูร่วมกันสร้างเครื่องมือทางการเงินใหม่เพื่อต้านการอุดหนุนเทคโนโลยีสีเขียวของสหรัฐฯ
ให้แก้กฎอุดหนุนใหม่
และให้เงินอุดหนุนแก่อุตสาหกรรมภายในมากขึ้น
วิเคราะห์
: อธิบายแบบเข้าใจง่ายคือรัฐบาลไบเดนอุดหนุนอุตสาหกรรมรถ
EV ของตน เช่นให้งบประมาณก้อนโตอุดหนุนการผลิตแบตเตอรี่รถ EV เพื่อให้ราคารถที่ผลิตในอเมริกา (ทวีปอเมริกาเหนือ) มีราคาต่ำกว่าปกติ
ทำให้รถ EV ประเทศอื่นๆ สู้ราคาไม่ได้ ขัดต่อหลักการค้าเสรี พันธมิตรสหรัฐฯ
อย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศสเคยออกโรงเตือนและเจรจาแล้ว แต่คาดว่าไม่ได้ผล
รอบนี้เยอรมนีจึงต้องออกโรงเอง ....
#สงครามรถEV #อุตสาหกรรมยานยนต์ #คำว่าพันธมิตรหมายถึงอย่างไรกันแน่
เยอรมนีเสนอให้อียูกู้เงินเพื่ออุดหนุนรถ EV (Bloomberg)
ปัญหาล่าสุดที่นายกฯ โชลซ์คิดถึงคือต้องผนึกกำลังอียู
และเนื่องจากบางประเทศเศรษฐกิจอ่อนแอ เยอรมนีจึงเสนอให้เงินช่วยเหลือเพื่อการนี้
วิเคราะห์ : ตอนนี้ไม่ว่าด้วยเหตุผลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกหรือเพื่อการแข่งขันในอุตสาหกรรม
EV รัฐบาลหลายประเทศกำลังหาทางลดราคาตนเอง
(ด้วยเงินภาษีประชาชน ด้วยเงินกู้ที่ประชาชนต้องชำระในอนาคต)
ล่าสุดวงเงินที่รัฐบาลไบเดนตั้งไว้คือ 370,000
ล้านดอลลาร์ แน่นอนว่าย่อมได้อีกตามต้องการ
#สงครามรถEV #อุตสาหกรรมยานยนต์
#คำว่าพันธมิตรหมายถึงอย่างไรกันแน่
พุธ 11 มกราคม
คนอเมริกัน 46% หนี้ท่วมหัวแบบจ่ายหนี้เดือนชนเดือน (CNBC)
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน ทำให้คนอเมริกันจำนวนมากเป็นหนี้บัตรเครดิตหนักขึ้นอีก
เพราะรายได้ไม่พอรายจ่าย ล่าสุด Bankrate รายงานคนอเมริกัน 46%
เป็นหนี้บัตรเครดิตเต็มเพดาน สูงกว่าปีก่อนที่ 39% ใช้เงินแบบเดือนชนและไม่สามารถกู้เพิ่มได้อีก
วิเคราะห์
: ที่สุดแล้วหากเศรษฐกิจอเมริกาถดถอยจริง
รัฐอาจทนให้อยู่ในสภาพนี้ได้ไม่นาน ต้องเร่งออกมาตรการอัดฉีดให้เงินช่วยเหลือประชาชน
หรืออีกแบบคือรัฐไม่ให้ปล่อยเศรษฐกิจถดถอยแรง ลดความเข้มข้นในการลดเงินเฟ้อ ยอมคงดอกเบี้ย
4-5% แบบยาวๆ
#ประชาธิปไตยให้เสรีภาพแต่ประกันว่าประชาชนจะอยู่ดีมีสุข
ทางแก้ ...
เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน
http://www.chanchaivision.com/2022/06/Biden-great-inflation.html
จันทร์ 9 มกราคม
คาดเลือกตั้ง 2024 พรรคอนุรักษ์นิยมของริชี ซูนัคจะแพ้ยับเยิน
Best for
Britain ซึ่งเป็น NGO สายสังคมเผยแพร่งานวิจัยของตนเมื่อปลายปี
2022 ชี้ว่าเลือกตั้งทั่วไปรอบต่อไป (2024) พรรคอนุรักษ์นิยมของริชี ซูนัค (Rishi Sunak) นายกฯ
อังกฤษปัจจุบันพ่ายแพ้ยับเยิน
อ้างอิง
https://assets.nationbuilder.com/b4b/pages/3357/attachments/original/1672501881/Best_for_Britain's_Autumn_MRP_Report_FINAL_311222.pdf?1672501881
วิเคราะห์ : ถ้าวิเคราะห์ตามหลักพรรคการเมือง
ซูนัคกับพรรคต้องรีบเร่งแก้ไขไม่ให้พรรคแพ้ เป็นธรรมดาที่พรรคต้องพยายามชนะเลือกตั้ง
คำถามคือ “พวกเขาจะทำหรือไม่” ถ้าทำต้องหยุดเข้าเกี่ยวข้องกับสงครามยูเครนในขณะนี้
.... “พวกเขาจะทำหรือไม่” หรือ “รัฐบาลซูนัคจะทำหรือไม่” นี่คือประเด็นคำถามที่สำคัญและแหลมคม
ที่การเมืองอังกฤษสัมพันธ์กับการเมืองระหว่างประเทศ
นำสู่คำถามสุดท้ายว่ารัฐบาลอังกฤษกำลังบริหารประเทศเพื่อคนอังกฤษใช่หรือไม่
ปัจจุบันคนอังกฤษ 14.5 ล้านคนเป็นคนจน (22%) หรือกว่า 1 ใน 5 เป็นคนจน
ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 3 ทศวรรษที่แล้วที่อยู่แถว 24-25% สรุปว่าอังกฤษกว่า 1
ใน 5 เป็นคนจน
อ้างอิง https://www.jrf.org.uk/data/overall-uk-poverty-rates
ริชี ซูนัค (Rishi Sunak) นายกฯ อังกฤษเตรียมเสนอแผนจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแบบจ่ายงวดเดียวแก่พวกพยาบาล
ตอนนี้อยู่ระหว่างหารือกับสหภาพพยาบาลในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ
(NHS) ก่อนหน้านี้ฝ่ายพยาบาลขอรายได้เพิ่ม
10% ลดจากข้อเรียกร้องเดิมที่ 19%
หากไม่ได้ตามนี้จะหยุดงานประท้วงเป็นระยะ
วิเคราะห์
: แพทย์พยาบาลของอังกฤษขอขึ้นเงินเดือนตั้งแต่
2-3 ปีก่อนเมื่อโควิด-19 ระบาด โรคระบาดยังไม่ทันสิ้นก็ถูกซ้ำเติมด้วย
#สงครามยูเครน #สินค้าขึ้นราคา #แพงทั้งแผ่นดิน เป็นเสี้ยวหนึ่งของปัญหาที่รัฐบาลเผชิญอยู่ตอนนี้ ล่าสุดรัฐบาลซูนัคประกาศสนับสนุนสงครามต่อไป
อาทิตย์ 8 มกราคม
รัฐบาลเนทันยาฮูล่าสุดกับประเด็นอ่อนไหว
เนทันยาฮูเป็นนายกฯ
มาแล้วหลายสมัยแต่รอบนี้แตกต่างเพราะพรรคร่วมเป็นขวาจัด ส่อแววขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน
และดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดใหม่วางแผนล่วงหน้า
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่ https://www.thaipost.net/e-pub-news/298565/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
https://www.thaipost.net/columnist-people/298542/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
เพื่อนๆ
สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
ศุกร์ 6 มกราคม
อัตราว่างงานสหรัฐฯ ล่าสุดทรงตัว ส่อแววต้องขึ้นดอกเบี้ยแรง ดอลลาร์แข็งค่า (Bloomberg)
วิเคราะห์ : ถ้าดูตัวเลขการจ้างงานต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ยังแข็งแกร่ง ไม่เป็นไปตามความต้องการของ Fed ที่อยากเห็นเศรษฐกิจซึมลง
เป็นเหตุเงินเฟ้อลดลง
ปัญหาคือเศรษฐกิจแต่ละประเทศเข้มแข็งไม่เท่ากัน ดอกเบี้ยสหรัฐฯ
ขึ้นทำให้ตลาดดอกเบี้ยโลกสูงตาม ดอลลาร์แข็งทำลายค่าเงินประเทศอื่นๆ เศรษฐกิจหลายประเทศกำลังตกอยู่ในอันตราย
ชาติสมาชิก UNSC เตือนต้องรักษาสถานะเดิมของมัสยัดอัล-อักซอร์ (Gulf Times)
จีนเตือนระวังจะเกิดเหตุปะทะ มีปัญหามากกว่าเดิม
หลังรมต.ความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอลไปเยือน Temple Mount
วิเคราะห์ : แค่รมต.ยิวไปเที่ยวสถานศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นเรื่องแล้ว
รออ่านบทความฉบับวันอาทิตย์นี้นะครับเพื่อนๆ
อินเดียเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอด 'The Voice of Global South' 12-13 เดือนนี้ (Times of Oman)
ประเทศกำลังพัฒนา 120 ประเทศจะเข้าร่วมการประชุม
วิเคราะห์ : น่าสนใจโดยเฉพาะยามที่มหาอำนาจกำลังแข่งขันอย่างดุเดือด
ประเทศเล็กๆ ต้องเลือกข้างหรือไม่ จะวางตัวเป็นกลางได้อย่างไร แต่จีนอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยนะ
เยอรมนีประกาศจะส่งระบบขีปนาวุธ Patriot ให้ยูเครนตามอย่างสหรัฐฯ (Arab News)
วิเคราะห์ : ถ้าเข้ายูเครนแล้วคงอยู่ได้ไม่นาน
เพราะตามแผนการรบต้องทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศก่อน ดังที่ที่สหรัฐฯ กับเยอรมนีส่งเข้าไปจะถูกทำลายอย่างเร็วเพราะส่งเข้าไปน้อย
แค่ป้องกันตัวเองยังทำไม่ได้
จีนเปิดพรมแดนกับฮ่องกงหลังเข้มงวดเข้าออก 3 ปี (CNN)
วิเคราะห์
: เดิมคนฮ่องกงส่วนหนึ่งไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด-19
ทางการจีนจึงสั่งเข้มงวดการเดินทางเข้าออก
ตอนนี้ไม่ใช้มาตรการเดิมอีกแล้ว เหลือเพียงต้องทำ PCR test 48
ชั่วโมงก่อนเข้าจีน เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจสังคม
พฤหัส 5 มกราคม
ฟิลิปปินส์กับจีนประกาศไม่ให้ข้อพิพาททะเลจีนใต้กระทบความสัมพันธ์อื่นๆ :
ประชุมสุดยอดฟิลิปปินส์กับจีนประกาศจุดยืนร่วม
“แก้ไขความคิดต่างอย่างเหมาะสม” ต่อสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ “ด้วยสันติวิธี”
ไม่ให้ประเด็นนี้กระทบความสัมพันธ์รวม ย้ำความสำคัญของการเดินเรือเสรีในแถบนี้
(Kyodo News)
วิเคราะห์
: สังเกตว่าทั้งคู่ไม่ได้ตอบว่าพื้นที่ส่วนใดเป็นของใคร พูดแต่เพียงจะแก้ไขอย่างเหมาะสมซึ่งเป็นกรอบนามธรรมกว้างๆ
แต่คำที่สำคัญคือ “ด้วยสันติวิธี” ไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์อื่นๆ นี่คือบทสรุปที่ชัดเจนเมื่อตกลงกันไม่ได้ว่าอาณาบริเวณพิพาทนั้นเป็นของใครกันแน่
