สงครามอิสราเอล-อิหร่าน (ไซออนิสต์-ชีอะห์) 2025 (4)
หากย้อนดูอดีต มองภาพรวม ข้อมูลต่างๆ ล้วนบ่งชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐกับไซออนิสต์มีนโยบายตรงกัน สนับสนุนกันและกัน
แต่ไหนแต่ไรไม่ว่ารัฐบาลที่มาจากพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครท ต่างต่อต้านโครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่าน
สองพรรคต่างกันตรงการแสดงออกที่ดูก้าวร้าวรุนแรงมากน้อยเท่านั้น
เนทันยาฮูกล่าวว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องหยุดภัยคุกคามก่อนคุกคามจริง
รอบก่อนคือนาซีที่สังหารอิสราเอล 6 ล้านคน คราวนี้คืออาวุธนิวเคลียร์
จึงต้องชิงลงมือก่อน เป็นการป้องกันตัวเอง
ย้อนหลัง JCPOA:
หากจะเข้าใจต้นเหตุของสงครามอิสราเอล-อิหร่าน (ไซออนิสต์-ชีอะห์) 2025
ต้องเท้าความอย่างน้อยถึงข้อตกลง JCPOA
ความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลทรัมป์กับอิหร่านเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหลังรัฐบาลทรัมป์
(สมัยแรก) ยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน (JCPOA) เพียงฝ่ายเดียว
ในขณะที่คู่สัญญาอื่นๆ (รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันและอิหร่าน)
ยังคงรักษาข้อตกลงเดิม พร้อมกับออกมาตรการคว่ำบาตร
ห้ามบริษัทเอกชนซื้อขายน้ำมันกับอิหร่าน ทั้งยังห้ามประเทศอื่นๆ ด้วย
ขู่ว่าใครซื้อขายน้ำมันอิหร่านจะถูกเล่นงาน
รัฐบาลทรัมป์ตีตราอิหร่านเป็นปรปักษ์สำคัญลำดับต้น
ขู่โจมติหร่านตั้งแต่สมัยนั้น การย้ำว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคามร้ายแรง
หวังสร้างอาวุธนิวเคลียร์ ส่งเสริมก่อการร้าย บ่อนทำลายความมั่นคงประเทศเพื่อนบ้าน
ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องเก่าที่พูดซ้ำไปซ้ำมา
ข้อสรุปคือ
ยุทธศาสตร์แม่บทสหรัฐตั้งเป้าหมายล้มล้างระบอบอิหร่านหลายทศวรรษแล้ว
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาอิหร่านจึงตกเป็นเป้า รัฐบาลสหรัฐทุกชุดจะหาเรื่องเล่นงาน ออกมาตรการคว่ำบาตรยืดหยุ่นตามบริบท
รวมความแล้วรัฐบาลสหรัฐหวังล้มระบอบอิหร่าน เป็นนโยบายเดียวกับอิสราเอล
การยกเลิก JCPOA เพียงฝ่ายเดียวนำสู่สงครามปี 2025
สหรัฐคือสนับสนุนรายใหญ่:
อาวุธหลักที่อิสราเอลใช้หลายอย่างมาจากสหรัฐ
เครื่องบินรบ F-35 ระเบิดนำวิถี ขีปนาวุธต่างๆ
อีกทั้งสหรัฐช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสาร
ชี้จุดโจมตีคล้ายกรณีสนับสนุนยูเครนรบรัสเซีย
การสนับสนุนอาวุธเครื่องกระสุนสำคัญมาก
เหตุที่ยูเครนรบได้นานหลายปีเพราะนาโตส่งอาวุธให้ต่อเนื่อง ถึงขั้นมอบปืนใหญ่
รถถัง เครื่องบินรบของสมาชิกนาโต
ในกรณีอิสราเอล
รัฐบาลสหรัฐส่งเครื่องกระสุนให้ต่อเนื่อง ต่างจากอิหร่านที่ไม่มีผู้สนับสนุน
ดังนั้น นานวันเข้าอาวุธกองทัพอิหร่านจะร่อยหรอ
ท้ายที่สุดกองทัพอิหร่านจะไม่เหลืออาวุธสู้อิสราเอล
(อาวุธอิหร่านที่สามารถโจมตีอิสราเอล คือขีปนาวุธกับโดรนพิสัยกว่าพันกิโลเมตร
และเครื่องบินรบจำนวนหนึ่ง ส่วนปืนใหญ่ รถถัง ทหารนับแสนนับล้านไม่มีประโยชน์)
รัฐบาลตะวันตกที่ประณามความก้าวร้าว
การละเมิดสิทธิมนุษยชน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของ
อิสราเอล
หากต้องการหยุดอิสราเอลทำได้ง่ายนิดเดียว คือ ไม่ขายอาวุธให้
แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะระงับขายช่วงหนึ่งแล้วรีบกลับมาขายอีกครั้งเมื่อสบโอกาส
