... ร่วมพูดคุยติดตามข่าวสารสำคัญได้ที่ ห้องไลน์ “สถานการณ์โลก”
ศุกร์ 30 มิถุนายน
ระบบโลกที่แยกส่วน (The Hill)
เศรษฐกิจสหรัฐไตรมาส 1 โตถึง 2% ต่อปี เป็นตัวเลขปรับใหม่ (AP)
โตเร็วสุดในรอบ 2 ปี เดิมคาดว่าโต 1.3% ยอดค้าปลีกเดือนก่อนสูงขึ้น อัตราว่างงาน 3.7% ต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ
พฤหัส 29 มิถุนายน
Peter Szijjarto รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฮังการีกล่าวว่า ยุโรปเข้าใกล้หายนะเพราะช่วยยูเครนรบรัสเซีย (RT)
จริงๆ แล้วยุติสงครามได้
ปกป้องชีวิตได้หลายพันแต่จะทำเช่นนี้ได้ต้องแก้โรคจิตอยากทำสงครามก่อน
ที่ผ่านมาฮังการีย้ำให้ยุติสงคราม ชี้ว่ายูเครนไม่วันชนะสงครามนี้
ประเด็นอยู่ที่อเมริกาต้องการอะไร ยามนี้ยูเครนสูญอธิปไตยแล้ว ไม่มีเงิน
ไม่มีอาวุธ ที่รบได้เพราะตะวันตกสนับสนุน
ยุทธศาสตร์ความมั่นแห่งชาติให้ความสำคัญกับความมั่นคงปัจเจกชน (National Security Strategy 2023)
ประกันสิทธิตามหลักประชาธิปไตย มีเสรีภาพ
ให้ความสำคัญกับสตรีและคนชายขอบกล่ามต่างๆ ในเยอรมนี
มียุทธศาสตร์ที่เจาะจงประเด็นเหล่านี้ พร้อมตั้งงบประมาณรองรับอย่างเหมาะสม
ทางการสหรัฐเตือนอิสราเอลที่ยังลุกล้ำยึดครองดินแดนเขตเวสต์แบงก์ (West Bank) ทำให้ความสัมพันธ์กับซาอุฯ ตึงเครียดไม่สิ้นสุด (Al-monitor)
ปลายเดือนมิถุนายน 2023 ย้ำอีกครั้งว่า เรื่องนี้ขวางนโยบายอิสราเอลปรับสัมพันธ์กับพวกอาหรับ และซาอุฯ ขอความคืบหน้าเรื่องทวิรัฐ (two-state solution)
พุธ 28 มิถุนายน
เยอรมนีเฝ้าสังเกตความเป็นปรปักษ์และการแข่งขันช่วงชิงที่แรงขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมา (National Security Strategy 2023)
จีนพยายามปรับเปลี่ยนระเบียบโลก มีอิทธิพลต่อภูมิภาค เพิ่มความตึงเครียด สิทธิมนุษชนถูกบั่นทอน จีนใช้อิทธิพลทางเศรษฐกิจเพื่อเป้าหมายทางการเมือง ในขณะเดียวดันจีนเป็นหุ้นส่วนที่ขาดไม่ได้จำต้องร่วมมือกันสู้กับความท้าทายที่โลกเผชิญ จึงต้องฉวยโอกาสร่วมมือกัน
อังคาร 27 มิถุนายน
ความร่วมมือเศรษฐกิจรัสเซีย-จีนขยายตัวต่อเนื่อง (Sputnik Globe)
ยอดค้าจีน-รัสเซียปีก่อน (2022) โต 29.3 % รวมมูลค่า 190,000 ล้านดอลลาร์
ความปลอดภัยในนิยามของเยอรมนี : (National Security Strategy 2023)
เยอรมนีไม่เพียงปกป้องตนเองเท่านั้น ยังต้องรับผิดชอบต่อยุโรปและระดับนานาชาติ ให้มีสันติภาพ อยู่ดีกินดี มีเสถียรภาพ เข้าถึงแหล่งทรัพยากรอยู่เสมอ เป็นประเทศยอดนิยมและมีเศรษฐกิจใหญ่สุดในยุโรป
จันทร์ 26 มิถุนายน
ADMM เรียกร้องให้เลิกงานประชุมกับผู้แทนเมียนมาระดับสูง (The Irrawaddy)
การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ชี้ว่าอาเซียนนอกจากไม่ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนเมียนมา ยังช่วยกองทัพเมียนมาให้เข้าร่วมซ้อมรบด้วย และรัฐบาลทหารเมียนมายังใช้โอกาสนี้ชี้ว่าฝ่ายต่อต้านเป็นผู้ก่อการร้าย
