อาเซียนกับแนวโน้มการก่อการร้ายในอนาคต

เมื่อพูดถึงกลุ่มก่อการร้ายที่กำลังโดดเด่นในขณะนี้ กลุ่มรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) คือกลุ่มที่โดดเด่นที่สุด ประกาศชัดเจนต้องการสถาปนารัฐอิสลาม เป็นกองกำลังติดอาวุธที่มีผู้เข้าร่วมจากหลายประเทศทั่วโลก แม้กระทั่งจากยุโรปและย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
            การปรากฏตัวของ IS ก่อให้เกิดคำถามว่าจะส่งผลต่อความมั่นคงในประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคตะวันออกกลางหรือไม่ หลายประเทศได้รับผลกระทบ ยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัย
            เมื่อพิจารณาปฏิบัติการของ IS ในภูมิภาคตะวันออก พบว่าความสำเร็จของ IS ขึ้นกับปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 2 ประการ
            ข้อแรก คือ เริ่มจากเกิดความไม่สงบภายในประเทศ เช่น เกิดอาหรับสปริงในซีเรีย มีกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มหลายชาติเข้าต่อต้านรัฐบาลอัสซาด และในเวลาต่อมาก็ปรากฏ IS ส่วนกรณีอิรัก เริ่มจากการที่พวกซุนนีบางกลุ่มไม่พอใจรัฐบาลมาลิกี ตามมาด้วยการปรากฏตัวของกองกำลัง IS เข้ายึดพื้นที่บางส่วนได้อย่างรวดเร็ว
            ข้อสอง การที่ IS ตั้งมั่นคงอยู่ได้ในซีเรียกับอิรักเพราะคนท้องถิ่นสนับสนุนหรือไม่ต่อต้าน กองกำลัง IS ไม่ได้ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่เข้าร่วมปะปนกับคนในพื้นที่ ได้เข้าบริหารหลายเมือง พื้นที่อิทธิพลของ IS ทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นเขตของพวกซุนนีเป็นส่วนใหญ่
            ดังนั้น หาก IS ต้องการก่อการในกลุ่มประเทศอาเซียน จะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 2 ข้อ
            การศึกษาติดตามสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางจะช่วยอธิบาย คาดการณ์อนาคตต่อภูมิภาคอื่นๆ
-------------------------
ไม่มีนิยามก่อการร้ายที่เป็นบรรทัดฐาน

เหตุการณ์ 9/11 บั่นทอนทุนนิยม หรือ ช่วย "กระชับ" ระเบียบโลก

ผู้ก่อการร้าย IS ที่ปรากฎอยู่ทั่วไปในสื่อโซเชียลมีเดีย

นี่คือการจัดระเบียบตะวันออกกลางครั้งประวัติศาสตร์ ?

"ประชาชนมั่นคง ประเทศชาติมั่นคง"
สนใจคลิกที่รูป

บทความที่เกี่ยวข้อง :
ในมุมหนึ่งประธานาธิบดีโอบามาชี้ว่า IS เป็นภัยคุกคาม ต้องกำจัดอย่างถอนรากถอนโคน ในอีกมุมหนึ่งชี้ว่าการปราบปราม IS ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทันที ที่สำคัญคือต้องรอความร่วมมือจากประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะพวกซุนนี เมื่อวิเคราะห์แล้วนำสู่คำถามว่ารัฐบาลโอบามามีความตั้งใจปราบปรามกองกำลัง IS มากน้อยเพียงใด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
วิกฤตอิรักรอบใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อเดือนมิถุนายน ในตอนแรกนั้นสื่อมุ่งกล่าวถึงกองกำลัง ISIL/ISIS ที่สามารถยึดครองหลายเมืองได้อย่างรวดเร็ว แต่ล่าสุดการบรรยายเหตุการณ์ในอิรักให้ความสำคัญกับการลุกฮือของพวกซุนนีอิรัก ภาพวิกฤตอิรักจึงกลายเป็นสงครามระหว่างรัฐบาลชีอะห์ผู้กดขี่ข่มเหงประชาชน (โดยเฉพาะพวกซุนนี) กับฝ่ายต่อต้าน ซึ่งส่วนใหญ่คือประชาชนอิรักผู้นับถือนิกายซุนนี กองกำลัง ISIL สถานการณ์ในอิรักจึงคล้ายสงครามกลางเมืองซีเรียมากขึ้นทุกที
ISIS/ISIL เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่างมีเป้าหมายเฉพาะ กำลังก่อการทั้งในซีเรียกับอิรัก การปรากฏตัวของกลุ่มสะท้อนปัญหาการเมืองภายในอิรักที่เรื้อรังมานาน ความแตกแยกของฝ่ายต่างๆ การจะกำจัด ISIS/ISIL อย่างถอนรากถอนโคนคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง รวมทั้งมีประเทศผู้ให้การสนับสนุน น่าติดตามกลุ่มดังกล่าวจะนำอิรักสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ มีผลกระทบต่อภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างไร
ซาอุดิอาระเบียปฏิเสธเก้าอี้สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เมื่อศึกษาโดยละเอียดพบว่าทางการซาอุฯ ไม่พอใจการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโอบามาต่อตะวันออกลาง ในยามที่ซาอุฯ กับมิตรประเทศอาหรับกำลังอยู่ระหว่างการจัดระเบียบตะวันออกกลาง
จากที่ลังเลใจมาตลอดหนึ่งปี พยายามเลื่อนการตัดสินใจว่าใครเป็นผู้ใช้อาวุธเคมีในซีเรีย เหตุการณ์การใช้อาวุธเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม กลายเป็นข้ออ้าง เป็นจุดเปลี่ยนนโยบายของโอบามาต่อซีเรีย สหรัฐคิดโจมตีกองทัพรัฐบาลอัสซาดด้วยตนเอง ด้วยไม่ฟังคำทัดทานจากหลายประเทศ เหตุผลหลักประการหนึ่งคือต้องการช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
6. IS = ซุนนีอิรัก?
           ข้อมูลจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ประเมินว่ามีชาวต่างชาติจากกว่า 90 ประเทศ จึงดูเหมือนว่า IS คือผู้ก่อการร้ายนานาชาติ ซึ่งมีส่วนถูกต้อง แต่หากพิจารณาจากสัดส่วนของสมาชิก สมาชิก IS ส่วนใหญ่เป็นชาวอิรัก มีพื้นเพเป็นพวกซุนนี ความเข้าใจเรื่องนี้มีความสำคัญ ผูกโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะสถานการณ์ในอิรัก ข้อเขียนชิ้นนี้จะอธิบายความเกี่ยวโยงเหล่านี้ ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
สนใจอีบุ๊ค คลิกที่รูป
8 มกราคม 2015
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(สรุปจากการนำเสนอในงานสัมมนา อาเซียนกับแนวโน้มการก่อการร้ายในอนาคต” 
จัดโดยศูนย์อาเซียนศึกษา สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๘)