กระแสต่อต้านทรัมป์มีจริงแต่ไม่แรงอย่างที่หลายฝ่ายนำเสนอ
รัฐบาลสามารถบริหารประเทศตามแนวทางของตนต่อไป
ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
บรรณานุกรม :
ไม่กี่วันก่อนเลือกตั้ง
ผลโพลรายงานว่าพรรคเดโมแครทจะได้ ส.ส. เพิ่ม 23 ที่นั่ง
ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ ในขณะที่รีพับลิกันยังครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา
ในช่วงสุดท้ายของการหาเสียงประธานาธิบดีทรัมป์กับพรรครีพับลิกันของท่านเน้นหาเสียงให้กับวุฒิสมาชิก
ไม่ว่าจะเป็นแผนหรือเป็นการคาดการณ์ตามผลโพล ช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเลือกตั้งทรัมป์เอ่ยเรื่องที่ต้องการได้
ส.ว.เพิ่มขึ้น ส.ส.ลดลง
“คลื่นน้ำเงิน” (Blue Wave):
ถ้าใช้ข้อมูลที่พูดแง่ลบต่อทรัมป์
3 สัปดาห์ก่อนเลือกตั้งทรัมป์ประกาศว่าหากรีพับลิกันแพ้ไม่ใช่ความผิดของตน ผลโพลหลายสำนักชี้ว่าคนจำนวนมากออกไปใช้สิทธิ์เพราะต้องการแสดงตนต่อต้านประธานาธิบดี
ยกตัวอย่างผลโพลของ CNN ชี้ว่าร้อยละ 42
ของผู้ที่จะไปใช้สิทธิจะลงคะแนนเพื่อส่งสารแสดงตนบอกว่าผลงานรัฐบาลไม่เข้าตา
ร้อยละ 28 ตั้งใจไปเลือกตั้งเพื่อสนับสนุนประธานาธิบดี และอีกร้อยละ 28 เช่นกันพูดว่าไม่ได้เลือกเพราะทรัมป์
นักวิชาการบางคนเห็นว่าเป็นไปตามทิศทางเลือกตั้งปี
2006 ที่คนส่วนใหญ่เลือกตั้งเพื่อแสดงตนต่อต้านประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช (George
W. Bush)
เป็นการเลือกตั้งที่หยั่งเสียงความนิยมต่อประธานาธิบดีโดยตรง บางคนถึงกับกล่าวว่าทรัมป์คือพรรครีพับลิกัน
พวกรีพับลิกันคือทรัมป์
คะแนนนิยมต่อรัฐบาลเป็นอีกหลักฐานหนึ่ง
ผลโพลการบริหารประเทศของทรัมป์จาก CNN ล่าสุดก่อนเลือกตั้งให้สอบตกถึงร้อยละ
55 ให้สอบผ่านเพียงร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับโพลต้นเดือนตุลาคมคะแนนสอบผ่านอยู่ที่
41 สอบตก 52 เป็นคะแนนก่อนเลือกตั้งกลางเทอมที่ต่ำสุดย้อนหลังไปถึงสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาว
อันที่จริงแล้วตั้งแต่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
คะแนนนิยมต่อทรัมป์ไม่ถึงครึ่งเรื่อยมา ไม่มีใครสามารถปฏิเสธเรื่องนี้
ด้วยการนำเสนอผ่านสื่ออย่างต่อเนื่องบวกกับการรับรู้ตลอดเกือบ
2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดกระแส “คลื่นน้ำเงิน” (Blue Wave) หรือกระแสความคิดว่าพรรคเดโมแครท
(แทนด้วยสีน้ำเงิน) จะชนะพรรครีพับลิกัน (สีแดง) อย่างถล่มทลาย
Blue Wave มีจริงแต่ไม่แรงพอ:
เลือกตั้งรอบนี้
ส.ว.ที่ต้องเลือกมีทั้งหมดมี 35 ที่นั่ง (ปกติมีเพียง 33 ที่นั่ง อีก 2
