เป็นที่ทราบว่าเดิมสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ที่ก่อตั้งในปี 1967 มีรัฐสมาชิกเริ่มต้นเพียง5 ประเทศ ต่อมาเพิ่มอีก 5 ประเทศจนกลายเป็น 10 ประเทศในปัจจุบัน คำถามเบื้องต้นคืออาเซียนจะมีสมาชิกมากกว่านี้ได้อีกหรือไม่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
มุมมองจากภูมิศาสตร์ :
ชื่อ
‘สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ ให้ความหมายชัดเจนในตัวเองว่าเป็นองค์กรระหว่างประเทศของชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เริ่มใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรคือ สหรัฐอเมริกากับอังกฤษ ได้ตั้งศูนย์บัญชาการการรบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นในค.ศ.1943 การเรียกชื่อเช่นนี้เพื่อความเด่นชัดทางด้านภูมิศาสตร์ โดยหมายถึงภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศเมียนมาร์
ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยไม่รวมถึงฟิลิปปินส์ จนในทศวรรษ 1960 จึงรวมฟิลิปปินส์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค
และในค.ศ.1984 เมื่อบรูไนได้รับเอกราชก็เข้าร่วม รวมทั้งติมอร์-เลสเตในค.ศ.
2002 รวมทั้งสิ้น 11 ประเทศ
หากดูแผนที่จะเห็นชัดว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือบริเวณที่
·
ทิศเหนือจรดประเทศจีน
·
ทิศตะวันออกคือทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก
·
ทิศตะวันออกคือประเทศอินเดียกับบังคลาเทศ (บังคลาเทศเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย
เพิ่งได้เอกราชเป็นบังคลาเทศเมื่อค.ศ. 1961) ในอดีตพื้นที่แถบนี้ทั้งหมดเรียกว่าชมพูทวีป
·
ทิศใต้คือประเทศออสเตรเลีย ทวีปออสเตรเลีย
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อาเซียนถูกล้อมรอบด้วย 3 ประเทศใหญ่คือจีน อินเดียและออสเตรเลีย ทางขวามือติดมหาสมุทรแปซิฟิก
ทางซ้ายมือติดมหาสมุทรอินเดีย
จากมุมมองทางภูมิศาสตร์จะเห็นว่าอาเซียนเคยมีช่วงหนึ่งที่กินพื้นที่ครบทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่หลังจากที่ติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชในค.ศ.2002 ทำให้ติมอร์-เลสเตกลายเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน
ดังนั้น
หากยึดมุมมองทางภูมิศาสตร์ อาเซียนปัจจุบันกินพื้นที่เกือบจะครบทุกพื้นที่ของภูมิภาคและไม่น่าจะมีสมาชิกเพิ่มอีก
ยกเว้นประเทศติมอร์-เลสเตเท่านั้น
หากคิดนอกกรอบ
อาจมีคำถามว่าความเป็นอาเซียนจำต้องยึดมั่นในขอบเขตทางภูมิศาสตร์หรือไม่ เป็นคำถามชวนคิดต่อ
ติมอร์-เลสเตจะมีโอกาสหรือไม่
เมื่อพิจารณารายประเทศ
ติมอร์-เลสเตคือประเทศที่มีโอกาสเข้าร่วมอาเซียน
ติมอร์-เลสเต
(Timor-Leste) หรือติมอร์ตะวันออกเดิมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย
ได้รับเอกราชเมื่อค.ศ.2002 เป็นประเทศที่เพิ่งเกิดไม่นาน
รัฐบาลติมอร์-เลสเตต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน
ประธานาธิบดี ดร. โฮเซ รามอส-ฮอร์ตา กล่าวว่า “เราประสงค์จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนให้ได้อย่างเร็วที่สุด”
การจะได้เป็นสมาชิกอาเซียนหรือไม่นั้น
กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กำหนดเรื่องการรับสมาชิกใหม่
โดยมีหลักเกณฑ์ 4 ประการ
คือ
1. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับว่าอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. การยอมรับโดยรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
3. การตกลงที่จะผูกพันและเคารพกฎบัตรนี้ และ
4. ความสามารถและความเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของสมาชิกภาพ
และยังกำหนดอีกว่า “การรับสมาชิกให้ตัดสินโดยฉันทามติโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีประสานงานอาเซียน”
ข้อที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดคือการยอมรับโดยรัฐสมาชิกทั้งหมด
หากประเทศใดประเทศหนึ่งไม่เห็นด้วยการเข้าเป็นสมาชิกจะเป็นอันตกไปทันทีไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ติมอร์-เลสเต
สมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม
2011 แต่กลุ่มอาเซียนได้เปิดเผยหลังการประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียนครั้งที่
2 ในวันที่ 11 กันยายน 2012 ว่า
การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของติมอร์-เลสเตจะยังไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่
21 ในเดือนพฤศจิกายน 2012
การพิจารณารับติมอร์-เลสเต้จึงถูกเลื่อนออกไป
ควรรับติมอร์-เลสเตเข้าอาเซียนหรือไม่
ประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากคืออาเซียนควรรับติมอร์-เลสเตเข้ากลุ่มหรือไม่
มีข้อเสนอที่เห็นด้วยและไม่เห็น ทั้งจากรัฐสมาชิกกับนักวิชาการ ฝ่ายที่สนับสนุนเห็นว่าการรับติมอร์-เลสเตเข้ามาย่อมเป็นผลดีต่อประเทศติมอร์-เลสเตเอง
และอาเซียนจะได้รับประโยชน์ในระยะยาว ชาติสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการรับติมอร์-เลสเตเข้าอาเซียน
ส่วนประเทศที่คัดค้าน โดยเฉพาะสิงคโปร์แสดงตัวชัดเจนมากที่สุด เห็นว่าติมอร์-เลสเตไม่พร้อม
เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015
ข้อโต้แย้งประเด็นนี้
คือ ในอดีตอาเซียนเคยรับประเทศที่มีสภาพไม่ต่างจากติมอร์-เลสเตในปัจจุบัน เช่น
การรับเมียนมาร์กับลาวและกัมพูชา อาเซียนในยุคนั้นยอมรับจุดอ่อนของประเทศเหล่านี้และเห็นว่าควรเข้าไปช่วยเหลือ
แต่ข้อโต้แย้งกลับคือบริบทอาเซียนในปัจจุบันแตกต่างจากอดีต
การรับกลุ่มประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เข้าอาเซียนเกิดจากเหตุผลด้านความมั่นคงซึ่งสำคัญยิ่งยวดในสมัยนั้น
ปัจจุบัน ประเทศติมอร์-เลสเตมีสถานภาพเป็นประเทศผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกิจกรรมการประชุมต่างๆ
ของอาเซียน
ปาปัวนิวกินีจะมีโอกาสหรือไม่
ประเทศปาปัวนิวกินีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อยากเข้าอาเซียน
ประเทศเป็นเกาะตั้งอยู่ทางทิศเหนือของออสเตรเลีย มีพรมแดนติดกับประเทศอินโดนีเซีย
แต่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มโอเชียเนีย (Oceania) อันเป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีประชากรราว 6 ล้านคน
ปาปัวนิวกินียังไม่เคยยื่นหนังสือขอเข้าร่วมอาเซียนอย่างเป็นทางการ และอาเซียนก็ยังไม่มีการหารือเกี่ยวกับการรับปาปัวนิวกินีเป็นสมาชิกอย่างเป็นจริงเป็นจัง
ปัจจุบันยังคงสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ได้รับตั้งแต่ ค.ศ. 1976
มีผู้ให้เหตุผลว่าปาปัวนิวกีนียากจะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน
เนื่องจากขัดกับหลักเกณฑ์เรื่องการรับสมาชิกใหม่ 2 ประการ
คือ ประเทศไม่ได้ตั้งอยู่ในทางภูมิศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับว่าอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และความเจริญก้าวหน้าของประเทศยังห่างไกลจากความสามารถที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของสมาชิกภาพ
เรื่องการไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีของสมาชิกภาพเป็นเหตุผลเดียวกับที่ประเทศติมอร์-เลสเตยังไม่เข้าอาเซียน
โดยสรุปแล้ว
โอกาสที่ปาปัวนิวกินีจะเข้าอาเซียนมีน้อย หลักฐานเชิงประจักษ์นั้นชัดเจนมาก
เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงยังคงสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ได้รับตั้งแต่ ค.ศ. 1976
หรือเกือบจะ 4 ทศวรรษแล้ว
สรุป
อาเซียนอยากได้สมาชิกใหม่หรือไม่
ในการวิเคราะห์เรื่องนี้
ประเทศปาปัวนิวกินีเป็นตัวเลือกที่ควรตัดออกตั้งแต่ต้นดังเหตุผลที่ได้นำเสนอ
เหลือแต่วิเคราะห์ว่าอาเซียนอยากได้ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียนหรือไม่
ชาติสมาชิกอาเซียนปัจจุบันมีความเห็นมีแตกต่างต่อการรับติมอร์-เลสเตเข้าเป็นสมาชิกใหม่
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลคัดค้านอย่างไร เมื่อมีสมาชิกที่คัดค้าน
อาเซียนย่อมไม่สามารถรับติมอร์ตามกฎบัตรอาเซียน
ดังนั้น
คำถามที่สำคัญกว่า ‘ทำไมจึงควรรับ’ คือคำถามที่ว่า
‘ทำไมบางประเทศไม่อยากรับ’ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
‘เหตุผลที่ควรรับ’ ร้อยข้อไม่มีค่าเมื่อเทียบกับ
‘เหตุผลที่ไม่ควรรับ’ เพียงข้อเดียวของรัฐสมาชิกอาเซียนเพียงประเทศเดียว
เรื่องนี้อธิบายได้ง่ายที่สุดหากมองในมุมผลประโยชน์
