ผมทำอีบุ๊ค (e-book) เล่มเล็กๆ รูปแบบเนื้อหาทำนองเดียวกับบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
จำหน่ายผ่าน Ookbee (www.ookbee.com/)
หนังสืออีบุ๊คของผมจะมี 2 ประเภท
ประเภทแรก คือ หนังสือที่เหมือนบทความจบในตอน
ชื่อตอนจะเป็นชื่อหนังสือ เช่น “พอโลเนียม-210 ยาพิษปริศนา” เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเฉพาะประเด็น บทวิเคราะห์ล่าสุดทันสถานการณ์
ภาพปกเป็นหญิงสาวกำลังวิ่ง จำหน่ายเล่มละ 9 หรือ 19 บาท (ขึ้นกับความยาว) โดยดูผ่าน Android ทุกเครือข่าย, ระบบ Window 8
ประเภทที่ 2 คือ หนังสือ “สถานการณ์โลก”
หนังสือ “สถานการณ์โลก” เป็นการนำหนังสือประเภทแรกจำนวน 3-4 เล่มมารวมกัน เป็นหนังสือ 1 เล่มใหญ่ สามารถอ่านผ่านหลายช่องทาง เช่น Android ทุกเครือข่าย, ระบบ Window 8 รวมทั้ง iPad, iPhone ในราคาเล่มละ 29 บาท หรือ 0.99 ดอลลาร์ (สำหรับ iPad, iPhone) หนังสือ “สถานการณ์โลก”
จึงถูกกว่าเมื่อเทียบกับการแยกซื้อหนังสือประเภทแรก
เนื้อหาเข้มข้น พร้อมบรรณานุกรม
----------------------------
รายชื่ออีบุ๊ค
(สั่งซื้อ : คลิกที่ชื่อหนังสือ)
(สั่งซื้อ : คลิกที่ชื่อหนังสือ)
15. โลกไม่ลืม "หญิงบำเรอ" (comfort women)
“หญิงบำเรอ” คือ สตรีที่ถูกบังคับให้มาปรนเปรอความสุขทางเพศแก่ทหารของกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสตรีจากหลายประเทศที่กองทัพญี่ปุ่นยาตราทัพไปถึง ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลีกับจีน
14. หนังสือ "สถานการณ์โลก 4”
หนังสือ “สถานการณ์โลก 4” เป็นการรวมผลงาน 2 ชิ้น เพื่อเผยแพร่ในลักษณะอีบุ๊ค ได้แก่
“หญิงบำเรอ” คือ สตรีที่ถูกบังคับให้มาปรนเปรอความสุขทางเพศแก่ทหารของกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสตรีจากหลายประเทศที่กองทัพญี่ปุ่นยาตราทัพไปถึง ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลีกับจีน
ข้อเขียน “โลกไม่ลืม “หญิงบำเรอ” (comfort women)” ให้ความเข้าใจพื้นฐาน
เหตุการณ์ในอดีต
เพื่อนำสู่การเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกที่เอ่ยถึงเรื่องนี้
หญิงบำเรอเกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นๆ เช่น การเยือนศาลเจ้ายาสุกุนิ
การปรับแก้ตำราเรียน การสังหารหมู่นานกิง
การปรับเปลี่ยนนโยบายความมั่นคงของรัฐบาลอาเบะ พัวพันถึงยุทธศาสตร์สหรัฐฯ
นำเสนอท่าทีของประเทศต่างๆ กลยุทธ์ เทคนิคของแต่ละประเทศทั้งฝ่ายรุกกับตั้งรับ จนถึงการวิเคราะห์องค์รวมให้เห็นภาพทั้งหมด
เกี่ยวข้องกับประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกโดยตรง
14. หนังสือ "สถานการณ์โลก 4”
หนังสือ “สถานการณ์โลก 4” เป็นการรวมผลงาน 2 ชิ้น เพื่อเผยแพร่ในลักษณะอีบุ๊ค ได้แก่
1. โรฮีนจา คนไร้รัฐ (หน้า 2)
2. 10 คำถาม โรฮีนจา (หน้า 23)
“โรฮีนจา คนไร้รัฐ” อธิบายเรื่องราวตั้งแต่ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาในแต่ละช่วงสมัย
ถักทอร้อยเรื่องของพวกเขาจนรัฐบาลเมียนมาไม่ยอมรับพวกเขาในฐานะพลเมือง
กลายเป็นคนไร้รัฐ นำเสนอประเด็นถกเถียง เหตุผลข้อโต้แย้งและคาดการณ์อนาคต
“10 คำถาม โรฮีนจา” มุ่งตอบคำถามหรือนำเสนอประเด็นสำคัญๆ ที่ผู้สนใจควรทราบ
เป็นความรู้พื้นฐานสู่การทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ในระดับที่สูงขึ้น เริ่มจากการเรียกชื่อ
ต้นกำเนิดโรฮีนจา เป็นชาวเบงกาลีหรือไม่ เหตุผลเบื้องหลังรัฐบาลเมียนมาไม่ถือโรฮีนจาเป็นพลเมือง
จากนั้นอธิบายเหตุปะทะเมื่อปี 2012 ซึ่งเป็นจุดเริ่มของความสนใจรอบใหม่
ความเกี่ยวข้องของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ปัญหาชุมชนโรฮีนจาที่ไม่อาจมองข้าม