เรื่องนี้สะท้อนว่าแท้จริงแล้วพวกตะวันตกกำลังทำอะไรอยู่
ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ:
นับจากเริ่มสงคราม
ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่าไม่อยากให้แค่หยุดยิง ต้องการขจัดภัยนิวเคลียร์นี้อย่างราบคาบ
หลังรบเพียงสัปดาห์เดียว ประธานาธิบดีทรัมป์ขอให้อิหร่านยอมแพ้โดยไร้เงื่อนไข
ทั้งยังขู่รู้ว่าผู้นำสูงสุดอิหร่านอยู่ที่ใด เป็นเป้าหมายง่ายๆ (easy
target) แต่ตอนนี้ยังไม่คิดว่าต้องสังหารท่าน
เรื่องนี้จะตัดสินใจอีกที
ผู้นำสหรัฐอาจเพียงแค่ขู่และอาจลงมือจริงก็เป็นได้
สงครามรอบนี้อิสราเอลสังหารผู้นำกองทัพ นักวิทยาศาสตร์ บุคคลสำคัญหลายคน
อิสราเอลใช้แนวทางนี้เรื่อยมา
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่
2 เครื่องบินรบสหรัฐเข้าโจมตีโครงการนิวเคลียร์อิหร่านหลายแห่ง ที่ตั้งในฐานลึกในภูเขาหรือชั้นใต้ดิน
(เมือง Fordow กับ Natanz และ
Isfahan) ที่กองทัพอิสราเอลไม่สามารถทำลาย
การโจมตีนี้ช่วยอิสราเอลโดยตรง ตรงตามที่ทางการอิสราเอลร้องขอ
วิเคราะห์: เรื่องที่รัฐบาลสหรัฐกับอิสราเอลไม่เอ่ยถึงคือ
การโจมตีของตนละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ ผู้พยายามอ้างตัวเป็นผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตยกับอิสราเอล
ไม่ลดละเล่นงานโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน โดยใช้ข้อมูลเท็จ บอกให้นานาชาติยึดถือกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ตัวเองละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติอเสมอ
ใช้กำลังทหารกับอิหร่านด้วยข้ออ้างเทียมเท็จ ไม่แปลกที่จีน
รัสเซียและอีกหลายประเทศกำลังร่วมกันสร้างระเบียบโลกใหม่ที่เท่าเทียมเป็นธรรมกว่าที่เป็นอยู่
พวกตะวันตกเล่นงานรัสเซียที่ทำสงครามกับยูเครน
ชี้ว่าละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ แสดงอำนาจบาตรใหญ่ สหรัฐไม่ต่างจากรัสเซียเลย
ทางการจีนออกมากล่าวถึงเรื่องนี้เหมือนกัน ชี้ว่าสหรัฐโจมตีอิหร่าน
ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติกับกฎหมายระหว่างประเทศ ขยายความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลาง
แต่รัฐบาลสหรัฐไม่สนใจกฎบัตรสหประชาชาติ
เรื่องราวสงครามอิสราเอล-อิหร่านเป็นประเด็นเดียวในหลายเรื่อง
มหาอำนาจฝ่ายประชาธิปไตยไม่สนใจกฎระเบียบนานาชาติ
รัฐบาลสหรัฐหนุนไซออนิสต์:
ในทางวิชาการ
บางคนผูกรัฐบาลสหรัฐเข้ากับลัทธิไซออนิสต์อย่างแนบแน่น
ตามข้อตกลงสันติภาพออสโล
1993 (Oslo Peace Accords) ปาเลสไตน์รับรองสถานะความเป็นประเทศของอิสราเอล
พร้อมกับที่อิสราเอลรับรองสถานะขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ว่าเป็นตัวแทนปาเลสไตน์ ผู้ดูแลบริหารปกครองภายในดินแดนส่วนต่างๆ
ของเวสต์แบงก์ (West Bank) กับฉนวนกาซา
(แต่ยังไม่ได้รับรองรัฐปาเลสไตน์) อิสราเอลต้องทยอยมอบอำนาจการดูแลพื้นที่คืนแก่ PLO
(ปัจจุบันคือ PA) ท้ายที่สุดจะเกิดรัฐปาเลสไตน์มีเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นเมืองหลวง
แต่สหรัฐเปลี่ยนท่าที
ธันวาคม 2017 ประธานาธิบดีโดนัลด์
ทรัมป์ลงนามยอมรับเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงของอิสราเอล (ขัดข้อตกลงออสโล) เป็นรัฐบาลต่างชาติประเทศแรกที่รับรอง
ในขณะที่นานาชาติไม่เห็นด้วย
ทรัมป์เริ่มต้นด้วยการพูดว่าที่ตัดสินใจทำเช่นนี้