อาทิตย์ 25 มิถุนายน
ทำไมยุโรปจำต้องมีระบบป้องกันภัยทางอากาศของตนเอง
ภายใต้แนวคิดชาติยุโรปจำต้องติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศของตนแฝงด้วยผลประโยชน์ของประเทศหลัก ยังถูกครอบงำด้วยอิทธิพลสหรัฐไม่มากก็น้อย
สามารถคลิกเข้าไปอ่านบทความของผมในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
https://storage-wp.thaipost.net/2023/06/Binder1_Page_05-3.jpg
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/403044/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2023/06/Europe-needs-own-air-defence.html
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
พุธ 21 มิถุนายน
ทำไมยุโรปจำต้องมีระบบป้องกันภัยทางอากาศของตนเอง (Euro News)
อาเซียนเตรียมซ้อมรบทางทะเลร่วมกันเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2023 (AP)
คาดว่าจะซ้อมรบแถบทางตอนใต้ของทะเลจีนใต้หรือที่อินโดนีเซียเรียกว่าทะเลนาทูนาใต้ (South Natuna Sea) ใกล้กับเส้นประ 9 เส้น (nine-dash line) ไม่อยู่ในเขตน่านน้ำจีน มีข้อมูลว่ากัมพูชากับเมียนมาจะไม่เข้าร่วม ปกติชาติสมาชิกอาเซียนบางประเทศจะซ้อมรบกับสหรัฐบ้างจีนบ้าง
อังคาร 20 มิถุนายน
รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวว่าอาเซียนปราศจากฉันทามติในการประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำระดับสูงเมียนมา (The Irrawaddy)
สอดคล้องกับที่ทางการสิงคโปร์เห็นว่าตอนนี้ยังไม่เหมาะสม ด้านฝ่ายต่อต้าน (NUG) ยังคงเคลื่อนไหวอย่างหนัก ชี้ว่าจะยิ่งทำให้สถานการณ์ซับซ้อนกว่าเดิม ควรยึดตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ขอให้ทางการไทยเลิกงานประชุมนี้เสีย นักวิชาการบางคนเห็นว่าไทยกำลังแทรกแซงกิจการภายในของเมียนมา ทำลายเอกภาพอาเซียน
จันทร์ 19 มิถุนายน
ฟิลิปปินส์ สหรัฐ ญี่ปุ่นตกลง 3 ฝ่ายด้านความมั่นคง (The Asahi Shimbun)
เป็นการหารือร่วม 3 ประเทศเป็นครั้งแรก สร้างความร่วมมือ 3 ฝ่าย (three-way cooperation) เพื่อความมั่นคงอินโด-แปซิฟิกโดยเฉพาะช่องแคบไต้หวัน
สหรัฐมีความร่วมมือ 3 ฝ่ายเช่นนี้กับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยังมีกลุ่ม Quad ระหว่างสหรัฐ ออสเตรเลีย อินเดียและญี่ปุ่น
พลเรือนกว่า 6,000 คนเสียชีวิตนับตั้งแต่กองทัพเมียนมายึดอำนาจเมื่อกุมภาพันธ์ 2021 (France 24)
มิถุนายน 2023 Peace Research Institute of Oslo (PRIO) ประเมินว่าพลเรือนกว่า 6,000 คนเสียชีวิตนับตั้งแต่กองทัพเมียนมายึดอำนาจเมื่อกุมภาพันธ์ 2021
อาทิตย์ 18 มิถุนายน
อิสราเอลผู้โดดเดี่ยวที่ยังพออบอุ่น
ในยามนี้หากเทียบกับอิหร่าน-อาหรับอาจตีความว่าอิสราเอลถูกโดดเดี่ยวมากขึ้นเมื่อเทียบกับอิหร่าน ยากที่ซาอุฯ จะคืนความสัมพันธ์กับอิสราเอลตราบเท่าที่ลัทธิไซออนิสต์ยังเป็นที่นิยม
สามารถคลิกเข้าไปอ่านบทความของผมในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
https://www.thaipost.net/e-pub-news/398824/#&gid=a14a4385&pid=5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/398742/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2023/06/Israel-and-Jeddah-Declaration.html
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
เสาร์ 17 มิถุนายน
ขีปนาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีชุดแรกเดินทางถึงประเทศเบลารุสแล้ว (The National News)
ตามแผนที่ประกาศไว้เมื่อ 3 เดือนก่อน ประธานาธิบดีปูตินกล่าวว่ามีมากกว่านี้และจะส่งมอบทั้งหมดอย่างช้าไม่เกินสิ้นปีนี้ ด้าน Antony Blinken รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐชี้ว่าแผนนิวเคลียร์ของตนยังคงเดิม กล่าวว่ายังไม่เห็นความเคลื่อนไหวใดๆ ว่ารัสเซียเตรียมใช้อาวุธนิเคลียร์ เช่นเดียวกับที่รัสเซียชี้แจงว่ายังไม่คิดใช้ตอนนี้ การติดตั้งที่เบลารุสเป็นไปตามขั้นตอนปกป้องรัสเซีย
ศุกร์ 16 มิถุนายน
ปากกับใจไม่ตรงกัน (China Daily)
แนวคิดนาโตเอเชียมีจริง (Taiwan News)
1. หาพวกสร้างเครือค่ายพันธมิตรอย่างนาโต
2. คิดว่าจีนจะเอาอย่างรัสเซียใช้อาวุธนิวเคลียร์ข่มขู่ให้ไต้หวันยอมจำนน
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ 2023 ของเยอรมนี
พฤหัส 15 มิถุนายน
ต่างชาติลดลงทุน ไตรมาสแรก 2023 หดตัว 60%
พุธ 14 มิถุนายน
สมาชิกอาเซียนถูกใช้เป็นหมากในการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ
นายหวัง อี้ (Wang Yi) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวเมื่อปี
2022
ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ในอันตรายเพราะ “ถูกใช้เป็นหมากในการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ”
“อนาคตของภูมิภาคนี้ควรอยู่ในมือของพวกเขาเอง” (Asia Times)
วิเคราะห์ : ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้น่าจะเป็นจุดหนึ่ง บางประเทศอาจถูกลากเข้าในกรณีไต้หวัน
บางประเทศจะกลายเป็นฐานทัพ ฐานติดตั้งขีปนาวุธ เหล่านี้ไม่ใช่ความคิดใหม่
มีแผนอยู่แล้วและกำลังคืบหน้าตามบริบทแต่ละประเทศ ตระหนักเสมอว่ามหาอำนาจจะไม่รบกันเองโดยตรง
แต่จะทำสงครามผ่านสงครามตัวแทนในประเทศอื่น ยูเครนคือกรณีล่าสุด
จันทร์ 12 มิถุนายน
มิถุนายน 2023 อาหรับ-จีนลงนามข้อตกลง 30 เรื่อมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์ (Arab News)
