บทความ 12
สิงหาคม 2012
ชาญชัย
1.
ภัยแล้งสหรัฐฯ กำลังกระทบราคาสินค้าหลายชนิดทั่วโลก
ภัยแล้งสหรัฐฯ
ที่ดำเนินมาราว 2 เดือนแล้วกำลังเป็นภัยที่โลกต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น
หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
ประเมินผลผลิตข้าวโพดปีนี้อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับราคาถั่วเหลืองที่ปรับสูงขึ้นมาก
(WSJ)
ไม่เพียงแต่ราคาอาหารที่เกี่ยวข้องกับธัญพืชจะต้องปรับราคาขึ้น
ราคาเนื้อสัตว์ปีหน้าจะต้องปรับสูงขึ้นด้วยจากหลายสาเหตุ
ตั้งแต่อากาศร้อนทำให้วัวโตช้า หญ้าสดหายากต้องให้กินหญ้าแห้งแทน
ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตวย์แพงขึ้น
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์ปีหน้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (CNBC)
ผลผลิตข้าวโพดร้อยละของสหรัฐฯ 40 ถูกใช้เพื่อผลิตเอทานอล ดังนั้น
ราคาข้าวโพดที่เพิ่มสูงจึงกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตเอทานอลสหรัฐฯ โดยตรง
แม้มีผู้ยื่นเรื่องให้ประธานาธิบดีโอบามาปรับลดการผลิตเอทานอลดังกล่าว
แต่ทำเนียบขาวยังไม่มีคำตอบในเรื่องนี้ (AP) ราคาเอทานอลที่เพิ่มขึ้นสูงจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ราคาตลาดพลังงานโลกยังอยู่ในระดับสูงต่อไป
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานว่า ดัชนีราคาอาหาร (FAO Food
Price Index) ประจำเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6
สวนทางกับตัวเลขของ 3 เดือนก่อนหน้านั้นที่ราคาลดลงโดยตลอด (website FAO)
ภัยแล้งสหรัฐฯ ไม่ใช่ปัจจัยลบเพียงข้อเดียวที่กระทบต่อราคาอาหารโลก
แต่เป็นตัวจุดชนวนให้ทั่วโลกต้องสนใจกับสถานการณ์ราคาอาหารและสินค้าที่เกี่ยวข้องว่ากำลังจะไปทิศทางใด
2 อเลปโป จุดเปลี่ยนสถานการณ์ซีเรีย
สถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศซีเรียกำลังมาถึงจุดพลิกผันอีกครั้ง
เมื่อฝ่ายต่อต้านสูญเสียที่มั่นสำคัญบางส่วนในเมืองอเลปโปแก่กองกำลังฝ่ายรัฐบาล
ประเทศอังกฤษตอบสนองโดยการออกแถลงการณ์จะมอบความช่วยเหลือแก่ฝ่ายต่อต้าน
เป็นสิ่งของอุปกรณ์ไม่ใช่อาวุธ เช่น ยา เครื่องมือสื่อสาร มูลค่า 5 ล้านปอนด์ (The
Guardian)
แต่ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดอยู่ที่รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ
นางฮิลลารี่ คลินตัน บินไปประเทศตุรกีเพื่อหารือสถานการณ์ล่าสุดในซีเรีย ข่าวล่าสุดรายงานว่ามีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ
กับตุรกีจะร่วมกันสร้างเขตห้ามบิน (no-fly zones)
ตลอดพรมแดนระหว่างตุรีกีกับซีเรีย (REUTERS)
เขตห้ามบินเป็นเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลร้องขอมานานแล้ว
เพราะหวังจะเลียนแบบกรณีของลิเบีย
ที่กลุ่มประเทศนาโต้สนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี่ด้วยการช่วยเหลือทางอากาศ
ถล่มอาวุธหนักของฝ่ายรัฐบาลในสมัยนั้น ด้วยข้ออ้างว่าอาวุธหนัก เช่น รถถัง
ยานเกราะของฝ่ายรัฐบาลฆ่าทำลายประชาชน
จนในที่สุดฝ่ายต่อต้านสามารถโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟี่
เขตห้ามบิน จะเป็นปัจจัยพลิกผันสถานการณ์ในซีเรีย
ให้ฝ่ายต่อต้านกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบทันที