รัฐบาลโอบามาให้ได้แต่ความมั่นใจเป็นระยะๆ ว่ายังไม่พบเบาะแสผู้ก่อการร้าย IS กำลังเตรียมก่อเหตุร้ายในสหรัฐ ล่าสุดเมื่อต้นเดือนตุลาคม รองประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวย้ำอีกครั้งว่ายังไม่พบเบาะแสดังกล่าว แต่การให้ข่าวเป็นครั้งเป็นคราวเช่นนี้ไม่ได้ช่วยให้สหรัฐปลอดภัยขึ้น อีกทั้งรัฐบาลโอบามาไม่ได้สัญญาว่าอเมริกาจะปลอดภัย เช่นเดียวกับที่ยืนยันว่า “จะไม่ยอมให้สหรัฐถูกลากเข้าไปในการสู้รบในอิรักอีกครั้ง” เพราะหากเกิดเหตุวินาศกรรมครั้งใหญ่ไม่แพ้กรณี 9/11 เมื่อ 13 ปีก่อน จุดยืนต่างๆ ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเหตุผลที่สำคัญกว่า
บทควาที่เกี่ยวข้อง :
บทความตอนที่
3 นี้จะชี้ประเด็นความแยบยลการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโอบามา
ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
นโยบายต่อซีเรียที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
:
เมื่อการลุกฮือของประชาชนในซีเรียกลายเป็นความรุนแรง
ประธานาธิบดีโอบามาประกาศจุดยืนต้องการให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาด (Bashar
al-Assad) ก้าวลงจากอำนาจ ให้ซีเรียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ในช่วงแรกนั้นรัฐบาลโอบามาสนับสนุนฝ่ายต่อต้านโดยร่วมมือกับมิตรประเทศโดดเดี่ยวและกดดันรัฐบาลซีเรียผ่านทางการทูต
การคว่ำบาตร
หลังผ่านไปหลายเดือนจนกลายเป็นปี
นอกจากฝ่ายต่อต้านไม่สามารถโค่นล้มรัฐบาลแล้ว
กองทัพอัสซาดกลับเป็นฝ่ายได้ชัยในหลายพื้นที่ เสียงเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากฝ่ายต่อต้านแรงขึ้นทุกที
เรื่องแรกที่ร้องขอคือต้องการอาวุธที่มีประสิทธิภาพ แต่รัฐบาลโอบามาไม่เห็นด้วย เกรงว่าอาวุธดังกล่าวจะตกอยู่ในมือของพวกสุดโต่ง
รวมทั้งพวกกองกำลังรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) ผลคือรัฐบาลซาอุดิอาระเบียกับกาตาร์สนับสนุนเพียงอาวุธเบาแก่ฝ่ายต่อต้าน
แต่เมื่อเดือนที่แล้ว วุฒิสภาสหรัฐลงมติสนับสนุนท่วมท้นในญัตติให้อาวุธและฝึกกองกำลังฝ่ายต่อต้าน
ประธานาธิบดีโอบามากล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า สหรัฐ
“เป็นประเทศที่เข้มแข็งที่สุดเมื่อประธานาธิบดีกับวุฒิสภาทำงานร่วมกัน”
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่จะให้การสนับสนุนอาวุธเพิ่มเติม เช่น
รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ซึ่งน่าจะหมายถึงให้อาวุธที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
อันจริงแล้ว
ความกังวลเรื่องอาวุธประสิทธิภาพสูงจะตกอยู่ในมือของพวกสุดโต่งนั้นถูกต้อง แม้บางคนอาจอ้างว่าให้อาวุธเฉพาะบางกลุ่ม
แต่ความจริงแล้วกองกำลังต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นระดับกลุ่มหรือระดับปัจเจกบุคคลมีการเคลื่อนย้ายเข้าและออกจากกลุ่มเดิมไปสู่กลุ่มใหม่ๆ อยู่เสมอ และ IS คือกลุ่มที่มีแรงดึงดูดมากที่สุดในขณะนี้
แต่มาบัดนี้
รัฐบาลโอบามา “เลือกที่จะมองข้าม” ประเด็นดังกล่าว จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาวุธประสิทธิภาพสูง
MADE IN USA ส่วนหนึ่งจะตกอยู่ในมือของพวก IS หรือกลุ่มผู้ก่อการร้ายอื่นๆ และหันมาใช้กับคนอเมริกัน
ชาวยุโรป และที่อื่นๆ ทั่วโลก
ข้อเท็จจริงคือ
ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่ากลุ่มที่เชื่อฟังสหรัฐในวันนี้อาจแปรพักตร์ไปสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามชาติตะวันตกในอนาคต
ดังเช่นกรณีรัฐบาลสหรัฐส่งอาวุธทันสมัยให้แก่พวกมูจาฮีดีนในอัฟกานิสถานเพื่อต่อต้านการรุกรานจากโซเวียตในช่วงสงครามเย็น
เมื่อเวลาผ่านไปทหารอเมริกันต้องสู้กับพวกตาลีบัน พวกอัลกออิดะห์
และอีกหลากหลายกลุ่มที่ครั้งหนึ่งก็คือพวกมูจาฮีดีนเหล่านั้น
เขตห้ามบิน
การใช้กำลังทางอากาศ
เรื่องหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับ คือ
โดยพื้นฐานแล้วฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียที่เป็นชาวซีเรียแท้ๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน
มีเพียงอาวุธปืนสั้นปืนยาว กลุ่มที่เรียกว่า “ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล” เป็นการรวมตัวของกลุ่มย่อยหลายสิบกลุ่มอย่างหลวมๆ
จึงไม่ใช่กองกำลังที่เข้มแข็งเมื่อเทียบกับกองทัพรัฐบาลอัสซาด ฝ่ายต่อต้านต้องร้องขอความช่วยเหลือจากต่างชาติมาโดยตลอด
นอกจากเรื่องอาวุธแล้วอีกเรื่องที่ต้องการคือ
การปกป้องหรือได้รับการสนับสนุนการโจมตีทางอากาศ อาจเรียกรวมๆ ว่าการจัดตั้งเขตห้ามบิน
(No-fly zone) เหนือน่านฟ้าซีเรีย
แนวคิดเรื่องเขตห้ามบิน มี 2 แบบ ชนิดแรกคือ
อาศัยเขตห้ามบินเพื่อสร้างเขตปลอดภัย แนวคิดนี้เห็นว่าการต่อต้านรัฐบาลอัสซาดจำต้องตั้งรัฐบาลชั่วคราวในดินแดนซีเรีย
และเป็นเขตพื้นที่ให้ผู้อพยพนับล้านคนได้ย้ายเข้ามา ในรูปแบบนี้เขตห้ามบินจึงมีค่าเป็นเขตปลดปล่อย
(liberated zones)
เขตห้ามบินแบบนี้จะเหมือนเขตห้ามบินสมัยที่ทำกับอิรัก สหรัฐเป็นแกนนำจัดตั้งเขตห้ามบินทางตอนเหนือกับตอนใต้อิรัก
เป็นผลให้ชาวเคิร์ดกับชาวชีอะห์ได้รับการปกป้องจากการโจมตีของซัดดัม ฮุสเซน
อีกแนวคิดหนึ่งคือ เขตห้ามบินตามแบบที่นาโตทำกับลิเบีย ซึ่งหมายถึงไม่เพียงห้ามกองทัพรัฐบาลใช้กำลังทางอากาศเท่านั้น
แต่หมายถึงให้นาโตใช้กำลังทางอากาศโจมตีกองทัพรัฐบาล
จนในที่สุดรัฐบาลลิเบียถูกโค่นล้ม ในรูปแบบที่ 2 นี้ เขตห้ามบินจึงเป็นการโจมตีทางอากาศต่อกองทัพรัฐบาล
ตลอด
3 ปีที่ผ่านมา
รัฐบาลโอบามาแสดงท่าทีลังเลใจต่อการสร้างเขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าซีเรีย พลเอกมาร์ติน
เดมซีย์ (Martin Dempsey) ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมเคยพูดว่าไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งเขตห้ามบินและใช้กำลังทางอากาศจัดการทหารซีเรีย
ให้เหตุผลว่าสหรัฐอาจช่วยโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย “แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาทางเชื้อชาติ
ศาสนา ความขัดแย้งระหว่างเผ่าที่อยู่เบื้องหลังเป็นเชื้อไฟความขัดแย้งในขณะนี้”
และยังชี้ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงความขัดแย้งระหว่าง 2 ฝ่าย
แต่เป็นความขัดแย้งของหลายฝ่าย
ย้อนอดีตเมื่อปีที่แล้ว
ประธานาธิบดีโอบามาเกือบตัดสินใจโจมตีทางอากาศต่อกองทัพรัฐบาลอัสซาดเพื่อปกป้องสนับสนุนฝ่ายต่อต้าน
หลังเกิดเหตุการณ์ใช้อาวุธเคมีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่ชานกรุงดามัสกัส ส่งผลให้ประชาชนหลายร้อยหรือกว่าพันคนเสียชีวิต
รัฐบาลโอบามาอ้างว่ามีหลักฐานชี้ว่าฝ่ายรัฐบาลอัสซาดเป็นผู้ลงมือ
ประกาศว่าต้องการโจมตีกองทัพรัฐบาลซีเรีย
แต่ที่สุดแล้วประธานาธิบดีโอบามาไม่ยอมตัดสินใจโจมตีซีเรียด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบชัดเจน
โยนเรื่องการโจมตีให้รัฐสภาตัดสินใจ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแปลกและไม่จำเป็น
เพราะในกรณีดังกล่าว ประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มสามารถสั่งใช้กำลังได้ด้วยตนเอง
แต่หากพิจารณาจากความเห็นของคนอเมริกัน ผลสำรวจของ Washington Post-ABC
