ทันทีที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
นายฮัสซัน โรฮานี (Hassan Rohani) ประธานาธิบดีอิหร่านประกาศขอเปิดเจรจาประเด็นโครงการนิวเคลียร์กับชาติตะวันตกทันที
พร้อมกับยืนยันว่า “โครงการนิวเคลียร์อิหร่านเป็นโครงการระดับชาติ...
จะไม่ยอมยกเลิกสิทธิ์การใช้นิวเคลียร์โดยเด็ดขาด” และจะให้โครงการดำเนินภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ต่างชาติยกเลิกการคว่ำบาตรอิหร่าน
เป้าหมายของประธานาธิบดีโรฮานีชัดเจน
คือ ยังจะเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์ต่อไป อิหร่านมีสิทธิ์ใช้นิวเคลียร์เพื่อสันติเฉกเช่นบรรดาประเทศทั้งหลาย
เป็นไปตามกฎหมายระเบียบระหว่างประเทศ ดังนั้น อิหร่านไม่สมควรถูกคว่ำบาตร
ไม่ว่าจะโดยข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ หรือจากประเทศใดๆ
การคว่ำบาตรและผลกระทบ :
การที่รัฐบาลโรฮานีให้ความสำคัญกับการเจรจาเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐกับพันธมิตรได้ผล
ฝ่ายสหรัฐออกมาตรการหลายชุด หนึ่งในชุดที่สำคัญคือมาตรการเมื่อเดือนธันวาคม 2011 ประเทศใดที่ทำธุรกรรมทางการเงินกับอิหร่านอาจถูกสหรัฐกีดกันด้วยข้อจำกัดต่างๆ
ประเทศทั้งหลายจึงต้องเลือกว่าจะทำการค้ากับอิหร่านหรือกับสหรัฐ นอกจากนี้ พันธมิตรสหรัฐหลายประเทศโดยเฉพาะอียูผู้นำเข้าน้ำมันอิหร่านช่วยกันคว่ำบาตร
ผลกระทบชัดเจนมาก กำไรจากน้ำมันซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศลดลงเกือบครึ่ง
(สินค้าน้ำมันคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเกือบร้อยละ 80 ของประเทศ)
ในปี 2013 นายโกเลม เรซา คาเท็บ ประธานคณะกรรมการงบประมาณรัฐสภาอิหร่านกล่าวว่า 9 เดือนที่ผ่านมาการส่งออกน้ำมันลดลงร้อยละ
40 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ถ้าคิดเป็นกำไรจะลดลงราวร้อยละ 45 และส่งผลให้ค่าเงินเรียล (Rial) ของอิหร่านตกฮวบจาก
10,500 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เหลือเพียง
18,000 เรียล ค่าเงินที่อ่อนตัวมากทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงถึงร้อยละ
30 กระทบต่อราคาสินค้าภายในประเทศ
ข้อมูลล่าสุด
ศูนย์สถิติแห่งชาติอิหร่าน (The Statistical Center of Iran) รายงานอัตราเงินเฟ้อรอบ 1 ปี ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน 2013 –
จนถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2014 (ตามปฏิทินอิหร่าน) อยู่ที่ร้อยละ 26.2 ลดลง 2.2 จุดเมื่อเทียบกับปีก่อน
Ali Tayyebnia รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ (Finance
and Economic Affairs Minister) ตั้งเป้าจะลดอัตราเงินเฟ้อให้เหลือเลขหลักเดียวและกำลังปัญหา
อัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงถึงเกือบร้อยละ 30 ลดลงเพียง 2-3 จุด ชี้ว่าปัญหาเศรษฐกิจยังรุนแรง จำต้องแก้ไขเร่งด่วน
ผลการเจรจารอบแรกได้ข้อตกลงชั่วคราว :
เมื่อรัฐบาลอิหร่านขอเปิดเจรจา
ฝ่ายสหรัฐย่อมไม่อาจปฏิเสธ อีกทั้งการเจรจาอยู่ภายใต้กรอบเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี
2009 หรือที่เรียกว่ากรอบ ‘P-5+1’ ประกอบด้วยสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงทั้ง
5 ชาติ (อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย สหรัฐ) และเยอรมนี ประเทศเหล่านี้มีความสำคัญต่อการลงมติในคณะมนตรีความมั่นคงและเป็นคู่ค้าสำคัญของอิหร่าน