นโยบายและท่าทีของรัฐบาลเมียนมา โอบามาและมาเลเซีย สอดแทรกด้วยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ
ช่วยตอบโจทย์อนาคตของโรฮีนจา อนาคตประชาธิปไตยเมียนมาซึ่งมีผลกระทบต่ออาเซียนทั้งหมด
13. “10 คำถาม โรฮีนจา”
ประเด็นโรฮีนจา (Rohingya) เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและชาติสมาชิกอาเซียนอีกหลายประเทศโดยตรง
มีผลต่อความเป็นไปของเมียนมาและกระทบต่อทั้งภูมิภาค เป็นเรื่องเก่าหลายทศวรรษ
(หรือหลายศตวรรษ) และคงจะอยู่คู่กับอาเซียนอีกนาน จึงเป็นประเด็นที่ควรศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้
ข้อเขียน “10 คำถาม โรฮีนจา” มุ่งตอบคำถามหรือนำเสนอประเด็นสำคัญๆ ที่ผู้สนใจควรทราบ
เป็นความรู้พื้นฐานสู่การทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ในระดับที่สูงขึ้น
“10 คำถาม โรฮีนจา” จะตอบคำถามหรือนำเสนอ 10 ข้อ 10
ประเด็น เริ่มจากการเรียกชื่อ ควรเรียก “โรฮีนจาหรือโรฮินญา” อธิบายต้นกำเนิดโรฮีนจา
เป็นชาวเบงกาลีหรือไม่ เหตุผลเบื้องหลังรัฐบาลเมียนมาไม่ถือโรฮีนจาเป็นพลเมือง จากนั้นอธิบายเหตุปะทะเมื่อปี
2012 ซึ่งเป็นจุดเริ่มของความสนใจรอบใหม่ ความเกี่ยวข้องของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ
ปัญหาชุมชนโรฮีนจาซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่อาจมองข้าม นโยบายและท่าทีของรัฐบาลเมียนมา
โอบามาและมาเลเซีย สอดแทรกด้วยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ช่วยตอบโจทย์อนาคตของโรฮีนจา
อนาคตประชาธิปไตยเมียนมาซึ่งมีผลกระทบต่ออาเซียนทั้งหมด
12. โรฮีนจา คนไร้รัฐ
การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สามารถเริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศพม่า ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ หลายเหตุการณ์แม้กระทั่งยุคล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่ 2 จนพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง
ข้อเขียนชิ้นนี้นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ชนพื้นเมืองอาระกันยังไม่ถูกเรียกว่าโรฮีนจา
เข้าสู่ความขัดแย้งหลายระลอก จนพม่าประกาศเอกราช เกิดการปฏิวัติ
รัฐบาลทหารกำหนดว่าใครเป็นพลเมือง พร้อมกับเหตุผลข้อโต้แย้ง
ประเด็นถกเถียงและคาดการณ์อนาคต
11. หนังสือ“สถานการณ์โลก 3”
หนังสือ “สถานการณ์โลก 3” เป็นการรวมผลงาน 2 ชิ้น เพื่อเผยแพร่ในลักษณะอีบุ๊ค ได้แก่
11. หนังสือ“สถานการณ์โลก 3”
หนังสือ “สถานการณ์โลก 3” เป็นการรวมผลงาน 2 ชิ้น เพื่อเผยแพร่ในลักษณะอีบุ๊ค ได้แก่
1. รอยร้าวญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ รอยด่าง Pivot to Asia
(หน้า 2)
2. ด้วยรักจากปูตินถึงโอบามา การปิดล้อมและการโต้กลับ (หน้า 27)
เมื่อรัฐบาลโอบามานำเสนอยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย (Pivot to Asia) หรือยุทธศาสตร์ปรับสมดุลเอเชียแปซิฟิก (rebalanced strategy in Asia-Pacific) ชี้ไปทางที่สหรัฐฯ
มุ่งให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก
แม้ไม่เอ่ยถึงจีนโดยตรงแต่เป็นที่ยอมรับกันว่าจีนคือประเทศที่สหรัฐฯ ให้ความสนใจ
แต่นานวันเข้ามีเพียงญี่ปุ่นพันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ
เท่านั้นที่แสดงบทบาทตามยุทธศาสตร์
ซ้ำร้ายกว่านั้นรัฐบาลเกาหลีใต้กับรัฐบาลญี่ปุ่นขัดแย้งกันอย่างหนัก
เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญบ่งชี้พลังอันอ่อนแอของยุทธศาสตร์นี้
บทความ “ด้วยรักจากปูตินถึงโอบามา การปิดล้อมและการโต้กลับ” อธิบายนโยบายของสหรัฐฯ ต่อรัสเซียเพื่ออธิบายเหตุผลที่มาที่ไปของนโยบายปิดล้อมรัสเซีย
การตอบโต้จากรัฐบาลปูติน นำสู่การวิเคราะห์องค์รวม
ชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์เชิงลึกของสหรัฐฯ ความพยายามจัดระเบียบโลกผ่านวิธีการต่างๆ
จุดอ่อนของยุทธศาสตร์ปิดล้อม พลังอำนาจที่ถดถอยของสหรัฐฯ พร้อมกับคาดการณ์อนาคต
ความตึงเครียดจากสถานการณ์ยูเครนที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2013
จนนำสู่การเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจรัสเซียกับฝ่ายสหรัฐฯ อย่างชัดเจน สหรัฐฯ
กับพันธมิตรโดยเฉพาะอียูร่วมออกมาตรคว่ำบาตรรัสเซียหลายรอบ
ข้อเขียนชิ้นนี้อธิบายนโยบายของสหรัฐฯ
ต่อรัสเซียเพื่ออธิบายเหตุผลที่มาที่ไปของนโยบายปิดล้อมรัสเซีย
การตอบโต้จากรัฐบาลปูติน นำสู่การวิเคราะห์องค์รวม
ชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์เชิงลึกของสหรัฐฯ ความพยายามจัดระเบียบโลกผ่านวิธีการต่างๆ
จุดอ่อนของยุทธศาสตร์ปิดล้อม พลังอำนาจที่ถดถอยของสหรัฐฯ พร้อมกับคาดการณ์อนาคต
9. รอยร้าวญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ รอยด่างPivot to Asia
การวิพากษ์ Pivot to Asia หรือยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียสามารถทำได้หลายรูปแบบ
มองในหลายแง่มุม
งานเขียนชิ้นนี้ชี้จุดอ่อนของยุทธศาสตร์ผ่านประเด็นความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลีใต้
เป็นความขัดแย้งจากผลพวงของประวัติศาสตร์
กลายเป็นรอยร้าวที่ยากจะแก้ไขภายใต้บริบทปัจจุบัน
เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยอมให้กันไม่ได้
ต้องตอบสนองความคาดหวังจากการเมืองภายในของแต่ละประเทศ
เกิดการแก้เกมแบบชิงไหวชิงพริบ นำสู่คำตอบว่าทำไมยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียจึงอ่อนกำลัง
ไม่ได้ผลตามเป้าหมาย ในอนาคตจะต้องปรับแก้ยุทธศาสตร์หากรัฐบาลสหรัฐฯ
ต้องการหวังผลอย่างจริงจัง ประเด็นสำคัญอยู่ที่จะต้องหาพันธมิตรเพิ่ม
หรือทำให้ประเทศเหล่านั้นถอยห่างจากจีนมากขึ้น
ซึ่งในกรอบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็มีเพียงไม่กี่ประเทศดังปรากฏบนแผนที่
หนังสือ “สถานการณ์โลก 2” ประกอบด้วยบทความ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. IS = ซุนนีอิรัก? 2. ใครได้ใครเสีย
หากอิรักชนะ IS และ 3. นิวเคลียร์อิหร่าน ภาพหลอนเนทันยาฮู
ทั้ง 3
เรื่องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในภูมิตะวันออกกลางที่ยังร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง
และมีผลต่อประเทศอื่นๆ ไม่มากก็น้อย
7. นิวเคลียร์อิหร่าน ภาพหลอนเนทันยาฮู
รัฐบาลอิสราเอลพูดอยู่เสมอว่าอิหร่านใกล้จะประสบความสำเร็จในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ เป้าหมายคือทำลายล้างอิสราเอล แม้อิหร่านกับชาติมหาอำนาจ 6 ประเทศที่เรียกว่ากลุ่ม P-5+1 ได้ข้อตกลงฉบับชั่วคราวและเมื่อต้นเดือนเมษาที่ผ่านมาได้ร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ นายกฯ เนทันยาฮูยังเชื่อเช่นเดิม สวนทางความจริงที่ว่า ทุกวันนี้โครงการฯ ของอิหร่านหดตัว อยู่ภายใต้การตรวจตราของ IAEA ซึ่งได้พิสูจน์ชัดแล้วว่าโครงการฯ ในขณะนี้มีเพื่อใช้ในทางสันติเท่านั้น ความเข้าใจของนายกฯ เนทันยาฮูจึงกลายเป็นภาพหลอนที่คอยหลอกลอนให้หลายคนเชื่อเช่นนั้น
สมรภูมิทิกริตไม่ใช่่เรื่องการปราบปรามผู้ก่อการร้าย
IS ในอิรักเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายหลายประเทศ
ที่ควรเอ่ยถึงได้แก่ 1.ชีอะห์อิรัก 2.อิหร่าน 3.ซุนนีอิรัก 4.พวกเคิร์ด 5.ซีเรีย
6.IS/ISIL/ISIS 7.รัฐบาลสหรัฐฯ 8.GCC ผลลัพธ์ที่ตามมาไม่ได้มีต่อการเมืองอิรักเท่านั้น
แต่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบภูมิภาคตะวันออกกลาง เกี่ยวข้องกับชาติมหาอำนาจ