แนวทางนี้สามารถใช้กับประเทศอื่นๆ ที่พิพาทร่วม
พุธ 4 มกราคม
กระทรวงต่างประเทศซาอุฯ ประณามว่าเป็นการ “ยั่วยุ” หลัง Itamar Ben Gvir รมต.ความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอลไปเยือน Temple Mount (Arab News)
Organization of Islamic Cooperation ชี้เป็นแผนของอิสราเอลที่คิดจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์
เปลี่ยนมัสยิดอัล-อักซอร์ ยั่วยุมุสลิมทั่วโลก ทำลายข้อมตินานาชาติ
วิเคราะห์ : เริ่มออกมาเป็นชุดๆ
แล้ว ตอนนี้รอดูวันศุกร์
ประธานาธิบดีมาร์กอส จูเนียร์ เยือนจีนประกาศหน้าสัมพันธ์ใหม่ฟิลิปปินส์-จีน (inquirerdotnet)
จะหารือเรื่องความมั่นคงทวิภาคี
ประเด็นภูมิภาค
วิเคราะห์ : ที่ผ่านมาบางรัฐบาลเป็นปรปักษ์กับจีนอย่างรุนแรงเช่นสมัยอากีโนที่
3 เมื่อรัฐบาลชุดนั้นใกล้ชิดอเมริกา (เป็นความสัมพันธ์แบบเลือกขั้ว เอียงข้าง)
แต่ชุดก่อนของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต ปรับถ่วงดุลแบบพอๆ กัน มาชุดล่าสุดจะเป็นอย่างไรน่าติดตาม
คิดว่าจะออกมาในทางที่ดี ฟิลิปปินส์-จีนจะเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
เรื่องนี้มีผลต่อทะเลจีนใต้ อาเซียน
อังคาร 3 มกราคม
วันนี้ (3) Itamar Ben Gvir รมต.ความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอลได้ไปเยือน Temple Mount แล้ว (Time of Israel)
กล่าวว่ารัฐบาลไม่ยอมจำนนต่อคำขู่ของผู้ก่อการร้ายฮามาส พร้อมโต้กลับอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะคนศาสนาใดย่อมมีเสรีภาพที่ไปจะสถานที่แห่งนี้ ก่อนหน้านี้ Palestinian Authority เตือนว่าการเดินไปคือการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ชี้ว่าเป็นการบุกรุกมัสยิดอัล-อักซอร์กลุ่มฮามาสเตือนวุ่นวายแน่ถ้า Itamar Ben Gvir รมต.ความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอลเยือน Temple Mount (Time of Israel)
ชี้ว่าจะเท่ากับบุกรุกมัสยิดอัล-อักซอร์ (Al-Aqsa
Mosque) Temple Mount ตั้งอยู่ในเขตของมัสยิดนี้ ในขณะที่ยิวถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์ของตนเช่นกัน
ด้าน Ben Gvir กล่าวว่าเขา ”ตั้งใจที่จะไปเยือน Temple
Mount ”
วิเคราะห์ : Al-Aqsa Mosque กับ Temple Mount ล้วนเป็นจุดอ่อนไหว เป็นประเด็นเก่าแก่
ติดตามว่ารัฐบาลอิสราเอลชุดใหม่ที่มีฝ่ายขวาจัดรวมอยู่ด้วยจะก่อให้เกิดสถานการณ์รุนแรงหรือไม่
จันทร์ 2 มกราคม
ไม่อยากพูดเยอะ หัวเราะอย่างเดียวก็พอ 555
การชุมนุมประท้วงอิหร่านรวมเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 508 ราย ถูกจับกุมราว 19,000 คน (Rudaw)
วิเคราะห์ : เป็นอีกประเด็นที่น่าติดตาม
ชุมนุมเกือบ 4 เดือนแล้วยังจบไม่ลง (เริ่มประท้วง 16 กันยายน)
ยอดผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ .... เรื่องนี้จะมีผลต่อการเลือกตั้งในอนาคต
#ประท้วงอิหร่าน #อิหร่านวันนี้
เป็นเรื่อง... ใครคิดว่าน้ำมันแพงไม่สำคัญ .... 555
ต่อไปต้องทำดัชนีชี้วัด
“ว่าที่แฟน” มีแรงต้านแรงรับน้ำมันที่เท่าไหร่ 555
รัฐบาลอิสราเอลชุดใหม่เดินหน้าสร้างบ้านใหม่ในเขตเวสต์แบงก์แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยตึงตัว (The Jerusalem Post)
พร้อมดูแลความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในแถบนี้
วิเคราะห์ : ความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่มีทุกปี
บางปีสร้างได้มากบางปีน้อย เป็นแรงกดดันต่อรัฐบาลทุกชุด รัฐบาลชุดล่าสุดที่มีส่วนร่วมของฝ่ายขวาจัดจำนวนมากเป็นแรงสนับสนุนการตั้งถิ่นฐานในเขตเวสต์แบงก์
#เขตเวสต์แบงก์
Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการ IMF เตือน 1 ใน 3 ของโลกจะถ้าสู่เศรษฐกิจถดถอย (Al Jazeera)
เศรษฐกิจสหรัฐฯ อียูและจีนจะโตช้าลง จีนจะโตต่ำสุดในรอบ
40 ปีเนื่องจากโควิด-19 ระบาด ดังนั้นจะคาดหวังพลังเศรษฐกิจจีนเหมือนก่อนไม่ได้
ครึ่งหนึ่งของอียูจะเผชิญเศรษฐกิจถดถอยจากสงครามยูเครน ส่วนสหรัฐฯ อาจเลี่ยงเศรษฐกิจถดถอยได้
สังเกตจากตลาดแรงงานอเมริกาแข็งแรง ผลคือ Fed จะต้องคงอัตราดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด
ต้องวิเคราะห์ “เรื่องปัจจุบัน เรื่องวันนี้” ….
นักวิเคราะห์คนนี้คิดคล้ายผมหมายเลย
.... ดีนะของผมตีพิมพ์ก่อน .... อาจารย์ที่ปรึกษาของผมย้ำเสมอว่าต้องวิเคราะห์
“เรื่องปัจจุบัน เรื่องวันนี้”
https://www.businessinsider.com/saudi-arabia-snubs-us-embraces-china-russia-2022-12
อ่านของผมบ้าง
...
สัมพันธ์จีน-ซาอุฯ
หน้าใหม่สู่โลกพหุภาคี
จีนไม่ใช่ผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่แต่กำลังเข้าไปมีส่วนร่วมกิจการด้านพลังงานของซาอุฯ
โดยที่รัฐบาลซาอุฯ เปิดทางให้ อุตสาหกรรมพลังงานซาอุฯ
จึงร่วมมือกับชาติตะวันตกและจีนพร้อมกัน
http://www.chanchaivision.com/2023/01/Saudi-Chinese-Summit.html
อาทิตย์ 1 มกราคม
ยุทธศาสตร์ 10 ปีสู้โลกร้อนของ FAO (2022–2031)
เรื่องปากท้องเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ว่ามองจากมุมภาวะโลกร้อนหรือแก้ไขภาวะโลกร้อนล้วนมีผลต่อราคาอาหาร ชีวิตความเป็นอยู่ ทุกคนทั่วโลกจำต้องร่วมมือหยุดโลกร้อน
สามารถคลิกเข้าไปอ่านในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เต็มทั้งฉบับที่
https://www.thaipost.net/e-pub-news/294934/#&gid=a14a4385&pid=5
บทความของผมจะอยู่หน้า 5
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2023/01/FAO-Strategy-on-Climate-Change.html
เพื่อนๆ
สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์