ที่นั่งเป็นกรณีพิเศษ) ในจำนวนนี้ 24 ที่นั่งเดิมเป็นของพรรคเดโมแครท 2
คนเป็นผู้สมัครอิสระแต่ขอสังกัดพรรคเดโมแครท ที่เหลืออีก 9 ที่นั่งเป็นของรีพับลิกัน
ส่วนส.ส.435
ที่นั่งต้องเลือกใหม่หมด (เพราะมีวาระเพียง 2 ปี) รีพับลิกันครองอยู่เดิม 235
ที่นั่ง เดโมแครท 193 ที่นั่ง (อีก 7 ที่นั่งว่างเนื่องจากลาออกหรือเหตุอื่นๆ)
ผลการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรล่าสุดพรรคเดโมแครทได้
225 ที่นั่ง รีพับลิกันได้ 197 ที่นั่ง
ส่วนเลือกตั้งวุฒิสภาพรรครีพับลิกันได้ 51 ที่นั่ง เดโมแครทได้ 46 ที่นั่ง
ผลการเลือกตั้งบ่งชี้ว่าในระดับส.ส. พวกเดโมแครทชนะจริง แต่ระดับ
ส.ว.ไม่เป็นเช่นนั้น เป็นหลักฐานบ่งบอกว่ากระแส “คลื่นน้ำเงิน” มีจริงแต่ไม่แรงอย่างที่คิด และตัวประธานาธิบดีไม่มีผลต่อการเลือกตั้งมากอย่างที่คิดเช่นกัน
หลายคนใช้สิทธิเลือกผู้แทนด้วยเหตุผลอื่นๆ อีกหลายข้อที่ไม่ใช่ “เอาทรัมป์” หรือ
“ไม่เอาทรัมป์” เท่านั้น
การที่ผู้สมัครจะชนะหรือไม่
สังคมอเมริกันยังมองเรื่องความนิยม คุณภาพ นโยบายระดับท้องถิ่นจากตัวผู้สมัคร
รวมทั้งเทคนิควิธีหาเสียงของแต่ละพื้นที่
ควรสรุปว่าทั้งรีพับลิกันกับเดโมแครทต่างได้รับชัยชนะ
เพียงแต่ไม่บรรลุเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือผู้สมัครหญิงจำนวนมากชนะเลือกตั้งส.ส.
ว่าที่ส.ส.หญิงเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต่อต้านทรัมป์ (โดยเฉพาะจากเดโมแครท) ที่ผ่านมากลุ่มสตรีหลายกลุ่มเคยร่วมชุมนุมต่อต้านทรัมป์มาแล้วหลายครั้ง
เป็นโอกาสดีที่ผู้หญิงจะแสดงพลังทางการเมืองตามครรลองประชาธิปไตย
หากทำเช่นนี้ได้จริงนับเป็น “คลื่นชมพู” (Pink Wave) ที่น่ายกย่อง
เป็นประเด็นที่น่าติดตามต่อไป
ผลการเลือกตั้งมีผลต่อการบริหารประเทศหรือไม่
:
คำตอบคืออาจมีผลเพียงช่วงสั้นๆ
และในบางประเด็นเท่านั้น
หากคิดว่าผลการเลือกตั้งกลางเทอมเปรียบเสมือนประชามติ
ส่งสารไปถึงรัฐบาลทรัมป์ดังที่หลายคนถูกปลุกให้ออกไปเลือกตั้งด้วยเหตุผลนี้
ควรเข้าใจว่านับตั้งแต่ได้รัฐบาลทรัมป์ ตลอดเกือบ 2
ปีที่ผ่านมาประชาชนได้ส่งเสียงเรื่อยมา มีโพลจากสำนักต่างๆ มากมาย
แทบทุกโพลสรุปว่าทรัมป์ “สอบตก” ผลงานโดยรวมไม่เข้าตาประชาชน
แต่รัฐบาลทรัมป์ยังคงเป็นรัฐบาลทรัมป์ ผลโพลที่ทำและนำเสนอเรื่อยมาเป็นหลักฐานในตัวเองว่าตลอด
2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทรัมป์ไม่สนใจเสียงประชาชนที่ตำราการเมืองประชาธิปไตยตะวันตกบอกว่าเสียงประชาชนคือ
“เสียงสวรรค์” ทางการเมือง
บางคนอาจยกประเด็นว่าในช่วงหาเสียงพวกเดโมแครทย้ำว่าต้องเลือกพวกตน