5. IS = ซุนนีอิรัก?
ข้อมูลจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ประเมินว่ามีชาวต่างชาติจากกว่า
90 ประเทศ จึงดูเหมือนว่า IS คือผู้ก่อการร้ายนานาชาติ
ซึ่งมีส่วนถูกต้อง แต่หากพิจารณาจากสัดส่วนของสมาชิก สมาชิก IS ส่วนใหญ่เป็นชาวอิรัก มีพื้นเพเป็นพวกซุนนี
ความเข้าใจเรื่องนี้มีความสำคัญ ผูกโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะสถานการณ์ในอิรัก ข้อเขียนชิ้นนี้จะอธิบายความเกี่ยวโยงเหล่านี้
ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
4. สถานการณ์โลก 1
หนังสือ “สถานการณ์โลก 1” ประกอบด้วยบทความ 3 เรื่อง
ได้แก่ 1.พอโลเนียม-210 ยาพิษปริศนา 2.ปริศนาการตายของยัสเซอร์ อาราฟัต และ 3. ยูเครนวิกฤต
รัสเซียสู้ไม่ถอยสามารถ อ่านผ่าน Android AIS, Apple Tablet,
ระบบ Android และ Window 8
3.ยูเครนวิกฤตรัสเซียสู้ไม่ถอย
ยูเครนเป็นประเทศที่น้อยคนจะรู้จัก เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต
เริ่มเป็นรัฐอธิปไตยหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ตั้งแต่ปลายปี 2013
เกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่บานปลายจนรัสเซียส่งกองกำลังเข้ายึดไครเมีย และเกิดสงครามกลางเมืองขนาดย่อมในฝั่งตะวันออกของประเทศ
แต่ความสำคัญของสถานการณ์ยูเครนในขณะนี้คือการเผชิญหน้า
ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจ 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือรัสเซีย อีกฝ่ายคือสหรัฐฯ
กับพันธมิตรอียู
การเผชิญหน้าครั้งนี้อาจรุนแรงยืดเยื้อกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากรัฐบาลรัสเซียสู้ไม่ถอย
2. ปริศนาการตายของยัสเซอร์อาราฟัต
ยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นบุคคลสำคัญของโลก ได้ชื่อว่าเป็นผู้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ ชีวิตของท่านตั้งแต่วัยหนุ่มเต็มด้วยการต่อสู้ ฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ มีผู้พยายามสังหารท่านหลายครั้ง แต่สามารถหลบรอดคมห่ากระสุนอย่างหวุดหวิด จนกระทั่งคืนวันที่ 12 ตุลาคม 2004 ท่านล้มป่วยกะทันหันอย่างรุนแรงในบ้านพักของท่านเอง ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่าท่านเสียชีวิตด้วยพอโลเนียม-210
1.พอโลเนียม-210 ยาพิษปริศนา (เล่มแรกฟรี)
ตั้งแต่ยุคโบราณมนุษย์รู้จักยาพิษ นำมาใช้เป็นอาวุธเรื่อยมา
และเมื่อความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นมนุษย์เริ่มคิดค้นสารพิษใหม่ที่ร้ายแรงกว่าสารพิษที่พบตามธรรมชาติ
พอโลเนียม-210 คือตัวอย่างสารพิษที่มนุษย์แสวงหามานานแล้ว
นั่นคือสารพิษหรือยาพิษที่ไร้สีไร้กลิ่นไร้รส ไม่มีทางเยียวยาที่ได้ผลดี
ตรวจจับไม่ได้ (ยากแก่การตรวจจับ) ผู้เสียชีวิตมักเป็นบุคคลพิเศษ
บุคคลสำคัญทางการเมือง พอโลเนียม-210 จึงเป็นยาพิษสมัยใหม่ที่คิดค้นมาเพื่อจัดการบุคคลเหล่านี้
9 กุมภาพันธ์ 2015
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ปรับปรุง 6 มีนาคม 2015)
(ปรับปรุง 6 มีนาคม 2015)
---------------------------