News ที่นำเสนอเมื่อวัน 9 กันยายน (2013)
ชี้ว่าชาวอเมริกันร้อยละ 64 ต่อต้านการโจมตีซีเรีย ผู้ที่เห็นด้วยมีเพียงร้อยละ 30
ผลสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจของ CNN/ORC ที่นำเสนอวันเดียวกัน
พบว่าชาวอเมริกันกว่าร้อยละ 70 ไม่สนับสนุนที่รัฐสภาจะอนุมัติโจมตีซีเรีย
จากท่าทีลังเลใจของรัฐบาลโอบามา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการให้อาวุธ การโจมตีทางอากาศ และการจัดตั้งเขตห้ามบิน ทำให้รัฐบาลชาติอาหรับหลายประเทศไม่พอใจอย่างยิ่ง
รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน คูเวต ตุรกี ปาเลสไตน์ และองค์กรระหว่างประเทศสำคัญๆ
ของโลกอาหรับอย่างคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC)
สันนิบาตอาหรับ องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)
ต่างส่งเสียงในทิศทางเดียวกัน ถึงขั้นระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับซาอุฯ
ที่มีอย่างยาวนานหลายสิบปีกำลังถูกทดสอบจากความเห็นต่างต่อเรื่องอิหร่านกับซีเรีย
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าสหรัฐมีผลประโยชน์มากมายในตะวันออกกกลาง
จึงน่าจะวิเคราะห์ว่า รัฐบาลซาอุฯ กับพันธมิตรอาหรับอาศัยความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐ
ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ และความมั่นคงทางทหาร เป็นเครื่องมือ
“กดดัน” รัฐบาลโอบามา ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าสหรัฐไม่อาจทิ้ง
“ผลประโยชน์ของตนในตะวันออกกลาง” จึงอาศัย “ผลประโยชน์ที่สหรัฐจะได้จากตะวันออกกลาง”
นี้เป็น “เครื่องมือเชิงรุก” กดดันรัฐบาลโอบามา
ณ
วันนี้ นโยบายที่ครั้งหนึ่งเคยลังเลใจได้ปรับเปลี่ยนจากเดิม
รัฐบาลโอบามาประกาศจะส่งและฝึกการใช้อาวุธแก่ฝ่ายต่อต้าน กองทัพสหรัฐเป็นหัวหอกใช้กำลังทางอากาศโจมตี
IS และอยู่ระหว่างพิจารณาจัดตั้งเขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าซีเรีย
น่าแปลกใจที่การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดสอดคล้องกับข้อเรียกร้องของชาติอาหรับ
แตกต่างอยู่ตรงคำประกาศที่ว่าเป็นการโจมตี IS
ไม่ใช่โจมตีกองทัพอัสซาด แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่ายุทธการโจมตีทางอากาศในขณะนี้
ไม่เพียงบั่นทอน IS เท่านั้น แต่ยังมีผลปกป้องฝ่ายต่อต้านไปในตัว
ยุทธศาสตร์ต่อต้าน IS จึงแฝงด้วยนโยบายใหม่ต่อซีเรีย ซึ่งน่าจะสร้างความพอใจแก่ชาติอาหรับไม่น้อย
ถ้ามองในมุมกลยุทธ์ดำเนินนโยบายสาธารณะ
นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด เพราะรัฐบาลโอบามาอาศัยการต่อต้านการก่อการร้าย
ภาพข่าวชาวอเมริกันสองสามคนที่ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม แนบนโยบายซีเรียที่ชาวอเมริกันเคยต่อต้าน
เข้าไปอยู่ในส่วนหนึ่งของแผนต่อต้าน IS สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายนโยบายเหล่านี้อย่างง่ายดาย
เป็นภาพที่ตรงข้ามกับก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง
ถ้ามองในภาพกว้าง
รัฐบาลอังกฤษกับฝรั่งเศสต่างอยู่ในสภาพใกล้เคียงกับรัฐบาลสหรัฐ มีข้อสังเกตว่ารัฐบาลของนายกฯ
เดวิด คาเมรอนกับรัฐบาลของประธานาธิบดีฟร็องซัว ออล็องด์ คือชาติสมาชิกอียู 2
ประเทศที่กระตือรือร้นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
หากจะมีติดขัดอยู่บ้างก็เนื่องด้วยแรงต้านจากพลเมืองของพวกเขาเอง
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