ประธานาธิบดีบารัก
โอบามากล่าวในเชิงหลักการว่าจะเคารพสิทธิของชาวอิหร่านที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ
และขอให้รัฐบาลอิหร่านรับผิดชอบต่อสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear
Non-Proliferation Treaty) กับข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง จุดยืนของรัฐบาลโอบามาที่เปิดเผยคือโครงการนิวเคลียร์จะต้องเปิดเผยโปร่งใส
ได้รับการตรวจสอบติดตาม
การเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมจะต้องอยู่ในระดับต่ำสุดทั้งเชิงคุณภาพกับปริมาณ จนไม่มีโอกาสนำไปผลิตเป็นอาวุธและขอให้ปิดโรงงานฟอร์โดว์
(ตั้งอยู่ใต้ภูเขาและปรับสภาพให้แข็งแรงทนต่อการโจมตี)
ผลการเจรจารอบแรกเป็นไปด้วยดี
รัฐบาลอิหร่านกับ 6 ชาติคู่เจรจาบรรลุข้อตกลงชั่วคราว (หรือที่เรียกว่า Joint
Plan of Action) มีอายุ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 19 กรกฎาคม 2014 ภายใต้ข้อตกลงนี้อิหร่านยอมที่จะยุติเสริมสมรรถนะยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ร้อยละ
5 ส่วนที่มีอยู่ก็จะกำจัดหรือแปรสภาพ และจะไม่ติดตั้งเครื่องแยกสาร (centrifuge) เพิ่มอีก เว้นแต่การซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด
ด้านสหภาพยุโรปจะระงับการคว่ำบาตรชั่วคราว
และให้การเจรจาดำเนินต่อไปจนได้ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์เพื่อให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านจะใช้ในทางสันติเท่านั้น
ประเด็นสำคัญคือ ข้อตกลง Joint Plan of Action มีผลชั่วคราว มีกำหนดอายุ นั่นหมายความว่าอนาคตไม่แน่นอน ถ้ามองในแง่ดีเป็นโอกาสที่ต่างฝ่ายต่างแสดงความปรารถนาดีต่อกัน เป็นกระบวนการสร้างความไว้วางใจ
และนำสู่การเจรจาขั้นสุดท้าย ถ้ามองในแง่ร้าย การผ่อนคลายการคว่ำบาตรมีผลชั่วคราว
รัฐบาลสหรัฐยังคว่ำบาตรต่อไป
จึงยากจะจูงใจให้ต่างชาติคิดเข้ามาลงทุนในอิหร่านอย่างจริงจัง โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและเล็ก
เว้นแต่บางประเทศที่ไม่ยอมอยู่ใต้อิทธิพลชาติตะวันตก เช่น จีน รัสเซีย
ก่อนกำหนดสิ้นสุดข้อตกลงชั่วคราว
6 เดือนแรก อิหร่านกับคู่เจรจาได้ยืดขยายข้อตกลงชั่วคราว ไปเป็นกำหนดสิ้นสุดเมื่อวันที่
24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และเมื่อใกล้ถึงกำหนดเส้นตายก็ประกาศเลื่อนกำหนดเส้นตายเป็นวันที่
1 กรกฎาคมปีหน้า เท่ากับเลื่อนจากกำหนดเส้นตายเดิมอีก 7 เดือน จากนี้ไปอีก 7 เดือนจึงยังอยู่ภายใต้กรอบข้อตกลงชั่วคราว
สถานการณ์ดูเหมือนน่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนมีข้อตกลงชั่วคราว
แต่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น
ข้อตกลงชั่วคราวกลายเป็นเครื่องมือที่ประเทศคู่เจรจาสามารถใช้กดดันอิหร่าน
อิหร่านยืนกราน อิสราเอลเล่นแง่ :
ประธานาธิบดีโรฮานีให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์อเมริกา
ยืนยันว่ารัฐบาลของเขาไม่ต้องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
“เราขอกล่าวอีกครั้งว่าไม่มีสถานการณ์ใดที่ทำให้เราต้องการอาวุธอำนาจทำลายร้ายแรงทุกชนิด
รวมทั้งนิวเคลียร์ และจะไม่มีวันต้องการ” ยอมรับว่าอิหร่านได้รับความยากลำบากอันเนื่องจากการคว่ำบาตรที่สหรัฐเป็นแกนนำ
และยืนยันว่า “แสวงหาเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อใช้ในทางสันติ”