ตกลงกันในหลายด้าน เช่น เทคโนโลยี พลังงานหมุนเวียน การเกษตร อสังหาริมทรัพย์ แร่ธาตุ ซํบพลายเชน การท่องเที่ยวและสาธารณสุข การวิจัยยานยนต์ รถไฟฟ้า เฉพาะซาอุฯ ประเทศเดียวเป็นคู่ค้าจีนราว 110,000 ล้านดอลลาร์ (2022) เท่ากับ 25% ของชาติอาหรับทั้งหมด มองว่าจีนจะเป็นประตูนำอาหรับสู่การติดต่อกับประเทศอื่นๆ ขยายการค้าการลงทุนอย่างกว้างขวาง
อาทิตย์ 11 มิถุนายน
Global Security Initiative เพื่อความมั่นคงเอเชีย-แปซิฟิก
เสถียรภาพและการอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืนขึ้นกับมีความมั่นคงและบริบทเอื้อการพัฒนาซึ่งไม่ได้มาง่ายๆ ต้องเริ่มจากเลือกอยู่ฝ่ายส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมของประเทศต่างๆสามารถคลิกเข้าไปอ่านบทความของผมในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
https://www.thaipost.net/e-pub-news/394644/#&gid=a14a4385&pid=5
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/394601/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
เสาร์ 10 มิถุนายน
บางประเทศอาจส่งกองทัพร่วมรบยูเครน (Al Arabiya)
Anders Rasmussen อดีตเลขาธิการนาโตกล่าวว่า ถ้าสมาชิกนาโตตกลงกันไม่ได้ บางประเทศอาจส่งกองทัพร่วมรบยูเครน เช่น โปแลนด์
วิเคราะห์ :
1) มีกระแสข่าวมานานแล้วว่าโปแลนด์จะส่งกองทัพใหญ่เข้ายูเครนเพื่อช่วยรบ หรือยึดครองพื้นที่ยูเครนฝั่งตะวันตก ให้เรื่องนี้เป็นการตัดสินใจส่วนตัวงไม่ใช่นามนาโต
2) สมาชิกนาโตแยกได้เป็น 2 กลุ่ม พวกที่เป็นตัวของตัวเอง (อย่างน้อยระดับหนึ่ง) กับพวกที่อิงรัฐบาลสหรัฐมาก โปแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มหลัง แสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อรัสเซียเรื่อยมา ทหารอเมริกันประจำการที่นี่นับหมื่นนาย
3) สงครามยืดเยื้อออกไปอีก
ข้อมูลที่ออกมาเป็นระยะชี้ว่าศึกยูเครนจะรบอีกนาน อาจเพราะรัสเซียมีปัญหากำลังพล รัสเซียรบอย่างระวังหลีกเลี่ยงความสูญเสีย สหรัฐกับพวกส่งอาวุธเครื่องกระสุนแก่ยูเครนต่อเนื่อง ล่าสุดคือโปแลนด์อาจเข้าร่วมรบโดยตรง
4) ที่สุดแล้วพื้นที่ยูเครนส่วนที่เหลืออาจอยู่ใต้อำนาจกองทัพโปแลนด์ ดังที่หลายคนวิเคราะห์ไว้แล้ว
ศุกร์ 9 มิถุนายน
ปรับสัมพันธ์อิสราเอลต้องมีข้อตกลงสันติภาพกับชาวปาเลสไตน์ด้วย (Times of Israel)
รัฐบาลซาอุฯ ยอมรับว่าถ้ามีซาอุฯ กับอิสราเอลปรับสัมพันธ์สู่ระดับปกติจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาค แต่ต้องมีเส้นทางนำสู่สันติภาพกับชาวปาเลสไตน์ด้วย ให้พวกเขาได้รับความยุติธรรมมีอนาคต เส้นทางนำสู่ทวิรัฐ หาไม่แล้วสัมพันธ์ระดับปกติจะไม่เป็นประโยชน์เท่าไหร่ คิดว่าสหรัฐจะเห็นด้วยเหมือนกันว่าเรื่องเหล่านั้นสำคัญ
พุธ 7 มิถุนายน
มหาอำนาจไม่รบกันโดยตรง ที่จะเกิดคือ .....