เพราะทรัมป์มีข้อเสียร้อยแปดพันเก้า ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ ผลการเลือกตั้งไม่ได้บอกว่าทรัมป์จะต้องเปลี่ยนนิสัยหรือเปลี่ยนแนวทางรัฐบาล
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าทรัมป์ต้องเปลี่ยน การหาเสียงโดยพยายามชี้ว่าทรัมป์มีข้อเสียเป็นวิธีหาเสียงเชิงจิตวิทยาเพื่อให้ต่อต้านทรัมป์
กรณีที่มีผลจริงๆ
คือเมื่อรัฐบาลต้องการใช้นโยบายที่ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา
แต่กฎหมายปัจจุบันให้อำนาจประธานาธิบดีทำได้หลายอย่างมากกว่าอดีต
ที่สำคัญคือพรรครีพับลิกันสนับสนุนทรัมป์
เป็นไปได้ว่ารัฐบาลทรัมป์อาจยอมโอนอ่อนผ่อนปรนบางเรื่องบางจุด
ปรับเปลี่ยนให้ตรงความประสงค์ของพวกเดโมแครทมากขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระแสเลือกตั้งกลางเทอมพ้นผ่าน
เป็นไปได้ว่ารัฐบาลทรัมป์จะกลับมาเป็นเช่นเดิม
ข้อสรุปคือ รัฐบาลทรัมป์สามารถดำเนินนโยบายประชานิยมต่อไป
ประชาธิปไตยเชิงอำนาจนิยมจะหยั่งรากลงลึกในประเทศนี้ และควรด้วยพูดว่าคนอเมริกันส่วนหนึ่งเห็นด้วยกับแนวทางนี้
อีกประเด็นที่ควรเอ่ยถึงคือในช่วงหาเสียงมีการพูดถึงความร่วมมือระหว่างทรัมป์กับพรรครีพับลิกันอย่างชัดเจน
ควรบันทึกไว้ว่าทรัมป์ไม่ได้ดำเนินนโยบายตามลำพัง ได้รับการสนับสนุนจากพรรค แม้สมาชิกพรรคบางคนไม่เห็นด้วยกับทรัมป์ในบางเรื่อง
แต่โดยรวมแล้วพรรครีพับลิกันกับทรัมป์ทำงานร่วมกัน นั่นหมายความว่า หากมีเรื่องจะกล่าวโทษหรือชมเชย
ไม่ควรกล่าวโทษหรือชมเชยประธานาธิบดีเพียงคนเดียว ต้องไม่ลืมเติมพรรครีพับลิกันเข้าไปด้วย
เป็นที่มาของประโยคว่าบัดนี้พวกเดโมแครทสามารถถ่วงดุลอำนาจในรัฐสภาแล้ว
นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าแนวทางของทรัมป์จะขยายออกไปสู่อีกหลายประเทศทั่วโลก
และมีให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วว่าฝ่ายขวาชาตินิยมในหลายประเทศชนะเลือกตั้ง การหาเสียงด้วยนโยบายประชานิยมกำลังเป็นที่นิยม
(การที่กลุ่มเหล่านี้เป็นที่นิยมมาจากหลายปัจจัย
ทรัมป์เป็นเพียงปัจจัยสนับสนุนหนึ่ง)
สรุป :
ตามสถิติพรรครัฐบาลมักเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในการเลือกตั้งการเทอม
การเลือกตั้งครั้งนี้รีพับลิกันครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาต่อ จึงไม่อาจกล่าวว่าพรรครัฐบาลแพ้หมดรูป
ในทางกลับกันเป็นหลักฐานชี้ว่ากระแสต่อต้านประธานาธิบดีทรัมป์ไม่มีผลกระทบมากอย่างที่บางฝ่ายนำเสนอ
คนอเมริกันจำนวนไม่น้อยสนับสนุนทรัมป์กับตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน เป็นชัยชนะครั้งสำคัญของทรัมป์
น่าจะสามารถบริหารประเทศจนครบเทอม
การบริการประเทศของทรัมป์จากนี้จะมีผลในอีก