อาเซียนในปัจจุบันอยากทุ่มเทความสนใจมีความสัมพันธ์กับประเทศที่อาเซียนได้ประโยชน์อย่างจริงจัง
เป็นเหตุผลของการเกิดอาเซียนพลัส เช่น ASEAN+3, ASEAN+6 และเป็นเหตุผลที่ตรงที่สุดในการอธิบายว่าทำไมอาเซียนจึงยังไม่รับประเทศติมอร์-เลสเตกับปาปัวนิวกินีเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน
ประเทศเหล่านี้จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ต่อไป เช่นเดียวกับที่อาเซียนมีสมาชิก 10 ประเทศเท่าเดิม
9 มกราคม 2013
ชาญชัย คุ้มปัญญา
-----------------
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:
อาเซียนก่อตั้งมาเกือบ 50 ปีแล้ว อาเซียนมีความร่วมมือหลากหลายด้าน แต่อะไรเป็นจุดเริ่มต้นหรือวัตถุประสงค์สำคัญเมื่อเริ่มแรกก่อตั้ง
ทุกคนทราบว่าอาเซียนมีชาติสมาชิกสิบประเทศ แต่แรกเริ่มมีเพียงห้าประเทศ ต่อมารวมเอาประเทศในภูมิภาคเข้ามาอีกห้าประเทศ อะไรคือเหตุผลของการเพิ่มจำนวนสมาชิก
3. ติมอร์-เลสเต จะเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 11หรือไม่
มีผู้ตั้งคำถามว่าติมอร์-เลสเต จะเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 11 หรือไม่ คำตอบเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่าประเทศติมอร์จะสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับสมาชิกตามกฎบัตรอาเซียนหรือไม่ คำตอบที่ตรงประเด็นกว่านั้นคือขึ้นอยู่กับความพยายามของติมอร์-เลสเตในการสร้างประเทศให้เจริญรุ่งเรือง สมกับเป็นรัฐสมัยใหม่ที่พร้อมจะก้าวไปกับชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ
4. ขอเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิกอาเซียน
อาเซียนก้าวหน้าอีกขั้นด้วยการเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิก เป็นการคิดนอกกรอบอีกครั้ง และน่าจะด้วยเหตุผลเดิม นั่นคือ ผลจากบริบทความมั่นคงระหว่างประเทศ
4. ขอเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิกอาเซียน
อาเซียนก้าวหน้าอีกขั้นด้วยการเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิก เป็นการคิดนอกกรอบอีกครั้ง และน่าจะด้วยเหตุผลเดิม นั่นคือ ผลจากบริบทความมั่นคงระหว่างประเทศ
1. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้,
http://www.learners.in.th/blogs/posts/277009
2. "ติมอร์ตะวันออกกับอาเซียน",
http://aseanvision.com/news-top-detail.jsp?id=20091127113741799188&mm=11&yy=2009
3. กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,
http://aseansummit.mfa.go.th/15/thai/PDF/ASEAN_Charter_TH+EN.pdf
4. ติมอร์เดินหน้าสมาชิกใหม่อาเซียน
เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน-มั่นใจอินโดฯดันสุดสุด, http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1349087131&grpid=04&catid=04
5. Chairman’s Statement of the 21st ASEAN Summit Phnom Penh,
18 November 2012, http://asean2012.mfa.gov.kh/?page=detail&article=343&lg=en
6. หลายชาติค้าน! ติมอร์ตะวันออกสมัครเป็นสมาชิกอาเซียน,
http://news.voicetv.co.th/global/5435.html
7. อาเซียนต้องใจเย็นๆ รอให้พร้อม
ก่อนรับติมอร์เลสเต้เป็นสมาชิกลำดับที่ 11, http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=17-03-2011&group=3&gblog=10
8. ไทยพร้อมหนุนติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกอาเซียน,
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000090001
9. สุภาค์พรรณ ขันชัย, ติมอร์ตะวันออก:
ว่าที่สมาชิกใหม่ของประชาคมโลก, http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=News&file=article&sid=34
10. The CIA World Factbook 2011, หรือที่ The
World Factbook, https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/
11. ปาปัวนิวกินี, http://aspa.mfa.go.th/aspa/th/information_country/south-pacific/detail.php?ID=413
12. Papua New Guinea as an ASEAN Member? DECEMBER 7, 2012, http://aseanec.blogspot.com/2012/12/papua-new-guinea-as-asean-member.html
13. ASEAN’s Time to Invest in Timor-Leste, Dec 17th, 2012, http://cogitasia.com/asean%E2%80%99s-time-to-invest-in-timor-leste/
------------------------------------