Jin Canrdong จาก School of International
Studies at the Renmin University of China ชี้ว่าที่เลวร้ายสุดคือวิกฤตขนาดใหญ่ในภูมิภาค
วิกฤตการเงิน เตือนว่าบางประเทศจะปฏิวัติ เปลี่ยนขั้วอำนาจ และเกิดสงครามตัวแทนในหลายจุด (Global Times)
ภัยคุกคามหลักของจีนตอนนี้คือสงครามเย็นใหม่จากรัฐบาลสหรัฐ (Global Times)
หากไม่สงบจะพัฒนาได้อย่างไร (Xinhua)
สหรัฐหวังกระชับอินเดียต้านจีน (Hindustan Times)
Lloyd Austin รมต.กลาโหมถกอินเดียหวังกระชับความสัมพันธ์ทางการทหารเพื่อต้านจีน รวมถึงการขายอาวุธแก่อินเดีย
อังคาร 6 มิถุนายน
ด่วน เกาหลีใต้ประกาศเป็นพันธมิตรฐานนิวเคลียร์กับสหรัฐแล้ว (Yonhap)
เดิมเกาหลีใต้เป็นพันธมิตรทางทหารกับสหรัฐ มีฐานทัพอเมริกาถาวรอยู่ที่นี่ พร้อมทหารอเมริกันกว่า 2 หมื่นนาย ข้อตกลงล่าสุดที่ทำในรัฐบาลชุดปัจจุบันของประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล (Yoon Suk-yeol) เป็นการยกระดับความเป็นพันธมิตรสู่พันธมิตรฐานนิวเคลียร์ ("nuclear-based alliance") กับสหรัฐ ความสัมพันธ์กับสหรัฐจะยิ่งแน่นแฟ้น ให้เหตุผลว่าเพราะเกาหลีเหนือมีอาวุธนิวเคลียร์
วิเคราะห์ : ก่อนหน้านี้เกาหลีใต้ประกาศยินยอมให้เรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐอยู่ในน่านน้ำตน
จันทร์ 5 มิถุนายน
วันนี้ ตลาดหุ้น Nikkei ทะยานทะลุ 32,000 สูงสุดในรอบ 33 ปี
เดี๋ยวนี้เขาพูดเรื่องทำสงครามจีน-สหรัฐกันแล้ว (Fox News)
Li defended รมต.กลาโหมจีนเตือนว่าสงครามระหว่างจีน-สหรัฐจะ “เกิดหายนะเกินกว่าโลกรับได้” 2 ประเทศจำต้องปรับความสัมพันธ์ที่ตอนนี้ต่ำสุดๆ จีนหวังสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐอย่างที่ประเทศหลัก (major-country) ทำกัน หวังว่าสหรัฐจะจริงใจ ปากกับใจตรงกัน
อาทิตย์ 4 มิถุนายน
สหรัฐยากจะสร้างสงครามในตะวันออกกลางอีก
การปรับสัมพันธ์อิหร่าน-ขั้วซาอุฯ ทำให้สถานการณ์ตะวันออกกลางเปลี่ยนครั้งใหญ่ ยากที่สหรัฐจะทำสงครามและดึงอาหรับรบอิหร่าน
สามารถคลิกเข้าไปอ่านบทความของผมในรูปหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
https://storage-wp.thaipost.net/2023/06/Binder1_Page_05.jpg
หรืออ่านแบบเว็บไซต์ที่
https://www.thaipost.net/columnist-people/390489/
หรืออ่านจากเว็บไซต์ผมพร้อมบรรณานุกรม
http://www.chanchaivision.com/2023/06/US-not-easy-to-wage-war.html
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านบทความของผมทุกวันอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ไทยโพสต์
เสาร์ 3 มิถุนายน
BRICS สร้างขั้วหรือไม่สร้างขั้ว :
บางส่วนของบทความฉบับวันอาทิตย์ ....
การปรับสัมพันธ์อิหร่าน-ขั้วซาอุฯ ทำให้สถานการณ์ตะวันออกกลางเปลี่ยนครั้งใหญ่ ยากที่สหรัฐจะทำสงครามและดึงอาหรับรบอิหร่าน
ศุกร์ 2 มิถุนายน
BRICS หวังแสดงบทบาทผู้นำโลกในยามนี้ที่ความมั่นคงโลกสั่นคลอน (Al Arabiya)
Naledi Pandor รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแอฟริกาใต้หวัง BRICS สร้างความเปลี่ยนแปลง มีบทบาทด้านความมั่นคงโลก
พฤหัส 1 มิถุนายน
จีนยินดีที่เวเนซูเอลาแจ้งขอเข้าร่วม BRICS (Global Times)
เป็นพวกที่มีแนวคิดคล้ายกัน ยึดโลกพหุภาคี ปฏิรูปธรรมาภิบาลโลก ดป็นปากเสียงแก่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ย้ำระบบชำระเงินใหม่ผ่าน BRICS bankเชิญเข้ากลุ่มไลน์ครับ