ในอีกวาระหนึ่ง ประธานาธิบดีโรฮานีตั้งเงื่อนไขเจรจาว่า “สหรัฐต้องไม่แทรกแซงกิจการภายในของอิหร่าน
ยอมรับสิทธิของอิหร่านทุกอย่างรวมทั้งเรื่องนิวเคลียร์ สหรัฐควรยกเลิกมาตรการคว่ำบาตเพียงฝ่ายเดียวที่กระทำต่ออิหร่าน"
และ “การพูดคุยกับสหรัฐจะต้องตั้งอยู่บนการเคารพนับถือและยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน”
“อย่างไรก็ตาม เราจะไม่พยายามทำให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้น... 2 ประเทศควรคิดถึงอนาคตและพยายามแก้ไขอดีต”
คำพูดดังกล่าวต้องการยืนยันซ้ำว่าโครงการนิวเคลียร์มีเพื่อใช้ในทางสันติ
และเป็นการยืนยันไปในตัวว่าที่ผ่านมาหลายสิบปีไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใด
อิหร่านไม่เคยต้องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ดังที่บางประเทศกล่าวหา
อิหร่านไม่เคยกล่าวเท็จต่ออเมริกาหรือประชาคมโลกในเรื่องนี้ ดังนั้น จึงไม่สมควรที่อิหร่านจะถูกคว่ำบาตร
จุดที่เป็นปัญหาคือบางประเทศเชื่อว่ารัฐบาลอิหร่านต้องการมีอาวุธนิวเคลียร์ ในเรื่องนี้อิสราเอลแสดงท่าทีขึงขังมากที่สุด
Yuval
Steinitz รัฐมนตรีกระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International
Relations Minister) กล่าวว่าอุตสาหกรรมนิวเคลียร์อิหร่านในปัจจุบันมีขนาดใหญ่กว่าของเกาหลีเหนือกับปากีสถาน
ถ้าโครงการติดตั้งเครื่องแยกสาร 54,000 เครื่องที่ศูนย์นิวเคลียร์เมือง
Natanz สำเร็จเมื่อไรจะทำให้พวกเขาสามารถผลิตระเบิดนิวเคลียร์ได้ปีละ
20-30 ลูก
อิสราเอลให้เหตุผลว่าอิหร่านต้องการมีนิวเคลียร์เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติอิสลามในที่ต่างๆ
บ่อนทำลายประเทศในภูมิภาค สนับสนุนการก่อการร้าย หวังเป็นมหาอำนาจของภูมิภาค ทั้งยังเชื่อว่าหากอิรักมีอาวุธนิวเคลียร์ก่อนสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี
1991 สหรัฐจะไม่กล้าบุกอิรัก นี่เป็นอีกเหตุผลที่อิหร่านต้องการมีอาวุธนิวเคลียร์
นอกจากนี้ทางการอิสราเอลยังเตือนสหรัฐว่าการโจมตีอิสราเอลเป็นเพียงแผนขั้นแรกของอิหร่านเท่านั้น
เพราะที่สุดแล้วจะต้องทำลายสหรัฐที่เป็น Great Satan
และหากอิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์จะทำให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคต้องการมีอาวุธนิวเคลียร์ด้วย
ทำให้ภูมิภาคไร้ความมั่นคง
นักวิชาการบางคนเชื่อว่าแนวคิดการปฏิวัติอิสลามของอิหร่านเป็นเรื่องจริง
ดังนั้น อิสราเอลไม่ใช่เป้าหมายเดียวของอิหร่านเท่านั้น
แต่คือทั้งภูมิภาคหรือทั่วโลก
รัฐบาลอิสราเอลเชื่อว่าเป้าหมายเฉพาะหน้าของอิหร่านคือต้องการเดินเครื่องเสริมสมรรถนะต่อไป
รักษาศักยภาพที่จะสร้างอาวุธนิวเคลียร์ อิสราเอลจึงเรียกร้องให้อิหร่านยกเลิกโครงการทั้งหมดโดยสิ้นเชิง
รัฐบาลอิสราเอลยึดว่าตราบใดที่อิหร่านยังเดินหน้าพัฒนาโครงการนิวเคลียร์
อิสราเอลจะมองอิหร่านว่าเป็นศัตรู โดยไม่สนใจว่าเป็นโครงการเพื่อใช้ในทางสันติหรือไม่
ไม่สนใจสิทธิ์ใช้นิวเคลียร์เพื่อสันติ เช่น ใช้ผลิตไฟฟ้าและในทางการแพทย์
ข้อเรียกร้องของอิสราเอลจึงเกินเงื่อนไขกฎหมายระหว่างประเทศ
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
นโยบายอันแข็งกร้าว
เร่งพัฒนาโครงการนิวเคลียร์อย่างเต็มกำลังในสมัยของอดีตประธานาธิบดี มาห์มุด
อาห์มาดิเนจาด (Mahmoud Ahmadinejad) อาจเป็นเหตุผลช่วยให้อิหร่านรอดพ้นอันตรายในยุคนั้น
เมื่อกองทัพสหรัฐนับแสนนายตั้งมั่นในอิรัก