การหาข้อสรุปบางประเด็นจากสถานการณ์ของอิรักกับซีเรียในขณะนี้อาจยังเร็วเกินไป
เพราะสถานการณ์บางอย่างยังไม่ชัดเจน
อีกทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้อาจแปรผันกลายเป็นอย่างอื่น เรื่องที่แน่นอนคือ
สหรัฐกับพันธมิตรซึ่งรวมถึงชาติอาหรับหลายประเทศได้ควบคุมน่านฟ้าของอิรักกับซีเรียแล้ว
และน่าเชื่อว่า IS จะยังคงอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลางอีกนาน
คำว่า “รัฐอิสลาม” จึงจะปรากฏในข่าวต่อไปอีก
ประเด็นที่ควรติดตามคือ
การใช้กำลังทางอากาศส่งผลดีต่อฝ่ายใด ฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์ จะมีผลโค่นล้มรัฐบาลอัสซาดหรือไม่
ท้ายที่สุดแล้วดินแดนที่ IS
ยึดครองในปัจจุบันจะตกอยู่ในมือของใคร จะได้ผู้ปกครองที่มุ่งทำประโยชน์แก่ชีอะห์หรือซุนนี
หรือระบอบการปกครองใด
ยุทธศาสตร์หรือนโยบายต่อต้าน
IS ที่ประกาศนั้น จึงยังมีปริศนาที่รอคำตอบ
อีกทั้งแผนอยู่ระหว่างการดำเนินการ ยังมีอีกหลายขั้นตอนที่รอการเปิดเผย ที่แน่นอนคือภูมิภาคตะวันออกกลางกำลังเปลี่ยนแปลง
ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการต่อต้านผู้ก่อการร้าย IS
12 ตุลาคม 2014
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6550 วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2557)
------------------------
มีความเป็นไปได้ว่าผู้ก่อการร้ายที่อาจก่อเหตุในอนาคตจะเป็นพลเมืองอเมริกัน
และชาวอเมริกันต้องอยู่กับภัยคุกคามนี้อีกนาน
เป็นกระแสภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายรอบที่ 2 หลังจากเหตุ 9/11 เมื่อ 13 ปีก่อน หากเกิดเหตุวินาศกรรมครั้งใหญ่ไม่แพ้กรณี
9/11 เมื่อถึงคราวนั้นสังคมอเมริกาคงต้องตัดสินใจอีกครั้ง
และต้องคอยดูว่าเมื่อถึงตอนนั้นผู้เป็นประธานาธิบดีจะตื่นตระหนกตกใจรีบเร่งส่งกองทัพเข้าสู่ตะวันออกกลางหรือไม่
2. ยุทธศาสตร์ต่อต้าน IS เรื่องที่โอบมาพูดและไม่ได้พูด(ตอนที่ 1)
บรรณานุกรม ตอนที่ 3:
ประธานาธิบดีโอบามาชี้ว่าวิธีต่อต้านผู้ก่อการร้าย
IS ที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้คือใช้กำลังทางอากาศ
สนับสนุนพันธมิตรและหุ้นส่วน เพิ่มการสนับสนุนกองกำลังประเทศอื่นๆ
ที่เข้ารบทางภาคพื้นดิน เป็นการแสดงให้โลกเห็นถึงภาวะผู้นำของอเมริกา แต่จนบัดนี้
รัฐบาลโอบามายังไม่ใช้คำว่า “ทำสงครามกับ IS” ในขณะที่ IS
แถลงอย่างชัดเจนให้สมาชิกสังหารชาวตะวันตกทุกประเทศที่เข้าร่วมโจมตี
IS ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นทหารหรือพลเรือน ดังนั้น โอกาสที่ IS จะก่อความรุนแรงในประเทศอื่นๆ ย่อมมีตลอดเวลา
3. ความพยายามของซาอุฯต่อการจัดการซีเรียกับอิหร่านด้วยลำพัง
รัฐบาลซาอุฯ
กำลังจัดระเบียบตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือ
หวังเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในซีเรียกับอิหร่าน แต่จุดยืนดังกล่าวขัดแย้งกับจุดยืนของรัฐบาลโอบามากับชาติตะวันตกหลายประเทศ
ความพยายามของซาอุฯ ก่อให้เกิดคำถามว่ากำลังโดดเดี่ยวตนเองหรือไม่
ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุฯ กับอิสราเอลในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
4. ความพยายามจัดระเบียบโลกอาหรับของซาอุดิอาระเบีย
ซาอุดิอาระเบียปฏิเสธเก้าอี้สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ
เมื่อศึกษาโดยละเอียดพบว่าทางการซาอุฯ
ไม่พอใจการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโอบามาต่อตะวันออกลาง ในยามที่ซาอุฯ
กับมิตรประเทศอาหรับกำลังอยู่ระหว่างการจัดระเบียบตะวันออกกลาง