2 ปีข้างหน้าเมื่อถึงเวลาต้องเลือกประธานาธิบดีอีกรอบ
เมื่อนั้นพรรคเดโมแครทคงจะพูดไม่ต่างจากเดิม ที่มีเพิ่มเติมคือหลักฐานชี้ว่ารัฐบาลเลวร้ายเพียงไร
ทำนองเดียวกับที่หาเสียงเลือกตั้งกลางเทอม
ในขณะที่ทรัมป์กับพวกรีพับลิกันจะพูดว่าตนบริหารประเทศจนตัวเลขเศรษฐกิจเติบโตสูงมากเพียงไร
คนที่กำลังหางานเหลือที่คน พูดแต่ข้อดีละเลยข้อบกพร่อง
ไม่เอ่ยปัญหาที่พยายามปกปิดเก็บซ่อน
ข้อสรุปนี้จะถูกต้องหรือไม่ อีก 2
ปีจะได้รู้กัน
ที่ควรบันทึกอีกเรื่องคือเป็นชัยชนะของระบบการเมืองอเมริกา
ฝ่ายการเมืองเดินหน้าบริหารประเทศต่อไป
11 พฤศจิกายน 2018
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 8037
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2561)
-------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ศึกเลือกตั้งกลางเทอม 2018: จากประชานิยมถึงระเบิดประชาธิปไตย
เป็นธรรมดาที่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งผู้สมัครทุกคนทุกพรรคจะทุ่มเทใช้ทุกอย่างที่มีในช่วงนี้เพื่อให้ได้คะแนนเสียง
ไม่ว่าจะด้วยนโยบายหรืออื่นๆ คำถามคือสิ่งที่ใช้จะเป็นโทษต่ออนาคตหรือไม่
บรรณานุกรม :
1. CNN Poll: In final days, Democrats maintain advantage. (2018,
November 5). CNN. Retrieved from
https://edition.cnn.com/2018/11/05/politics/cnn-poll-midterms-democrats-advantage/index.html
2. Ginsberg, Benjamin., Lowi, Theodore J.,
Weir, Margaret., Tolbert, Caroline J., & Spitzer, Robert J.
(2015). We the People: An Introduction To American Politics. (Tenth
Essentials Edition). NY.: W. W. Norton & Company.
3. “In a sense, I am on the ticket,” Trump seeks voter support. (2018, November 6). AP. Retrieved
from https://www.apnews.com/a548d15bf67c417383ab8c7135ac3fa8
4. News
Analysis: "Pink Wave" in U.S. midterm elections. (2018,
November 7).
Xinhua. Retrieved from http://www.xinhuanet.com/english/2018-11/07/c_137587000.htm
Xinhua. Retrieved from http://www.xinhuanet.com/english/2018-11/07/c_137587000.htm
5. Obama
warns against fear, Trump touts economy on campaign trail. (2018,
November 3). Reuters. Retrieved from
https://www.reuters.com/article/us-usa-election/obama-warns-against-fear-trump-touts-economy-on-campaign-trail-idUSKCN1N724J
6. Trump
rallies for 2018 Republicans _ with an eye toward 2020. (2018,
November 3). AP. Retrieved from
https://www.apnews.com/a5cb5cc16f7e42c781aa949d303e7649
-----------------------------