แต่ผลที่ตามมาคือทำให้โครงการนิวเคลียร์อิหร่านเป็นที่สงสัย
มีประเด็นที่อธิบายไม่ได้ จนคณะมนตรีความมั่นคงมีข้อมติคว่ำบาตร
(ซึ่งหมายถึงรัสเซียกับจีนเห็นชอบด้วย) เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอิหร่านอย่างรุนแรง
การเข้ามาของประธานาธิบดีโรฮานีก็เพื่อแก้ไขปัญหาอันสืบเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน
ประเด็นยกเลิกการคว่ำบาตรเป็นโจทย์ใหม่ที่ทางการอิหร่านให้ความสำคัญมากที่สุด
และกลายเป็นจุดที่ฝ่ายตรงข้ามใช้เป็นเครื่องมือเล่นแง่ กดดันอิหร่านในขณะนี้
การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจากคณะมนตรีความมั่นคงคือภารกิจเฉพาะหน้า
หากอิหร่านประสบผลสำเร็จจะกลับสู่ประเด็นเดิม เรื่องยืนยันสิทธิ์การใช้นิวเคลียร์ในทางสันติ
(วิเคราะห์ในตอนหน้า) เมื่อพิจารณาร่วมกับบริบทแวดล้อมย่อมต้องสรุปว่าไม่จบง่ายๆ
แน่นอน
30 พฤศจิกายน 2014
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6599 วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2557)
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6599 วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2557)
---------------------
ในมุมมองของอิสราเอล
การขจัดภัยคุกคามนิวเคลียร์อิหร่านจะต้องควบคุมโครงการอิหร่านอย่างสมบูรณ์ ไม่ปล่อยให้มีโอกาสผลิตอาวุธได้แม้แต่น้อย
เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐบาลอิสราเอลพร้อมที่จะละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
ละเมิดสิทธิอันพึงมีของอิหร่าน อาศัยแรงกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศ
อิทธิพลของสหรัฐ กดดันให้อิหร่านยอมกระทำตามความต้องการของตน
การคว่ำบาตรจากสหรัฐกับพันธมิตรต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านพิสูจน์แล้วว่าได้ผล
เศรษฐกิจสังคมอิหร่านได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีโรฮานีชนะการเลือกตั้ง และมาพร้อมกับนโยบายสานสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศ
เร่งเจรจาแก้ปัญหาการคว่ำบาตร การเจรจาจึงเป็นเรื่องสำคัญ
กำหนดอนาคตอิหร่านและภูมิภาคตะวันออกกลาง
อิหร่านมีโครงการนิวเคลียร์มาหลายทศวรรษแล้ว
สมัยของอาห์มาดินาจาดเป็นช่วงที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
เป็นเหตุให้ชาติตะวันตกคว่ำบาตร ซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจ
แต่ไม่ใช่ทุกรัฐบาลที่กระทำเช่นเดียวกันนี้ ขึ้นกับเหตุผลเบื้องหลัง
บริบทแวดล้อมอื่นๆ
8
ปีของการพัฒนานิวเคลียร์ภายใต้สมัยประธานาธิบดีอาห์มาดีเนจาด
เป็นช่วงเวลาที่โครงการนิวเคลียร์มีความก้าวหน้ามาก ก่อทั้งผลดีผลเสียต่ออิหร่านชัดเจน
แม้จะยังไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์สำเร็จตามเป้า
แต่ได้บรรลุเป้าหมายบางอย่างแล้ว
5. โครงการนิวเคลียร์อิหร่านการเจรจาขั้นสุดท้ายที่ต้องดำเนินต่อไป (2)
บรรณานุกรม :
สมาชิกรัฐสภาฝ่ายที่ต้องการให้อิหร่านละทิ้งโครงการนิวเคลียร์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ใช้การคว่ำบาตรอย่างรุนแรงเพื่อกดดันให้รัฐบาลอิหร่านยอมรับเงื่อนไข การเจรจาในช่วงนี้เป็นจุดสำคัญ
เพราะหากเลยเส้นตาย 1 กรกฎาคม 2015 สหรัฐจะเข้าสู่ช่วงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
โครงการนิวเคลียร์อิหร่านจะกลายเป็นหนึ่งในประเด็นหาเสียงอย่างสมบูรณ์