รัฐบาลโอบามาใช้หลักฐานการโจมตีด้วยอาวุธเคมีเพียงครั้งเดียวกับอ้างหลักการว่าทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อโจมตีซีเรีย
โดยละทิ้งกระบวนการของสหประชาชาติ กฎเกณฑ์ ระบบความมั่นคงของโลก
1. Arab League, OIC, Turkey, UAE join anti-UN chorus. (2013,
October 21). Arab News. Retrieved from http://www.arabnews.com/news/468329
2. Carlisle, Rodney P. (2010). Afghanistan War. NY: Chelsea
House Publications.
3. CNN poll: Public against Syria strike resolution. (2013,
September 9). CNN. Retrieved from http://edition.cnn.com/2013/09/09/politics/syria-poll-main/
4. Erlich, Reese. (2014). Inside Syria: The Backstory of
Their Civil War and What the World Can Expect. New York: Prometheus Books.
5. France fears Islamist rise in Syria unless opposition
helped. (2013, January 28). Reuters. Retrieved from http://www.reuters.com/article/2013/01/28/us-syria-crisis-talks-idUSBRE90R0D720130128
6. Libya 2.0: US Forms De Facto No-Fly Zone Over Syria.
(2014, September 30). FNA. Retrieved from http://english.farsnews.com/newstext.aspx?nn=13930708001565
7. Masters, Jonathan. (2013, September 11). Syria's Crisis
and the Global Response. Council on Foreign Relations. Retrieved from http://www.cfr.org/syria/syrias-crisis-global-response/p28402
8. Opposition to Syria airstrikes rises as Republicans shift
sharply against action. (2013, September 9). The Washington Post. Retrieved
from http://www.washingtonpost.com/blogs/the-fix/wp/2013/09/09/opposition-to-syria-airstrikes-rises-as-republicans-shift-sharply-against-action/
9. Prince Mohammed bin Nawaf bin Abdulaziz. (2013, December
17). Saudi Arabia Will Go It Alone. The New York Times. http://www.nytimes.com/2013/12/18/opinion/saudi-arabia-will-go-it-alone.html?_r=0
10. Remarks by the Vice President at the John F. Kennedy
Forum. (2014, October 3). The White House. Retrieved from
http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2014/10/03/remarks-vice-president-john-f-kennedy-forum
11. Statement by the President. (2014, August 7). The
White House. Retrieved from http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2014/08/07/statement-president
12. U.S. against military intervention as Syria rebels
noncommittal on U.S. interests: Dempsey. (2013, August 22). Xinhua.
Retrieved from http://news.xinhuanet.com/english/world/2013-08/22/c_132651868.htm
13. U.S Policy on Syria. (2011, November 9). U.S.
Department of State. Retrieved from http://www.state.gov/p/nea/rls/rm/176948.htm
14. WEEKLY ADDRESS: We Will Degrade and Destroy ISIL. (2014,
September 13). The White House. Retrieved from http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2014/09/13/weekly-address-we-will-degrade-and-destroy-isil
15. Weisman, Janathan., & Peters, Jaremy W. (2014,
September 18). Senate Approves Training And Arming Syrian Rebels. The New
York Times. Retrieved from http://www.nytimes.com/2014/09/19/world/middleeast/senate-approves-isis-bill-avoiding-bigger-war-debate.html?_r=0
---------------------------