เพื่อให้การเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์เข้าสู่มิติใหม่
เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด
และเป็นประโยชน์ต่อการแสวงหาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์
ในอนาคตเยรูซาเล็มจะยังคงเป็นดินแดนของคนหลายศาสนา
พวกยิวจะยังคงอธิษฐานที่ Western Wall
พวกนับถือคริสต์ที่เดินทางไปที่ Stations of the Cross
ส่วนมุสลิมจะละหมาดที่มัสยิด Al-Aqsa
พูดเสริมว่าการตัดสินใจดังกล่าว
ไม่มีผลต่อผลลัพธ์สุดท้าย ทั้งเรื่องเขตแดนของรัฐอิสราเอลในเยรูซาเล็ม
รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นที่จะให้เกิดข้อตกลงสันติภาพถาวร
เรื่องเขตพรมแดนจะขึ้นอยู่กับการเจรจา รวมทั้งอธิปไตยของอิสราเอลต่อกรุงเยรูซาเล็ม
ผลจะเป็นอย่างไรขึ้นกับการเจรจาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สหรัฐยังคงสนับสนุนแนวทางทวิรัฐ (two-state solution) หากทั้ง
2 ฝ่ายเห็นร่วมกัน
เมื่อย้อนดูเหตุผลที่ทรัมป์พูดสมัยนั้น
พบว่าหลายเรื่องเป็นข้ออ้างให้ฟังดูดีมากกว่า
ความจริงที่ปรากฎคืออิสราเอลกินดินแดนปาเลสไตน์มากขึ้นทุกปี
และปฏิเสธแนวทางทวิรัฐแล้ว กาซาดูเหมือนกำลังจะเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล
ข่าวรายวันจะเห็นภาพความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับอิสราเอลเป็นระยะ
แต่หากย้อนดูอดีต มองภาพรวม ข้อมูลต่างๆ
ล้วนบ่งชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐกับไซออนิสต์มีนโยบายตรงกัน สนับสนุนกันและกัน ข่าวความขัดแย้งที่เห็น
เป็นเพียงภาพหนึ่งที่ปรากฏเท่านั้น ต้องแยกภาพลวงตาออกจากความจริง
สงครามอิสราเอล-อิหร่าน
(ไซออนิสต์-ชีอะห์) 2025
เป็นหลักฐานอีกชิ้นว่ารัฐบาลสหรัฐกับไซออนิสต์ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
มียุทธศาสตร์ตะวันออกกลางร่วมกัน
--------------
ภาพ: กรุงเยรูซาเล็มในจินตนาการ
เครดิตภาพ: ภาพจากปัญญาประดิษฐ์
บรรณานุกรม :1. China strongly
condemns US attacks on Iran and the bombing of nuclear facilities under the
safeguards of the IAEA: Chinese envoy. (2025, June 23). Global Times.
Retrieved from https://www.globaltimes.cn/page/202506/1336736.shtml
2. Cleveland, William L., Bunton, Martin. (2016). A
History of the Modern Middle East (6th Ed.). USA: Westview Press.
3. Intense
Israeli strikes hit Tehran after Trump demands ‘unconditional surrender’.
(2025, June 18). AP. Retrieved from
https://apnews.com/article/israel-iran-missile-attacks-nuclear-news-tehran-trump-06-17-2025-3f08988b5e8fd375645967b6e22916f3
4. 'Never again is
now': Netanyahu announces strikes on Iran nuclear targets. (2025, June 13). Jpost.
Retrieved from https://www.jpost.com/israel-news/defense-news/article-857577
5. The
White House. (2017, December 6). Statement by President Trump on
Jerusalem. Retrieved from
https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2017/12/06/statement-president-trump-jerusalem
6. Trump Calls for
Iran to ‘Surrender’ as He Weighs Military Action. (2025, June 17). WSJ.
Retrieved from
https://www.wsj.com/world/middle-east/trump-calls-for-unconditional-surrender-as-he-loses-patience-with-iran-773cb20d
-----------------