ถอดบทเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากวิกฤตยูเครน

การบรรยายและแลกเปลี่ยน 
หัวข้อ “ถอดบทเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากวิกฤตยูเครน
วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2557 เวลา 9.30 น.
โดย สำนักงานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม
นำเสนอโดย นายชาญชัย คุ้มปัญญา



















ข้อมูลเบื้องต้น ยูเครน
            1991 ยูเครนเพิ่งแยกตัวออกจากอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อสิ้นสงครามเย็น หรือราว 23 ปี
            มีพรมแดนติดรัสเซีย (ภาพแบ่งยูเครนตามภาษา)
ประชากร เชื้อชาติ
            ยูเครนมีประชากรราว 40 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นพวกเชื้อสายยูเครน กับเชื้อสายรัสเซีย
            ภาษา ยูเครน กับรัสเซีย
            สามารถแบ่งออกเป็น ยูเครนตะวันตก กับ ยูเครนตะวันออก

สภาพการเมือง
            การเมืองออกเป็น 2 ขั้ว
            ขั้วยูเครนตะวันตก กับ ขั้วยูเครนตะวันออก
            ขั้วยูเครนตะวันตก
คือ พวกที่อิงชาติตะวันตก ต้องการเป็นสมาชิกนาโต อียู ฐานเสียงคือชาวยูเครนตะวันตก
รวมทั้งพวกฝ่ายขวา Right Sector และพรรคชาตินิยม nationalist Svoboda Party
            ผู้นำทางการเมือง:
            นายอาร์เซนีย์ ยัตเซนยุค (Arseny Yatsenyuk) รักษาการนายกรัฐมนตรียูเครน
            นางยูลิยา ทีโมเชงโก (Yulia Tymoshenko) แกนนำนักการเมืองซึ่งมีฐานเสียงเป็นชาวยูเครนตะวันตก พรรค Fatherland 
            ขั้วยูเครนตะวันออก
            คือ พวกที่อิงรัสเซีย รัสเซียให้การสนับสนุน ฐานเสียงคือชาวยูเครนตะวันออก
            ผู้นำทางการเมือง:
            วิคเตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) ประธานาธิบดี

จุดเริ่มปัญหารอบนี้
            เดือนพฤศจิกายน 2013 การชุมนุมประท้วงเรื่องที่รัฐบาลยานูโควิช ไม่ยอมทำข้อตกลงการค้ากับสหภาพยุโรป (Association Agreement) เนื่องจากรัฐบาลต้องการทำการค้ากับรัสเซียมากกว่า
            กุมภาพันธ์ เกิดความรุนแรง
            ประธานาธิบดี ยานูโควิช ลาออก หนีไปรัสเซีย
            เกิดรัฐบาลรักษาการณ์ของขั้วยูเครนตะวันตก
ไครเมียแยกตัว ผนวกรวมรัสเซีย
            (ภาพ ประธานาธิบดีลงนามผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย)
            ประธานาธิบดี ยานูโควิช ลาออก หนีไปรัสเซีย
            ปรากฏกองกำลังไร้สังกัดเข้าควบคุมไครเมีย
            กระแสการลงประชามติแยกตัวออกจากยูเครน
            ร้อยละ 97 สนับสนุนการแยกตัวออกจากยูเครน และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย จากผู้มีสิทธิ์มากกว่าร้อยละ 80
ความสำคัญของไครเมีย
            ที่ตั้งของฐานทัพเรือเซวาสโตโพล (Sevastopol) (ภาพที่ตั้งฐานทัพเรือ ไครเมีย)
            ความสำคัญของท่าเรือ กองเรือทะเลดำ (Black Sea Fleet)

ท่าทีรัสเซีย
            ต้องการให้ยูเครนอยู่ใต้อิทธิพลของรัสเซีย
ให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
            ไม่ยอมให้ยูเครนเข้ากลุ่มนาโตเด็ดขาด
ถือว่าเป็น “เส้นต้องห้าม”
เป็นผลประโยชน์สำคัญยิ่ง (vital interest)
(ภาพ การขยายตัวของนาโต)
            เชื่อว่าสหรัฐฯ อยู่เบื้องหลังรัฐบาลยูเครนที่ต่อต้านรัสเซีย
เชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐฯ อยู่เบื้องหลัง Orange Revolution เมื่อปี 2004
และล่าสุดคือ การล้มรัฐบาลของยานูโควิช
มองว่าการล้มรัฐบาลยานูโควิชโดยที่ต่างชาติอยู่เบื้องหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
            อ้างมีความชอบธรรมส่งทหารเข้าไครเมีย
            ปกป้องพวกเชื้อสายรัสเซีย
            อาจเข้าควบคุมยูเครนตะวันออก
            ไม่กลัวการคว่ำบาตร ขู่ว่าได้รับผลเสียด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