สถานการณ์จะซับซ้อนยิ่งกว่าที่เป็นอยู่
6. นิวเคลียร์อิหร่าน ภาพหลอนเนทันยาฮู (Ookbee)
รัฐบาลอิสราเอลพูดอยู่เสมอว่าอิหร่านใกล้จะประสบความสำเร็จในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์
เป้าหมายคือทำลายล้างอิสราเอล แม้อิหร่านกับชาติมหาอำนาจ 6 ประเทศที่เรียกว่ากลุ่ม
P-5+1 ได้ข้อตกลงฉบับชั่วคราวและเมื่อต้นเดือนเมษาที่ผ่านมาได้ร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์
นายกฯ เนทันยาฮูยังเชื่อเช่นเดิม สวนทางความจริงที่ว่า ทุกวันนี้โครงการฯ
ของอิหร่านหดตัว อยู่ภายใต้การตรวจตราของ IAEA
ซึ่งได้พิสูจน์ชัดแล้วว่าโครงการฯ ในขณะนี้มีเพื่อใช้ในทางสันติเท่านั้น
ความเข้าใจของนายกฯ เนทันยาฮูจึงกลายเป็นภาพหลอนที่คอยหลอกลอนให้หลายคนเชื่อเช่นนั้น
สนใจอีบุ๊ค คลิกที่รูป |
1. Corsi, Jerome R. 2009. Why Israel Can't Wait: The Coming
War Between Israel and Iran. New York: Threshold Editions.
2. Green
light for S.Korea’s trade with Iran. (2014, January 22). Tehran Times.
Retrieved from http://tehrantimes.com/economy-and-business/113601-green-light-for-skoreas-trade-with-iran
3. Iran, major powers to start implementing Geneva nuclear
deal on Jan. 20. (2014, January 12). Tehran Times. Retrieved from http://www.tehrantimes.com/component/content/article/94-headline/113395-iran-major-powers-to-start-implementing-geneva-nuclear-deal-on-jan-20
4. Iranian govt. aiming for single-digit inflation: fin min.
(2014, July 20). Tehran Times. Retrieved from
http://tehrantimes.com/economy-and-business/117156-iranian-govt-aiming-for-single-digit-inflation-fin-min
5. Iranian president Hassan Rouhani vows never to seek
nuclear weapons. (2013, September 19). ABC News/Reuters/AFP. Retrieved
from http://www.abc.net.au/news/2013-09-19/irans-rouhani-vows-to-never-seek-nuclear-weapons/4967706
6. Israel pushes world not to be deceived by Rouhani as he
takes 'charm offensive' to US airwaves. (2014, September 19). The Jerusalem
Post. Retrieved from http://www.jpost.com/Diplomacy-and-Politics/Israel-pushes-world-not-to-be-deceived-by-Rouhani-as-he-takes-charm-offensive-to-US-airways-326582
7. Jentleson, Bruce W. (2010). American Foreign Policy:
The Dynamics of Choice in the 21st Century, (4th Ed.). N.Y.: W. W. Norton
& Company.
8. Recognizing nuclear rights precondition for U.S. talks:
Iran's president-elect. (2013, June 18). Xinhua. Retrieved from http://news.xinhuanet.com/english/world/2013-06/18/c_124868463.htm
9. Steinitz: S-300s sold to Syria may end up in Iran. (2013,
June 4). The Jerusalem Post. Retrieved from http://www.jpost.com/Middle-East/Steinitz-S-300s-sold-to-Syria-may-end-up-in-Iranian-hands-315406
10. The White House. (2013, September 24). Remarks by
President Obama in Address to the United Nations General Assembly. Retrieved
from http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2013/09/24/remarks-president-obama-address-united-nations-general-assembly
24 September 2013
----------------------------