5 กันยายน
2012
(ปรับปรุง 9 พฤศจิกายน 2012)
(ปรับปรุง 9 พฤศจิกายน 2012)
ชาญชัย
ทุกสองปีสหรัฐฯ
จะจัดเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เนื่องจาก ส.ส.ของเขามีวาระเพียง 2 ปี และต้องเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว. ทั้งหมดเพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ทยอยเลือกตั้ง ส.ว.
และทุก
4 ปีจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดี
ชาวอเมริกันจะให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งนี้มากที่สุด ดังเช่นที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้
2012
และเหมือนทุกครั้งที่นักวิชาการ นักวิเคราะห์ สื่อมวลชนไทยและทั่วโลกจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ
สังเกตได้จากสื่อต่างๆ ทั่วโลกนำเสนอข่าวการชิงชัยตำแหน่งปธน.สหรัฐฯ
อย่างต่อเนื่อง และจะยิ่งเสนอข่าวถี่ยิบเมื่อใกล้วันเลือกตั้ง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะนโยบายสหรัฐฯ (บางอย่าง) มีผลต่อกระทบกว้างขวางระดับโลกนั่นเอง
ความสำคัญต่อด้านความมั่นคง
ในปี 2006 ปธน.จอร์จ บุช ตกอยู่ในที่นั่งลำบากเมื่อสงครามในอิรักยืดเยื้อ
ทหารสหรัฐฯ บาดเจ็บล้มตายเกือบทุกวัน นับวันคนอเมริกันจะแสดงความไม่พอใจมากขึ้น
คะแนนนิยมของบุชลดต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้พรรคเดโมแครตคู่แข่งเห็นโอกาสเสนอนโยบายถอนทหารออกจากอิรัก
การเลือกตั้งสหรัฐฯ 2008 นายบารัค โอบามาจึงเข้าสู่เส้นชัย
ปัจจุบัน ไม่เหลือทหารสหรัฐฯ ในอิรักแล้ว ความตึงเครียดอันเกิดจากสหรัฐฯ
ทำสงครามกับผู้ก่อการร้ายก็ลดลงไปด้วย และไม่เข้าร่วมการสู้รบใหม่ๆ สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่ปธน.โอบามาไม่เน้นส่งทหารเข้าร่วมรบ
เช่น กรณีชาติตะวันตกแทรกแซงลิเบีย กรณีความขัดแย้งในซีเรียที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้
เปรียบเทียบระหว่างสมัยของบุชกับโอบามา
ความมั่นคงระหว่างประเทศในปัจจุบันอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากกว่า
หากมองให้ใกล้ตัวยิ่งขึ้น
นโยบาย ‘หวนคืนเอเชีย’ ของปธน.โอบามา
ดูจะเป็นเหตุให้เกิดความร้อนแรงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพราะเป็นนโยบายเพิ่มกำลังรบในภูมิภาคแห่งนี้
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นพรรคเดโมแครตหรือรีพับลิกันต่างให้ความสำคัญกับภูมิภาคแห่งนี้อยู่แล้ว
ดังนั้นจึงขึ้นกับรายละเอียดของนโยบายมากกว่า แต่เชื่อว่าถ้านายโอบามาได้เป็นปธน.อีกสมัย
คงไม่ก่อสงครามในภูมิภาคนี้
ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ
คล้ายกับหลายประเทศ
คนอเมริกันให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องมากที่สุด
ผู้มีสิทธิมีเสียงจะต้องตัดสินใจว่าผู้สมัครพรรคใดน่าจะช่วยให้ตนมีเศรษฐกิจดีขึ้น
มีเงินใช้ มีงานทำ ฯลฯ ยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว เศรษฐกิจสหรัฐฯ
ยังไม่ฟื้นอย่างแข็งแกร่ง คนว่างงานมีจำนวนมาก ชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยฝากความหวังกับการเลือกตั้งว่าจะมีสิ่งดีใหม่ๆ
เกิดขึ้น หรืออย่างน้อยขอให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นบ้าง
นโยบาย การดำเนินนโยบายของปธน. มีผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่าจะฟื้นหรือแฟบ
ในยุคโลกาภิวัตน์
ระบบเศรษฐกิจแต่ละประเทศนับวันจะเชื่อมโยงกันมากขึ้น หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอ
ย่อมกระทบต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก กระทบต่อการส่งออกของไทย
ความเชื่อมั่นในการค้าการลงทุน กระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ส่งผลลูกโซ่ตามมาอีกมากมาย แรงงานไทยตกงานมากขึ้น รัฐมีรายได้ลดลงจึงต้องกู้ยืมเงินต่างประเทศมากขึ้น
ตลาดหุ้นตก ฯลฯ
การเลือกตั้งปีนี้
จะมีผลต่อการตัดสินแก้ปัญหาสำคัญของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่กำลังกระเป๋าฉีก มีรายได้ไม่พอรายจ่าย
และติดปัญหาไม่สามารถกู้เพิ่มเนื่องจากเต็มเพดานกู้ยืมตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว นักการเมืองสหรัฐฯ
กำลังถกเถียงอย่างรุนแรงว่าต้องแก้ด้วยการตัดลดรายจ่ายภาครัฐ หรือเก็บภาษีจากประชาชนมากขึ้น
ที่เรียกว่า ‘Fiscal Cliff’
ไม่ว่าทางออกเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
เชื่อว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้าอย่างรุนแรง และนักการเมืองสหรัฐฯ หวังใช้การเลือกตั้งรอบนี้ให้ชาวอเมริกันชี้ขาดว่าจะสนับสนุนแนวทางของพรรคใด หรือจะให้ปธน.คนใดเป็นผู้ตัดสินใจ
นอกจากประเด็นข้างต้น
ยังมีอีกหลายประเด็น เช่น การทำแท้งเสรี การอนุญาตให้เกย์แต่งงานอยู่ในความสนใจของหลายคน
และจะมีผลกระทบต่อสังคมอื่นๆ รวมทั้งของไทยในที่สุด การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2012 จึงควรค่าแก่การติดตาม