อียู นาโต อยากได้ยูเครนมาเป็นพวก
            นโยบายขยายสู่ตะวันออกของนาโต
            ใช้เศรษฐกิจ อียูเป็นตัวนำ
            ไม่ให้โจ่งแจ้งเกินไป ตอบสนองความต้องการของประชาชน
การต่อต้านจากชาติตะวันตก
            รัสเซียละเมิดอธิปไตยยูเครน
            ลงโทษรัสเซีย เน้นการคว่ำบาตร โดดเดี่ยวรัสเซียทางเศรษฐกิจ ทางการทูต
            ข้อวิพากษ์ การคว่ำบาตร
            ชาติตะวันตกไม่กล้าใช้มาตรการรุนแรง เพราะต้องได้รับผลกระทบด้วย โดยเฉพาะฝั่งยุโรปที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย
            (ภาพ ความสัมพันธ์เศรษฐกิจเยอรมนีกับรัสเซีย)
วิพากษ์ปัญหาภายในยูเครน
ปัญหาการเมือง
            แยกขั้วแยกฝ่าย
            ทุกพรรคทุกขั้วคอร์รัปชัน
ปัญหาเศรษฐกิจ
            ชนชั้นปกครองควบคุมระบบเศรษฐกิจ
            ประเทศยากจน ความร่ำรวยกระจุกตัวอยู่ที่นักธุรกิจชนชั้นปกครองไม่กี่กลุ่ม
            การคอร์รัปชัน ทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอ
            ขาดดุลงบประมาณเกือบร้อยละ 8 ของจีดีพี
            หนี้สาธารณะ 135,000 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากเมื่อ 10 ปีก่อน

คำถาม ชาติตะวันตกพร้อมอุ้มยูเครน มากน้อยเพียงใด
            ให้ยูเครนรับการช่วยเหลือผ่าน IMF
            มาตรการรัดเข็มขัด ขายรัฐวิสาหกิจ
ผลประโยชน์ของขั้วยูเครนตะวันตก
            รัฐบาลยูเครนอันชอบธรรม ชาติตะวันตกให้การยอมรับ
            เปิดทางให้กองกำลังชาติตะวันตกแทรกแซง
            กดดันให้ชาติตะวันตกช่วยเหลือยูเครนทางด้านเศรษฐกิจ
            เป้าหมายสุดท้าย คือ เป็นการค้ำจุนรัฐบาลรักษาการชุดนี้ไปในตัว

ภาพรวม ผลลัพธ์
            ประเทศแตกแยกภายใน
            มหาอำนาจเข้าแทรกเต็มตัว
ข้อคิดที่ได้
            ต่างชาติมุ่งแสวงหาประโยชน์จากยูเครน
            ประเทศเล็กวางระยะห่างจากชาติมหาอำนาจต่างๆ อย่างเหมาะสม ไม่อิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
            การรวมตัวเป็นกลุ่มระดับภูมิภาคหรืออนุภูมิภาค
            ระวัง “แบ่งแยกแล้วปกครอง” (Divide and Rule)
(ภาพ แผนที่ทะเลจีนใต้ ข้อพิพาท)
------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง:
รัฐบาลรักษาการยูเครนดำเนินนโยบายที่อิงฝ่ายชาติตะวันตกอย่างเต็มที่ ใช้ข้ออ้างสารพัดเพื่อดึงให้ชาติตะวันตกเข้ามาปกป้องอธิปไตย ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ แน่นอนว่าชาติตะวันตกได้ประโยชน์จากการนี้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ฝ่ายที่ได้ประโยชน์แน่นอนคือพวกของอดีตนายกฯ ทีโมเชงโก ที่สามารถยืมมือชาติตะวันตกมาอยู่กับพวกตน
2. เกมรุกของปูตินกับข้อวิพากษ์ต่อสถานการณ์ในยูเครน
รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีปูติน ได้ควบคุมไครเมียและพร้อมส่งกองทัพข้ามพรมแดนไปยังฝั่งยูเครนตะวันออก เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลตะวันตกคาดการณ์มานานแล้ว เพราะในมุมมองของรัสเซียประเทศยูเครนเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านความมั่นคงที่สำคัญ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้จึงเป็นการให้บทเรียนแก่ชาติตะวันตก ว่ารัสเซียจะไม่ยอมปล่อยยูเครนให้อยู่ใต้อิทธิพลฝ่ายตะวันตกอย่างง่ายๆ และควรรู้ว่าอะไรคือ “เส้นต้องห้าม”
3. เบี่ยงปัญหายูเครน เบนจากทางออกสู่ทางตัน
วิกฤตยูเครนเป็นมากกว่าเรื่องการเมืองภายในประเทศ การผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย แต่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์สหรัฐต่อรัสเซีย นโยบายขยายสมาชิกสู่ตะวันออกของนาโต อียู และยุทธศาสตร์รัฐกันชนของรัสเซีย การแก้ปัญหายูเครนที่ถูกจุดจึงเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้